ผู้ป่วยของ Cure (1997) คือบุคคลธรรมดาทั่วไป ครู หมอ ตำรวจ ฯ ต่างมีครอบครัวอบอุ่น อาชีพการงานมั่นคง ได้รับนับหน้าถือตาจากผู้คน แต่เมื่อพวกเขาผ่านการ”รักษา”ทำให้ตัวตนแท้จริงเปิดเผยออกมา กลายเป็นฆาตกรสังหารโหด พร้อมทิ้งรอยบาดแผล X
บ้านแสนสุขที่เคยเต็มไปด้วยความอบอุ่น อุบัติเหตุคร่าชีวิตทารกน้อย ทำให้บิดา-มารดาราวกับตกนรกมอดไหม้ กลายเป็นปีศาจร้ายสิงสถิตอยู่ในบ้านแสนโศก! พล็อตคาดเดาไม่อยาก แต่เทคนิคพิเศษน่าตื่นตาในยุคสมัยนั้น และยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับวีดีโอเกมส์ Resident Evil
โคตรหนังคัลท์ที่ไม่เคยได้รับกระแสคัลท์! ข้างใต้สระน้ำ Demon Pond คือที่อยู่อาศัยของเทพเจ้ามังกร (Dragon God) คอยปกป้องหมู่บ้านมนุษย์จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่ทว่าคนรุ่นใหม่เริ่มไม่เชื่อในปรัมปรา ตำนานพื้นบ้าน ปฏิเสธทำตามวิถีสืบต่อกันมาช้านาน ผลลัพท์เลยก่อให้เกิดหายนะครั้งยิ่งใหญ่
Sakura no Mori no Mankai no Shita (1975)
นักเขียน Ango Sakaguchi แต่งเรื่องสั้น In the Forest, Under Cherries in Full Bloom (1947) โดยได้แรงบันดาลใจจากช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังกรุง Tokyo ถูกโจมตีทางอากาศ (Air Raid) ศพผู้เสียชีวิตจะถูกนำมาฝังรวมกันอยู่ ณ Ueno Hill ใกล้กับบริเวณที่ซากุระกำลังเบ่งบาน
Shura (1971)
จากแพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์แปลกใหม่ Funeral Parade of Roses (1969), ผลงานถัดไปของผู้กำกับ Toshio Matsumoto นำเสนอมุมมืด ปีศาจภายในจิตใจ ซามูไรถูกเกอิชาทรยศหักหลัง บันดาลโทสะ มิอาจควบคุมอารมณ์เกรี้ยวกราด พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อฆ่าล้างแค้น, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หนังผีญี่ปุ่นทุนต่ำ ทำออกมาในสไตล์กึ่งๆละคอนเวที (Kabuki Play) ละม้ายคล้าย The Ballad of Narayama (1958) แพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์ ‘Trick Film’ สำหรับสร้างความหลอกหลอน บรรยากาศสยองขวัญคลาสสิก
Tanín no Kao (1966)
วิศวกรเคมี Mr. Okuyama (รับบทโดย Tatsuya Nakadai) เสียโฉมจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน โชคดีว่าเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ สามารถสร้างหน้ากากมนุษย์ขึ้นมาทดแทน แต่เมื่อสวมใส่กลับทำให้ตัวตน(เก่า)ค่อยๆเลือนหาย อันเนื่องจากรูปลักษณ์ใหม่ทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป
Otoshiana (1962)
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ Hiroshi Teshigahara, คนงานเหมืองถูกฆาตกรรมโดยไม่ทราบสาเหตุ กลายเป็นวิญญาณล่องลอย พยายามออกติดตามหาเบื้องหลังความจริง แต่รู้คำตอบแล้วจะสามารถทำอะไร? เพียงว่ายเวียนวนอยู่บนโลกหลังความตาย
Pietà ภาษาอิตาลี แปลว่า ความสงสาร, แต่ทว่าภาพยนตร์ Pietà (2012) ที่อุตส่าห์คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice กลับดูน่าสมเพศเวทนา เต็มไปด้วยข้อครหา นั่นเพราะผู้กำกับ Kim Ki-duk ยังคงเคียดแค้นฝังหุ่น ไม่สามารถปล่อยละวางได้สักที!
พิเคราะห์ภาวะเป็นอยู่ของผู้กำกับ Kim Ki-duk หันกล้องถ่ายสารคดีเกี่ยวกับตนเอง (Self-Portrait) พยายามอธิบายเหตุผล ระบายอารมณ์อัดอั้น ก่อนหน้านี้เคยสร้างภาพยนตร์ปีละเรื่องสองเรื่อง ทำไมปัจจุบันถึงเงียบหายไปนานสองสามปี, คว้ารางวัล Prix un certain regard จากสายการประกวดรอง Un Certain Regard เทศกาลหนังเมือง Cannes
3-Iron (2004)
เรื่องราวของหนุ่มชายขอบ ชอบแอบเข้าไปหลับนอนในบ้านคนอื่น พยายามฝึกฝน ‘ghost practice’ เพื่อให้ตัวตนค่อยๆเลือนหาย กลายเป็นเหมือนวิญญาณล่องลอย รูปธรรมสู่นามธรรม นี่คืออีกผลงานชิ้นเอกที่ทำให้ผู้กำกับ Kim Ki-duk กลายเป็นอมตะนิรันดร์, คว้ารางวัล Silver Lion: Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Venice
สองสาววัยรุ่นยังไม่บรรลุนิติภาวะ เลือกจะขายบริการทางเพศเพื่อนำเงินไปท่องเที่ยวยุโรป วันหนึ่งบิดาบังเอิญพบเห็น แทนที่จะพูดคุยสอบถาม ปรับความเข้าใจ กลับระบายอารมณ์เกี้ยวกราดใส่บรรดาลูกค้าเหล่านั้น, คว้ารางวัล Silver Bear: Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Address Unknown (2001)
ร้อยเรียงประสบการณ์วัยเด็กของผู้กำกับ Kim Ki-duk มักโดนเพื่อนๆกลั่นแกล้ง (Bully) ดูถูกเหยียดหยาม (Racist) พบเห็นสารพัดเหตุการณ์ความรุนแรง ทั้งยังบิดาชอบทารุณกรรม (Child Abuse) ชีวิตเต็มไปด้วยความอึดอัดอั้น เก็บกด อดกลั้น แทบอยากจะคลุ้มบ้าคลั่ง
แพกลางน้ำ รีสอร์ทตกปลา เริ่มต้นคือสถานที่หนีคดี/หลบซ่อนตัวของ Hyun-shik (รับบทโดย Kim Yu-seok) แต่ไปๆมาๆกลับกลายเป็นเหยื่อของหญิง(แสร้งว่า)ใบ้ Hee-jin (รับบทโดย Suh Jung) เกี่ยวเบ็ด ตกขึ้นมา พยายามดิ้นรน กระเสือกกระสน (เหมือนปลาติดเบ็ด) ก่อนยินยอมศิโรราบ ตกเป็นทาสบำเรอกาม
ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Kim Ki-duk ทำการเปรียบเทียบมนุษย์ = จระเข้, คนไร้บ้านอาศัยอยู่ใต้สะพานข้ามแม่น้ำ Han River ใช้ชีวิตด้วยสันชาติญาณ ตอบสนองตัณหาอารมณ์ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกยุคสมัยใหม่ แต่พวกเขาเหล่านี้ใช่ขยะสังคมจริงๆนะหรือ?
Oasis (2002)
เรื่องราวความรักชายขอบ ระหว่างชายบกพร่องทางสติปัญญา (รับบทโดย Sol Kyung-gu) กับหญิงสมองพิการ ร่างกายขยับเคลื่อนไหวลำบาก (รับบทโดย Moon So-ri) โอเอซิสแห่งนี้คือสรวงสวรรค์ของคนสอง แต่คือขุมนรกของคนชม
ความทรงจำไม่ใช่สัจนิรันดร์ คือสิ่งสามารถบิดเบือน ลบเลือน ผันแปรเปลี่ยน อย่างผู้ป่วยภาวะสูญเสียความจำส่วนอนาคต (Anterograde Amnesia) เพราะไม่สามารถสร้างความทรงจำใหม่ จึงถูกคนรอบข้างฉกฉวยโอกาส เดี๋ยวมาดี เดี๋ยวมาร้าย ปลอมตัวเป็นใครก็ได้ จนท้ายที่สุดแม้แต่ตัวตนเองยังพยายามล่อหลอกตัวตนเอง
ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Lee Chang-dong และนักแสดงนำ Han Suk-kyu เดินทางกลับบ้านหลังเสร็จภารกิจฝึกทหาร พบเห็นความเปลี่ยนแปลงของเมือง Ilsan เพียงไม่กี่ปีเต็มไปด้วยตึกระฟ้าสูงใหญ่ โชคชะตาจับพลัดจับพลูให้กลายเป็นสมาชิกแก๊งมาเฟีย ดูสิว่าจะไต่เต้าได้ไกลแค่ไหน?
La Cérémonie (1995)
ในฝรั่งเศสมีพิธีกรรมชื่อว่า La Cérémonie (The Ceremony) สำหรับเตรียมตัวนักโทษก่อนถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน แต่แม้ภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่มีใครถูกตัดหัว เรื่องราวทั้งหมดคือการเตรียมความพร้อมก่อนครอบครัวถูกสังหารหมู่!
Une affaire de femmes (1988)
เรื่องจริงของ Marie-Louise Giraud (รับบทโดย Isabelle Huppert คว้ารางวัล Volpi Cup for Best Actress) ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินในช่วง Vichy France เนื่องจากรับทำแท้งเถื่อนหญิงสาว 27 คน มันอาจดูเป็นเรื่องผิดศีลธรรม แต่ลองรับฟังเหตุผลของเธอก่อน แล้วค่อยตัดสินถูก-ผิด ดี-ชั่ว สมควรได้รับความสงสารเห็นใจหรือไม่