๗๐ สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ ๙
คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาคัดเลือกและมีมติเห็นชอบรายชื่อภาพยนตร์ไทย ๗๐ เรื่อง เป็น “สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ ๙”
- สุภาพบุรุษเสือไทย (2492)
- พันท้ายนรสิงห์ (2493)
- สันติ วีณา (พ.ศ.2497)
: มารุต ♥♥♥♥
“สันติ วีณา คือหนังไทยที่ทรงคุณค่า มีความสำคัญที่สุดของคนไทยและชาวพุทธ ควรค่าแก่การต้องดูให้ได้ก่อนตาย” - เศรษฐีอนาถา (พ.ศ ๒๔๙๙)
: วสันต์ สุนทรปักษิณ ♥♡
“เศรษฐีอนาถา เป็นภาพยนตร์อนาถาที่สุดแห่งประเทศไทย” - โรงแรมนรก (พ.ศ. ๒๕๐๐)
: รัตน์ เปสตันยี ♥♥♡
“รัตน์ เปสตันยี ได้สร้างโรงแรมสวรรค์นรก สมชื่อ!” - เล็บครุฑ (2500)
- 1 ต่อ 7 (2501)
- แม่นาคพระโขนง (พ.ศ. ๒๕๐๒)
: รังสี ทัศนพยัคฆ์ ♥♥
“แม่นาคพระโขนง ฉบับพ.ศ. ๒๕๐๒ แม้คุณภาพจะเสื่อมถอยไร้ค่าไปตามกาลเวลา แต่ก็ได้กลายเป็นตำนานสุดคลาสสิกในความทรงจำแห่งวงการภาพยนตร์ไทย” - แพรดำ (พ.ศ.2504)
: รัตน์ เปสตันยี ♥♥♥♡
“แพรดำ หนังไทยคลาสสิก แนวคิดพุทธศาสนา มีข้อคิดการใช้ชีวิตที่ดี ควรค่าแก่คนไทยได้รับชม” - เรือนแพ (พ.ศ. ๒๕๐๔)
: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล, เนรมิต ♥♥
“เรือนแพ พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้ถูกกาลเวลาเหยียบย่ำยี จนเหลือแค่ความคลาสสิกในความทรงจำ” - นกน้อย (2507)
- ลูกทาส (2507)
- เงิน เงิน เงิน (พ.ศ. 2508)
: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ♥♥♥
“เงิน เงิน เงิน คือหนังไทยคลาสสิก ที่แนวคิดดี การแสดงใช้ได้ เพลงเพราะ แค่นี้ก็ยอดเยี่ยม มีคุณค่า ควรค่าแก่คนไทยแล้ว” - เพชรตัดเพชร (พ.ศ. ๒๕๐๙)
: วิจิตร คุณาวุฒิ, พร้อมสิน สีบุญเรือง, ประกอบ แก้วประเสริฐ ♥♥♥♡
“เพชรตัดเพชร คือหนังบู๊ Action ยุคคลาสสิก เรื่องทรงคุณค่าที่สุดของเมืองไทย” - โทน (2513)
- มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. ๒๕๑๓)
: รังสี ทัศนพยัคฆ์ ♥♥♥
“มนต์รักลูกทุ่ง คือหนังเพลงไทยคลาสสิกสุดอมตะ เนื้อเรื่องเฉิ่มเชยไปตามกาลเวลา แต่ทุกบทเพลงมีความไพเราะเหนือกาลเวลา” - อินทรีทอง (พ.ศ. ๒๕๑๓)
: มิตร ชัยบัญชา ♥♥♡
“อินทรีทอง ผลงานกำกับ-แสดงนำ เรื่องสุดท้ายของ มิตร ชัยบัญชา ไม่ได้มีความน่าจดจำแต่กลับไม่มีคนไทยไหนลืมเลือน” - ชู้ (พ.ศ. ๒๕๑๕)
: เปี๊ยก โปสเตอร์ ♥♥♥♥♥
“ชู้ พ.ศ. ๒๕๑๕ ของเปี๊ยก โปสเตอร์ คือไข่มุกแห่งวงการภาพยนตร์ไทย” - เขาชื่อกานต์ (2516)
- หนุมาน พบ เจ็ดยอดมนุษย์ (พ.ศ. 2517)
: สมโพธิ แสงเดือนฉาย & Shohei Tôjô ♥♥♥
“หนุมาน พบ เจ็ดยอดมนุษย์ มีครึ่งแรกที่น่าสนใจมากๆ แต่ครึ่งหลังอะไรก็ไม่รู้ คงมีแต่คนไทยสมัยก่อนที่บอกได้ว่า นี่ไม่ใช่หนังห่วย” - แผ่นดินแม่ (2518)
- วัยอลวน (2519)
- ทองพูน โคกโพธิ์ ราษฎรเต็มขั้น (2520)
- แผลเก่า (พ.ศ. ๒๕๒๐)
: เชิด ทรงศรี ♥♥♥♥♡
“แผลเก่า (พ.ศ. ๒๕๒๐) ที่ไม่มีวันจางหายของเชิด ทรงศรี มีสรพงศ์ ชาตรี ครองรักกับนันทนา เงากระจ่าง ชั่วนิจนิรันดร์” - ครูบ้านนอก (พ.ศ.๒๕๒๑)
: สุรสีห์ ผาธรรม ♥♥♥♡
“ครูบ้านนอก พ.ศ.๒๕๒๑ อาจดูเก่า เชย ล้าสมัย แต่แนวคิด อุดมการณ์ ใจความยังคงสดใหม่ ควรค่าอย่างยิ่งกับคนไทย สักครั้งหนึ่งต้องหามารับชม” - คนภูเขา (2522)
- สุดสาคร (พ.ศ. 2522)
: ปยุต เงากระจ่าง ♥♥
“ภาพยนตร์ไทย สุดสาคร ของปยุต เงากระจ่าง มีภาพวาดที่สุดสวย และเพลงประกอบดนตรีไทยสุดไพเราะ แต่ก็เท่านั้น ที่เหลือคือหายนะ” - บ้านทรายทอง (2523)
- หลวงตา (2523)
- ลูกอีสาน (2525)
- น้ำพุ (พ.ศ. ๒๕๒๗)
: ยุทธนา มุกดาสนิท ♥♥♥♥
“น้ำพุ ของผู้กำกับยุทธนา มุกดาสนิท จะทำให้ทั้งผู้ใหญ่และวัยรุ่น ตื่นขึ้นจากอาการมืดบอด สะลึมสะลือ หวนกลับมามีสติดั่งน้ำใส” - นวลฉวี (2528)
- ข้างหลังภาพ (พ.ศ. ๒๕๒๘)
: เปี๊ยก โปสเตอร์ ♥♥♥♥♥
“ข้างหลังภาพ พ.ศ. ๒๕๒๘ ของเปี๊ยก โปสเตอร์ มีสิ่งงดงาม ความลุ่มลึกลับหลบซ่อนเร้นอยู่” - ผีเสื้อและดอกไม้ (พ.ศ. ๒๕๒๘)
: ยุทธนา มุกดาสนิท ♥♥♥♥
“ผีเสื้อและดอกไม้ ทำให้ยุทธนา มุกดาสนิท โบยบินกลายเป็นดาวค้างฟ้า ส่งกลิ่นหอมทั่วผืนผสุธา” - วัลลี (2528)
- ด้วยเกล้า (พ.ศ.๒๕๓๐)
: บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ♥♥♥♥
“ด้วยเกล้า คือภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงคุณค่าที่สุด” - บุญชูผู้น่ารัก (2531)
- คนทรงเจ้า (2532)
- ทวิภพ (พ.ศ. ๒๕๓๓)
: เชิด ทรงศรี ♥♥♥♡
“ทวิภพ พ.ศ. ๒๕๓๓ ของเชิด ทรงศรี คือภาพยนตร์แห่งความรักต่อแม่ (และผืนแผ่นดินแม่)”
- คนเลี้ยงช้าง (พ.ศ. ๒๕๓๓)
: หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ♥♥♥♡
“คนเลี้ยงช้าง พ.ศ. ๒๕๓๓ หนังไทยคลาสสิกของท่านมุ้ย คุณภาพพอตัวแต่ความตั้งใจเกินร้อย” - ปุกปุย (2533)
- มือปืน 2 สาละวิน (พ.ศ. ๒๕๓๖)
: หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ♥♥♥♥♥
“มือปืน ๒ สาละวิน ของท่านมุ้ย ได้ทำให้จิตวิญญาณของแม่น้ำสายนี้ ฝังอยู่ในใจคนไทยตลอดกาล”
- กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
: บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ♥♥♥♡
“กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ ของบัณฑิต ฤทธิ์ถกล ทำให้คนไทยตื่นเช้าขึ้นมาด้วยสภาพสุขสดใส” - ๒๔๙๙ อันธพาลครองเมือง (พ.ศ. ๒๕๔๐)
: นนทรีย์ นิมิบุตร ♥♥♥♡
“๒๔๙๙ อันธพาลครองเมือง ของนนทรีย์ นิมิบุตร คงครองใจคนไทยได้ทุกยุคทุกสมัย” - นางนาก (พ.ศ. ๒๕๔๒)
: นนทรีย์ นิมิบุตร ♥♥♥♡
การฟื้นคืนชีพของ นางนาก ฉบับผู้กำกับ นนทรีย์ นิมิบุตร เพื่อกลายเป็นตำนานแห่งวงการภาพยนตร์ไทย - สตรีเหล็ก (2543)
- บางระจัน (2543)
- ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. ๒๕๔๓)
: วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
“ฟ้าทะลายโจร ผลงานแรกของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง แจ้งเกิดกลายเป็นตำนานเสือไทย” - มือปืนโลกพระจันทร์ (2544)
- มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. ๒๕๔๔)
: เป็นเอก รัตนเรือง ♥♥♥♥
“มนต์รักทรานซิสเตอร์ คืออัลบัมรวมเพลงลูกทุ่งของ เป็นเอก รัตนเรือง จัดจ้าน โดนใจ ฮิตอมตะแห่งศตวรรษ” - สุริโยไท (2544)
- ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕)
: จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡
“๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พิสูจน์ศรัทธา ท้าทายความเชื่อ รักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น แจ้งเกิดจิระ มะลิกุล และอนุชิต สพันธุ์พงษ์” - แฟนฉัน (2546)
- องค์บาก (2546)
- ชัตเตอร์ กด ติด วิญญาณ (2547)
- โหมโรง (2547)
- ต้มยำกุ้ง (2548)
- มหา’ลัย เหมืองแร่ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
: จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡
“มหา’ลัย เหมืองแร่ มีเรื่องราวอันทรงคุณค่า แต่ไดเรคชั่นของ จิระ มะลิกุล ไม่ได้ทำให้ผู้ซึ้งซาบซ่านกับใจความหนังสักเท่าไหร่”
- ก้านกล้วย (2549)
- 365วัน ตามติดชีวิตเด็กเอนท์ (2550)
- รักแห่งสยาม (2550)
- ตํานานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2550)
- รถไฟฟ้ามหานะเธอ (2552)
- ลุงบุญมีระลึกชาติ (2553)
- Mary is Happy, Marry is Happy (2556)
- ตั้งวง (2556)
- พี่มาก…พระโขนง (2556)
- คิดถึงวิทยา (2557)
- พระมหาชนก (2557)
- เพลงของข้าว (2558)