100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู
โครงการ 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู เป็นโครงการจัดตั้งโดย หอภาพยนตร์แห่งชาติ ซึ่งทั้งภาพยนตร์ไทย 100 เรื่องที่ดูแล้วเกิดปัญญา ดุจดังบาลีภาษิต ปญญายตถํ วิปสสติ คือ การเห็นเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา ดูดีๆมีปัญญา ดูด้วยปัญญาพาให้เห็นแจ้ง
กรอบคิด
- เป็นผลงานสร้างโดยคนไทย
- เป็นตัวอย่างหรือตัวแทนให้คนไทยได้เรียนรู้จักตัวเองรู้จักสังคมไทยทั้งในอดีตปัจจุบัน ทั้งดี และเลว ทั้งจริง และเท็จ
- เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย
- เพื่อให้คนไทยได้ชื่นชมภาพยนตร์ไทย ทั้งที่เป็นมหรสพสินค้าขายความบันเทิง เป็นเครื่องมือสื่อสาร เป็น งานศิลปะ เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาติ
ภาพยนตร์ข่าว ข่าวสาร และบันทึกเหตุการณ์
- พระราชพิธีบรมราชาภิเษก (พ.ศ. 2468 / ภาพยนตร์ของ กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง)
- การเล่นซนของเด็กสมัย ร.๗ (พ.ศ. 2473)
- ชมสยาม (พ.ศ. 2473 / สร้างโดย กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง / ช่างถ่ายโดย หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต))
- กิจการของกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (พ.ศ. 2473 / ภาพยนตร์ส่วนพระองค์)
- พระราชพิธีเฉลิมพระราชวงศ์จักรีและกรุงเทพพระมหานคร อันสถาปนามาครบ ๑๕๐ ปี (พ.ศ. 2475 / ถ่ายทำโดย คณะพี่น้องสกุลวสุวัต)
- งานแห่รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2476 / ภาพยนตร์ส่วนพระองค์)
- ใจไทย (พ.ศ. 2483 / โดย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกรมรถไฟหลวง)
- วันคล้ายวันเกิด พลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2484 / สันนิษฐานว่าเป็นภาพยนตร์ของกรมโฆษณาการ)
- น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ (พ.ศ. 2485 / ถ่ายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร)
- รัฐประหาร (พ.ศ. 2490 / ถ่ายโดย แท้ ประกาศวุฒิสาร)
- เสด็จเยี่ยมราษฎรภาคใต้ (พ.ศ. 2502 / ภาพยนตร์พระราชกรณียกิจ สนับสนุนการถ่ายทำโดยสำนักข่าวสารอเมริกัน)
- การผลิตเฮโรอิน (ประมาณ พ.ศ. 2510 / ภาพยนตร์นิรนาม)
- บันทึกเหตุการณ์เสียชีวิต มิตร ชัยบัญชา (พ.ศ. 2513 / ภาพยนตร์เชิงข่าวฉวยโอกาส)
- บันทึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (พ.ศ. 2519)
- บันทึกเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535)
ภาพยนตร์สารคดี
- กรุงเทพเมืองหลวงของเรา (พ.ศ. 249? / ภาพยนตร์ในยุคสงครามเย็น สนับสนุนการผลิตโดยสหรัฐอเมริกา)
- ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ล้มป่วย และอสัญกรรม (พ.ศ. 2505 / ภาพยนตร์ข่าวยกย่อง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์)
- เพลงเหย่อย (พ.ศ. 2507 / ผลิตโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย))
- ไม้สัก (พ.ศ. 2505 / ผลิตโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย)
- อนุทินวีรชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (พ.ศ. 2517 / ภาพยนตร์โดย อาจารย์ชิน คล้ายปาน)
- การต่อสู้ของกรรมกรหญิงโรงงานฮาร่า (พ.ศ. 2518 / สร้างโดย จอน อึ๊งภากรณ์)
- ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ (พ.ศ. 2519 / ผลิตโดย หน่วยงานของราชการ)
- ภัยเขียว (GREEN MENACE : THE UNTOLD STORY OF GOLF) (พ.ศ. 2536 / สร้างโดย อิ๋ง กาญจนวณิชย์)
ภาพยนตร์สั้นและภาพยนตร์ทดลอง
- แหวนวิเศษ (พ.ศ. 2472 / สร้างโดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)
- กระเทยเป็นเหตุ (พ.ศ. 2498 / สร้างโดย คณะพนักงานธนาคารมณฑล)
- นิ้วเพชร (พ.ศ. 2501 / สร้างโดย กรมศิลปากร / ถ่ายทำโดย รัตน์ เปสตันยี)
- แอก (พ.ศ. 251.. / สร้างโดย นักศึกษาวิชาภาพยนตร์ คณะวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์)
- ! อัศเจรีย์ (พ.ศ. ๒๕๑๙)
: สุรพงษ์ พินิจค้า ♥♥♥♥
“! อัศเจรีย์ คือความอัศจรรย์ของสุรพงษ์ พินิจค้า สร้างคุณประโยชน์ให้กับวงการหนังไทย” - ภาณายักษา (พ.ศ. 2535 / สร้างโดย เกษมสันต์ พรหมสุภา, ชวลิต สัทธรรมสกุล, หยงฮ้ง แซ่เตียว, ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ)
- ศีล ๔ (พ.ศ. 2540)
- คงกระพันชาติไทย (พ.ศ. 2541 / สร้างโดย นักศึกษาภาพยนตร์ สุรชัย พัฒนากิจไพบูลย์)
- น้ำใต้ท้องเรือ (พ.ศ. 2542 / ผลงานของ ภาณุ อารี)
- BUNZAI CHAIYO, EPISODE II : THE ADVENTURE OF IRON PUSSY (พ.ศ. 2542 / ผลงานของ ไมเคิล เชาวนาสัย)
- บ้านสีชมพู (พ.ศ. 2543 / ผลงานของ สุวรรณ ห่วงศิริสกุล)
- กาล (พ.ศ. 2543 / ผลงานของ อุรุพงษ์ รักษาสัตย์)
- แหวน (พ.ศ. 2544 / ผลงานของ ชุมพล ทองทาบ)
- THE TREE (พ.ศ. 2545 / ผลงานของ วสัน เรียวกลา)
- A SHORT JOURNEY (พ.ศ. 2546 / ผลงานของ ธนนท์ สัตตะรุจาวงษ์)
ภาพยนตร์ดำเนินเรื่อง
- พระเจ้าช้างเผือก (พ.ศ.2483)
: สันธ์ วสุธาร 💔
“พระเจ้าช้างเผือก หนังสร้างโดยคนไทย เพื่อคนไทย และมีแต่คนไทยเท่านั้นที่ดูได้” - ชั่วฟ้าดินสลาย (พ.ศ.2498)
: มารุต ♥♥♥
“ชั่วฟ้าดินสลาย ฉบับปี พ.ศ.2498 แม้จะไม่ได้ยอดเยี่ยมที่สุด แต่ถือเป็น ‘หนังไทยคลาสสิค’ ที่ควรค่าแก่คนไทยควรหามารับชม” - โรงแรมนรก (พ.ศ. ๒๕๐๐)
: รัตน์ เปสตันยี ♥♥♡
“รัตน์ เปสตันยี ได้สร้างโรงแรมสวรรค์นรก สมชื่อ!” - แม่นาคพระโขนง (พ.ศ. ๒๕๐๒)
: รังสี ทัศนพยัคฆ์ ♥♥
“แม่นาคพระโขนง ฉบับพ.ศ. ๒๕๐๒ แม้คุณภาพจะเสื่อมถอยไร้ค่าไปตามกาลเวลา แต่ก็ได้กลายเป็นตำนานสุดคลาสสิกในความทรงจำแห่งวงการภาพยนตร์ไทย” - เรือนแพ (พ.ศ. ๒๕๐๔)
: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล, เนรมิต ♥♥
“เรือนแพ พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้ถูกกาลเวลาเหยียบย่ำยี จนเหลือแค่ความคลาสสิกในความทรงจำ” - เงิน เงิน เงิน (พ.ศ. 2508)
: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ♥♥♥
“เงิน เงิน เงิน คือหนังไทยคลาสสิก ที่แนวคิดดี การแสดงใช้ได้ เพลงเพราะ แค่นี้ก็ยอดเยี่ยม มีคุณค่า ควรค่าแก่คนไทยแล้ว”
- ไฟเย็น (พ.ศ. 2508 / สนับสนุนการสร้างโดย สำนักข่าวสารอเมริกัน)
- เพชรตัดเพชร (พ.ศ. ๒๕๐๙)
: วิจิตร คุณาวุฒิ, พร้อมสิน สีบุญเรือง, ประกอบ แก้วประเสริฐ ♥♥♥♡
“เพชรตัดเพชร คือหนังบู๊ Action ยุคคลาสสิก เรื่องทรงคุณค่าที่สุดของเมืองไทย”
- มนต์รักลูกทุ่ง (พ.ศ. ๒๕๑๓)
: รังสี ทัศนพยัคฆ์ ♥♥♥
“มนต์รักลูกทุ่ง คือหนังเพลงไทยคลาสสิกสุดอมตะ เนื้อเรื่องเฉิ่มเชยไปตามกาลเวลา แต่ทุกบทเพลงมีความไพเราะเหนือกาลเวลา”
- โทน (พ.ศ. 2513 / กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ / สร้างโดย บริษัท สุวรรณฟิล์ม)
- อินทรีทอง (พ.ศ. ๒๕๑๓)
: มิตร ชัยบัญชา ♥♥♡
“อินทรีทอง ผลงานกำกับ-แสดงนำ เรื่องสุดท้ายของ มิตร ชัยบัญชา ไม่ได้มีความน่าจดจำแต่กลับไม่มีคนไทยไหนลืมเลือน”
- ชู้ (พ.ศ. ๒๕๑๕)
: เปี๊ยก โปสเตอร์ ♥♥♥♥♥
“ชู้ พ.ศ. ๒๕๑๕ ของเปี๊ยก โปสเตอร์ คือไข่มุกแห่งวงการภาพยนตร์ไทย”
- ตลาดพรมจารี (พ.ศ. 2516 / กำกับโดย สักกะ จารุจินดา / สร้างโดย 67 การละครแลภาพยนตร์)
- แหวนทองเหลือง (พ.ศ. 2517 / กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ / สร้างโดย ละโว้ภาพยนตร์)
- หนุมาน พบ เจ็ดยอดมนุษย์ (พ.ศ. 2517)
: สมโพธิ แสงเดือนฉาย & Shohei Tôjô ♥♥♥
“หนุมาน พบ เจ็ดยอดมนุษย์ มีครึ่งแรกที่น่าสนใจมากๆ แต่ครึ่งหลังอะไรก็ไม่รู้ คงมีแต่คนไทยสมัยก่อนที่บอกได้ว่า นี่ไม่ใช่หนังห่วย”
- เทพธิดาโรงแรม (พ.ศ. 2517 / กำกับโดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล / สร้างโดย พร้อมมิตรภาพยนตร์)
- ชุมแพ (พ.ศ. 2519 / กำกับโดย จรัญ พรหมรังษี)
- วัยอลวน (พ.ศ. 2519 / กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ / สร้างโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ฟิล์ม)
- ทองปาน (พ.ศ. ๒๕๑๙)
: ไพจง ไหลสกุล, สุรชัย จันทิมาธร, ยุทธนา มุกดาสนิท, รัศมี เผ่าเหลืองทอง ♥♥♥♡
ทองปาน นำเสนอด้านมืดของสังคมไทย ที่แม้ปัจจุบันก็ยังคงมิดสนิทไม่เปลี่ยนแปลง - สิงห์สำออย (พ.ศ. ๒๕๒๐)
: ดอกดิน กัญญามาลย์ ♥♥♥♡
“สิงห์สำออย คือผลงานจริงๆของดอกดิน กัญญามาลย์ เพลิดเพลินบันเทิงรมณ์ ครบเครื่อง แฝงข้อคิดสาระประโยชน์”
- ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (พ.ศ. 2520 / กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- แผลเก่า (พ.ศ. ๒๕๒๐)
: เชิด ทรงศรี ♥♥♥♥♡
“แผลเก่า (พ.ศ. ๒๕๒๐) ที่ไม่มีวันจางหายของเชิด ทรงศรี มีสรพงศ์ ชาตรี ครองรักกับนันทนา เงากระจ่าง ชั่วนิจนิรันดร์” - วัยตกกระ (พ.ศ. 2521 / กำกับโดย ชนะ คราประยูร / สร้างโดย พูนทรัพย์ โปรดักชั่น)
- ครูบ้านนอก (พ.ศ.๒๕๒๑)
: สุรสีห์ ผาธรรม ♥♥♥♡
“ครูบ้านนอก พ.ศ.๒๕๒๑ อาจดูเก่า เชย ล้าสมัย แต่แนวคิด อุดมการณ์ ใจความยังคงสดใหม่ ควรค่าอย่างยิ่งกับคนไทย สักครั้งหนึ่งต้องหามารับชม”
- เมียหลวง (พ.ศ. 2521 / กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- คนภูเขา (พ.ศ. 2522 / กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- เลือดสุพรรณ (พ.ศ. ๒๕๒๒)
: เชิด ทรงศรี ♥♥♡
“เลือดสุพรรณ ผลงานพลีชีพของเชิด ทรงศรี ที่มีเพียงลลนา สุลาวัลย์ และ ส. อาสนจินดา รอดตายมาได้” - สุดสาคร (พ.ศ. 2522)
: ปยุต เงากระจ่าง ♥♥
“ภาพยนตร์ไทย สุดสาคร ของปยุต เงากระจ่าง มีภาพวาดที่สุดสวย และเพลงประกอบดนตรีไทยสุดไพเราะ แต่ก็เท่านั้น ที่เหลือคือหายนะ” - หลวงตา (พ.ศ. 2523 / กำกับโดย เพิ่มพล เชยอรุณ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- อุกาฟ้าเหลือง (พ.ศ.2523)
: หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ♥♥♥♥♥
“อุกาฟ้าเหลือง คือหนึ่งในหนังไทยยอดเยี่ยมที่สุด และจะทำให้คุณรักเมืองไทยมากขึ้นด้วย”
- บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523 / กำกับโดย รุจน์ รณภพ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- ประชาชนนอก (พ.ศ. 2524 / กำกับโดย มานพ อุดมเดช)
- ลูกอีสาน (พ.ศ. 2525 / กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- คนกลางแดด (พ.ศ. 2525 / สร้างและกำกับโดย คิด สุวรรณศร)
- ผู้แทนนอกสภา (พ.ศ. ๒๕๒๖)
: สุรสีห์ ผาธรรม ♥♥♡
ผู้แทนนอกสภา แม้เอ่อล้นด้วยความตั้งใจดี แต่ปัจจุบันนี้กลายเป็นเพียงบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทย
- มือปืน (พ.ศ. 2526 / กำกับโดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล / สร้างโดย วีซีโปรโมชั่น แอนด์ พิคเจอร์ – ซีเอสพี โปรดักชั่น)
- น้ำพุ (พ.ศ. ๒๕๒๗)
: ยุทธนา มุกดาสนิท ♥♥♥♥
“น้ำพุ ของผู้กำกับยุทธนา มุกดาสนิท จะทำให้ทั้งผู้ใหญ่และวัยรุ่น ตื่นขึ้นจากอาการมืดบอด สะลึมสะลือ หวนกลับมามีสติดั่งน้ำใส” - ข้างหลังภาพ (พ.ศ. ๒๕๒๘)
: เปี๊ยก โปสเตอร์ ♥♥♥♥♥
“ข้างหลังภาพ พ.ศ. ๒๕๒๘ ของเปี๊ยก โปสเตอร์ มีสิ่งงดงาม ความลุ่มลึกลับหลบซ่อนเร้นอยู่” - ผีเสื้อและดอกไม้ (พ.ศ. ๒๕๒๘)
: ยุทธนา มุกดาสนิท ♥♥♥♥
“ผีเสื้อและดอกไม้ ทำให้ยุทธนา มุกดาสนิท โบยบินกลายเป็นดาวค้างฟ้า ส่งกลิ่นหอมทั่วผืนผสุธา”
- ฉันผู้ชายนะยะ (พ.ศ. 2529 / กำกับโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล / สร้างโดย พูนทรัพย์ โปรดักชั่น)
- ปลื้ม (พ.ศ. 2529 / กำกับโดย อดิเรก วัฏลีลา, ธนิตย์ จิตนุกูล / สร้างโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์)
- ด้วยเกล้า (พ.ศ.๒๕๓๐)
: บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ♥♥♥♥
“ด้วยเกล้า คือภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงคุณค่าที่สุด”
- บุญชูผู้น่ารัก (พ.ศ. 2531 / กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- คนทรงเจ้า (พ.ศ. 2532 / กำกับโดย แจ๊สสยาม (ประกฤษณ์ บุญประพฤกษ์) / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- กลกามแห่งความรัก (พ.ศ. 2532 / กำกับโดย ทรนง ศรีเชื้อ)
- บ้านผีปอบ (พ.ศ. 2532 / สร้างโดย บริษัทกรุ๊ฟโฟร์)
- ปุกปุย (พ.ศ. 2533 / กำกับโดย อุดม อุดมโรจน์ / สร้างโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์)
- …คือฉัน (พ.ศ. ๒๕๓๓)
: แจ๊สสยาม ♥♥♥♥♡
“…คือฉัน คือโคตรหนัง Feminist น่าจะยอดเยี่ยมที่สุดของเมืองไทย”
- กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ (พ.ศ. 2534 / กำกับโดย สมจริง ศรีสุภาพ / สร้างโดย ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์)
- ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด (พ.ศ. 2536 / กำกับโดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- ๒๔๙๙ อันธพาลครองเมือง (พ.ศ. ๒๕๔๐)
: นนทรีย์ นิมิบุตร ♥♥♥♡
“๒๔๙๙ อันธพาลครองเมือง ของนนทรีย์ นิมิบุตร คงครองใจคนไทยได้ทุกยุคทุกสมัย” - เรื่องตลก 69 (พ.ศ. 2541 / กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง / สร้างโดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
- นางนาก (พ.ศ. ๒๕๔๒)
: นนทรีย์ นิมิบุตร ♥♥♥♡
การฟื้นคืนชีพของ นางนาก ฉบับผู้กำกับ นนทรีย์ นิมิบุตร เพื่อกลายเป็นตำนานแห่งวงการภาพยนตร์ไทย
- ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. ๒๕๔๓)
: วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
“ฟ้าทะลายโจร ผลงานแรกของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง แจ้งเกิดกลายเป็นตำนานเสือไทย”
- สุริโยไท (พ.ศ. 2544 / กำกับโดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล / สร้างโดย สหมงคลฟิล์ม, พร้อมมิตร โปรดักชั่น)
- สุดเสน่หา (พ.ศ. 2545 / กำกับโดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)
- มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. ๒๕๔๔)
: เป็นเอก รัตนเรือง ♥♥♥♥
“มนต์รักทรานซิสเตอร์ คืออัลบัมรวมเพลงลูกทุ่งของ เป็นเอก รัตนเรือง จัดจ้าน โดนใจ ฮิตอมตะแห่งศตวรรษ”
- แฟนฉัน (พ.ศ. 2546 / กำกับโดย คมกฤษ ตรีวิมล,นิธิวัฒน์ ธราธร,อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม,วิทยา ทองอยู่ยง,ทรงยศ สุขมากอนันต์,วิชชา โกจิ๋ว)
- คืนไร้เงา (พ.ศ. 2546 / กำกับโดย พิมพ์พกา โตวิระ / สร้างโดย จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์)
- พระอภัยมณี (พ.ศ. 2547 / กำกับโดย ชลัท ศรีวรรณา / สร้างโดย ซอฟต์แวร์ ซัพพลายส์ อินเตอร์เนชั่ลแนล)
- ทวิภพ (พ.ศ. ๒๕๔๗)
: สุรพงษ์ พินิจค้า ♥♥♥♡
“ทวิภพ พ.ศ. ๒๕๔๗ ของสุรพงษ์ พินิจค้า คือภาพยนตร์แนวอนุรักษ์นิยม ที่เต็มเปี่ยมด้วยความทะเยอทะยาน”
reference: www.fapot.org