1234 Spring, Summer, Fall, Winter … and Spring
ฤดูกาลเคลื่อนผ่าน raremeat.blog ก้าวย่างมาถึง 1,234 บทความ เกือบจะครึ่งหนึ่งความตั้งใจ แม้ปลายทางยังลิบลับห่างไกล แต่คงไม่นานหรอก เดี๋ยวก็ถึงเส้นหลักปักชัย
ไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสแวะเวียนหวนกลับมารับชมผลงานของผู้กำกับ Abbas Kiarostami และได้เกิดความเข้าใจแนวคิดหนึ่งน่าสนใจมากๆ
“We can never get close to the truth except through lying”.
– Abbas Kiarostami
ภาพยนตร์ ในมุมมองของผู้กำกับ Kiarostami คือรูปแบบหนึ่งของการโกหก ‘หลอกลวง’ ไม่ว่าทั้งหมดจะคือเรื่องจริง ครึ่งๆกลางๆ หรือปรุงแต่งรังสรรค์สร้าง เพราะทุกสิ่งอย่างเมื่อถูกบันทึกกลายเป็นภาพ/งานศิลปะ ย่อมสูญเสียองค์ประกอบความจริง ‘reality’ ไปหมดสิ้น
เมื่อมนุษย์เริ่มตระหนักได้ถึงสิ่งบิดเบือน ลวงหลอกตา เข้าใจคลาดเคลื่อนจากที่เคยเป็นมา ย่อมเต็มไปด้วยข้อฉงนสงสัยนานับประการ ครุ่นคิดค้นหา ต่อยอดไปเรื่อยๆจนถึง ‘แล้วอะไรบ้างในโลกใบนี้ที่คือสัจธรรมความจริง?’ นั่นคือโคตรคำถามปรัชญาชีวิต จุดสูงสุดแห่งปริศนาที่ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้
ผมเคยจำแนกแยกแยะระดับความเข้าใจต่อภาพยนตร์ (Understanding Level) ไว้ดังนี้
1. Beginner สำหรับผู้เริ่มต้น ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญใดๆ แต่สามารถครุ่นคิดทำความเข้าใจเนื้อหาสาระจาก ‘หน้าหนัง’
2. Amateur มือสมัครเล่น พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง สามารถครุ่นคิดทำความเข้าใจเนื้อหาสาระ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในระดับซับซ้อนขึ้น
3. Intermediate ระดับปานกลาง เริ่มมีความรู้เชี่ยวชาญ เข้าใจองค์ประกอบศิลป์ สามารถครุ่นคิดถึงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ สื่อความหมายนามธรรม
4. Professional มากด้วยประสบการณ์และความเข้าใจในศาสตร์ศิลป์ ช่างสังเกต วิเคราะห์ ครุ่นคิดตีความหมาย และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะกับศิลปินผู้สร้างสรรค์
5. Veteran คืองานศิลป์ประเภท ‘High Art’ มีความลึกซึ้ง ซับซ้อน ต้องอาศัยองค์ความรู้ขั้นสูง ประสบการณ์ในการครุ่นคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงหลายๆผลงานของศิลปินผู้สร้างเข้าด้วยกัน และมองหาความสัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบถึง
และโดยไม่รู้ตัวผมได้บังเอิญค้นพบเจอระดับ 6 ที่สูงขึ้นไปอีก ขอตั้งชื่อเรียกว่า Messiah ความสามารถในการเชื่อมโยงงานศิลปะ/แนวคิดศิลปินผู้สร้าง เข้ากับสัจธรรมความจริงของโลก(และจักรวาล)
มีหลายคนที่แมสเซส ทักแชท สอบถามจุดประสงค์ของการสรรค์สร้าง raremeat.blog เพื่ออะไรกันแน่? แรกเริ่มที่ผมเคยเขียนไว้ใน ABOUT US เป้าหมายคือค้นหาหนังโปรดเรื่องถัดไป(ของตนเอง) แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็พบเห็นว่า ภาพยนตร์หลายๆเรื่องมีลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริง ปลูกฝังสร้างค่านิยมทัศนคติผิดๆ แล้วผู้ชมก็ดันหลงเชื่อสนิทแบบไม่เอะใจ นั่นเองทำให้ผมเริ่มดึงเอาพุทธศาสนาเข้ามาเชื่อมโยงอธิบาย ซึ่งสามารถช่วยไขข้อสงสัยอะไรหลายๆอย่างให้ได้รับความกระจ่างแจ้ง
ปรัชญาการรับชม/เขียนบทความวิจารณ์ของผมในปัจจุบันนี้ มาถึงจุดที่ต้องการค้นหาข้อเท็จจริงจากภาพยนตร์ อะไรบ้างคือสิ่งถูกผิด มีความเป็นไปได้ ไม่ใช่โกหกหลอกลวง สร้างมายาคติ ปลูกฝังทัศนคติชวนเชื่อโลกตะวันตก ขณะเดียวกันก็พยายามวางตัวเป็นกลาง แล้วนำเสนอมุมมองความคิดเห็นต่างจากทั้งฝั่งซ้าย-ขวา เชื่องโยงอ้างอิงพุทธศาสนา นำหลักธรรมคำสอนที่เหมาะสมกับบริบทชนชาวไทย น่าจะสามารถให้คำแนะนำผู้อ่านได้ถูกจริตยิ่งกว่า
ก็นี่แหละครับคือสาเหตุผลที่ทำให้ผมขนลุกขนพอง ต่อนิยามภาพยนตร์ที่มีความคล้ายผู้กำกับ Abbas Kiarostami เราสามารถค้นหาสัจธรรมเท็จจริง ได้จากการทำความเข้าใจสิ่งโกหกหลอกลวง
เกร็ด: ผู้กำกับ Michael Haneke ก็มีมุมมองทัศนคติเดียวกับ Kiarostami เคยให้สัมภาษณ์ว่า
“Film is 24 lies per second at the service of truth, or at the service of the attempt to find the truth”.
– Michael Haneke
รอบหลายเดือนที่ผ่านมานี้ ในที่สุดผมก็สามารถเก็บตกครบร้อยชาร์ท Sight & Sound: Director’s Poll 2012 จริงๆตั้งใจเล็งต่อ Cahiers du cinéma: Top 100 of all time แต่เดี๋ยวค่อยว่ากันอีกทีดีกว่า
แยกตามประเภทของบทความ
- anime (100)
- anime 3d (3)
- anime film (68)
- anime series (21)
- stop motion (8)
- games (10)
- movie (1,087)
- documentary (32)
- feature film (967)
- short film (14)
- silent film (84)
- tv-movie (1)
- music (26)
- ballet (1)
- classic (22)
- opera (2)
แยกตามประเทศ
- african (1)
- asian (341)
- chinese (50)
- chinese mainland (17)
- hong kong (26)
- taiwanese (7)
- indian (66)
- bollywood (53)
- kollywood (2)
- tollywood (9)
- bengali (8)
- telugu (1)
- japanese (131)
- korean (17)
- middle-east (11)
- iranian (10)
- israeli (1)
- south-east asia (66)
- filipino (3)
- thai (63)
- chinese (50)
- canadian (2)
- european (381)
- austrian (3)
- belgian (1)
- british (88)
- czechoslovakia (1)
- danish (3)
- dutch (1)
- french (118)
- german (34)
- greek (1)
- hungarian (2)
- irish (3)
- italian (62)
- polish (6)
- romanian (3)
- scandinavian (25)
- norwegian (1)
- swedish (24)
- spanish (6)
- hollywood (449)
- latin america (9)
- brazilian (2)
- chilean (1)
- mexcican (6)
- oceania (3)
- australian (2)
- new zealand (1)
- soviet union (32)
- armenian (1)
- georgian (1)
- lithuania (1)
- russian (26)
- ukrainian (3)
แยกตามประเภทบทความ
- best of (12)
- greet (13)
- knowledge (26)
- mini review (66)
- review (1,129)
แยกตามคะแนน
- คะแนนคุณภาพ (Quality)
- RARE-GENDARY (654)
- SUPERB (407)
- THUMB UP (137)
- UNDERESTIMATE (23)
- WORST (1)
- คะแนนความชอบส่วนตัว (My Score)
- FAVORITE (74)
- LOVE (283)
- LIKE (652)
- SO-SO (169)
- WASTE (45)
แยกตามเรตติ้ง
- G-Rated (99)
- PG (253)
- PG-13 (372)
- PG-15 (226)
- R-Rated (229)
- NC-17 (18)
แยกตามระดับความเข้าใจ
- beginner (472)
- amateur (156)
- intermediate (366)
- professional (135)
- veteran (67)
แยกตามลำดับลิสแนะนำ
- EAT IT BEFORE DIE (343)
- rare CINEMATOGRAPHY (589)
- rare EDITED (402)
- rare PERFORMANCE (608)
- rare SONG (186)
- rare SOUNDTRACK (436)
- rare SPECIAL EFFECT (74)
- rare STORY (665)
- rare VISUAL EFFECT (73)
เดี๋ยวนะ … จะมีใครตอบได้ไหมว่าทำไมผมถึงตั้งชื่อบทความ Spring, Summer, Fall, Winter … and Spring ????
21 เมษายน 2562
Leave a Reply