Baron Prášil
Baron Prášil

8∞

ถ้าเรามองเอียงๆเลขแปด (8) จะกลายเป็นอนันต์ (∞) อนันต อนันตะ อนนฺต หมายถึง หาที่สุดมิได้, ไม่จบสิ้น, ไม่มีขอบเขต (endless, infinite, boundless) โดยสิ่งที่เป็น “อนันตะ” มีอยู่เพียง 4 อย่าง อากาศไม่มีที่สุด, จักรวาลไม่มีที่สุด, ชนิดของสัตว์ไม่มีที่สุด และพุทธญาณไม่มีที่สุด

ตามคัมภีร์อัฏฐสาลินี หรืออรรถสาลินี (เป็นคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความในธัมมสังคณีแห่งพระอภิธรรมปิฎก) กล่าวไว้ว่า สิ่งที่เป็น “อนันตะ” คือหาที่สุดมิได้ มีอยู่เพียง 4 อย่าง

  1. อากาศไม่มีที่สุด (อากาโส อนนฺโต), อากาศในทิศบูรพา ทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ (คือทุกทิศทุกที่) กำหนดนับไม่ได้ว่ามีปริมาณกว้างไกลเท่านี้ร้อยโยชน์ หรือเท่านี้พันโยชน์
  2. จักรวาลไม่มีที่สุด (จกฺกวาฬานิ อนนฺตานิ), สมมุติว่าเอาค้อนเหล็กขนาดเท่าขุนเขาสิเนรุ ทุบแผ่นดินให้แยกเป็นสองซีกแล้วโยนค้อนนั้นลงไป ค้อนเหล็กก็จะลอยลิ่วลงเบื้องล่างเรื่อยไป หาที่จะรองรับไว้มิได้เลย
  3. จำพวกสิ่งมีชีวิตไม่มีที่สุด (สตฺตนิกาโย อนนฺโต), ชนิดของสัตว์ (สิ่งมีชีวิตที่มีจิตใจ) อาศัยอยู่ในน้ำ บนบก ในจักรวาลทั้งหลาย ซึ่งไม่มีประมาณดังที่ว่ามานั้น ก็นับประมาณไม่ได้ว่ามีกี่ชนิด
  4. พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไม่มีที่สุด (พุทฺธญาณํ อนนฺตํ), พุทธญาณมีความเป็นอนันตะยิ่งกว่าอนันตะทั้ง 3 นั้นเสียอีก สาเหตุเพราะพระสัพพัญญุญาณหนึ่งเดียว สามารถกำหนดจิตของสิ่งมีชีวิตในอนันตจักรวาลได้พร้อมกันทั้งหมด (รับรู้ปริมาณอากาศ ขนาดจักรวาล จำพวกสิ่งมีชีวิต) ปานว่าเอาสิ่งของขึ้นชั่งหรือตวงนับได้โดยง่ายฉะนั้น

บางท่านพยายามกล่าวอ้างว่า กิเลสตัณหาคืออีกสิ่งที่หาที่สุดมิได้! อยากได้อยากมี อยากครอบครองเป็นเจ้า ไม่รู้จักคำว่าเพียงพอดี แต่ในความเป็นจริงมนุษย์มีข้อจำกัดมากมาย ด้วยอายุขัยที่แสนสั้น มันจึงไม่สามารถขวยขวายไขว่คว้าทุกสรรพสิ่งอย่างในสากลจักรวาล เมื่อถึงจุดๆหนึ่งย่อมตระหนักว่าทำได้เพียงแค่นี้ แล้วก็หมดสิ้นเรี่ยวแรง ลมหายใจ … กิเลสตัณหา เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถกำจัดให้สิ้นสุด หลุดพ้น มันจึงไม่ใช่สิ่งหาที่สุดมิได้

เฉกเช่นเดียวกับ raremeat.blog ก้าวย่างสู่ปีที่แปด ถ้าตามแผนการเดิมเหลือเวลาอีกแค่สองปี แต่เพราะผมหยุดขี้เกียจไปสองปี และช่วงหลังๆก็ทำงานช้าลงหลายเท่าตัว เลยว่าจะขยายเวลาทำบล็อคนี้ไปอีกสักพัก อย่างน้อยตั้งใจให้ได้ถึง 2,000+ บทความ (ตอนนี้ได้ประมาณ 1,700+) และเก็บหมดชาร์ทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของนิตยสาร Sight & Sound


ช่วงปีที่ผ่านมากระแสปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence, AI) กำลังมาแรง ผมทดลองใช้ทั้ง ChatGPT และ Bard สอบถามความคิดเห็น ช่วยหาคำตอบในหลายๆบทความ แต่ว่ากันตามตรงมันยังไม่ค่อยเฉลียวฉลาดสักเท่าไหร่ หลายครั้งมักคิดเองเออเอง ต้องถามย้ำๆ ซ้ำๆ ไม่เช่นนั้นอาจได้ข้อมูลผิดๆถูกๆ … ยังไม่แนะนำให้ใช้ AI เหล่านี้กับงานที่มีความละเอียดอ่อน

หลายคนอาจสงสัยว่าเขียนบทความวิจารณ์ภาพยนตร์ ใช้ประโยชน์จาก AI พวกนี้อย่างไร? ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจวิธีการทำงานของมันก่อนนะครับ เรียกแบบไพเราะๆก็คือ “ปุจฉา-วิสัชนา” เราถามมันตอบ ขอแค่ตั้งคำถามที่ถูกต้อง โปรแกรมก็อาจนำเสนอคำตอบที่เหมาะสม ยกตัวอย่าง

ปุจฉา: Can you summary film 12 Angry Men (1957)?
วิสัชนา ChatGPT: Certainly! “12 Angry Men” is a classic 1957 film directed by Sidney Lumet. The story revolves around a jury deliberating the guilt or innocence of a young man accused of murdering his father. The jury initially seems ready to convict the defendant, but one juror (played by Henry Fonda) raises reasonable doubt and encourages the others to reconsider. The film explores themes of justice, prejudice, and the power of individual conviction. As the jurors debate, tensions rise, and the characters reveal their biases and personal struggles. Ultimately, through thoughtful discussion and analysis of the evidence, the jury reaches a just verdict. The film is praised for its powerful performances, tight storytelling, and examination of the flaws within the justice system.

(จริงๆมันพิมพ์ถามภาษาไทยได้นะครับ แต่ผมรู้สึกว่าคำตอบมันยังโง่ๆ อ่านแล้วงงๆ เลยชอบใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า แกรมม่ามั่วๆมันก็ฉลาดพอจะตอบคำถามได้)

การสอบถามกว้างๆไม่ค่อยมีประโยชน์สักเท่าไหร่ เพราะเราสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ IMDB, Wikipedia ฯ เทคนิคจึงคือการตั้งถามให้มีความจำเพาะเจาะจง ตรงกับสิ่งที่ฉงนสงสัย

ปุจฉา: Is Henry Fonda’s character do the right thing?
วิสัชนา ChatGPT: Yes, Henry Fonda’s character in “12 Angry Men” is portrayed as doing the right thing. He is the juror who initially stands alone in believing that there is reasonable doubt about the guilt of the young defendant. Throughout the film, he systematically and persuasively presents alternative viewpoints, raises questions about the evidence, and challenges the assumptions made by his fellow jurors.
Fonda’s character is not necessarily trying to prove the defendant innocent but rather advocating for a fair and thorough examination of the evidence before reaching a verdict. His commitment to justice and the principle of “innocent until proven guilty” plays a crucial role in the jury’s deliberations and contributes to the ultimate outcome of the case.

ปุจฉา: Is young man guilty?
วิสัชนา ChatGPT: The film “12 Angry Men” leaves the guilt or innocence of the young man ambiguous. The focus of the movie is on the jury deliberation process and the exploration of reasonable doubt rather than providing a clear answer to whether the defendant is guilty or not. The film’s narrative structure doesn’t reveal the actual events of the alleged crime, and the audience is left to draw its own conclusions based on the jury’s deliberations.
The strength of the film lies in its examination of the flaws within the justice system and the impact of personal biases on decision-making, rather than in providing a definitive answer to the guilt or innocence of the accused.

สิ่งที่ยกตัวอย่างมานี้สำหรับคนที่มีข้อคำถาม เกิดความฉงนสงสัย ไม่รู้จะไปสอบถามใคร ขี้เกียจตั้งกระทู้ถามพันทิป คำตอบของ AI น่าจะสร้างความพึงพอใจได้ระดับหนึ่ง! แต่สำหรับนักวิจารณ์/นักเรียนทำรายงาน/นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณอย่างมากๆนะครับ สามารถอ้างอิง ตรวจสอบความเข้าใจ แต่สุดท้ายเราควรครุ่นคิดเขียนบทสรุปด้วยตัวเองจะดีกว่า … พูดง่ายๆว่าอย่าเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะบางครั้งมันอาจให้คำตอบผิดๆโดยไม่รู้ตัว

สำหรับวิธีการที่ผมใช้ปรึกษา AI มักในลักษณะค้นหาข้อมูล เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ความคิดเห็นนักวิจารณ์อื่นๆ (ช่วงแรกๆผมเคยล้วงคำกล่าวอ้างอิงจากนักวิจารณ์ แต่ปัจจุบันทำไม่ได้แล้วเพราะมันเอาแต่อ้างเรื่องลิขสิทธิ์) ยกตัวอย่าง

ปุจฉา: Is Henry Fonda first choice leading role in 12 Angry Men (1957)?
วิสัยนา ChatGPT: Yes, Henry Fonda was the first choice for the leading role in “12 Angry Men” (1957). Fonda not only portrayed Juror #8 but also played a crucial role in bringing the project to fruition. He was passionate about the script and the themes explored in the film, particularly those related to justice and the flaws within the legal system.
Fonda’s involvement in the production extended beyond acting; he also served as one of the film’s producers. His commitment to the project and his performance as Juror #8 are widely praised and contributed significantly to the success and enduring legacy of “12 Angry Men.”

ปุจฉา: What interest Sydney Lumet accept direct his first film?
วิสัยนา ChatGPT: Sidney Lumet’s interest in directing “12 Angry Men” was sparked by his experience working on live television dramas. Before directing the film, Lumet had a successful career directing various television productions, and he developed a reputation for his skill in handling intense, character-driven narratives.
When offered the opportunity to direct the film adaptation of “12 Angry Men,” Lumet was drawn to the compelling nature of the story and the challenge of transforming a single-room, dialogue-driven play into a visually engaging and cinematic experience. Lumet’s interest in the themes of justice, morality, and human behavior explored in the script also played a significant role in his decision to accept the directorial role. The success of “12 Angry Men” marked the beginning of Lumet’s illustrious career as a film director.

ปุจฉา: Where this film shooting location?
วิสัชนา ChatGPT: The 1957 film “12 Angry Men” was primarily shot at the Fox East 68th Street Studio in New York City, which was later known as Fox Movietone Studio. The film is known for its intense and confined setting, taking place almost entirely within the jury room. While the exterior scenes of the courthouse were shot at the New York County Courthouse located at 60 Centre Street in New York City, the bulk of the film’s action, including the jury room scenes, was filmed on the studio set.

ปุจฉา: What technique cinematographer Boris Kaufman use in this film?
วิสัชนา ChatGPT: Boris Kaufman, the cinematographer of “12 Angry Men,” employed several techniques to enhance the visual storytelling and capture the intense atmosphere of the film. Some notable techniques include:
1. Long Takes: Kaufman used long takes, sometimes lasting several minutes, to maintain a sense of real-time tension and create a feeling of immediacy. The extended shots contribute to the feeling of being in the jury room with the characters.
2. Deep Focus: Kaufman utilized deep focus to keep multiple characters in focus within the frame simultaneously. This allowed viewers to observe the reactions and interactions of the jurors without cutting between close-ups.
3. Low-Angle Shots: To emphasize the power dynamics and heighten the intensity of certain moments, Kaufman incorporated low-angle shots, particularly during moments of conflict and persuasion.
4. Gradual Lighting Changes: As the deliberations progress and emotions intensify, Kaufman subtly adjusted the lighting in the jury room. This gradual change in lighting helps mirror the evolving dynamics and moods of the characters.
5. Limited Camera Movement: The confined setting of the jury room led to limited camera movement, contributing to the sense of claustrophobia and emphasizing the focus on the characters and their dialogue.
These cinematographic techniques, combined with Sidney Lumet’s direction, played a crucial role in creating the gripping and immersive atmosphere of “12 Angry Men.”

สิ่งสุดท้ายที่ผมขอย้ำเตือนอีกครั้ง ทั้ง ChatGPT และ Bard มันไม่ได้ตอบคำถามถูกทุกสิ่งอย่าง แถมบางครั้งยังอุปโหลกคำกล่าวอ้างขึ้นมา ทุกครั้งต้องทำการตรวจสอบ ถามซ้ำ อย่าเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์

ปุจฉา: What’s critic said about Henry Fonda role in 12 Angry Men (1957)?
วิสัชนา Bard: Henry Fonda’s performance as Juror 8 in 12 Angry Men (1957) has been universally praised by critics. He is widely considered to be the heart and soul of the film, and his performance is often cited as one of the greatest in film history.
Here are some of the most notable critical reviews of Fonda’s performance:
– “Fonda is brilliant as Juror 8, the voice of reason in the jury room.” – The New York Times
– “Fonda gives a masterful performance that is both intelligent and compassionate.” – Variety
– “Fonda is the driving force behind the film, and his performance is simply unforgettable.” – The Los Angeles Times
– “Fonda delivers a tour-de-force performance that is sure to go down in film history.” – The Hollywood Reporter
– “Fonda’s performance is one of the most moving and inspiring in all of cinema.” – The American Film Institute
Fonda’s performance as Juror 8 is truly remarkable. He is able to convey a wide range of emotions, from anger and frustration to compassion and understanding. He is also able to make Juror 8 seem like a real person, someone that we can all relate to.
Fonda’s performance was justly rewarded with an Academy Award nomination for Best Actor. He lost to Alec Guinness for his performance in The Bridge on the River Kwai, but his performance as Juror 8 remains one of the most iconic in film history.

จริงอยู่ว่านักวิจารณ์ชื่นชมการแสดงของ Henry Fonda แต่เขาไม่ได้เข้าชิง Oscar: Best Actor และคำกล่าวอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ต่างๆล้วนไม่ถูกต้องสักสำนัก ต่างเป็นการอุปโหลกขึ้นเองของ Bard (เมื่อก่อน ChatGPT ยังยินยอมตอบคำถามนี้ แต่ปัจจุบันหลีกเลี่ยงไม่กล่าวอ้างอิงถึงนักวิจารณ์ใดๆ)

หนทางยังอีกยาวไกลกว่าที่ AI จะเฉลียวฉลาดระดับพระเจ้า Skynet สามารถตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น แต่งเพลง/บทกวี (ลองให้มันแต่งกลอนภาษาไทยดูนะครับ แล้วจะพบว่าโคตรจะ WTF) แม้แต่เขียนบทหนัง บทความวิจารณ์ หรือสรรค์สร้างภาพยนตร์! อย่าไปหวาดกลัวเทคโนโลยีจะเอาชนะมนุษย์ แต่มองหาช่องทางใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มี แล้วเราจะสามารถก้าวไกล สู่ความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุด


ใครที่ติดตามแฟนเพจคงพบว่าผมไม่ได้อัพเดทมาหลายเดือนแล้ว สาเหตุเพราะถูกแฮ็ค (เพจมันก็ไม่มีอะไร แฮ็คไปทำไมกัน??) ขี้เกียจวุ่นๆวายๆเลยตัดสินใจสร้างเพจใหม่ ยังไม่ทันไรโดนแฮ็คโปรไฟล์ ลบข้อมูลส่วนตัว ปรับระบบความปลอดภัยเป็นยืนยันสองชั้น แบบนี้ก็ชิบหาย จบเห่ ยืนยันตัวตนไม่ได้ (เพราะผมไม่ได้ชื่อจริง) เลยหมดสิ้นศรัทธากับ Facebook เหลือแค่อัพเดทใน X/Twitter เท่านั้นนะครับ แต่ถ้าอนาคตเว็บนี้เริ่มทำตัวไร้สาระ ก็ตามจากเว็บไซต์เอาเองก็แล้วกัน

โดยปกติผมจะใช้เวลาเขียนบทความใหม่ประมาณ 2-3 วัน (บางเรื่องอาจนานกว่านี้ถ้ามีรายละเอียดเยอะๆ โดยเฉพาะพวกผู้กำกับ ‘auteur’) แต่ถ้าไม่พบเจอบทความใหม่ในหน้าแรก ก็อาจปรับปรุงบทความเก่าๆ สามารถค้นหาด้วยการพิมพ์ “เดือน/ปี” ในกล่อง Search ยกตัวอย่าง “11/2023”, “9/2022” ก็น่าจะพบเจอเรื่องที่เพิ่งแก้ไขแล้วเสร็จนะครับ

ปีก่อนผมวางแผนจะเขียนถึงผลงานของ Lars von Trier, Jacques Rivette, Jia Zhangke แต่ปรากฎว่าหาเวลาไม่ได้ ปีนี้คงไม่ให้คำสัญญาลมๆแล้งๆอะไร อย่างน้อยเอาของสามผู้กำกับนี้ให้จงได้เสียก่อน ค่อยว่ากันอีกที!

15-Nov-2023

2
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
1 Thread replies
2 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
2 Comment authors
ณ.คอน ลับแลChotoBse Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
ChotoBse
Guest
ChotoBse

เสียดาย เลยครับ แอด แล้วแอดจะเปิด เพจที่สามมั้ยคับ

%d bloggers like this: