À Nous la Liberté

À Nous la Liberté (1931) French : René Clair ♥♥♥♥♡

ผลงานมาสเตอร์พีซของ René Clair ที่ยังคงสะท้อนอคติต่อหนังเสียง (Sound Film) และการมาถึงของยุคสมัยอุตสาหกรรม สร้างแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Modern Times (1936) แต่กลับทำให้ Charlie Chaplin ถูกฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาล จำต้องไกล่เกลี่ยด้วยการยินยอมความ

ใครเคยรับชม Modern Times (1936) น่าจะจดจำซีเควนซ์ที่ The Little Tramp ทำงานในโรงงาน หมุนน็อตบนรางเลื่อน พลาดไปตัวหนึ่งทำให้ต้องวิ่งตามแก้ไขอุตลุต … มันช่างมีความละม้ายคล้าย แทบจะเหมือนเปี๊ยบกับ À Nous la Liberté (1931) เลยไม่น่าแปลกใจถูกฟ้องร้องจากสตูดิโอ Tobis Klangfilm

We, the undersigned, directors of Tobis Klangfilm, hereby file a lawsuit against Charlie Chaplin and United Artists, alleging that their film Modern Times (1936) is a copyright infringement of our film À Nous la Liberté (1931).

The two films are strikingly similar in many respects. Both films use factory settings, depict workers as cogs in a machine, and use slapstick comedy. In addition, there are numerous specific scenes and sequences that are identical in both films.

We believe that these similarities are not coincidental. We believe that Chaplin and United Artists deliberately copied À Nous la Liberté in order to save time and money.

We are seeking damages in the amount of $1 million. We also ask that the court order Chaplin and United Artists to cease distribution of Modern Times.”

คำร้องที่สตูดิโอ Tobis Klangfilm ยื่นฟ้องภาพยนตร์ Modern Times (1936) เรียกร้องค่าเสียหาย $1 ล้านเหรียญ

ผกก. Clair ไม่ได้มีส่วนร่วมในการฟ้องร้องดังกล่าว (มีแต่สตูดิโอที่สูญเสียประโยชน์) เพราะเขาชื่นชอบผลงานของ Chaplin เป็นการส่วนตัว เคยกล่าวยกย่องสดุดี รู้สึกเป็นเกียรติเสียด้วยซ้ำที่ภาพยนตร์ของตนเองสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับคนดัง

I was flattered that Chaplin was inspired by my film, but I do not believe that he copied it. The similarities between the two films are due to the fact that we were both dealing with the same subject matter, the dehumanizing effects of industrial society.

I am glad that the court found in Chaplin’s favor, as I believe that it is important for artists to be free to express their ideas without fear of being sued.

René Clair

À Nous la Liberté (1931) คือผลงานชิ้นเอกของผู้กำกับ Clair ยังคงอยู่ในช่วงหมกมุ่น เต็มไปด้วยอคติต่อหนังเสียง (Sound Film) สร้างเรื่องราวให้หนึ่งในอาชญากรหลบหนี ทำงานไต่เต้าจนกลายเป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียง (Phonographs) … พอจะสังเกตเห็นความสัมพันธ์ไหมเอ่ย? อาชญากร = บริษัทผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียง = หนังเสียง

ยิ่งไคลน์แม็กซ์ของหนัง บังเกิดเหตุการณ์วุ่นๆวายๆในโรงงาน (ตามสไตล์ Clairian) จากนั้นสองเพื่อนสนิทละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง หวนกลับไปเป็นคนเร่ร่อน หาเช้ากินค่ำ โดยอ้างว่านั่นคืออิสรภาพชีวิต (สูงสุดกลับสู่สามัญ หรือคือความอยากกลับไปสร้างหนังเงียบอีกสักครั้ง) แล้วก้าวออกเดินไปตามท้องถนน … นี่ก็ละม้ายคล้ายช็อตจบของ Modern Times (1936) อีกเช่นกัน!


René Clair ชื่อจริง René-Lucien Chomette (1898-1981) นักข่าว-นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่กรุง Paris บิดาเป็นพ่อค้าสบู่ ฐานะกลางๆ โตขึ้นเข้าศึกษาปรัชญา Lycée Louis-le-Grand พออายุ 18 อาสาสมัครคนขับรถในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้รับบาดเจ็บกระดูกสันหลัง จึงเต็มไปด้วยความหลอกหลอน ต่อต้านสงคราม, ต่อมาทำงานนักข่าวหนังสือพิมพ์ฝั่งซ้าย L’Intransigeant

ครั้งหนึ่งมีโอกาสแต่งเพลงให้ศิลปิน Damin เธอชักชวนให้เขาไปสมัครเป็นนักแสดงภาพยนตร์สตูดิโอ Gaumont จับพลัดจับพลูได้รับบทนำ Le Lys de la vie (1920) กำกับโดย Loïe Fuller และ Gabrielle Sorère, หลังจากมีหลายผลงานการแสดง ก็ได้ทำงานผู้ช่วยผู้กำกับ Jacques de Baroncelli, กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The Crazy Ray (1924) แต่ออกฉายทีหลังหนังสั้นดาด้า Entr’acte (1924)

เมื่อปี ค.ศ. 1929, สตูดิโอสัญชาติเยอรมัน Tobis Klangfilm (Tobis Sound-Film) ที่ทำการบุกเบิกหนังเสียงในยุโรป ตัดสินใจก่อตั้งสาขาแห่งใหม่ขึ้นที่ Épinay ทางตอนเหนือกรุง Paris นำเอาเทคโนโลยีบันทึกเสียงเข้ามาติดตั้ง จากนั้นโน้มน้าวชักชวนผู้กำกับ Clair ยินยอมตอบตกลงสรรค์สร้างภาพยนตร์ Under the Roofs of Paris (1930) ภายใต้วิสัยทัศน์ของตนเอง

ผู้กำกับ Clair ไม่ได้มีความชื่นชอบหนังเสียง (Sound Film) แต่เพราะความสำเร็จอันล้นหลามจาก Under the Roofs of Paris (1930) ติดตามด้วย Le Million (1931) ทำให้สตูดิโอ Tobis Klangfilm มีความไว้เนื้อเชื่อใจ อีกทั้งยุคสมัยหนังเงียบ (Silent Film) ก็กำลังค่อยๆหมดสูญสิ้นความนิยม เลือนหายไปจากวงการภาพยนตร์ แล้วจะให้ฉันทำอย่างไร? … ก็ต้องอดรนทนทำหนังพูดต่อไป

I wanted to make a film about the modern world, about the way in which technology was changing our lives. I was particularly interested in the way in which people were becoming more and more like machines, as they were forced to work on assembly lines. I wanted to show how this was leading to a loss of individual freedom.

I wanted to show the absurdity of the modern world, but also the hope that we can still find freedom, even in the most difficult circumstances.

René Clair

ตามทัศนะของผู้กำกับ Clair การมาถึงของหนังเสียง (Sound Film) รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้วิถีชีวิตมนุษย์ปรับเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่รู้ตัวเรากำลังสูญเสียอิสรภาพ เพราะมัวหมกมุ่นอยู่กับการทำงาน ก้มหน้าก้มตาทำสิ่งเดิมๆซ้ำๆ โหยหาความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง เชื่อว่านั่นจักทำให้ตนเองสุขสบาย แต่มันจะเป็นเช่นนั้นจริงๆนะหรือ??

I wanted to make a film that would show how technology can be used for good or for evil, and how it is up to us to decide how we use it. I believe that technology is a powerful tool, and that it can be used to improve our lives or to destroy them. It is up to us to make sure that we use it wisely.


เรื่องราวเริ่มต้นจากในเรือนจำแห่งหนึ่ง สองนักโทษร่วมห้องขัง Émile (รับบทโดย Henri Marchand) และ Louis (รับบทโดย Raymond Cordy) ครุ่นคิดวางแผนหลบหนี แต่สุดท้ายกลับมีเพียง Louis ที่สามารถปีนป่ายกำแพง เอาตัวรอดออกสู่โลกภายนอก

หลังจากได้รับอิสรภาพ Louis เริ่มทำงานเป็นพ่อค้าขายแผ่นเสียง ไต่เต้าจนกลายเป็นนักธุรกิจ เจ้าของบริษัทผลิตเครื่องเล่น Phonographs มีโรงงานพร้อมเครื่องจักรสายการผลิตขนาดใหญ่ (Assembly Line) โดยใช้คนงานนับร้อยพัน ประกอบชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน

หลังจาก Émile ได้รับการปล่อยตัว เลือกใช้ชีวิตอย่างดื่มด่ำ นอนอาบแดด ฝันกลางวัน ไม่ต้องการทำอะไรทั้งนั้น แต่ตำรวจครุ่นคิดว่าเป็นคนเร่ร่อนเลยถูกจับกุม คุมขัง ครุ่นคิดจะผูกคอฆ่าตัวตาย แต่ไม่วายสามารถหลบหนีเอาตัวรอด แล้วพบเจอตกหลุมรักหญิงสาวอาศัยอยู่อพาร์ทเมนท์ฝั่งตรงข้าม ออกติดตามเธอจนเข้าทำงานโรงงานผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียง สร้างเรื่องวุ่นๆวายๆ จนทำให้ได้พบเจอเพื่อนเก่าอีกครั้ง

เรื่องราวจากนี้มันช่างเต็มไปด้วยความสับสน โกลาหล วุ่นๆวายๆ ให้ไปหารับชมหนังเอาเองก็แล้วกัน …


Henri François Jean André Marchand (1898-1959) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Mainvilliers บิดาเป็นพนักงานรถไฟ ฐานะค่อนข้างจะยากจน, โตขึ้นทำงานเป็นคนส่งโทรเลข ก่อนเดินทางสู่กรุง Paris เพื่อร่ำเรียนการแสดง แล้วแจ้งเกิดกับ À nous la liberté (1931)

รับบท Émile เป็นคนซื่อๆ ทึ่มทื่อ ใสซื่อบริสุทธิ์ รักในอิสรภาพ ชอบเพ้อฝันกลางวัน เข็ดหลากจำกับชีวิตในเรือนจำ เลยไม่ต้องการก้มหน้าก้มตาทำงานเมื่อกลับออกมาโลกภายนอก รวมถึงปฏิเสธรับเงินจาก Louis เพียงอยากใช้ชีวิตโดยไร้ซึ่งพันธนาการเหนี่ยวรั้ง กระทำสิ่งตอบสนองใจอยากเท่านั้น!

ภาพลักษณ์ของ Marchand เหมาะกับการเป็นนักแสดงตลกอย่างมากๆ ดูใสซื่อ ทึ่มทื่อ ชอบทำตัวไร้เดียงสา (มองผ่านๆก็แอบดูเหมือน The Little Tramp อยู่เล็กๆนะ) แต่มักซ่อนเล่ห์เพทุบาย ฉลาดแกมโกง และเป็นคนหัวขบถ นักปฏิวัติ ยึดถือมั่นในอิสรภาพชีวิต นั่นทำให้ผู้ชมรู้สึกจับต้อง สงสารเอ็นดู คอยส่งกำลังใจให้สามารถเอาตัวรอดพานผ่านเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ … นี่ถือเป็นตัวละคร ‘stereotypes’ พบเห็นบ่อยครั้งในหนังของผกก. Clair

Marchand, as the hero, is a revelation. He has the face of an angel and the soul of a poet. He is also a rascal, a dreamer, a rebel and a martyr.

นักวิจารณ์ Frank S. Nugent จาก The New York Times

ผมอ่านเจอว่า Marchand แม้มีผลงานแสดงกว่าสามสิบเรื่อง แต่ส่วนใหญ่กลับเป็นแค่ตัวประกอบ นักแสดงสมทบ แทบไม่เคยได้รับบทนำหลังจากนี้ สงสัยเพราะรูปไม่หล่อ หน้าตาไม่ดี ออกไปทางคอมเมอดี้ … อาจเพราะไม่พบเจอคาแรคเตอร์ของตนเองกระมัง เลยไม่สามารถแจ้งเกิดโด่งดัง แบบเดียวกับตัวละคร มาทางไหนไปทางนั้น จนแล้ว จนอยู่ จนต่อไป


Raymond Cordy ชื่อจริง Raymond Cordiaux (1898-1956) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Vitry-sur-Seine, Val-de-Marne ในครอบครัวนักแสดง ทำให้มีโอกาสขึ้นแสดงละครเวทีตั้งแต่ยังเด็ก ก่อนค้นพบความสนใจในสื่อภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้เคยรับบทคนขับแท็กซี่ Le Million (1931), แล้วแจ้งเกิดโด่งดัง A nous la liberté (1931) กลายเป็นขาประจำร่วมงานผู้กำกับ René Clair อีกหลายครั้ง

รับบท Louis เป็นคนเฉลียวฉลาด นักวางแผน มีหัวการค้า ทำให้สามารถไต่เต้าจากพ่อค้าข้างถนน กลายเป็นนักธุรกิจประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง แต่โดยไม่รู้ตัวทำให้ชีวิตสูญสิ้นอิสรภาพ ต้องปฏิบัติตามขนบประเพณี วิถีทางสังคม ผู้คนห้อมล้อมหน้าหลัง จนกระทั่งได้หวนกลับมาพบเจอ Émile ถึงสามารถหวนระลึกถึงความต้องการแท้จริง เลยตัดสินใจละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง หวนกลับไปเป็นคนเร่ร่อน ก้าวออกเดินสู่เสรีภาพ

ภาพลักษณ์ของ Cordy เพิ่มเติมจาก Marchand คือความภูมิฐาน ดูเฉลียวฉลาด บุคลิกภาพผู้นำ ทำสิ่งต่างๆด้วยความมุ่งมั่น แต่นั่นทำให้เขามองข้ามรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ รวมถึงความต้องการแท้จริงจากภายใน ผู้ชมรู้สึกสงสารเห็นใจ แบบเดียวกับตัวละคร Émile คอยส่งกำลังใจให้สามารถเอาตัวรอดพานผ่านเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ

Raymond Cordy is a revelation, with the face of a cherub and the soul of a poet. He is the perfect embodiment of the film’s message, and he brings it to life with a performance of great power and conviction.

นักวิจารณ์ Frank S. Nugent จาก The New York Times

อนาคตในวงการภาพยนตร์ของ Cordy ถือว่าตรงกันข้ามกับ Marchand เพราะเขาคือหนึ่งในขาประจำผกก. Clair เลยได้รับโอกาสมากมาย รวมๆแล้วเห็นว่ามีผลงานภาพยนตร์มากกว่าร้อยเรื่อง!


ถ่ายภาพโดย Georges Périnal (1897-1965) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ยุคหนังเงียบ เริ่มมีชื่อเสียงจาก Le Sang d’un poète (1930), ก่อนร่วมงานผู้กำกับ René Clair เรื่อง Sous les toits de Paris (1930), À nous la liberté (1931), จากนั้นโกอินเตอร์สู่อังกฤษ The Private Life of Henry VIII (1933), Rembrandt (1936), The Four Feathers (1939), The Thief of Bagdad (1940) **คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography, The Life and Death of Colonel Blimp (1943), The Fallen Idol (1948), A King in New York (1957) ฯ

หลังการทดลองผิดลองถูก Under the Roofs of Paris (1930) และ Le Million (1931) ทำให้ผกก. Clair มีความเชี่ยวชำนาญ รับรู้ข้อข้อด้อย ข้อจำกัดของเทคโนโลยีบันทึกเสียง รวมถึงงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้น (จากความสำเร็จของหนังทั้งสองเรื่อง) เป็นเหตุให้ À nous la liberté (1931) สามารถขยับขยายแนวคิด ขนาดงานสร้างอลังการยิ่งขึ้นอีก … ไม่จำกัดอยู่แค่ชุมชนชั้นล่าง/แรงงาน (Working Class) เหมือนทั้งสองเรื่องอีกต่อไป

งานภาพของหนังดูมีชีวิตชีวาขึ้นกว่าสองผลงานก่อนหน้า พบเห็นการขยับเคลื่อนเลื่อนกล้องในปริมาณเพิ่มมากขึ้น (อย่างที่บอกไปว่างบเยอะขึ้น เลยทำอะไรได้มากขึ้น) ขณะเดียวกันช็อตที่ไม่มีการขยับเคลื่อนไหว จะมีการเลือกมุมกล้องที่ดูผิดแผกแปลกตา เอียงๆ เฉียงๆ บางครั้ง Symmetric (สมมาตร) บางครั้งก็ Isometric เพื่อสื่อถึงความบิดเบี้ยวในสังคมอุตสาหกรรม โลกยุคสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการควบคุมครอบงำ

I used a lot of symmetrical compositions to create a sense of order and control, which contrasted with the chaotic and dehumanizing nature of the factory work.

René Clair

ทุกช็อตฉากถ่ายทำยังสตูดิโอ Tobis Klangfilm ด้วยการออกแบบงานสร้างโดย Lazare Meerson (ได้เข้าชิง Oscar: Best Art Direction) รับอิทธิพลจาก German Expressionism พยายามทำให้ภายในเรือนจำ และโรงงานผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียง มีความละม้ายคล้ายคลึง เต็มไปด้วยเหลี่ยมมุม รั้วเหล็ก ผนังกำแพง ฯ เพื่อสื่อถึงการถูกควบคุมขัง สูญเสียอิสรภาพชีวิต

แซว: ในเรือนจำจะไม่มีสายพานที่สามารถเลื่อน เลยเปลี่ยนมาใช้กล้องขยับเคลื่อนแทน

หลังหลบหนีออกจากเรือนจำ Louis ลักขโมยจักรยาน ขณะนั้นเหมือนกำลังมีการแข่งขัน สามารถปั้นเข้าเส้นชัยชนะเลิศอันดับหนึ่ง! แวบแรกที่ผมนึกถึงก็คือ ‘rat race’ คนรุ่นใหม่ล้วนถูกปลูกฝังว่าชีวิตคือการต่อสู้แข่งขัน ร่ำเรียนสูงๆ ทำงานไต่เต้า ประสบความสำเร็จร่ำรวยเงินทอง นั่นคือเป้าหมายเส้นชัย

เกร็ด: หลายคนน่าจะสังเกตออกว่าตัวละครปั่นจักรยานอยู่กับที่ กล้องไม่ได้มีการขยับเคลื่อนไปไหน เพียงภาพวาดฉากหลังดำเนินไป มันคือเครื่องเล่นชื่อว่า ‘cyclorama’ ใครเคยรับชม Letter from an Unknown Woman (1948) น่าจะมักคุ้นอยู่กระมัง

ผมเห็นช็อตนี้ก็บังเกิดเข้าใจเลยว่า ผกก. Clair ต้องการเปรียบเทียบธุรกิจเครื่องเล่นแผ่นเสียง (Phonographs) เทียบแทนสัญลักษณ์หนังเสียง (Sound Film) หรือหนังพูด (Talkie) เหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้น(กับบริษัทนี้)ล้วนสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็น ทัศนคติส่วนบุคคล

สิ่งน่าอึ่งทึ่งยิ่งกว่าของซีนนี้ คือเพลงประกอบพื้นหลัง จะได้ยินเครื่องเป่าลมทุ่มๆ (น่าจะ ทูบา) เป็นการสร้างเสียงเพื่อให้เกิดความสอดคล้องลำโพงเครื่องเล่น Phonographs … ต้องชื่นชม Georges Auric อัจฉริยะจริงๆ

À Nous la Liberté

“Work is freedom” จริงๆนะหรือ?? คำกล่าวนี้ไม่เพียงมีลักษณะชวนเชื่อทุนนิยม (Capitalism) ทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล แต่ยังสะท้อนแนวคิดสังคมนิยม (Socialist) คอมมิวนิสต์ (Communist) ล่อหลอกให้ผู้คนเสียสละตนเอง เสมอภาคเท่าเทียมจากภาระหน้าที่การงาน เพื่อนำพาความเจริญให้กับประเทศชาติ

Work is freedom. It is not a punishment, but a way to express our creativity and to contribute to society. When we work, we are not just earning a living, we are also making a difference in the world. We are building a better future for ourselves and for our children.

Of course, not all work is equal. Some work is more fulfilling than others. But even the most menial tasks can be meaningful if we approach them with a sense of purpose. When we work with our hearts, we are not just working for a paycheck, we are working for our own liberation.

René Clair

ผมลองสอบถาม ChatGPT ว่าฝรั่งเศสช่วงทศวรรษ 30s มีกฎหมายอะไรเกี่ยวกับคนเร่ร่อน (Vagrancy) ได้รับคำตอบว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย The Vagrancy Act of 1899 ไม่ต้องให้ประชาชนเกียจคร้าน ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย “idle and disorderly” ใครฝ่าฝืนจักต้องรับโทษจำคุก … นี่อาจคือเหตุผลที่สองหนุ่ม Émile และ Louis ถูกควบคุมขังตอนอารัมบทกระมัง

เกร็ด: กฎหมายคนเร่ร่อนดังกล่าว ถูกล้มเลิกไปเมื่อปี ค.ศ. 1994 แต่มันก็ยังมีข้อห้ามอื่นที่ทำให้ Vagrancy ยังคงถูกตีตราว่าคืออาชญากรรมในฝรั่งเศส

หลังจากที่ Émile ถูกตำรวจควบคุมตัวเนื่องจากครุ่นคิดว่าเป็นคนเร่ร่อน จู่ๆเสียงเพลงล่องลอยเข้ามาในห้องขัง จะมีช็อตที่กล้องโคลสอัพดอกไม้ ทำเหมือนว่า(ดอกไม้)กำลังขับขานบทเพลง แต่ดูแล้วไม่น่าเป็นไปได้เขาเลยเหม่อมองออกไปภายนอก พบเห็นหญิงสาวกำลังตัดแต่งดอกไม้ ริมฝีปากขยับเคลื่อนไหว คาดว่าคงเป็นเธอ … ก่อนสุดท้ายเฉลยว่าบทเพลงดังจากเครื่องเล่น Phonographs

เอาจริงๆตอนรับชม ผมไม่ได้มองซีนนี้ว่าดอกไม้กำลังขับขานบทเพลง หรือชักชวนให้ผู้ชมค้นหาแหล่งกำเนิดเสียง แต่บังเอิญอ่านพบเจอความตั้งใจผกก. Clair เลยนำมาอธิบายเล่าสู่กันฟัง

The flower singing scene was a way of showing that even the most ordinary things can be beautiful and magical. The flower is a symbol of nature, and its song is a reminder that there is still beauty in the world, even in the midst of oppression.

I wanted to create a scene that would be both realistic and dreamlike. The flower is real, but its song is not. It is a way of suggesting that there is a world beyond the one we see, a world of possibility and imagination.

René Clair

นี่เป็นสองช็อตที่นำเสนอติดๆกัน มีความละม้ายคล้ายจากสายพานเคลื่อนดำเนินไป แต่ภาพซ้ายคนงานกำลังประกอบเครื่องเล่นแผ่นเสียง ส่วนภาพขวาคือช่วงเวลาพักรับประทานอาหาร แค่สลับทิศทางเอียงขวา-เอียงซ้าย เพื่อแสดงถึงความบิดเบี้ยวของชีวิต สำหรับชนชั้นล่าง/แรงงาน (Working Class) ไม่ว่าจะกินหรือทำงาน ล้วนไม่ได้มีความแตกต่างเลยสักนิด! … แถมด้วยมุมก้ม รู้สึกต่ำตม ราวกับถูกใครบางคนควบคุมครอบงำ

ผู้กำกับ Clair มีความเชี่ยวชำนาญในการลำดับเรื่องราว โดยเฉพาะการปรากฎภาพสามช็อตนี้ไล่ๆเรี่ยๆ ให้ความรู้สึกราวกับพวกเขากำลังรับประทานอาหารร่วมกัน แต่แท้จริงแล้วคือต่างคนต่างสถานที่ ต่างสถานะชนชั้นเลยด้วยซ้ำ!

  • Paul (แฟนหนุ่มของ Jeanne) พนักงานในโรงงานผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียง รับประทานอาหารกับเพื่อนคนงาน
  • Jeanne รับประทานอาหารกับลุง ในห้องพักสองต่อสอง แสดงถึงความเป็นส่วนตัว วิถีชนชั้นกลาง
  • Émile สวมสูททักซิโด้ รับประทานอาหารหรูๆร่วมกับไฮโซ ชนชั้นสูง

ผู้ชมสมัยใหม่อาจเรียกช็อตนี้ว่า ‘Citizen Kane-like’ รูปภาพขนาดใหญ่ของ Louis แสดงถึงความทะนงตน หลงตัวเอง อวดอ้างว่าฉันยิ่งใหญ่ เหนือกว่าผู้อื่นใด (สะท้อนอีโก้ของตัวละคร) แต่อย่าลืมว่า À Nous la Liberté สร้างขึ้นปี ค.ศ. 1931 ก่อนหน้า Citizen Kane (1942) เป็นทศวรรษ! … แต่นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกในวงการภาพยนตร์นะครับ หนังเงียบฟากฝั่งสหภาพโซเวียต พบเห็นช็อตลักษณะนี้ได้แทบจะทั่วๆไปเลยละ

แซว: การตบมุกของภาพวาดนี้ก็คือ Louis (ผู้เป็นแบบภาพวาด) ปาขวดเหล้าทะลุเป้ากางเกง ผมครุ่นคิดว่าสื่อถึงการทำลายอีโก้ของตนเอง เพราะหลังจากนี้ตัวละครจะเริ่มสูญเสียสิ่งต่างๆเคยสร้างมา

Émile ตกหลุมรักแรกพบ Jeanne เมื่อบอกเล่าให้กับ Louis อาสาเป็นพ่อสื่อ ตัวตั้งตัวตี พร้อมจัดแจงทุกสิ่งอย่าง เซ็นเช็คให้ลุง(ของ Jeanne) แต่นั่นคือลักษณะอำนาจนิยม คลุมถุงชน ใช้เงินซื้อการแต่งงาน … ผมครุ่นคิดว่าผกก. Clair ต้องการสื่อว่า ความรักเกิดจากความรู้สึกของจิตใจ ไม่ใช่สิ่งที่เงินสามารซื้อหามาครอบครอง

แม้นัยยะการเผาธนบัตร มักจะสื่อว่า “เงินไม่ใช่ทุกสิ่งอย่าง” แต่ข้อเรียกร้องของบรรดาอดีตเพื่อนร่วมคุก Louis พวกมันกลับต้องการครอบครอง เป็นเจ้าของ อยากได้ส่วนแบ่งทุกสรรพสิ่งอย่าง นั่นคือความละโลบ โลภมาก ไม่รู้จักพอ เลวร้ายยิ่งกว่าเดิมเสียอีก! ด้วยข้ออ้างเพียงรูปถ่าย(ตอนติดคุก) ครุ่นคิดว่าสามารถแบล็กเมล์ ยืนค้ำหัว ถือไพ่เหนือกว่า

ใครที่เคยรับชมหลายๆผลงานของผกก. Clair น่าจะมักคุ้นกับซีเควนซ์การออกวิ่ง ไล่ล่าติดตาม ขึ้นลงบันได สถานที่ที่มีความเอียงๆ เฉียงๆ เต็มไปด้วยเหลี่ยมมุม (รับอิทธิพลจาก German Expressionism) รวมถึงพยายามหลบหนีขึ้นบนหลังคา เหล่านี้สามารถเรียกว่าสถาปัตยกรรม ‘สไตล์ Clairian’ ช่างมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวยิ่งนัก

ตามสไตล์ Clairian ไคลน์แม็กซ์ของหนังต้องมีเรื่องวุ่นๆวายๆ สับสน โกลาหล ครานี้เกิดจาก 1) ลมพายุพัดแรง 2) ตำรวจไล่ล่าจับกุม Émile & Louis 3) ธนบัตรปลิดปลิวจากกระเป๋าใส่เงิน, นำทั้งหมดมาร้อยเรียง ตัดสลับไปมา (ไม่เชิงว่า Fast-Cutting แต่นานเพียงพอให้ผู้ชมพบเห็นความวุ่นๆวายๆบังเกิดขึ้นในช็อตนั้นๆ) พร้อมแทรกภาพชายสูงวัยหูตึง กำลังพยายามอ่านสุนทรพจน์ แต่ผู้ชมไม่ได้ยินเสียงอะไรนอกจาก ‘Sound Effect’ ลมพัดอู้อี้ (สัญลักษณ์แทนความวุ่นๆวายๆ) ผสมผสานเข้ากับท่วงทำนองดนตรีคลาสสิกได้อย่างสนุกสนาน ครื้นเครง อลเวง ขำกลิ้งตกเก้าอี้

ผมรู้สึกเหมือนผกก. Clair ทำการพยากรณ์อนาคต ต่อไปเครื่องจักรกลจักกลายเป็นระบบอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง ซึ่งนั่นจะทำให้มนุษย์แทบไม่ต้องทำอะไร เพียงนั่งเล่นไพ่ ตกปลา เริงระบำ ทุกคนเหมือนจะได้รับอิสรภาพอีกครั้ง … แต่ขณะเดียวกันนั่นย่อมทำให้พวกเขาไม่มีอะไรทำ ตกงาน!

หนังไม่ได้ทำการ ‘Romantize’ คนจน/คนเร่ร่อนนะครับ (แต่เชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่คงครุ่นคิดเข้าใจเช่นนั้น) แต่นำเสนอในเชิงสัญลักษณ์ของอิสรภาพชีวิต ไม่หมกมุ่นยึดติดกับเงินๆทองๆ วัตถุสิ่งข้าวของ ถูกครอบงำโดยระบอบทุนนิยม พยายามเสี้ยมสอนให้รู้จักการแบ่งปัน ใช้ชีวิตดำเนินตามทิศทางเพ้อฝัน … À Nous la Liberté แปลว่า The Liberty is for us หรือตามชื่อหนังภาษาอังกฤษ Freedom Forever!

ผมมองความตั้งใจของผกก. Clair เทียบแทนตนเองกับตัวละคร Louis (ภายนอก) และ Émile (จิตใจ)

  • Louis ไต่เต้าจนได้เป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียง = ผกก. Clair มีโอกาสสรรค์สร้างหนังเสียงจนประสบความสำเร็จ ถึงจุดสูงสุดในอาชีพการงาน
  • Émile คือตัวแทนความครุ่นคิด จิตวิญญาณรักอิสระ โหยหาเสรีภาพ ไม่ต้องการถูกพันธนาการเหนี่ยวรั้ว
  • Louis ตัดสินใจทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง สะท้อนความต้องการผกก. Clair อยากจะเลิกสร้างหนังเสียง แล้วหวนกลับไปทำหนังเงียบ ที่แม้ขณะนั้นแทบจะไม่หลงเหลือความนิยม (กลายเป็นคนยากจน) แต่ถือว่ายังมีเกียรติ และอิสรภาพทางความคิดสร้างสรรค์มากกว่า

ตัดต่อโดย René Le Hénaff (1901-2005) สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำผู้กำกับ Marcel Carné, René Clair, Géza von Radványi ผลงานเด่นๆ อาทิ Under the Roofs of Paris (1930), À Nous la Liberté (1931), Port of Shadows (1938), Hôtel du Nord (1938), Le Jour Se Lève (1939) ฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองสองเพื่อนรัก Émile และ Louis เริ่มจากติดคุกห้องขังเดียวกัน (ไม่มีระบุว่าพวกเขาก่ออาชญากรรมใดๆมา) แล้วแยกย้ายกันไปตามทาง ก่อนหวนกลับมาพบเจอ เฉลิมฉลอง สร้างเรื่องวุ่นๆวายๆ สับสน โกลาหล จนท้ายที่สุดพวกเขาก็ออกเดินทางร่วมกันอีกครั้ง

  • อารัมบท, ในเรือนจำ Émile และ Louis หาหนทางหลบหนี
  • ชีวิตภายนอกเรือนจำ
    • Louis ไต่เต้าจากพ่อค้าขายแผ่นเสียง กลายเป็นเจ้าธุรกิจ เปิดโรงงานผลิตเครื่องเล่น Phonographs
    • Émile เมื่อได้รับการปล่อยตัว ใช้ชีวิตอย่างเตร็ดเตร่เร่ร่อน จึงถูกตำรวจควบคุมตัว คิดสั้นจะฆ่าตัวตาย แต่โชคชะตานำพาให้ตกหลุมรักหญิงสาวคนหนึ่ง ติดตามไปถึงโรงงานผลิตเครื่องเล่น Phonographs และได้พบเจอ Louis อีกครั้ง
  • สองเพื่อนสนิทเมื่อได้หวนกลับมาพบเจอกัน
    • ในตอนแรก Louis ไม่สามารถจดจำ Émile แต่พูดคุยไปมาก็สามารถหวนระลึกความหลัง
    • หลังงานเลี้ยงดื่มด่ำ Émile สารภาพว่าตกหลุมรักหญิงสาวคนหนึ่ง Louis จึงจัดแจงเป็นพ่อสื่อให้
    • แต่แล้วเรื่องวุ่นๆก็บังเกิดขึ้นเมื่อ Louis กำลังจะถูกแบล็คเมล์โดยอดีตคนคุก รับรู้ว่าอีกฝ่ายเคยหลบหนีจากเรือนจำ
  • การตัดสินใจของ Louis
    • Louis ตัดสินใจแจ้งตำรวจจับอดีตคนคุกเหล่านั้น ทั้งๆรับรู้ว่าคงถูกแบล็กเมล์เอาภายหลัง
    • วันถัดมาระหว่างพิธีเปิดโรงงานผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงแห่งใหม่ หลังเสร็จสิ้นพิธีการ Louis จึงประกาศลงจากตำแน่งผู้บริหาร
    • เรื่องวุ่นๆวายๆของการไล่ล่าจับกุมตัว พร้อมกับลมพายุที่โหมกระหน่ำ
  • ปัจฉิมบท
    • Louis ตัดสินใจทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง แล้วร่วมออกเดินทางไปกับ Émile เลือกใช้ชีวิตอย่างเสรีภาพ

การตัดต่อถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง โดยเฉพาะไคลน์แม็กซ์ที่เต็มไปด้วยความสับสน โกลาหล แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนอยู่ในการควบคุมผู้กำกับ Clair แตกต่างจากหนังสมัยนี้ที่ใช้เทคนิค ‘fast-cutting’ เร็วๆรัวๆจนดูไม่ได้รู้เรื่อง พยายามตัดสลับภาพการวิ่งไล่ล่า (ภาพเคลื่อนไหวที่ดูวุ่นๆวายๆ) กับผู้สูงวัยคนหนึ่งที่อ่านบทสุนทรพจน์ (ยืนเฉยๆอยู่บนแท่นบรรยาย/โพเดียม) สร้างสัมผัส ‘กวีภาพยนตร์’ พร้อมด้วยเสียงลมพายุ ดังจนไม่ได้ยินอะไรอื่น


เพลงประกอบโดย Georges Auric (1899-1983) คีตกวีอัจฉริยะชาวฝรั่งเศส เริ่มแต่งเพลงตั้งแต่อายุ 10 ขวบ มีความเชี่ยวชาญเปียโน ชื่นชอบเขียนบัลเล่ต์ กระทั่งการมาถีงของภาพยนตร์ สนิทสนม Erik Satie และ Jean Cocteau ผลงานเด่นๆ อาทิ À nous la liberté (1931), La Belle et la Bête (1946), Moulin Rouge (1952), Roman Holiday (1953), Le Salaire de la peur (1953), Rififi (1955), The Innocents (1961) ฯ

ผกก. Clair ชื่นชอบประทับใจผลงานเพลงของ Auric ซึ่งมีลักษณะของความขี้เล่น ซุกซน สรรค์สร้างท่วงทำนองที่สอดคล้องเรื่องราว การกระทำ ทั้งยังสอดแทรกการวิพากย์วิจารณ์ เสียดสีล้อเลียน ยียวนกวนบาทาไม่เบา … ชวนให้ผมนึกถึงเมื่อตอน(ผกก. Clair)ร่วมงาน Erik Satie ภาพยนตร์ Entr’acte (1924)

I had been a fan of Auric’s music for some time, and I felt that his style would be a good fit for the film. I was also impressed by his ability to write music that was both playful and ironic, reflecting the film’s mix of humor and social commentary. For example, in the scene where the factory workers are on strike, Auric used a jaunty tune that seemed to mock the strikers’ efforts. This created a sense of irony that perfectly captured the film’s message.

René Clair

งานเพลงของ Auric ถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง เต็มไปด้วยลูกเล่นที่มีความสอดคล้องระหว่างภาพและเสียง ยกตัวอย่าง

  • เมื่อตอน Louis เริ่มต้นกิจการค้าขายแผ่นเสียง พบเห็นลำโพงของเครื่องเล่น Phonographs มีลักษณะคล้ายเครื่องดนตรีเป่าลม ผู้ชมก็เลยได้ยินเสียงเครื่องลม … ตรงไปตรงมาดี!
  • พนักงานโรงงานต่อแถว เดินเรียง ดูราวกับการสวนสนาม ก็เลยใช้บทเพลงมาร์ช รัวกลองสแนร์
  • ทุกครั้งที่ Émile พบเจอหญิงสาวในฝัน มักได้ยินเสียงฮาร์ป ไซโลโฟน กระดิ่ง สามเหลี่ยม ฯ เครื่องดนตรีที่สร้างเสียงวิ้งๆ เพื่อมอบสัมผัสเพ้อฝัน ราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์

บทเพลง A Nous la Liberté ดังขึ้นครั้งแรกระหว่าง Émile และ Louis กำลังหลบหนีออกจากเรือนจำ (ขับร้องแบบกระซิบกระซาบ) ช่วงกลางเรื่องเมื่อพวกเขาหวนกลับมาพบเจอกัน และช่วงท้ายที่ต่างก้าวออกเดินสู่เสรีภาพ (ส่งเสียงดังกึกก้อง) ในหนังเหมือนจะเป็นการขับร้องประสานเสียง แต่ฉบับที่ผมหามาให้รับฟังรวมอยู่ในอัลบัม The French Song/Chronique de la Chanson Française – 1931, Vol. 8 ขับร้องโดย Emile Rousseau

น่าเสียดายที่ผมหาข้อมูลบทเพลงไฮไลท์ของหนังนี้ไม่ได้ ขอเรียกว่า ‘flower singing’ ก็แล้วกันนะครับ เพราะไดเรคชั่นซีเควนซ์นี้พยายามทำออกมาให้เหมือนว่า ดอกไม้กำลังขับร้องเพลง แม้แท้จริงแล้วจะดังจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง ในห้องพักของหญิงสาวที่อยู่ฟากฝั่งตรงข้ามเรือนจำ

À Nous la Liberté (1931) นำเสนอเรื่องราวของสองอาชญากร (การไม่ได้ระบุว่าเคยทำผิดอะไร แฝงนัยยะถึงการที่พวกเขาไม่เคยทำอะไรผิด) เมื่อตอนอยู่ในเรือนจำถูกบีบบังคับให้ต้องทำงานหนัก เสร็จแล้วกลับเข้าห้องขัง ชีวิตไร้ซึ่งอิสรภาพ พวกเขาจึงพยายามครุ่นคิดหาหนทางหลบหนี กลับออกสู่โลกภายนอก

อารัมบทในเรือนจำ สามารถสะท้อนเรื่องราวบังเกิดขึ้นโลกภายนอกที่ทั้งสองตัวละคร แม้ไม่ได้ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว แต่การก้มหน้าก้มตาทำงาน ยึดถือมั่นอุดมการณ์ทุนนิยมกล่าวว่า “Work means Liberty” นั่นไม่แตกต่างอะไรจากในเรือนจำ ทำให้มนุษย์ตกเป็นทาสวัตถุนิยม ชีวิตไร้ซึ่งอิสรภาพ ท้ายสุดพวกเขาจึงละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง ก้าวออกเดินทางมุ่งสู่เสรีภาพที่แท้จริง

เมื่อตอนที่ผกก. Clair สรรค์สร้าง Entr’acte (1924) พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อแหกขนบกฎกรอบ ต่อต้านวิถีทางสังคม/ภาพยนตร์ ชี้นำทางให้ผู้ชมก้าวสู่โลกยุคสมัยใหม่ … การมาถึงของหนังเสียง (Sound Film) ก็เฉกเช่นเดียวกัน เขาแสดงความคิดเห็นต่อต้าน ไม่ยินยอมรับการเปลี่ยนแปลง ยังคงดื้อรั้นดึงดัน แม้ได้รับโอกาสสร้างหนังพูด (Talkie) ก็ยังสอดแทรกอคติที่พบเห็นค่อนข้างจะชัดเจน

นั่นคือคือสิ่งที่ผกก. Clair เรียกว่าจิตวิญญาณแห่ง ‘เสรีภาพ’ ไม่ยินยอมปฏิบัติตามขนบกฎกรอบ ก้มหัวให้กับวิถีทางสังคมที่ขัดแย้งความเชื่อของตนเอง แต่ถึงอย่างนั้นการกำกับหนังเสียง (Sound Film) เป็นสิ่งที่เขาไม่สามารถหลีกเลี่ยง ภายนอกพยายามแสดงออกให้ดูเหมือนสามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลง แต่ภายในกลับเต็มไปด้วยอคติ อารยะขัดขืน … ฟังดูมันก็ย้อนแย้ง กลืนน้ำลาย หลอกตัวเอง ไม่ยินยอมรับสภาพความจริง

I believe that the human spirit is ultimately stronger than any machine, and that we will always find a way to break free. No matter how much technology controls us, we will always have the power to choose our own destiny. We must never give up hope.

René Clair

แต่ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่า สุดท้ายแล้วผกก. Clair สามารถให้การยินยอมรับหนังเสียงหรือไม่ เพราะในอนาคตมีผลงานเรื่องหนึ่ง And Then There Were None (1945) [ดัดแปลงจากนวนิยายขายดีของ Agatha Christie] ให้ความรู้สึกเหมือนปัจจุบันนั้น มันไม่หลงเหลืออะไรอีกต่อไป

คงเป็นจริงดั่งที่ François Truffaut เคยกล่าวถึง René Clair ว่าเป็นยอดผู้กำกับจากอดีตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกยุคสมัยใหม่ … ไม่ใช่ว่า Truffaut ไม่ให้การเคารพผกก. Clair จริงๆคือยกย่องว่าเป็น ‘auteur’ แต่แค่ว่ายังคงยึดติดกับยุคสมัยหนังเงียบเท่านั้นเอง!

René Clair is a great filmmaker of the past, but he has not been able to adapt to modern cinema. His films are too artificial and stylized for the modern audience. He is still using the same techniques that he used in the 1920s and 1930s, and they no longer seem fresh or exciting. I think he is a great director, but he is stuck in the past.

François Truffaut เมื่อตอนยังเป็นนักวิจารณ์ เขียนลงนิตยสาร Cahiers du cinéma เมื่อปี ค.ศ. 1954

หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยังโรงภาพยนตร์ Marivaux Theater, Paris วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1931 เสียงตอบรับถือว่าดียอดเยี่ยม จากนั้นได้รับเลือกเข้าฉายเทศกาลหนัง Venice International Film Festival ครั้งที่หนึ่ง ระหว่าง 6-21 สิงหาคม ค.ศ. 1932 ตอนนั้นยังไม่มีจัดการประกวดแข่งขัน แต่ได้รับผลโหวตจากผู้ชมคว้ารางวัล Most Amusing Film

พอเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา เสียงตอบรับก็ยังคงดียอดเยี่ยมแถมยังทำเงินมากมาย ถึงขนาดได้เข้าชิง Oscar: Best Art Direction (เป็นภาพยนตร์พูดภาษาต่างประเทศเรื่องแรกที่ได้เข้าชิง Oscar) เมื่อปี ค.ศ. 1932 แต่พ่ายให้กับ Transatlantic (1931)

A brilliant satire of the modern industrial state, with an underlying theme of revolt, “À nous la liberté” is provocative of thought and is one of the most important films of the year. René Clair, who directed it, has shown a remarkable ingenuity in his use of sound, and the picture is a visual delight. The acting is excellent, and the music is catchy. The film is not without its longueurs, but it is a stimulating and thought-provoking work of art.

นักวิจารณ์ Mordaunt Hall จาก The New York Times เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1931

René Clair’s À Nous la Liberté (1931), now restored and reissued, is a remarkable film, still fresh and funny today, and a key work in the development of sound cinema. It’s a biting satire of the dehumanizing effects of industrial society, but it’s also a visually stunning and joyously inventive film, full of wonderful sight gags and musical interludes. It’s a must-see for anyone interested in film history.

นักวิจารณ์ Peter Bradshaw จาก The Guardian เขียนเมื่อปี ค.ศ. 2016

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ คุณภาพ 4K แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2016 แต่ฉบับของ Criterion Collection ยังมีวางขายแค่ DVD ไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อไหร่ถึงจะมี Blu-Ray จัดจำหน่าย

ในบรรดาห้าผลงานไฮไลท์ของผกก. Clair ผมครุ่นคิดว่า À Nous la Liberté (1931) ยอดเยี่ยมที่สุดแล้วในอาชีพการงาน ทั้งประสบการณ์ วิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ เรื่องราวสะท้อนอุดมการณ์อย่างชัดเจน (ว่าชื่นชอบหนังเงียบมากกว่าหนังเสียง) รวมถึง ‘สไตล์ Clair’ สร้างโลกที่ราวกับฝันกลางวัน โลกแฟนตาซี ชวนหลบหนี (Escapist)

และที่สำคัญสุดก็คืออิทธิพลต่อวงการภาพยนตร์ ไม่ใช่แค่ผลงานสร้างปัญหาของ Charlie Chaplin เท่านั้นนะครับ Luis Buñuel, Ernst Lubitsch, Marcel Pagnol, Frank Capra, Jacques Tati, Woody Allen หรือผู้กำกับสมัยใหม่อย่าง Michel Gondry, Wes Anderson ฯ

René Clair is the only real surrealist filmmaker. He is not a surrealist in the sense that he makes films about dreams or the unconscious, but in the sense that he uses surrealism as a way of looking at the world. His films are full of strange juxtapositions and unexpected events that force us to see the world in a new way.

Luis Buñuel

René Clair is one of my favorite filmmakers. His films are so visually inventive and playful, and they always have a great sense of humor. I love the way he uses music and sound in his films, and the way he creates these really memorable characters and worlds. À Nous la Liberté is one of my all-time favorite films, and it’s had a big influence on my own work.

Wes Anderson

จัดเรต pg อาชญากรหลบหนี วิถีทุนนิยม

คำโปรย | À Nous la Liberté อิสรภาพของผู้กำกับ René Clair คือการหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: