The Turin Horse

The Turin Horse (2011) Hungarian : Béla Tarr, Ágnes Hranitzky ♥♥♥♥

ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของผู้กำกับ Béla Tarr นำเสนอหกวันสุดท้ายแห่งความสิ้นหวัง ราวกับวันโลกาวินาศกำลังมาถึง แต่ชีวิตยังคงเวียนวน ตื่น-กิน-นอน ดำเนินต่อไป เพียงเฝ้ารอคอยความตาย และทอดถอนหายใจ

เมื่อตอนผู้กำกับ Tarr เดินทางไปจัดฉายรอบปฐมทัศน์ The Man from London (2007) ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes ป่าวประกาศว่าภาพยนตร์ลำดับถัดจะไปจะคือผลงานเรื่องสุดท้าย แล้วรีไทร์ออกจากวงการ! นั่นสร้างความสั่นสะเทือนเลือนลั่น ผู้คนแทบมิอาจอดใจเฝ้ารอคอย แม้แผนการเดิม The Turin Horse (2011) เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ปี 2009 แต่ติดลมฟ้าฝนจนถึงเทศกาลหนังเมือง Berlin ปี 2011 แล้วสามารถคว้าสองรางวัล Jury Grand Prix และ FIPRESCI Prize

The Turin Horse (2011) ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับม้า นอกจากอารัมบทที่มาที่ไป รับฟังแล้วคุณก็ยังอาจไม่เข้าใจอะไร คือภาพยนตร์ปรัชญาที่มีความบริสุทธิ์ (cinéma pur หรือ pure cinema) แต่เต็มไปด้วยคำถามสุดลึกซึ้ง ไร้ซึ่งศักยภาพมนุษย์ในการครุ่นค้นหาคำตอบ

พอเรื่องราวเข้าสู่วันที่ 2-3 ทำให้ผมหวนระลึกถึง Jeanne Dielman, 23 quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975) ต่างนำเสนอกิจวัตรประจำวัน ตื่นนอน สวมใส่เสื้อผ้า เดินไปตักน้ำ รับประทานอาหาร ฯลฯ ชีวิตเสียเวลากับการทำสิ่งซ้ำๆ เวียนวนไปวนมา วงกลม 360 องศา แตกต่างที่เนื้อหาสาระเต็มไปด้วยคำถามปรัชญา รู้สึกละม้ายคล้าย The Naked Island (1960) และ Woman in the Dunes (1964)

การจะทำความเข้าใจ The Turin Horse (2011) ได้อย่างลึกซึ้ง ผมแนะนำให้หารับชม Werckmeister Harmonies (2000) และ The Man from London (2007) (ผมผิดหวังกับเรื่องหลังค่อนข้างมาก เลยขีดฆ่าทิ้งไว้) เพราะทั้งสามเรื่องมีโครงสร้างเดียวกันเปี๊ยบ เพียงแต่มีการปะติดปะต่อเนื้อหนังมังสา รายละเอียดโน่นนี่นั่นตามความสนใจผู้กำกับ Tarr ขณะนั้นๆ จนกระทั่งมาถึงภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายนี้ ทำการกระชากหน้ากาก ทุกสิ่งอย่างลวงตาออกหมดสิ้น หลงเหลือไม่ใช่แค่โครงกระดูก แต่คือจิตวิญญาณภายใน

ตอนจบของ The Turin Horse (2011) อาจดูเหมือนตัวละครยินยอมรับความพ่ายแพ้ต่อชีวิต จมปลักอยู่ในความมืดมิด แต่นั่นไม่ใช่ความตายของผู้กำกับ Tarr แค่เพียงสัญลักษณ์แทนจุดสิ้นสุดอาชีพการงาน ไม่หลงเหลือความสนใจต่ออะไรใดๆในวงการภาพยนตร์อีกต่อไป

What happened with the horse?

Béla Tarr

Béla Tarr (เกิดปี 1955) ผู้กำกับภาพยนตร์สัญชาติ Hungarian เกิดที่ Pécs แล้วมาเติบโตยัง Budapest, บิดาเป็นนักออกแบบฉากพื้นหลัง มารดาทำงานนักบอกบท (Prompter) ในโรงละครเดียวกัน ทำให้ตั้งแต่เด็กมีโอกาสวิ่งเล่น รับรู้จักโปรดักชั่นละครเวที ตอนอายุ 10 ขวบ ได้รับเลือกแสดงภาพยนตร์โทรทัศน์ ก่อนค้นพบว่าตนเองไม่มีความชื่นชอบ(ด้านการแสดง)สักเท่าไหร่ ตั้งใจอยากเป็นนักปรัชญา แต่เมื่ออายุ 16 หลังจากสรรค์สร้างสารคดีสั้น 8mm ไปเข้าตาสตูดิโอ Béla Balázs Studios ถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ฮังการี สั่งห้ามเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย เพื่อบีบบังคับให้เขาเลือกสายอาชีพผู้กำกับ (ตอนนั้นก็ไม่ได้ต่อต้านอะไร เพราะภาพยนตร์คือสิ่งที่ตนเองชื่นชอบหลงใหลอยู่แล้ว)

ผลงานช่วงแรกๆของผู้กำกับ Tarr ยึดถือตามแบบอย่าง ‘Budapest School’ ประกอบด้วย Family Nest (1979), The Outsider (1981), The Prefab People (1982) มีลักษณะ Social Realism แฝงการวิพากย์วิจารณ์การเมือง นำเสนอสภาพความจริงของประเทศฮังการียุคสมัยนั้น นักวิจารณ์ทำการเปรียบเทียบ John Cassavetes แต่เจ้าตัวบอกไม่รับรู้จักใครคนนี้ด้วยซ้ำ

ความสิ้นหวังต่อสถานการณ์ทางการเมือง ภายใต้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ Hungarian People’s Republic ทำให้ผู้กำกับ Tarr ตัดสินใจละทอดทิ้งแนวทาง ‘social realism’ หันมาสรรค์สร้างผลงานที่เป็นการสร้างโลกส่วนตัวขึ้นมา เพื่อนำเสนอความท้อแท้สิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก ไม่ต่างไปจากวันสิ้นโลกาวินาศ เริ่มตั้งแต่ Almanac of Fall (1984), แล้วพัฒนาสไตล์ลายเซ็นต์ Damnation (1988), กลายเป็นผลงานมาสเตอร์พีซ Sátántangó (1994), Werckmeister Harmonies (2000), The Man from London (2007) และ The Turin Horse (2011)

เมื่อปี 1985, ผู้กำกับ Tarr มีโอกาสรับรู้จัก László Krasznahorkai นักเขียนนวนิยายชาว Hungarian พูดคุยกันอย่างถูกคอ มองโลก/ฮังการีด้วยแง่มุมคล้ายๆกัน ระหว่างร่วมพัฒนาบท Damnation (1988) ได้รับฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับ Friedrich Nietzsche นักปรัชญาชาวเยอรมัน ขณะนั้นอาศัยอยู่ Turin, Italy ที่พบเห็นม้าตัวหนึ่งถูกเจ้าของเฆี่ยนตีอย่างหนัก เนื่องจากไม่ยอมก้าวเดินตามคำสั่ง นั่นกลายเป็นภาพติดตาฝังใจ เก็บมาหมกมุ่นครุ่นยึดคิด ไม่เป็นอันกินอันนอน ล้มป่วยทรุดหนัก แล้วตรอมใจตาย … นี่เรื่องจริงนะครับ!

เกร็ด: ช่วงระหว่างยังร่ำเรียนมหาวิทยาลัย László Krasznahorkai เคยเขียนบทความชื่อว่า At the Latest, in Turin ตั้งคำถามเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนักปรัชญา Friedrich Nietzsche ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Alföld เมื่อปี 1979

A hundred years ago, on a day like today in Turin in 1889, Friedrich Nietzsche stepped out of the gate of his house at number six on Via Carlo Alberto, perhaps to take a walk, perhaps to the post office, to collect his letters. Not far from him, or even very far from him, is a conflict driver – so to speak! – he struggles with his stunted horse. No matter how hard he nudges, the horse doesn’t move, and the coachman – Giuseppe? Carlo? Ettore? -he loses his patience and starts beating the animal with his whip. Nietzsche comes to the presumable bankruptcy, and the cruel play of the coachman, who is obviously seething with rage, ends with this. The giant-sized gentleman with a thick mustache suddenly jumps to the coachman and falls on the horse’s neck, sobbing, to the barely concealed cheerfulness of the spectators. His host takes him home, he lies motionless and silent on a couch for two days, even saying the obligatory last words (“Mutter, ich bin dumm”), then he lives under the supervision of his mother and sister as a gentle indignant for another ten years. We don’t know what happened to the horse.

บทความ At the Latest, in Turin (1979)

หลังจากรับฟังเรื่องเล่าดังกล่าวผู้กำกับ Tarr พยายามสอบถาม Krasznahorkai แล้วมันเกิดอะไรขึ้นม้าตัวนั้น? แต่ใครกันจะให้คำตอบได้? เมื่อมีโอกาสพบเจอก็มักพูดแซว ก่อกวน ตั้งคำถาม ไม่รู้ด้วยความประชดประชันหรืออย่างไร เลยพัฒนาบทย่อคร่าวๆ (synopsis) ตั้งชื่อว่า A torinói ló (แปลว่า The Turin Horse) เมื่อปี 1990 ไม่ได้ตีพิมพ์ลงสื่อไหน แต่สามารถหาอ่านได้ทางเว็บไซด์ส่วนตัว http://www.krasznahorkai.hu/readings.html ตรงหัวข้อ sketch on a serviette

และเมื่อปี 2004 ก็ได้นำเอาบทย่อดังกล่าวมาปัดฝุ่น ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียดใหม่ ให้กลายเป็นบทภาพยนตร์ความยาว 50 หน้ากระดาษ สามารถเข้าไปอ่านในลิงค์เดิม ตรงหัวข้อ script แนะนำให้ใช้ Google Translate แปลเอานะครับ

The concept of the film is simple: we wanted to follow the question what happened to the horse after this incident. And although the film itself is not about Friedrich Nietzsche, the spirit of the incident lies over the film like a shadow.

Béla Tarr

เอาจริงๆหนังไม่มีบทหนังนะครับ เพียง script จำนวน 50 หน้าที่ Krasznahorkai เขียนไว้ให้เมื่อปี 2004 ถูกนำมาใช้เป็นไกด์ไลน์/ยื่นของบประมาณ ส่วนการถ่ายทำจริงนั้นผู้กำกับ Tarr ก็โยนบทดังกล่าวทิ้งลงถังขยะไป

No, we never use the script. We just write it for the foundations and the producers and we use it when looking for the money. The pre-production is a very simple thing. It takes always a minimum of one year. We spend a year looking all around and we see everything. We have a story but I think the story is only a little part of the whole movie.


หนังเริ่มต้นด้วยเสียงบรรยายเหตุการณ์เคยบังเกิดขึ้นกับ Friedrich Nietzsche (1844-1900) นักปรัชญาชาวเยอรมัน เมื่อปี ค.ศ. 1889 ขณะพำนักอาศัยอยู่ Turin, Italy ได้พบเห็นชายคนหนึ่งกำลังเฆี่ยนตีม้าของตนเอง มันไม่ยินยอมก้าวเดิน ขยับเคลื่อนไหว กลายเป็นภาพติดตาฝังใจ หลังจากคำพูดประโยคสุดท้าย “Mother, I am stupid” กลายเป็นคนบ้าใบ้ ไร้จิตวิญญาณ อยู่ในการดูแลของครอบครัวจนกระทั่งเสียชีวิตสิบกว่าปีให้หลัง

เรื่องราวของหนังไม่เชิงว่านำเสนอเหตุการณ์เกิดขึ้นต่อจากนั้น อาจเป็นม้าตัวเดียวกันหรือคนละตัวก็ได้ จู่ๆมันกลับปฏิเสธลากเกวียน ไม่ยินยอมดื่มน้ำ รับประทานอาหาร จนสร้างความเอือมระอาให้กับเจ้าของม้าที่อาศัยอยู่กับบุตรสาว ยังชนบททุรกันดารห่างไกล พวกเขามีเพียงมันฝรั่งยังชีพ และก็ไม่รู้ทำไมหลายวันนั้นถึงมีลมพัดรุนแรง จึงแทบไม่สามารถออกเดินทางไปไหนมาไหน

ชีวิตประจำวันของพ่อ-ลูก เช้าหลังจากตื่นนอน บุตรสาวจะต้องออกไปตักน้ำที่บ่อมาสองถัง เพื่อมาล้างหน้าล้างตา ต้มมันฝรั่ง จากนั้นแต่งตัวให้บิดาที่แขนพิการ พอทำอาหารเสร็จก็นั่งลงรับประทาน แล้วช่างเวลาที่เหลือก็แยกย้ายไปปฏิบัติภารกิจประจำวัน ถ้าไม่มีอะไรทำก็เพียงนั่งเหม่อล่องลอยออกไปนอกหน้าต่าง

การมาถึงของพวกยิปซี (กลุ่มคนเร่ร่อนไร้หลักแหล่ง) ตรงเข้ามาขอใช้บ่อน้ำโดยไม่สนว่าเจ้าของอนุญาตหรือไม่ แล้วใครคนหนึ่งมอบของตอบแทนคือหนังสือ anti-Bible โดยไม่รู้ตัววันถัดมาน้ำในบ่อแห้งขอดหลงเหลือเพียงก้อนหิน นั่นทำให้สองพ่อลูกตัดสินใจเก็บข้าวของ ตระเตรียมออกเดินทางไปยังอีกหมู่บ้าน แต่แค่เพียงข้ามเขาไม่รู้พบเห็นอะไร (เคยได้ยินจากเพื่อนบ้าน ว่าเมืองข้างๆได้ถูกทำลายล้างโดยพวกยิปซี) จึงตัดสินใจเดินทางกลับมา

และพอถึงวันที่หกจู่ๆมืดฟ้ามัวดิน ไม่รู้บังเกิดอะไรขึ้น ทั้งตะเกียงและถ่านในเตาต่างมอดดับ จุดเท่าไหร่ก็ไม่ยอมติด จำต้องอาศัยอยู่ในความมืดมิด รับประทานมันฝรั่งดิบๆ นั่นทำให้พวกเขาตกอยู่ในสภาพหมดสิ้นหวัง


สำหรับนักแสดงนำทั้งสอง ต่างคือขาประจำของผู้กำกับ Tarr ที่ถ้าใครเคยติดตามหลายๆผลงานก่อนหน้า น่าจะรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดี ประกอบด้วย

János Derzsi (เกิดปี 1954) ร่วมงานผู้กำกับ Béla Tarr ตั้งแต่ Almanac of the Fall (1984) เมื่อตอนนั้นยังเป็นแค่ชายหนุ่มน้อย ใบหน้ายังละอ่อน เกลี้ยงเกลา สำหรับ The Turin Horse (2011) รับบทบิดาแขนขวาพิการ เต็มไปด้วยริ้วรอยเหี่ยวย่น หนวดเคราขึ้นครึ้ม เหมือนชีวิตตรากตรำ กรากกรำ พานผ่านอะไรมากๆ เลยมักแสดงความเห็นแก่ตัว ไม่ค่อยอยากสนใจอะไรใครอื่น และถือเป็นบุคคลมีอำนาจสูงสุดในบ้าน สามารถออกคำสั่งให้บุตรสาวกระทำสิ่งต่างๆ ราวกับพระราชา … แต่ตัวละครนี้ถือว่าเป็นตัวแทนบุรุษ แค่นั้นนะครับ

Erika Bók หญิงสาวหน้าตาบ้านๆ ทรงผมยุ่งๆ หลายคนอาจจำไม่ได้ว่าเธอเคยรับบทเด็กหญิง Estike จากภาพยนตร์ Sátántangó (1994) รวมถึง The Man from London (2007), คราวนี้เล่นเป็นบุตรสาว กระทำทุกสิ่งอย่างตามคำสั่งบิดา ต้องคอยแต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้า รวมถึงกิจวัตรประจำวัน ตักน้ำ ทำอาหาร ฯ วันๆแทบไม่มีโอกาสทำอะไร ออกไปไหน พบปะผู้อื่นใด ถึงอย่างนั้นก็มีจิตใจเมตตากับสัตว์ สงสารเอ็นดูเจ้าม้า พยายามโน้มน้าวให้มันดื่มน้ำ/รับประทานฟางหญ้า แต่ก็ไม่สำเร็จ … ตัวละครนี้คือตัวแทนของอิสตรี แต่ไม่จำเป็นว่าต้องมีสถานะสามี-ภรรยา หรือความสัมพันธ์ชู้สาวกับบิดานะครับ (แต่บางคนอาจสังเกตพฤติกรรมของบิดา แล้วครุ่นคิดจินตนาการเตลิดไปไกล)

อีกตัวละครที่ต้องพูดถึงคือเจ้าม้า ผู้กำกับ Tarr เล่าว่าต้องมองหาตัวที่มีบุคลิกสอดคล้องเรื่องราวของหนัง คือไม่ชอบทำงาน ไม่ชอบแบกของหนัก ตัวที่พบเจออยู่ในตลาดค้าสัตว์ เพศเมีย หน้าตาอัปลักษณ์ ทีแรกถูกขายไปแล้ว แต่มันไม่ยินยอมทำตามคำสั่งเจ้าของใหม่ เลยกำลังจะถูกเฆี่ยนตี … มันจะบังเอิญไปไหม?

It was a very ugly, shitty, miserable animal market and she was the horse which never wants to work. That’s why I took her immediately, because that’s what we needed. If you don’t take her in this case maybe she’s just a piece of sausage now. But of course we saved her life and now she’s pregnant which is quite nice and we have a strong hope we will have some baby.

จากอีกบทสัมภาษณ์
When I saw her, I knew that she was the Turin horse, but she had already been sold to someone. We went up to the new owner, a really brutal guy, but he did not want to sell her to us. He led her up to his cart and harnessed her, but the horse did not budge, and then I was absolutely sure that this was our horse. The guy started to beat her, but I held him down. It was really like what had happened to Nietzsche in Turin. Then in the end the horse was ours. Now she lives happily in the countryside, on a huge estate.

Béla Tarr

ถ่ายภาพโดย Fred Kelemen (เกิดปี 1964) ผู้กำกับ/ตากล้องสัญชาติ German เกิดที่ Berlin สมัยเรียนชื่นชอบดนตรี วาดรูป ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศาสนา เคยเป็นผู้กำกับละครเวที ก่อนเข้าศึกษาต่อ Die Deutsche Film- und Fernsehakademie Berlin (DFFB) เป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของผู้กำกับ Béla Tarr มีโอกาสร่วมทำหนังสั้น Journey to the Plain (1995), จากนั้นเลยชักชวนมาถ่ายทำภาพยนตร์ The Man from London (2007) และ The Turin Horse (2011)

Fred was my student in Berlin in the beginning of the Nineties, his first years in film school. Afterward he became a filmmaker, and we made a short video together for Hungarian television called Journey on the Plain. On pre-production for The Man From London, I started thinking he could do it. I called him, and he came. And he did it perfectly. He was always very close to me.

Béla Tarr

‘สไตล์ Tarr’ กับสามผลงานสุดท้าย (Werckmeister Harmonies, The Man from London และ The Turin Horse) แม้ยังคงนิยมถ่ายทำแบบ Long Take ช็อตหนึ่งยาวนานสุดประมาณ 10 นาที (ตามข้อจำกัดของฟีล์มยาว 300 เมตร เท่ากับ 11 นาที แต่ต้องเหลือไว้สักนิดสำหรับการตัดต่อ) แต่มันจะไม่แช่ภาพค้างไว้นานๆ หรือมีความเชื่องช้าน่าหลับ (แบบ Damnation และ Sátántangó) กลับขยับเคลื่อนไหวอย่างโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน หมุนเวียนวน 360 องศา ไม่หลงเหลือความน่าเบื่อหน่ายเลยสักนิด

เกร็ด: ด้วยระยะเวลา 146 นาที มีทั้งหมด 30 ช็อต คำนวณแล้ว ASL (Avegrage Shot Length) 229.2 วินาที เยิ่นยาวกว่า Sátántangó (1994) ที่ 145.7 วินาที แต่ยังห่างไกลจาก The Man From London (2007) ค่าเฉลี่ยมากสุดของผู้กำกับ Tarr ที่ 248.6 วินาที!

The camera is an observer that captures the atmosphere of a moment and reacts to life. I don’t want to give the audience a message, I want to show viewers my image of the world. The camera has an objective point of view, I can only show you reality. Cinema is not like literature: it shows you only what is in front of the lense. You can’t fake it.

หลังจากรับชมมาหลายๆผลงาน ผมสังเกตเห็นพื้นหลังในหนังของผู้กำกับ Tarr มักมีกรอบขอบเขตจำกัด ใช้สถานที่แห่งหนึ่งใดเป็นจุดหมุนเรื่องราว อาทิ อพาร์ทเม้นท์ ชุมชนบท สังคมเมือง บริเวณท่าเรือ ฯลฯ ซึ่งมักสามารถเปรียบเทียบแทนด้วยประเทศฮังการี! แต่สำหรับ The Turin Horse (2011) แม้คือชนบทห่างไกล ทำการก่อสร้างบ้านพักอาศัย โรงเก็บของ คอกม้า และบ่อน้ำ การตีความสามารถเปิดกว้างสู่สากล (ไม่จำกัดอยู่แค่ฮังการีอีกต่อไป) ดินแดนแห่งหนึ่งที่กำลังใกล้ถึงวันสิ้นโลกาวินาศ (คือจะตีความสถานที่แห่งหนไหนก็ได้บนโลก)

แผนการดั้งเดิมนั้นใช้เวลาถ่ายทำเพียง 35 วัน ช่วงระหว่างพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2008 ช่วงฤดูใบไม้ร่วงก่อนหิมะตก แต่ติดขัดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อท้องฟ้าไม่อำนวยก็ต้องถ่ายทำข้ามปี 2009 และ 2010 รวมระยะเวลาสามปี (แต่ถ่ายทำจริงแค่ 48 วัน!)

We were facing problems with the weather conditions on location. The film takes place in the course of six days, and we needed the same weather conditions throughout the shoot, which meant that we had to postpone the shooting several times.


อารัมบทของหนังถ่ายภาพเจ้าม้าจากทุกทิศทางรอบด้าน เพื่อนำเสนอลักษณะกายภาพภายนอกของมัน (ก็ตามชื่อหนัง The Turin Horse ก็ถ่ายภาพเจ้าม้า) ฟังดูเหมือนไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แต่กล้องถ่ายทำระหว่างมันกำลังลากเกวียนไปตามถนนหนทาง … สมัยนั้นน่าจะยังไม่มีโดรน คงติดตั้งเครนบนรถกระมัง (คล้ายๆกับพวกรถดับเพลิง)

ระหว่างการเดินทาง จู่ๆเกวียนคันนี้ก็เคลื่อนผ่านหมอกควันบดบังทัศนวิสัย สื่อถึงอนาคตที่เลือนลาง คาดการณ์ไม่ได้ มองหนทางข้างหน้าไม่ค่อยเห็น แต่ถ้าใครเคยรับชมหนังของผู้กำกับ Tarr น่าจะตระหนักว่านั่นคือสัญลักษณ์สิ่งเหนือธรรมชาติ ราวกับพวกเขากำลังเดินทางไปสู่ดินแดนที่ไม่ได้อยู่บนโลกมนุษย์ (ขุมนรก?) สังเกตว่าจะมีเสี้ยววินาทีหนึ่งพบเห็นพระอาทิตย์อยู่ด้านหลับลิบๆมัวๆ (ทอดทิ้งแสวงสว่าง/สรวงสวรรค์/พระเป็นเจ้าไว้เบื้องหลัง) และไม่นานหลังจากนั้นเจ้าม้าก็หยุดก้าวเดิน (ขณะขึ้นข้อความ วันที่หนึ่ง) แล้วทุกสิ่งอย่างก็พลิกกลับตารปัตร กลายเป็นเจ้าของต้องลงมาลากเจ้าม้า (เพราะมันไม่ยินยอมทำตามคำสั่งลากเกวียนอีกต่อไป) สามารถตีความถึง มนุษย์=สัตว์, ทุกสิ่งมีชีวิตล้วนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน!

การที่บุตรสาวสวมใส่เสื้อผ้าให้บิดา หลายคนอาจมองว่านั่นคือภาระหน้าที่ของคนรับใช้ แสดงถึงความไม่เสมอภาคเท่าเทียมในครอบครัว ปิตาธิปไตย (บิดา/เพศชายเป็นใหญ่) แต่เพราะบิดามีมือขวาใช้งานไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถพึงพาตนเอง การกระทำของบุตรสาวคือความกตัญญูรู้คุณ มีเมตตากรุณา ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น … เรื่องพรรค์นี้สามารถมักมองได้สองด้านเสมอๆ ไม่มีผิด-ไม่มีถูก

หลายคนอาจมีข้อสงสัย ภรรยาไปไหน? ทำไมบุตรสาวถึงดูแลบิดา? พวกเขามีความสัมพันธ์เหนือกว่าพ่อ-ลูก หรือไม่? ปริศนาเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นที่เราต้องเสียเวลาขบครุ่นคิดนะครับ เพราะมันไม่มีข้อมูลเพียงพอให้เราสามารถคาดการณ์อะไร ก็คล้ายๆแล้วคำถาม เกิดอะไรขึ้นกับเจ้าม้าที่ Nietzsche พบเห็น? ใครไหนจะให้คำตอบได้ละครับ

แซว: หนังของผู้กำกับ Tarr มักสร้างตัวละครที่มีความผิดปกติทางร่างกาย (Futaki ใน Sátántangó (1994) ก็เดินกระโผกกระเผก ขาพิการ) เพื่อสื่อถึงพระเจ้าไม่ได้สร้างมนุษย์ให้มีความเสมอภาคเท่าเทียม สังคมก็มักแบ่งแยก(คนพิการ)ออกจากกลุ่ม แต่ชีวิตก็ต้องดำเนินเดินไป บุคคลเหล่านี้ก็มีความเป็นคนเหมือนกัน ประสบการณ์ดังกล่าวเลยทำให้เกิดมุมมองคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น

เมื่อหนังดำเนินผ่านวันแรก สู่วันที่สอง ผู้ชมก็น่าจะเริ่มตระหนักว่าหนังไม่เรื่องราวอะไรเลย เพียงนำเสนอกิจวัตรประจำวันของสองพ่อ-ลูก ตื่นเช้าลุกขึ้นไปตักน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า ล้างหน้าล้างตา ต้มมันฝรั่ง รับประทานอาหาร แล้วก็ไปนั่งจุ่มปุ๊กอยู่ริมหน้าต่าง เหม่อล่องลอยออกไปภายนอก เฝ้ารอคอยเมื่อลมพายุแรงนี้จะผ่านพ้นไป ชีวิตไม่มีอะไรมากกว่านี้

กิจวัตรต่างๆก็แฝงนัยยะของมันอยู่นะครับ ยกตัวอย่างการต้องออกไปตักน้ำนอกบ้าน จำต้องเผชิญหน้าลมพัดรุนแรง ก็เหมือนการทำงานที่ต้องต่อสู้ ดิ้นรน อดรนทน เพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ ปัจจัยสี่ ทำให้ชีวิตสามารถดำเนินต่อไป

ต้องยากจนข้นแค้นสักแค่ไหนถึงรับประทานแค่มันฝรั่งต้ม? แต่เราสามารถมองว่ามันคือสัญลักษณ์ของอาหาร ปัจจัยพื้นฐาน ความต้องการขั้นต่ำของมนุษย์ สังเกตว่าพวกเขาทานกันแค่น้อยนิด ไม่น่าจะกินอิ่มหนำด้วยซ้ำ เพียงแค่ประทังชีพอยู่รอดไปวันๆ … แต่ผู้ชมส่วนใหญ่คงรู้สึกสิ้นหวัง เพราะมักทำการเปรียบกับอาหารเลิศรสในปัจจุบัน แต่เอาจริงๆเราไม่ได้มีความจำเป็นต้องกินอะไรเลิศหรูเลยนะครับ!

You are doing always the same thing every day, but every day is a little bit different, and the life is just getting weaker and weaker, and, by the end, disappears. This is what this movie shows you.

Béla Tarr
The Turin Horse

ตอนแรกผมครุ่นคิดว่าเพื่อนบ้านคนนี้คือตัวแทนของพระเจ้า มาขอซื้อเหล้า พูดเล่าอะไรบางอย่างแล้วลาจากไป (ล้อกับการมาถึงของพวกยิปซี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของซาตาน สิ่งชั่วร้าย) แต่ฟังจากเรื่องราวที่กล่าวออกมา เหมือนว่าเขาคือตัวแทนผู้กำกับ Tarr (จริงๆบทพูดนี้เขียนโดย Krasznahorkai) แสดงทัศนะถึงความตายของพระเจ้ามากกว่า

การจากไปของชายคนนี้ ถ่ายผ่านหน้าต่างที่มีเส้นแบ่งกึ่งกลาง ฝั่งซ้ายมีเพียงเนินเขาว่างเปล่า ส่วนฝั่งขวากำลังเดินตรงสู่ต้นไม้ที่มีเพียงกิ่งก้านไร้ใบ นั่นอาจคือหนทางแห่งความหวัง สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ปลายทางกลับแห้งเหี่ยว (ใบไม้)ร่วงโรยรา หรือคือการมุ่งสู่หายนะ เผชิญหน้าความตายอยู่ดี

การมาถึงของพวกยิปซี สังเกตว่าเมื่อมองผ่านหน้าต่าง รถม้าของคนเหล่านี้จะอยู่คนละฟากฝั่งต้นไม้ที่ตั้งตระหง่านบนเนินเขา นั่นสื่อถึงการที่พวกเขาอยู่ขั้วตรงกันข้ามกับพระเจ้า พร้อมกระทำทุกสิ่งอย่างตอบสนองความพึงพอใจ โดยไม่สนสิ่งยึดเหนียวใดๆ แถมยังมอบคัมภีร์ anti-Bible ชัดเจนว่าคือสัญลักษณ์ของหายนะ นำพาภัยพิบัติมาสู่ดินแดนแห่งนี้

แม้หนังไม่มีคำอธิบายใดๆเกี่ยวกับพวกยิปซี แต่ถ้าใครเคยรับชม Werckmeister Harmóniák (2000) และ The Man from London (2007) น่าจะมักคุ้นกับกับการมาถึงของปลาวาฬยักษ์ และชายจาก London ซึ่งต่างนำพาหายนะมาสู่ชุมชนเมือง ท่าเรือแห่งหนึ่ง แม้เต็มไปด้วยรายละเอียดสลับซ้อน แต่ต้องถือว่านัยยะเหตุผลแบบเดียวกันเปี๊ยบ … ถ้าจะอธิบายมันคงยาวมากๆ แนะนำให้หารับชมภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง ก็น่าจะเข้าใจถึง The Turin Horse (2011) ซึ่งได้กระชากหน้ากาก ละทอดทิ้งเนื้อหนังมังสา ทำลายรายละเอียดเปลือกภายนอกเหล่านั้นหมดสิ้น จนหลงเหลือเพียงโครงกระดูกล้วนๆ ก็คือพวกยิปซีเดินทางมาแล้วจากไป นำพาหายนะให้บังเกิดขึ้น แค่นั้นแหละ!

แซว: ม้าขาวของพวกยิปซีมีความอ้วนท้วนสมบูรณ์ สง่างามกว่าตัวที่อยู่ในคอกเป็นไหนๆ นี่สามารถสะท้อนถึงความหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชื่นชอบสิ่งสวยๆงามๆ สร้างภาพภายนอกให้แลดูดี วิถีของซาตายไม่เคยสนใจคุณค่าความดีงามภายในจิตใจ

อะไรอยู่ภายหลังเนินเขา? อีกคำถามโลกแตกที่ผมก็ตอบไม่ได้ แค่คาดคิดว่ามันคงเป็นสิ่งพบเห็นแล้วก่อเกิดความท้อแท้หมดสิ้นหวัง จนทำให้พวกเขาต้องเดินทางหวนกลับมา ยินยอมรับสภาพปัจจุบันอันเลวร้าย (แต่น่าจะดีกว่าสิ่งที่พบเห็นด้านหลังเนินเขา)

ความคิดเห็นของผมเอง สิ่งที่อยู่ภายหลังเนินเขาน่าจะคือหมู่บ้านร้าง มีสภาพปรักหักพัง ราวกับเพิ่งพานผ่านวันสิ้นโลกาวินาศ (สถานที่ที่พวกยิปซีเดินทางจากมา) น่าจะไม่แตกต่างจากตอนจบของ Werckmeister Harmóniák (2000) หลังพวกชุมนุมก่อการจราจล ทำให้ชุมชนเมืองแห่งนั้นราบเรียบเป็นหน้ากลอง

เกร็ด: หลายคนอาจสงสัยว่าลมพายุที่พัดรุนแรงเหล่านี้ มันคือสภาพอากาศจริงๆหรือไร คำตอบก็คือใช้พัดลมความเร็วสูงช่วยกันปั่น ส่วนใหญ่จะหลบอยู่ภายหลังกล้องจึงเห็นแรงลมพัดใส่ตัวละคร หรือใบไม้ปลิดปลิว (แต่ถ้ามองระยะไกลๆอย่างต้นไม้ใหญ่ ย่อมไม่ได้รับผลกระทบจากแรงลมประการใด)

เมื่อไม่สามารถออกเดินทางไปไหนต่อไหน สองพ่อ-ลูกต่างเลยจำต้องนั่งจุ้มปุ๊กอยู่ตรงหน้าต่าง

  • ช่วงท้ายวันที่สี่เมื่อทั้งสองหวนกลับบ้าน ถ่ายจากภายนอก บุตรสาวเข้าไปนั่งอยู่ตรงหน้าต่าง กล้องค่อยๆเคลื่อนเข้าหา … เป็นภาพที่ดูหลอกหลอนชะมัด!
  • เริ่มต้นวันที่ห้ากล้อง ฉากภายในบ้าน กล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลังจากหน้าต่าง พบเห็นบิดากำลังนั่งคอตกอย่างสิ้นหวัง เหม่อล่องลอยออกไปแทบมองไม่เห็นอะไร

วิสัยทัศน์ภายนอกของวันที่ห้า เต็มไปด้วยลมแรง พัดพาเอาเศษใบไม้ ฝุ่นควันขาวโพลนมาปกคลุมจนแทบมองอะไรไม่เห็น ทั้งท้องฟ้า หรือแม้แต่ต้นไม้บนเนินเขา … ราวกับท้องฟ้าได้ถล่มลงมา ภายนอกหลงเหลือเพียงแสงสว่างขาวโพลน

ภาพสุดท้ายของเจ้าม้า เหมือนว่ามันได้รับการปลดปล่อย ไม่ถูกเชือกรัดพันธนาการ คือสามารถหลบหนีไปจากคอกเลี้ยงแห่งนี้ (ถึงปิดประตูก็มีทางออกข้างๆ) แต่ไม่มีใครรู้ว่าหลังจากนี้มันจะทำอะไร เป็นอย่างไร อยู่หรือตาย เอาชีพรอดได้หรือเปล่า? ค้างคาคำถามไว้แบบเดียวกับม้าของ Nietzsche

จริงๆแล้วฉากนี้มันควรมืดมิดสนิท (ตามนัยยะของการสูญเสียแสงสว่าง จุดตะเกียง เตาถ่านก็ไม่สามารถทำให้ติด) แต่เพื่อให้พบเห็นภาพตัวละครระหว่างรับประทานกระยาหารมื้อสุดท้าย (Last Supper) มันเลยต้องใช้แสงไฟอันเลือนลาง สาดส่องเฉพาะบริเวณตัวละครนั่งอยู่ตรงโต๊ะอาหาร ส่วนด้านหลังก็ยังคงปกคลุมด้วยความมืดมิดสนิท

มันฝรั่งแม้ปริมาณน้อยนิด ไม่น่าจะกินอิ่มหนำ แต่ก็คือสัญลักษณ์ของการประทังชีพ ธำรงชีวิตอยู่

  • แต่บุตรสาวขณะนี้ก้มหน้าก้มตา ไม่แม้จะยกมือขึ้นมาแกะมันฝรั่ง นั่นสื่อถึงการยินยอมพ่ายแพ้ ไม่หลงเหลือความอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
  • ส่วนบิดาตอนแรกยังพยายามแกะเปลือกมัน แสดงถึงยังคงต้องการมีชีวิต แต่พอเห็นสภาพบุตรสาวก็ทอดถอนหายใจ แล้วยินยอมศิโรราบต่อโชคชะตากรรม

ตัดต่อโดย Ágnes Hranitzky (เกิดปี 1945) ภรรยาของผู้กำกับ Béla Tarr ซึ่งไม่ใช่แค่ทำงานตัดต่อ หลายๆครั้งยังดูแลบทหนัง ออกแบบงานสร้าง (Production Design) ช่วยกำกับกองสอง เหมือนจะรับรู้จักกันมาตั้งแต่ The Outsider (1981) จนถึงปัจจุบัน

นอกจากอารัมบทและช็อตแรกของหนังที่นำเสนอภาพม้าเทียมเกวียนระหว่างกำลังเดินทาง เหตุการณ์หลังจากนี้ล้วนเกิดขึ้นในอาณาบริเวณบ้านพัก คอกม้า และบ่อน้ำ ตั้งอยู่บริเวณทุรกันดารห่างไกล มองเห็นลิบๆเพียงเนินเขาและต้นไม้ไร้ใบ โดยเรื่องราวแบ่งแยกออกเป็น 6 วัน (มีข้อความปรากฎแทรกคั่น)

  • วันที่หนึ่ง นำเสนอกิจวัตรประจำวันทั่วๆไปหลังบิดาเดินทางกลับมาถึงบ้าน ลากม้าเข้าคอก เก็บเกวียนใส่โรงเรือน เข้าไปในบ้านเปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างหน้าตา รับประทานอาหารเย็น และค่ำคืนนอนไม่หลับสักเท่าไหร่
  • วันที่สอง เริ่มต้นด้วยกิจวัตรปกติ บุตรสาวลุกขึ้นไปตักน้ำ สวมใส่เสื้อผ้าให้บิดา แต่ระหว่างกำลังนำม้าเทียมเกวียน มันกลับไม่ยินยอมขยับเคลื่อนไหว ทำให้ต้องล้มเลิกแผนการออกไปทำงาน เลยต้องลากกลับเข้าคอก เก็บเกวียนใส่โรงเรือน เข้าไปในบ้านถอดเสื้อผ้า ผ่าฟืน รับประทานอาหารเย็น และระหว่างกำลังนั่งเหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง เพื่อนบ้านแวะเข้าขอซื้อเหล้า พูดเล่าเหตุการณ์คาดไม่ถึงที่เกิดขึ้นกับอีกหมู่บ้าน
  • วันที่สาม ตื่นนอน ตักน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า ไปดูแลเจ้าม้าที่ไม่ยอมกินอะไร แต่ระหว่างกำลังรับประทานมัน จู่ๆรถม้าของพวกยิปซีก็ตรงรี่เข้ามา บิดาต้องการขับไล่ ส่วนบุตรสาวได้หนังสือ Anti-Bible กลับมาอ่านยามค่ำคืน
  • วันที่สี่ ขณะกำลังจะตักน้ำในบ่อ ปรากฎว่ามันแห้งขอดเหลือเพียงก้อนหิน ทำให้บิดาตัดสินใจตระเตรียมขนข้าวของเพื่ออพยพย้ายหนี แต่หลังจากลากข้ามเนินเขา ไม่รู้พบเห็นอะไรถึงตัดสินใจหวนย้อนกลับมา
  • วันที่ห้า กิจวัตรยังคงดำเนินไป แต่ชีวิตของพวกเขาก็แทบไม่หลงเหลืออะไรให้โหยหา
  • วันที่หก ตื่นขึ้นมาฟ้ายังมืดมิด จุดไฟตะเกียงไม่ติด ถ่านในเตามอดดับ ทำให้ต้องรับประทานอาหารท่ามกลางความมืดสนิท สภาพจิตใจรู้สึกท้อแท้หมดสิ้นหวัง

เพลงประกอบโดย Mihály Víg (เกิดปี 1957) นักแต่งเพลงสัญชาติ Hungarian เกิดที่ Budapest ในครอบครัวนักดนตรี ถือว่าลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น พอโตขึ้นร่วมก่อตั้งวงใต้ดิน Trabant (1980–1986) ตามด้วย Balaton (1979-ปัจจุบัน) กลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Béla Tarr ร่วมงานกันตั้งแต่ Almanac of Fall (1984) จนถึงผลงานสุดท้าย

สำหรับ The Turin Horse (2011) แม้จะมีเพียงบทเพลงเดียวได้ยินเวียนวนซ้ำๆตลอดทั้งเรื่อง แต่การใช้เครื่องสายขนาดใหญ่ เชลโล่ (Cello) และดับเบิ้ลเบส (Double Bass) เสียงทุ้มๆที่ดังออกมา สร้างบรรยากาศอันหนักหน่วง ราวกับถูกกดทับด้วยบางสิ่งอย่างมองไม่เห็น ต้องอดรนทนจนแม้แทบไม่หลงเหลืออากาศหายใจ พยายามดิ้นหลบหนี แม้ท้ายสุดก็มิอาจหลุดพ้น

บทเพลงนี้ได้ยินครั้งแรกตอนอารัมบท พร้อมภาพรถม้าเทียมเกวียนกำลังขับเคลื่อนดำเนินไป มุมกล้องที่ถ่ายเจ้าม้าจากทุกทิศทาง รู้สึกเหมือนว่ามันกำลังแบกลากสัมภาระอันหนักอึ้ง (หรือก็คือเทียมเกวียนด้านหลัง) ทำให้เมื่อจุดๆหนึ่งมันเลยตัดสินใจหยุดวิ่ง!

ครั้งถัดมาที่ได้ยินคือระหว่างการจากไปของเพื่อนบ้าน (ที่ก็ไม่รู้อยู่แห่งหนไหน) และการมาถึงของพวกยิปซี ทั้งสองกลุ่มนี้ต่างเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งชั่วร้าย ต่อต้านพระเจ้า (Anti-Creation) บรรยากาศหนักอึ้งของบทเพลงจึงราวกับพลังอำนาจ เหนือธรรมชาติ สามารถนำพาหายนะ ภัยพิบัติ ให้บังเกิดขึ้นยังสถานที่แห่งนี้

ผมแอบคาดคิดว่าจะได้ยินบทเพลงนี้อีกครั้งวันสุดท้าย (วันที่หก) เพื่อนำเข้าสู่ Closing Credit แต่ที่ไหนกลับคลอประกอบตลอดวันที่ห้า (รองสุดท้าย) หลังจากสองพ่อ-ลูก ไม่สามารถออกเดินทางไปไหน (ไม่รู้เหมือนกันว่าพวกเขาพบเห็นอะไรอีกฟากฝั่งเนินเขา) บังเกิดความกดดันที่ค่อยๆถาโถมเข้าใส่ ไม่รู้จักทำอย่างไร แต่ชีวิตยังคงดำเนินต่อไป … การไม่ใช้เพลงนี้ในวันที่หก (รวมถึง Sound Effect เสียงสายลมด้วยเช่นกัน) คงต้องการสื่อถึงจุดสิ้นสุดที่แท้จริง มันเลยแน่นิ่ง เงียบงัน ไม่หลงเหลือ(เสียง)อะไรสักสิ่งอย่าง

ผู้กำกับ Tarr เป็นคนที่พานผ่านอะไรๆมามาก ช่วงระหว่างที่ฮังการีอยู่ภายใต้การปกครองคอมมิวนิสต์ พบเห็นพฤติกรรมคอรัปชั่น คดโกงกิน ทำลายผืนแผ่นดินมาตุภูมิแห่งนี้ให้มีสภาพเหมือนวันสิ้นโลกาวินาศ จิตใจรู้สึกท้อแท้หมดสิ้นหวัง เคยพยายามดิ้นหลบหนีไปอาศัยอยู่ยัง West German

จนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ค.ศ. 1989 ฮังการีเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย นั่นทำให้ผู้กำกับ Tarr ตัดสินใจหวนกลับมาตุภูมิ ราวกับได้ถือกำเนิด เริ่มต้นชีวิตใหม่ (Rebirth) โอบกอดรับเสรีภาพ ไม่มีอะไรให้ต้องหวาดสะพรึงกลัวอีกต่อไป

แต่อิสรภาพในโลกเสรี ประชาธิปไตย ก็ไม่ได้มีสภาพแตกต่างอะไรจากช่วงเวลาคอมมิวนิสต์ ผู้คนมีความหมกมุ่นลุ่มหลงใหลเงินๆทองๆ กลายเป็นทาสระบอบทุนนิยม เชิดชูปัจเจกบุคคล ชนชั้นผู้นำเต็มไปด้วยความคอรัปชั่น ทุกสิ่งอย่างล้วนเวียนวน หวนกลับมาเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง เหมือนว่าประเทศฮังการี แค่ก้าวออกจากนรกขุมหนึ่ง ไปสู่นรกอีกขุมหนึ่งเท่านั้นเอง!

วัฏจักรดังกล่าวทำให้ผู้กำกับ Tarr บังเกิดความเข้าใจในหลักธรรมชาติ วิถีแห่งเอกภพ ที่ทุกสรรพสิ่งอย่างล้วนต้องประกอบด้วยสองสิ่งขั้วตรงข้าม คล้ายแนวคิดหยินหยาง แสงสว่าง-มืดมิด ชีวิต-ความตาย สงบสุข-วุ่นวาย ฯลฯ ถ้าอยากทำความเข้าใจรายละเอียดให้หารับชม Werckmeister Harmonies (2000)

เฉกเช่นเดียวกับการมีตัวตนของพระเจ้าผู้สร้าง วิถีแห่งเอกภพ (ตามความเข้าใจของผู้กำกับ Tarr) ย่อมต้องให้กำเนิดซาตานผู้ทำลายล้าง เพื่อก่อบังเกิดความสมดุล กลมเกลียว เป็นอันหนึ่งเดียว และสามารถเติมเต็มกันและกัน

จริงๆแล้วผู้กำกับ Tarr เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาว่าไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง (atheist) ในบทสัมภาษณ์หนึ่งมีการยกหนังสือ Thus Spoke Zarathustra (1883-92) ประพันธ์โดย Friedrich Nietzsche (ก่อนหน้าที่จะกลายเป็นบ้าหลังพบเห็นเจ้าม้าถูกเฆี่ยนตี) แสดงความคิดเห็นด้วยว่า พระเจ้าตายแล้ว!

God is dead, we know well, since (Friedrich) Nietzsche started the (Thus Spoke) Zarathustra you could read very clearly that God is dead, and…. really.

Béla Tarr

ผมว่าเป็นเรื่องเข้าใจไม่ยาก เพราะผู้กำกับ Tarr เคยพานผ่านชีวิตที่ราวกับวันสิ้นโลกาวินาศ พระเจ้าอยู่ไหน? ฉันทำผิดอะไรถึงถูกพิพากษาตัดสินให้ตกนรกขุมนี้? เลยไม่แปลกที่จักสูญเสียสิ้นความเชื่อมั่นศรัทธา ซึ่งเมื่อสามารถเอาตัวรอดจากช่วงเวลานั้นมาได้ เขาจึงหันมาจับจ้องมองโลกจากสภาพความเป็นจริง หลักธรรมชาติ และค้นพบวิถีแห่งเอกภพดังกล่าว

It’s just a simple anti-creation story, you know? If you read the Bible you could see that God created the world in six days and he did something in every day. And we just take it away, the same things what we got from God.

The Turin Horse (2011) ถึงผมไม่ได้มองว่าเป็นหนังต่อต้านพระเจ้า (Anti-God) หรือต่อต้านศาสนา (Anti-Christian) แต่ผู้กำกับ Tarr ยืนกรานว่าคือ Anti-Creation หยอกล้อแนวคิดการกำเนิดของโลก อ้างอิงจากคัมภีร์ไบเบิล พันธสัญญาเดิม (Old Testament) ปฐมกาล 1, พระเจ้าสร้างโลกในหกวัน เริ่มจากแสงสว่าง ท้องฟ้า มหาสมุทร ผืนแผ่นดิน กลางวัน-กลางคืน สรรพสัตว์น้อยใหญ่ และพอถึงวันที่เจ็ดถึงสร้างมนุษย์ขึ้นตามภาพลักษณ์ของพระองค์เอง

ลำดับของ The Turin Horse (2011) อาจไม่ตรงเผงถ้ามองย้อนกลับตารปัตรสิ่งที่พระเจ้าสร้างโลกในหกวัน แต่ก็มีความละม้ายคล้ายกันหลายๆอย่าง

  • วันที่หนึ่ง เจ้าม้าปฏิเสธลากเกวียน ไม่ยินยอมดื่มน้ำ/รับประทานฟางหญ้า
  • วันที่สอง กิจวัตรประจำวันของสองพ่อ-ลูก ถูกทำลายลงเพราะเจ้าม้าไม่ยินยอมทำอะไร (หลังจากนี้ก็จะมีฉากตอนกลางคืนอีกต่อไป)
  • วันที่สาม การมาถึงของพวกยิปซี พูดกล่าวถึงการยึดครอบครองผืนแผ่นดินแห่งนี้
  • วันที่สี่ น้ำในบ่อแห้งขอด หลงเหลือเพียงก้อนหิน
  • วันที่ห้า อาศัยอยู่ไปวันๆ ไม่หลงเหลืออะไรให้กระทำ เพียงนั่งเหม่อล่องลอยออกไปภายนอกหน้าต่าง แทบจะมองไม่เห็นท้องฟ้า/วิสัยทัศน์ภายนอกอีกต่อไป
  • วันที่หก ปกคลุมอยู่ในความมืดมิด จุดไฟตะเกียงไม่ติด แม้แต่ถ่านในเตามอดดับ สภาพจิตใจก็เฉกเช่นเดียวกัน

แม้ทิศทางของหนังจะนำไปสู่สภาพจิตใจท้อแท้หมดสิ้นหวัง แต่สิ่งที่ผู้กำกับ Tarr ต้องการนำเสนอออกมานั่นก็คือวิถีแห่งเอกภพ ทุกสรรพสิ่งอย่างล้วนต้องประกอบด้วยสองสิ่งขั้วตรงข้าม แสงสว่าง-มืดมิด ชีวิต-ความตาย เป็นเรื่องปกติที่เริ่มต้นต้องมีสิ้นสุด เพื่อเข้าสู่วัฎจักรของการถือกำเนิดใหม่ (Rebirth) ราวกับชาติปางก่อนผ่านมา เหมือนไม่เคยอะไรบังเกิดขึ้นสักสิ่งอย่าง

I think the end of the world will be very quiet. It won’t be a great show, it will be like real life. Death is the most horrible thing that can happen to anyone, but when it is watched live it looks like nothing is happening.

แล้วมันเกิดอะไรกับเจ้าม้า? นี่ถือเป็นอีกคำถามปรัชญาที่ไม่มีใครสามารถครุ่นหาคำตอบ มันอาจรอดชีวิต หาหนทางหลบหนี หรืออดอาหารจนตัวตาย แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ Friedrich Nietzsche พบเห็นอะไรในตัวเจ้าม้า ถึงตกอยู่ในสภาพหมดสิ้นหวังอาลัยขนาดนั้น? ถ้าบอกว่าสงสาร รู้สึกเจ็บแทน แต่ถึงขนาดตรอมใจ กลายเป็นคนบ้าไปเลยเหรอ?

ผมครุ่นคิดว่าสิ่งที่ Nietzsche ตระหนักได้จากภาพเหตุการณ์ดังกล่าว น่าจะคือความเหี้ยมโหดร้ายของมนุษย์ เพราะหนังสือที่เขียน Thus Spoke Zarathustra แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาว่า พระเจ้าตายแล้ว! โลกขณะนั้นกำลังเข้าสู่ยุคสมัยซาตาน มนุษย์ต่างเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไร้เมตตาธรรมต่อเพื่อนร่วมโลก สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองผลประโยชน์ส่วนบุคคล เรียกว่าเต็มไปด้วยความคลุ้มบ้าคลั่ง ไม่ต่างจากวันสิ้นโลกาวินาศ เหล่านี้เองทำให้เขารู้สึกท้อแท้หมดสิ้นหวัง ไร้เรี่ยวแรงพละกำลังในการดำรงชีวิตสืบไป … หนังสือเล่มดังกล่าวเขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1883-92 ถ้ายุคสมัยนั้นคือก้าวย่างสู่ขุมนรก ปัจจุบันคงไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดแล้วละ

ไม่ใช่ว่าหลังเสร็จสร้าง The Turin Horse (2011) ผู้กำกับ Tarr จะเตรียมตัวรอคอยวันตาย ชีวิตของเขาหลังจากพานผ่านวันสิ้นโลกครั้นนั้นมาได้ เต็มไปด้วยโอกาส แสงสว่างแห่งความหวัง นอกจากทำหนังยังเป็นครูสอนภาพยนตร์ มีลูกศิษย์อยู่แทบทั่วทุกมุมโลก

ผู้สัมภาษณ์: How is retirement going?
Béla Tarr: You know what, I really don’t know how it is going, since I am absolutely fully busy with my film school … I have 35 students from all corners of the world, 35 different reasons, 35 different imaginations and I have to take care of them.

ผู้สัมภาษณ์: Are you teaching there with your cinematographer Fred Kelemen?
Béla Tarr: Sometimes I invite him to do workshops, but I am inviting a lot of people from around the globe…

ผู้สัมภาษณ์: Who in particular? Your former colleagues?
Béla Tarr: Apichatpong Weerasethakul, Carlos Reygadas, Guy Maddin, Pedro Costa, Gus van Sant, Ed Lachman and lot of others.

ผู้สัมภาษณ์: Do you consider these the top filmmakers?
Béla Tarr: Yes, they are the best filmmakers. I do not like to invite bad filmmakers. If you have a house and you invite somebody, you have a reason to invite that person.

เกร็ด: หนึ่งในลูกศิษย์เอกของผู้กำกับ Tarr ก็คือ Laszló Nemes แจ้งเกิดโด่งดังระดับนานาชาติกับผลงาน Son of Saul (2015) คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film ตัวที่สองให้ประเทศฮังการีได้สำเร็จ

อีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้กำกับ Tarr ปฏิเสธสรรค์สร้างผลงานเรื่องถัดไป (มันหาได้ยากมากๆเลยนะ ที่ผู้กำกับประกาศรีไทร์แล้วจะรีไทร์จริงๆ) เพราะความเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์ โดยเฉพาะการมาถึงของเทคโนโลยีกล้องดิจิตอล ความคิดเห็นนี้ค่อนข้างยาวทีเดียว สรุปย่อๆว่ามันให้ความรู้สึกคนละอย่างกัน ก็แค่นั้นละ!

I have to tell you, for me, the film is 35mm celluloid. I made all my shit on 35mm celluloid. My problem is – it’s not technical, again. I don’t care about the scratches because maybe you got an old print. The problem is, the digital picture has to be a new language. But we do not use it as a new language. People are using it to look like a fake film camera. Why do they not think about a new visual language? If you see these fucking digital possibilities, you can create a new language that is only for digital technology. It’s really stupid if you believe that a digital picture will have the same quality as 35mm. Never! But you have a totally different possibilities in a different way, but you can use it. Why don’t you?

Béla Tarr

หนังใช้ทุนสร้างประมาณ 430 HUF ล้านโฟรินต์ฮังการี (น่าจะประมาณ €1 ล้านยูโร) โดยครึ่งหนึ่งมาจากสตูดิโอ T. T. Filmműhely (Hungary) ร่วมกับ Vega Film Production (Switzerland), Zero Fiction Film (Germany), MPM Film (France), Werc Werk Works (American), นอกจากนี้ยังได้งบประมาณจาก Eurimages จำนวน €240,000 ยูโร และ Medienboard Berlin-Brandenburg อีก €100,000 ยูโร

เมื่อสามารถเอาชนะลมฟ้าฝน พานผ่านมาสามฤดูกาล ในที่สุดก็ได้เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin แม้เสียงตอบรับดีล้นหลาม แต่กลับพ่ายรางวัล Golden Bear ให้กับ A Separation (2011) ซึ่งก็ต้องยอมรับเป็นผลงานที่เหนือชั้นกว่าจริงๆ, นอกจากนี้หนังยังได้เป็นตัวแทนประเทศ Hungary ส่งลุ้นรางวัล Oscar: Best Foreign Language Film แต่ไม่ผ่านเข้ารอบใดๆ

  • Berlin International Film Festival
    • Silver Berlin Bear: Jury Grand Prix
    • FIPRESCI Prize: Competition

ความผิดหวังของผมต่อ The Man from London (2007) ทำให้ไม่ได้คาดหวังอะไรมากกับ The Turin Horse (2011) แต่การรับชมต่อเนื่องกัน ทำให้พบเห็นผู้กำกับ Tarr ได้ทำการกัดกร่อนเนื้อหาสาระ รายละเอียดส่วนเกิน (ของ Werckmeister Harmonies และ The Man from London) พัฒนาการมาเป็นผลงานเรื่องสุดท้าย หลงเหลือเพียงความบริสุทธิ์ (cinéma pur) เรียบง่าย น่าประทับใจสุดๆเลยละ

รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ความรู้สึกเหมือนรับประทานกระดูกที่แทบไม่มีเศษเนื้อหลงเหลือ รสชาติมันจึงไม่ค่อยอร่อยสักเท่าไหร่ แต่การได้ขบครุ่นคิดก็ถือว่าเป็นความบันเทิงใจอีกรูปแบบหนึ่ง (แต่หลังจากรับชมภาพยนตร์ของผู้กำกับ Tarr มาหลายเรื่อง ผลงานสุดท้ายมันจึงแทบไม่หลงเหลือความสลับซับซ้อนอีกต่อไป!) ขอเรียกว่าสูงสุดกลับสู่สามัญก็แล้วกัน!

แนะนำคอหนังปรัชญา แนววันสิ้นโลกาวินาศ, หลงใหลภาพยนตร์ที่มีความบริสุทธิ์ (cinéma pur) นำเสนอด้วยวิธีการสุดแสนเรียบง่าย, โดยเฉพาะตากล้อง ช่างภาพ และทีมงานเบื้องหลัง (Production Design) แม้โปรดักชั่นเล็กๆแต่ก็มีงานสร้างที่น่าหลงใหล

จัดเรต pg กับบรรยากาศสิ้นหวัง วันสิ้นโลกาวินาศ

คำโปรย | The Turin Horse ภาพยนตร์สุดท้ายของผู้กำกับ Béla Tarr เรียกว่าสูงสุดกลับสู่สามัญ มีความเรียบง่าย บริสุทธิ์ และหมดสิ้นหวัง
คุณภาพ |
ส่วนตัว | บริสุทธิ์ เรียบง่าย

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: