Alphaville

Alphaville (1965) French : Jean-Luc Godard ♥♥♥♡

โลกอนาคตที่วิทยาศาสตร์ เหตุผลและตรรกะคือทุกสิ่งอย่าง อารมณ์จักกลายเป็นภาระต้องถูกกำจัดให้สิ้นซาก เช่นนั้นแล้วมนุษย์จะยังรับรู้จักความรัก มีอิสรภาพในการครุ่นคิดแสดงออกได้อย่างไร? คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin

โคตรหนังไซไฟ (Science-Fiction) แห่งโลกอนาคต แต่กลับไร้ซึ่ง Visual Effect หรือก่อสร้างในสตูดิโอสักฉากเดียว! ทั้งหมดถ่ายทำบนท้องถนนกรุง Paris ช่วงทศวรรษ 60s ยังสถานที่ที่มีการออกแบบ/สถาปัตยกรรมดูล้ำยุคสมัย รับชมปัจจุบัน (ศตวรรษที่ 21) ยังรู้สึกถึงความ Modern อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

Alphaville is science fiction without special effects. Godard couldn’t afford them in 1965 or ever, but he probably wouldn’t have wanted them even if he’d had unlimited financing.

Andrew Sarris นักวิจารณ์จาก New York Observer

แต่ความลึกล้ำของ Alphavile (1965) อาจไกลเกินสำหรับผู้ชมทั่วๆไป ต้องคอหนังไซไฟระดับ Hardcore ชื่นชอบการครุ่นคิดวิเคราะห์ หลงใหลคลั่งไคล้สไตล์ Godardian และควรต้องให้เวลากับหหนังพอสมควร (ผมเองยังต้องดูถึงสองรอบ ถึงสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาสาระหลักๆ)

นอกการแนวคิดความขัดแย้งระหว่าง Logic/Reason vs. Imagination/Emotion ผู้กำกับ Godard ยังพยายามจินตนาการอนาคตของ Modern Cinema เมื่อทุกสิ่งอย่างได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นหลักการ ทฤษฎี สูตรสำเร็จ มันจะยังหลงเหลืออดีต สิ่งอันใดให้จดจำ? ปิดท้ายไตรภาค ‘วงการภาพยนตร์’ (อันนี้ผมครุ่นคิดขึ้นเองนะครับ)

  • Contempt (1963) จดหมายรักถึงอดีตที่กำลังสูญสิ้นไป
  • Bande à part (1964) ปลุกตื่นจากความเพ้อฝันร้าย
  • Alphaville (1965) อนาคตแห่งความหมดสิ้นหวัง

Jean-Luc Godard (1930-2022) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ French-Swiss เกิดที่กรุง Paris บิดาเป็นนายแพทย์ชาว Swiss ฐานะร่ำรวย ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองหลบลี้ภัยอยู่ Switzerland, เริ่มรู้จักภาพยนตร์จากการอ่านบทความ Outline of a Psychology of Cinema เขียนโดย André Malraux ตามด้วยความสนใจนิตยสาร La Revue du cinéma จากนั้นเริ่มมีโอกาสพบปะผู้คนในวงการ, เมื่อปี 1950 สมัครเข้าศึกษาคณะมานุษยวิทยา University of Paris แต่ไม่เคยเข้าเรียนสักครั้ง เพราะไปหมกตัวอยู่ Ciné-Clubs ตามด้วย Cinémathèque Française รับรู้จักบรรดาพรรคเพื่อนผู้หลงใหลในศาสตร์ภาพยนตร์ François Truffaut, Jacques Rivette, Claude Chabrol, เคยร่วมกับ Éric Rohmer ก่อตั้งวารสาร La Gazette du cinéma แต่อยู่รอดแค่เพียงห้าฉบับ! จากนั้นได้รับคำชักชวนจาก André Bazin กลายเป็นนักวิจารณ์(คนแรกของกลุ่มที่ได้)ตีพิมพ์บทความลงนิตยสาร Cahiers du Cinéma ระหว่างนั้นก็ทดลองทำหนังสั้น และกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Breathless (1960) ** ได้รับการยกย่องว่าคือจุดเริ่มต้นยุคสมัยใหม่ (Modern Cinema)

ระหว่างสรรค์สร้าง Bande à part (1964) ผู้กำกับ Godard และ Karina แม้สามารถเกี่ยวก้อยคืนดี ย้ายเข้าไปอาศัยอยู่อพาร์ทเม้นท์หลังใหม่ร่วมกัน แต่เมื่อเธอเดินทางไปถ่ายทำภาพยนตร์ The Thief of Tibidado (1965) กำกับและนำแสดงโดย Maurice Ronet แอบลักลอบสานสัมพันธ์ คบชู้นอกใจ เอาจริงจังถึงขนาดยื่นใบหย่าสามี ได้รับการตอบอนุมัติวันที่ 21 ธันวาคม 1964

แม้ทั้งสองจะตกลงหย่าขาดกันแล้ว แต่ผู้กำกับ Godard ยังคงคาดหวังใช้ภาพยนตร์เรื่องถัดไป Alphaville (1965) ในการโน้มน้าวชักจูง Karina ด้วยการล้างสมอง (ตัวละครถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ Alpha 60) แล้วพร่ำสอนให้เรียนรู้จักนิยามความหมายของคำว่ารัก

เรื่องราวของ Alphaville (1965) ได้แรงบันดาลใจมาจากตัวละคร Lemmy Caution อดีต FBI สัญชาติอเมริกัน ผันตัวมาเป็นนักสืบเอกชน เริ่มต้นจากนวนิยาย This Man Is Dangerous (1936) แต่งโดยนักเขียนชาวอังกฤษ Peter Cheyney (1896–1951) แล้วมีภาคต่อทั้งหมด 11 เล่ม!

แม้ตัวละครเป็นชาวอเมริกัน แต่งโดยนักเขียนอังกฤษ แต่กลับได้รับดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยประเทศฝรั่งเศส เริ่มต้นจากหนังรวมนักสืบ Brelan d’as (1952) นำแสดงโดย John van Dreelen, แล้วกลายเป็นหนังซีเรียล (Serial Film) La môme vert de gris (1953) นำแสดงโดย Eddie Constantine มีทั้งหมด 7 ภาค ก่อนมาถึง Alphaville (1965)

  • La môme vert de gris (1953) แปลว่า Poison Ivy
  • Cet homme est dangereux (1953) แปลว่า This Man is Dangerous
  • Les femmes s’en balancent (1954) แปลว่า Dames Get Along
  • Vous pigez? (1955) แปลว่า Diamond Machine
  • Comment qu’elle est! (1960) แปลว่า Women Are Like That
  • Lemmy pour les dames (1962) แปลว่า Ladies’ Man
  • À toi de faire… mignonne (1963) แปลว่า Your Turn, Darling

ทั้ง 7 เรื่องนี้ Constantine รับบท Lemmy Caution ในสไตล์หนังนัวร์ เป็นคนเฉลียวฉลาด มากด้วยไหวพริบ (witty) เจ้าเล่ห์เพทุบาย (crafty) และยังเป็นเสือผู้หญิง (womanizer) เข้าหาด้วยแก้ววิสกี้ มืออีกข้างถือบุหรี่ แต่เมื่อต้องเผชิญหน้าอาชญากร มีความแน่วแน่ชัดเจนต่อสิ่งที่ตนเองครุ่นคิดว่าถูกต้อง … ตัวละครนี้ได้รับฉายาว่า “James Bond before James Bond”

แต่เมื่อ Lemmy Caution มาอยู่ในเงื้อมมือผู้กำกับ Godard ได้ทำการปรับเปลี่ยนบุคลิก ภาพลักษณ์ จนแทบไม่หลงเหลือเค้าโครงเดิม (นอกจากนำแสดงโดย Eddie Constantine) ทั้งยังดำเนินเรื่องในโลกไซไฟแห่งอนาคต ในการผจญภัยสุดแปลกประหลาด ยังเมืองสมมติชื่อว่า Alphaville

เกร็ด: ชื่อเต็มๆของหนังคือ Alphaville: une étrange aventure de Lemmy Caution แปลว่า Alphaville: A Strange Adventure of Lemmy Caution, และผมยังไปเจอ Working Title ชื่อว่า Tarzan vs IBM

เกร็ด2: ความที่โปรดิวเซอร์เรียกร้องขอบทหนังเพื่อนำไปใช้ของบประมาณ ผู้กำกับ Godard จึงมอบหมายผู้ช่วย Charles Bitsch ที่ไม่เคยอ่านนวนิยายสักเล่มของ Lemmy Caution พัฒนาบทร่าง (Treatment) ความยาว 30 หน้ากระดาษ … Bitsch พึงพอใจบทหนังดังกล่าวมากๆ นำไปใช้ของบประมาณจากโปรดิวเซอร์ แต่ผู้กำกับ Godard ไม่ได้นำอะไรไปใช้สักสิ่งอย่าง! น่าจะไม่ได้อ่านด้วยซ้ำนะ!


อนาคตอันใกล้, Lemmy Caution สายลับรหัส 003 มาจากนอกโลก (Outlander) เดินทางสู่ Alphaville ด้วยรถ Ford Galaxie ปลอมตัวเป็นนักข่าวชื่อ Ivan Johnson อ้างว่าทำงานให้กับนิตยสาร Figaro-Pravda แต่เป้าหมายแท้จริงนั้นมีอยู่สามอย่าง

  1. ออกค้นหาสายลับคนก่อนที่สูญหาย Henri Dickson (รับบทโดย Akim Tamiroff)
  2. จับกุมหรือเข่นฆ่า Professor von Braun (รับบทโดย Howard Vernon) ผู้ก่อตั้ง Alphaville
  3. ทำลายเครื่อง Sentient Computer (คอมพิวเตอร์ที่ตื่นรู้ มีสติเป็นของตนเอง) รุ่น Alpha 60 ที่สร้างโดย Prof. von Braun และคอยควบคุมบางการ Alphaville อยู่เบื้องหลัง

เมื่อ Lemmy Caution เดินทางมาถึง Alphaville ได้พบเจอสิ่งผิดปกติ/ขัดต่อสามัญสำนึกมากมาย คนที่นี่รู้จักผลแต่ไม่รู้จักเหตุ, ตัดสินใจด้วยผลและตรรกะแทนอารมณ์, ใช้พจนานุกรมแทนคัมภีร์ไบเบิล, หญิงสาวคอยให้บริการทางเพศ, การประหารชีวิตผู้แสดงความคิดเห็นในสระว่ายน้ำ และโดยเฉพาะ Natacha von Braun (รับบทโดย Anna Karina) บุตรสาวแท้ๆของ Prof. von Braun แต่กลับไม่รู้จักความหมายของคำว่ารัก


Eddie Constantine ชื่อจริง Edward Israël Constantinowsky (1917-93) นักร้อง/นักแสดง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles, บิดาเป็นพ่อค้าเครื่องประดับ อพยพจากรัสเซีย ส่วนมารดาเป็นชาว Polish เชื้อสาย Jewish, วัยเด็กชื่นชอบการร้องเพลง เลยถูกส่งไปร่ำเรียนถึงกรุงเวียนนา แต่พอกลับมาสหรัฐอเมริกากลับไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ เลยเดินทางสู่ฝรั่งเศส พบเจอโดย Edith Piaf เลือกมาแสดงละครเพลง La p’tite Lili เห็นว่าเคยแปลภาษาอังกฤษหลายๆบทเพลง อาทิ La Vie en Rose, Hymne à l’amour ฯ จากนั้นได้รับเลือกแสดงภาพยนตร์ Lemmy Caution แจ้งเกิดโด่งดังโดยทันที! ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Beware of a Holy Whore (1971), The Long Good Friday (1980), Red Love (1982), Europa (1991) ฯ

สำหรับ Lemmy Caution ใน Alphaville (1965) เต็มไปด้วยริ้วรอย แห้งเหี่ยว ดูแก่ชราลงไปมาก (เห็นว่าผกก. Godard ไม่อนุญาตให้แต่งหน้าเสริมหล่อใดๆ) สวมเสื้อโค้ทกันฝน (Trehchcoat) เหมือนต้องการเลียนแบบภาพลักษณ์ Humphrey Bogart แต่ท่าทางยังคงดิบเถื่อน กักฬระ มาดนักเลง (เหมือนตัวร้ายมากกว่าพระเอก) ไม่ชอบการโอนอ่อนผ่อนปรน นอกจากหญิงสาวที่ตนสนใจ

ผมรู้สึกว่า Constantine ดูเหน็ดเหนื่อย เหมือนคนเบื่อหน่ายกับการแสดงบทบาทนี้ (แม้เป็นบทบาทแจ้งเกิดโด่งดัง แต่ถ้าต้องเล่นซ้ำๆจนกลายเป็น ‘stereotype’ มันคงทรมานเหมือนกัน) เห็นว่าตอนแรกก็อยากตอบปัดปฏิเสธ แต่เพราะติดสัญญากับโปรดิวเซอร์ André Michelin เลยไม่อาจหลีกเลี่ยง และไม่รับรู้ตนเองด้วยซ้ำกำลังทำอะไร (การทำงานของผู้กำกับ Godard ก็ผิดแผกแตกต่างจากชาวบ้านชาวช่อง)

แซว: การพลิกบทบาทครั้งนี้สร้างความไม่พึงพอใจต่อแฟนๆ Lemmy Caution เป็นอย่างมาก! ก็ถึงขนาดทำให้ Constantine ไม่สามารถปะติดปะต่อกับคาแรคเตอร์เดิมของตนเองอยู่หลายปี กว่าจะยินยอมหวนกลับมารับบทนี้ก็เมื่อ Panic Time (1980) และอีก 4 ภาคสุดท้าย

เหตุผลของการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และบุคลิกภาพของ Lemmy Caution ก็เพื่อให้สอดคล้อง/ตัวตายตัวแทนผกก. Godard สำหรับแสดงทัศนคติไม่เห็นด้วยต่อทิศทางโลกอนาคตที่หนังพยายามนำเสนอออกมา … เป็นตัวละครที่เมื่อจับไปใส่ใน Alphaville จะแสดงปฏิกิริยา/ความคิดเห็นออกมาอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม ไม่ประณีประณอม ถึงพริกถึงขิง!


Anna Karina ชื่อจริง Hanne Karin Bayer (1940-2019) เกิดที่ Frederiksberg, Denmark โตขึ้นเริ่มจากเป็นนักร้อง-เต้นคาบาเร่ต์ ตามด้วยโมเดลลิ่ง แสดงหนังสั้นที่คว้ารางวัลเทศกาลหนังเมือง Cannes เลยตัดสินใจปักหลักอยู่กรุง Paris (ยังพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ด้วยซ้ำ) ได้รับการค้นพบโดยแมวมอง พามาถ่ายแบบ นิตยสาร กระทั่ง Jean-Luc Godra ชักชวนมารับบทนำ Breathless (1960) แต่กลับบอกปัดปฏิเสธเพราะไม่อยากเข้าฉากนู๊ด ถึงอย่างนั้นก็ยินยอมร่วมงานตั้งแต่ A Woman Is a Woman (1961), My Life to Live (1962), The Little Soldier (1963), Band of Outsiders (1964), Pierrot le Fou (1965), Alphaville (1965) และ Made in USA (1966), ผลงานเด่นๆหลังจากนั้น อาทิ The Nun (1966), The Stranger (1967), Man on Horseback (1969), Chinese Roulette (1976) ฯ

รับบท Natacha von Braun บุตรสาวของ Prof. von Braun ผู้ประดิษฐ์คิดค้น Sentient Computer รุ่น Alpha 60 สำหรับควบคุมดูแล Alphaville ล้างสมองประชาชนรวมทั้งบุตรสาวตนเอง ให้แสดงออกโดยยึดตามเหตุผลและตรรกะ ละทอดทิ้งอารมณ์ ความรู้สึก ลบเลือนจิตสำนึก และอะไรคือความรัก?

Natacha ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลนักข่าว Ivan Johnson ด้วยการพาไปบันทึกภาพยังสถานที่ต่างๆ รับชมการประหารชีวิตยังสระว่ายน้ำ ฯลฯ แต่หลังจากตัวตนแท้จริงของ Lemmy Caution ถูกเปิดโปงออกมา กลับทำให้หญิงสาวเต็มไปด้วยความใคร่รู้ใคร่สงสัย กระทำสิ่งขัดแย้งต่อโปรแกรม จนท้ายที่สุดสามารถเรียนรู้จักนิยามของความรัก

ด้วยจุดประสงค์เพื่อให้ Karina หวนกลับมาคืนดี ผกก. Godard จึงสรรค์สร้างตัวละครนี้จากสาวสวยไร้เดียงสา ราวกับหุ่นยนต์ถูกตั้งโปรแกรมมา รู้จักแต่เหตุผลและตรรกะ ทำตามคำสั่งหน้าที่ของบิดา/Alpha 60 เมื่อรับรู้จัก Lemmy Caution (หรือก็คือผกก. Godard) ทำให้ค่อยๆเรียนรู้จัก เข้าใจนิยามความรัก และเอ่ยคำดังกล่าวออกมา “I love you”

ข่าวซุบซิบในกองถ่าย เล่าว่าผู้กำกับ Godard เหมือนจะสามารถคืนดีกับ Karina พบเห็นแอบกุ๊กกิ๊กสองต่อสองอยู่บ่อยครั้ง ฟังดูเหมือนจะสามารถปรับความเข้าใจ แต่แท้จริงแล้วแค่ช่วงประณีประณอม ‘reconciled’ หลังเสร็จจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ปัญหาขัดแย้งต่างๆนานาก็หวนกลับมาลุมเร้า ไม่ลงรอยกันอีกครั้ง(สุดท้าย)


ถ่ายภาพโดย Raoul Coutard (1924-2016) ตากล้องระดับตำนาน สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำของบรรดาผู้กำกับ French New Wave, สมัยเด็กตั้งใจร่ำเรียนเคมี แต่ไม่มีทุนการศึกษาเลยหันมาเป็นช่างภาพ เข้าร่วมสงคราม French Indichina War (1946-54) ในฐานะ ‘war photographer’ อาศัยอยู่เวียดนามถึง 11 ปี กลับมาฝรั่งเศสกลายเป็นฟรีแลนซ์ให้นิตยสาร Paris Match และ Look กระทั่งได้รับการติดต่อจากผู้กำกับ Pierre Schoendoerffer ทั้งๆไม่เคยมีประสบการถ่ายทำภาพยนตร์ แต่กลับได้เสียงชื่นชม The Devil’s Pass (1958), ติดตามมาด้วยผลงานแจ้งเกิดโด่งดัง Breathless (1960), Shoot the Piano Player (1960), Vivre sa Vie (1962), Jules et Jim (1962), Le Mépris (1963), Bande à part (1964), Pierrot le Fou (1965), Z (1969) ฯลฯ

เวลาที่ใครต่อใครนึกถึงภาพยนตร์ไซไฟ โลกอนาคต ก็มักจินตนาการถึงโปรดักชั่นใหญ่ๆ งานสร้างอลังการ ทุนมหาศาล แต่นั่นไม่ใช่สำหรับผกก. Godard พร้อมกับตากล้องขาประจำ Coutard คงใช้วิธีกองโจร ‘guerrilla unit’ ออกตระเวรถ่ายทำตามท้องถนนกรุง Paris ยังสถานที่ที่มีสถาปัตยกรรม ‘Modern’ ดูล้ำยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะอาคารกระจกถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ เหมือนเข้าไปอยู่ในโลกอนาคตจริงๆ

ส่วนใหญ่ของหนังถ่ายทำตอนกลางคืน (ให้ได้บรรยากาศนัวร์ๆ สะท้อนโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยความมืดหม่น) แต่เทคโนโลยีกล้องยุคสมัยนั้นยังไม่ก้าวข้ามผ่าน Breathless (1960) คงต้องใช้วิธีการดั้งเดิมคือเอาฟีล์มภาพนิ่งที่สามารถถ่ายได้ดีในที่แสงสว่างน้อยๆ มาปะติปะต่อให้กลายเป็นม้วนฟีล์มภาพยนตร์ … มันช่างเป็นความตลกร้ายเหลือนทน ภาพยนตร์ไซไฟโลกอนาคต แต่ทุกสิ่งอย่างคือปัจจุบันที่ยังเฉิ่มเชยล้าหลัง


ภาพแรกผมครุ่นคิดว่าคือประชนกำลังร่วมด้วยช่วยกันผลักดันรถถัง (สัญลักษณ์ของทหาร เผด็จการ) ให้ตกลงสู่แม่น้ำ เพื่อว่าประชาชนจะกลายเป็นดั่งนก ได้รับการปลดปล่อยสู่เสรีภาพ … แม้เรื่องราวของหนังจะไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติโดยตรง แต่ตัวละคร Lemmy Caution สามารถใช้เป็นสัญลักษณ์ของวีรบุรุษ โค่มล้มเผด็จการ ไม่เห็นด้วยต่ออำนาจเบ็ดเสร็จ ปลดแอกประชาชนสู่อิสรภาพได้เช่นเดียวกัน

ภาพแรกของ Lemmy Caution สังเกตว่าใบหน้าปกคลุมอยู่ในความมืดมิด (สื่อถึงการไร้ตัวตน/จิตวิญญาณ) จนกระทั่งจุดไฟแช็กสูบบุหรี่ (แสงสว่างทำให้เกิดชีวิตและจิตวิญญาณ) สามารถสื่อถึงชายคนนี้จะเป็นบุคคลผู้นำแสงสว่างมาให้กับ Alphaville (หลังจากปฏิบัติภารกิจสำเร็จ) ได้เช่นกัน

It was 24.17, Oceanic Time when I approached the suburbs of Alphaville.

ทีแรกผมก็ไม่ได้เอะใจกับคำพูดประโยคนี้หรอกนะ แต่พอครุ่นคิดไปมา 24.17 แสดงว่าหนึ่งวันบนโลกใบนี้ยาวนานกว่า 24 ชั่วโมง! ซึ่งยังสามารถสื่อถึงช่วงเวลาแห่งความมืดมิดยิ่งกว่าเที่ยงคืน … ก็คือสถานที่แห่งนี้มันนัวร์มากๆ

บ่อยครั้งที่หนังจะมีการแทรกภาพอะไรก็ไม่รู้ ไฟกระพริบ ป้ายนีออน ลูกศร ตัวอักษร ฯลฯ ล้วนมีนัยยะเชิงสัญลักษณ์เคลือบแฝงบางอย่าง

  • ไฟกระพริบ เหมือนสัญญาณเตือนภัย (เวลาไฟกระพริบตามสี่แยก คือการบอกเตือนให้คนขับระมัดระวังอันตราย) ตัวละครกำลังเดินทางสู่ Alphaville ซึ่งเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยภยันตราย
  • ลูกศร → สื่อถึงทิศทาง ไม่ใช่เลี้ยวซ้าย-เลี้ยวขวานะครับ แต่คือการที่รัฐบาล/ผู้นำประเทศ พยายามกำหนดทิศทางให้ประชาชนต้องดำเนินไป ในบริบทนี้ก็คือศิโรราบ/ทำตามคำแนะนำของ Alpha 60
  • ป้ายเข้าเมือง ALPHAVILLE มีสี่คำที่คือเป็นคำขวัญประจำเมือง
    • Silence จงหุบปาก หมายถึงดินแดนแห่งความเงียบสงบ
    • Logic ดินแดนแห่งนี้มีแต่เหตุผลและตรรกะ
    • Security น่าจะสื่อถึงความปลอดภัย
    • Prudence ประชาชนมีความสุขุมรอบคอบ (เพราะไม่ต้องครุ่นคิดอะไร เพียงทำตามคำสั่ง Alpha 60 แล้วชีวิตจะดีเอง)

ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่า Ivan Johnson มันเขียนเป็น Lemmy Caution ได้ยังไง? แต่สำนักพิมพ์ Figaro-Pravda ที่ส่งเขามายัง Alphaville มาจาก

  • Le Figaro หนังสือพิมพ์รายวันเก่าแก่ที่สุด(ที่ยังตีพิมพ์อยู่)ในฝรั่งเศส! ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1826
  • Pravda คือชื่อหนังสือพิมพ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียต เริ่มตีพิมพ์วันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1912

การผนวกรวมหนังสือพิมพ์สองสัญชาติ เหมือนผู้กำกับ Godard แอบเชื่อว่าสหภาพโซเวียตจะเป็นผู้ชนะสงครามเย็น และสามารถผนวกรวมฝรั่งเศส ในอนาคตจักกลายเป็น Alphaville

หนึ่งในฉากที่ได้รับการกล่าวขวัญอย่างมากๆ ก็คือ Long Take ระหว่าง Lemmy Caution เดินจากเคาน์เตอร์ → เข้าลิฟท์ → เลื่อนขึ้นชั้นบน → แล้วก้าวสู่ห้องพัก, ไฮไลท์คือตอนขึ้นลิฟท์ ที่สามารถเคลื่อนติดตามนักแสดงได้เพราะโรงแรมแห่งนี้มีลิฟท์แก้วสองอัน ยุคสมัยนั้นเป็นสิ่งของแปลกใหม่ ดูล้ำอนาคตอย่างมาก ซักซ้อมอยู่หลายครั้งจนได้จังหวะพอดิบพอดี (มีทั้งขาขึ้น-ขาลง)

เกร็ด: โรงแรมแห่งนี้ชื่อว่า Scribe Hotel ตั้งอยู่ 1 Rue Scribe, Paris 9 ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่นะครับ

Seductress หญิงสาวคอยให้บริการทางเพศกับลูกค้า พูดง่ายๆก็คือโสเภณีนะแหละ Alphaville คงทำให้เป็นอาชีพถูกกฎหมาย พบเจอได้ทุกสถานที่พักอาศัย คาดเดาว่าคำนวณจากสถิติ สามารถลดปัญหาการข่มขืน อาชญากรรมทางเพศ รวมถึงปัญหาสังคมอื่นๆมากมาย … โสเภณีเป็นอาชีพที่ผู้กำกับ Godard เปิดกว้างมากๆมาตั้งแต่ Vivre Sa Vie (1962)

เริ่มตั้งแต่ครานี้ที่ Seductress กล่าวถึงยากล่อมประสาท (Tranquillizers) สังเกตว่าหลายๆคนใน Alphaville มักรับประทานยาตัวนี้อยู่เรื่อยๆ (มันคงไม่ใช่ยาตัวอื่นหรอกนะ) เหมือนต้องการสื่อว่า ผู้คนใช้เป็นสิ่งสำหรับสงบสติ เพื่อไม่ให้แสดงอารมณ์ต่างๆออกมา (เพราะมันจะผิดกฎหมายนั่นเอง)

กล้องถ่ายภาพที่ Lemmy Caution ใช้ในการถ่ายรูปคือ Agfa ISO-RAPID IF เลนส์ Isinar f8 รุ่นปี ค.ศ. 1965 ถือว่าล้ำที่สุดในยุคสมัยนั้น แต่ตามบริบทของหนังถือเป็นกล้อง Vintage ที่ตกยุค ล้าสมัย ไม่มีใครนิยมใช้กันแล้ว ปัจจุบันหาซื้อไม่ได้แล้วนะครับ ต้องตามพวก Ebay เว็บขายของมือสอง

Lemmy Caution นอนอ่านหนังสือ Le grand sommeil แปลว่า The Big Sleep (1939) นวนิยายอาชญากรรม ‘Hardboiled’ แต่งโดย Raymond Chandler เคยได้รับการดัดแปลงเป็นโคตรภาพยนตร์ The Big Sleep (1946) กำกับโดย Howard Hawks นำแสดงโดย Humphrey Bogart และแจ้งเกิด Lauren Bacall … เป็นภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวซับซ้อนโคตรๆ และหาคำตอบไม่ได้ด้วยว่าใครคือฆาตกร

I just can’t understand why I keep having trouble with the same New Years resolution every January!

ส่วนภาพนู้ดที่กลายเป็นเป้าซ้อมยิงปืน เป็นผลงานของ Alberto Vargas อยู่ในนิตยสาร Playboy ฉบับเดือนมกราคม 1965 นี่ไม่ได้หมายความว่าหนังมีพื้นหลัง ค.ศ. 1965 นะครับ คงต้องการสื่อถึงเรื่องราววุ่นๆ ที่กำลังจะบังเกิดขึ้นเสียมากกว่า

และหลังจากยิงเป้าสำเร็จ (จะสื่อถึงสัญลักษณ์ของการมีเพศสัมพันธ์กับ Seductress ก็ได้นะครับ) Lemmy Caution จะพูดว่า

Not bad for a veteran of Gudadalcanal.

คาดว่าน่าจะสื่อถึง Guadalcanal campaign (1942-43) ยุทธการที่กองทัพสหรัฐอเมริกา ยกพลขึ้นฝั่งบนเกาะ Guadalcanal บริเวณหมู่เกาะ/ทะเล Solomon (ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Australia) ถือเป็นหมุดหมายแรกในการรุกรานจักรวรรดิญี่ปุ่น จากทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก

Lemmy Caution โชว์ความแม่นด้วยการยิงปืนใส่ไฟแช็ค อันเดียวกับที่เคยใช้จุดบุหรี่ พอดิบพอดีกับการมาถึงของ Natacha von Braun สามารถสื่อถึงเธอคือบุคคลทำให้ภายในของเขาลุกโชติช่วง เต็มไปด้วยความลุ่มร้อน ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ ตกหลุมรักโดยทันที!

แต่หญิงสาวไม่สามารถจุดไฟ/เพลิงราคะได้ด้วยตนเอง เพราะถูกโปรแกรมล้างสมองจนหมดสูญสิ้นอารมณ์ ไม่เข้าใจความหมายของคำว่ารัก … แต่บางครั้งร่างกายก็แสดงปฏิกิริยาหลายๆอย่างออกมาโดยไม่รู้ตัว

I’ve traveled 9,000 kilometers to give it to you.

แซว: ระยะทางดังกล่าวแค่ประมาณครึ่งโลก จากสหรัฐอเมริกามายังฝรั่งเศสได้กระมัง

ช่วงระหว่างอยู่บริเวณโถงทางเดิน Lemmy Caution พูดคุยสอบถามถึงเรื่องของความรัก ซึ่งพอ Natacha ถามกลับ Why? มันจะมีเสียง Sound Effect ตื้ด ตื้ด ราวกับเป็นสัญญาณเตือน คำต้องห้าม คนที่เพิ่งรับชมรอบแรกๆอาจยังไม่เข้าใจว่าหนังต้องการสื่ออะไร ดังจากไหน แต่เจ้า Alpha 60 มันสอดแนมอยู่ทุกแห่งหน ไม่เว้นแม้แต่ในห้องพักส่วนบุคคล

Love? What’s that? … I don’t understand what are you talking about?

Natacha von Braun

ระหว่างทางจะมีขณะหนึ่งที่พวกเขาเดินผ่านบริเวณมืดมิด เงามืดปกคลุมใบหน้า แล้วต่างหยุดพูดคุย เงียบเสียง Soundtrack … ชวนให้นึกถึงนาทีแห่งความเงียบสงัดของ Bande à part (1964) อยู่เล็กๆ

Lemmy Caution: Natasha’s a name from the past.
Natacha von Braun: Yes, but in life, one can only know the present. No one’s lived in the past, or will live in the future

Natasha เป็นชื่อหญิงสาวชาวรัสเซีย หมายถึง เกิดวันคริสต์มาส (born on Christmas day หรือ birthday of the Lord) ทำให้พอเข้าใจความหมายของชื่อในอดีต เพราะผู้คนใน Alphaville ไม่เชื่อเรื่องของศาสนาอีกต่อไป!

คำพูดประโยคนี้มาพร้อมกับภาพตัวเลขนับถอยหลัง (คาดว่าน่าจะตรงสัญญาณไฟจราจร กระมัง) ก็เพื่อสื่อถึงการมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาปัจจุบัน เราเฝ้ารอคอยตัวเลขศูนย์เพื่อจะได้ขับรถออกไป แต่ก็ไม่สามารถเร่งรีบหรือย้อนเวลา ต้องรอคอยอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น!

Lemmy Caution สามารถติดตามมาพบเจอสายลับคนก่อนที่สูญหายตัวไป Henri Dickson (รับบทโดย Akim Tamiroff) ยังโรงแรม Red Star Hotel (Red Star คือสัญลักษณ์ของคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งจะมีการกล่าวถึง Pekingville ว่าได้ครุ่นคิดวิธีการ ‘ถ้าไม่ยินยอมฆ่าตัวตายก็จะถูกนำตัวไปประหาร’ นี่ผมก็ไม่รู้ผกก. Godard เพ้อเจ้ออะไรนะครับ) แต่เขามีสภาพเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า ใกล้จะขาดใจตาย เพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ Alphaville รวมถึงปฏิบัติตามภารกิจได้รับมอบหมาย

Dick Tracy, is he dead? And Guy Leclair?

  • Dick Tracy คือนักสืบที่มีความดิบเถื่อน ในการ์ตูนแนวอาชญากรรม สร้างโดย Chester Gould เริ่มตีพิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 เคยได้รับการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ Dick Tracy (1990) นำแสดงโดย Warren Beatty
  • Guy L’eclair คือชื่อฝรั่งเศสของ Flash Gordon ตัวเอกการ์ตูนแนวผจญภัยในอวกาศ สร้างโดย Alex Raymond เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1934 จุดประสงค์เพื่อเป็นคู่แข่งกับ Buck Rogers

Henri พยายามอธิบายหลายๆอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นใน Alphaville ให้กับ Lemmy Caution (แต่ก็จับใจความไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่) เริ่มจากเดินขึ้นบันได หยุดนั่ง แล้วพอมาถึงหน้าห้องก็กวัดแกว่งหลอดไฟ เหล่านี้แสดงถึงสภาวะทางอารมณ์ ดูแท้แท้สิ้นหวัง หลงเหลือเพียงแสงไฟเล็กๆที่ยังเป็นความหวัง (นามสกุลตัวละครนี้บอกใบ้ชัดเจนมากๆว่าอะไรคือความหวัง) ยังสะท้อนถึงสภาพสังคมที่สูญเสียอารมณ์และการตั้งคำถาม ในอดีตเคยมีศิลปิน จิตรกร นักดนตรี นักเขียนนวนิยาย แต่ปัจจุบัน(หรือคืออนาคตในมุมองผู้กำกับ Godard) ไม่หลงเหลืออะไรสักสิ่งอย่าง

Their ideal here, in Alphaville is a technocracy, like that of termites and ants. Probably one hundred and fifty light years ago. One hundred and fifty, two hundred, there were artists in the ant society. Artists, novelists, musicians, painters. Today, no more.

Henri Dickson

สำหรับคนที่ไม่ค่อยเก่งวิทยาศาสตร์ นี่คือสองสมการที่เพิ่งได้รับการครุ่นคิดขึ้นเมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20th และมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักของคนทั่วๆไป (พอๆกับทฤษฎีบทพีทาโกรัส และกฎของนิวตัน)

  • E = hf คือทฤษฎีอนุภาคแสง ในปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (Photoelectric Effect) ค้นพบโดย Heinrich Hertz เมื่อปี ค.ศ. 1887 แต่ได้รับการอธิบายเป็นสมการคณิตศาสตร์โดย Albert Einstein เมื่อปี ค.ศ. 1905
  • E = mc2 คือทฤษฎีสัมพันธภาพ (Relativity Theory) ครุ่นคิดค้นโดย Albert Einstein เมื่อปี ค.ศ. 1905
  • และเพราะ E = E พลังงานไม่มีสูญหาย ดังนั้น hf = mc2

“Why” … What does that word mean? I forgot.

หลายคนอาจรู้สึกไม่สมเหตุสมผล มนุษย์จะหลงลืมการตั้งคำถาม Why? ได้อย่างไร? แต่ในสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) มักพยายามทำให้ประชาชนหุบปากแล้วทำตามคำสั่ง ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดำเนินตามทิศทางที่เบื้องบนวางไว้ ปิดกั้นความคิดเห็นส่วนบุคคล ไม่ต้องการให้ใครครุ่นคิด ตั้งคำถามอะไร ยังไง ทำไม จนเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง Why? ก็จะเริ่มเลือนลาง ถูกลบจากพจนานุกรม กลายเป็นคำต้องห้าม และสูญหายไปจากความทรงจำ

ทั้งๆอยู่ระหว่างกำลังพูดคุยสนทนา Henri กลับไม่สนอะไรต่อ Lemmy Caution ถึงขนาดพาหญิงสาว Seductress ขึ้นมาบนห้อง แล้วขอให้เขาหลบซ่อนอยู่หลังตู้เสื้อผ้า (พบเห็นภาพมนุษย์ท่องอวกาศ และทฤษฎีสัมพันธภาพ สื่อถึงการที่พวกเขาต่างคือ ‘the Outlands’ และขณะนี้ Lemmy ถือเป็นบุคคลนอก) ส่วนตนเองก็ระบายความใคร่ผ่านการเรียกชื่อ Madame โสเภณีทั้งหลายในประวัติศาสตร์ (พวกเธอเป็นดั่งแสงสว่างแห่งความหวังที่หลงเหลืออยู่สำหรับชายคนนี้)

Come in, Madame la Marquise. My coat, Madame Recamier. Thank you, Madame Pompadour, Madame Bovary, Marie Antoinette, Madame Lafayette. Madame, it’s love.

หนังไม่ได้ขึ้นเครดิตว่าใครเป็นผู้ให้เสียงพากย์ Alpha 60 เพียงบอกเล่าว่าคือผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง พูดผ่านเครื่องช่วยพูดแบบใช้ไฟฟ้า (Electrolarynx) จึงได้น้ำเสียงที่มีความแหบแห้ง หยาบกระด้าง เหมือนบุคคลพานผ่านอะไรมามาก สามารถเข้าใจทุกสรรพสิ่งอย่างในโลก … เห็นว่าได้แรงบันดาลใจจาก Dr. Mabuse ภาพยนตร์เรื่อง The Testament of Dr Mabuse (1933)

แซว: แม้รูปร่างหน้าตาจะไม่เหมือนกันสักทีเดียว แต่ผมค่อนข้างรู้สึกว่าเจ้า Alpha 60 น่าจะเป็นส่วนหนึ่งแรงบันดาลใจคอมพิวเตอร์ HAL9000 ภาพยนตร์เรื่อง A Space Odyssey (1968)

สไลด์โชว์ระหว่างงานสัมมนา มีหลายๆภาพที่น่าสนใจทีเดียว

  • ภาพร่างเพศหญิง-ชาย
    • ไม่มีริมฝีปาก (หรือจะมองว่าเส้นเล็กๆคือปากก็ได้) แฝงนัยยะของการห้ามพูด ไร้สิทธิ์เสียง (หุบปากแล้วทำตามคำสั่ง)
    • ส่วนดวงตาเพศหญิงมีข้อความ Oui (ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Yes), ฝ่ายชายคำว่า Non (แปลว่า No)
  • ตาชั่งเครื่องหมายตกใจ (!) vs. เครื่องหมายคำถาม (?)
  • Pourquoi (แปลว่า Why) vs. Parceque (แปลว่า Because)
    • ภาพสองและสาม นำเสนอสองสิ่งขั้วตรงข้าม คำถาม-คำตอบ เหตุผล-อารมณ์ เพื่อชักชวนให้ผู้รับฟังการสัมมนา ตัดสินใจเลือกฝั่งฝ่ายหนึ่งที่จักสร้างคุณประโยชน์สูงสุดให้กับสังคม ประเทศชาติ
  • ด้านซ้ายมีข้อความ Au Secours (แปลว่า Help) ดูจากรูปลักษณะทำเหมือนคนกำลังตกลงจากตึกสูง แต่จะว่าไปมันเหมือนการฆ่าตัวตาย vs. ภาพด้านซ้าย ผมเห็นเหมือนทหารถือปืน เหมือนกำลังเล็งใส่ใครบางคน น่าจะสื่อถึงนักโทษประหารชีวิต … เป็นภาพที่ล้อกับคำพูดของ Henri ที่อ้างถึงวิธีการของ Pekingville ระหว่างฆ่าตัวตาย vs. ถูกประหารชีวิต นั่นคือหนทางสำหรับผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ Alphaville
  • เหล่านี้เป็นคำที่กำลังสูญหายจากพจนานุกรม หลงลืมเลือนจากความทรงจำผู้คนใน Alphaville
    • maSque แปลว่า mask
    • escalier แปลว่า stairs (เพราะการมาถึงลิฟท์ จะทำให้มนุษย์เลิกใช้บันได)
    • absen é แปลว่า absent
    • vagues แปลว่า vagues (คลุมเคลือ)
    • malasie แปลว่า malaysia (อาจเพราะประเทศนี้กำลังจะจมอยู่ใต้บาดาล?)
    • imbrogbrio แปลว่า confusion
    • dormir แปลว่า sleeping
    • cens-ré แปลว่า censor (เพราะทุกอย่างถูกเซนเซอร์โดยอัตโนมัติ มันเลยไม่จำเป็นต้องใช้คำนี้อีกต่อไป)
    • nostalgie แปลว่า nostalgia
    • ameoureuse แปลว่า in love
  • Once we know the number one we believe that we know the number two because one plus one equals two. We forget that first we must know the meaning of plus.
    • นี่เป็นภาพที่อาจเข้าใจยากสักนิด คือคำอธิบายเหตุผล 1+1=2 สำหรับคนที่ไม่เข้าใจความหมายของการบวก (+) ย่อมไม่เข้าใจว่า 1+1 เท่ากับสองได้อย่างไร จึงทำการสมมติเส้นที่ลากจากตัวเลข 1 ให้มันม้วนๆวนไปวนมา จากนั้นกลายเป็นเส้นตรงก่อนไปยังตำแหน่งตัวเลข 2
    • การหลงลืมความหมายของการบวก มันคือการอธิบายสรุปรวมในเชิงสัญลักษณ์ของสิ่งที่เมื่อไม่ได้ใช้งาน สูญเสียความจำเป็น มันก็จะค่อยๆเลือนหายไปจากความทรงจำ

เกร็ด: เรื่องราวในส่วนนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Nineteen Eighty-Four (1949) นวนิยายไซไฟ Dystopian ของ George Orwell (1903-50) นักเขียนชาวอังกฤษ, กล่าวถึงอนาคต ค.ศ. 1984 ในโลกที่มีสงครามตลอดกาล (Perpetual war) การสอดส่องของรัฐบาลอยู่ทุกหนแห่ง พยายามชักใย/ชวนเชื่อทางการเมือง ล้างสมองประชาชนว่า 2+2=5 จนก่อให้เกิดหลุมความทรงจำ (Memory hole)

ภาพสุดท้ายของการสัมมนา คือจินตนาการมนุษย์ในอนาคตของ Alpha 60 ใบหน้ากับบั้นท้ายอยู่ในตำแหน่งซ้อนทับ หรือก็คือสิ่งๆเดียวกัน แฝงนัยยะถึงมนุษย์ในอนาคตไม่จำเป็นต้องใช้สมองครุ่นคิดอะไร ทุกสิ่งอย่างล้วนถูกตัดสินใจโดยระบบคอมพิวเตอร์ (หรือจะมองว่าชนชั้นผู้นำ/ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จก็ได้เช่นกัน) เพียงดำรงชีวิตประจำวัน กิน-ขี้-ปี้-นอน และกระทำตามคำสั่งโดยไม่ต่อต้านขัดขืน

แซว: Pierrot le Fou (1965) จะมีการตั้งชื่อการมาถึงของยุคสมัย ‘Age of the Ass’

วิธีประหารชีวิตนักโทษสุดแปลกประหลาด พวกเขากระทำความผิดเพียงแสดงอารมณ์ในที่สาธารณะ จึงนำมากราดยิงให้ตกลงสระน้ำ แล้วสาวๆแหวกว่ายเอามีดทิ่มแทง โดยอัตราส่วนของผู้ถูกประหารชีวิต ชาย 50 ต่อหญิง 1 คน (เหมือนต้องการจะสื่อว่าเพศหญิงเก็บอารมณ์ได้ดีกว่าบุรุษ … ตรงไหนกัน?)

ผมมองสระว่ายน้ำแห่งนี้คือจิตใต้สำนึกของมนุษย์ (แนวคิดภูเขาน้ำแข็ง) พลเมือง Alphaville ต้องเก็บซุกซ่อนอารมณ์ ความรู้สึก ทุกสิ่งอย่างไว้ภายใต้ ไม่ให้มันล่องลอยขึ้นมาเบื้องบนผิวน้ำ แต่บรรดาผู้ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตเหล่านี้ ต่างพยายามแหวกว่าย ตะเกียกตะกาย โผล่ขึ้นมาหายใจ จึงถูกสาวๆรุมล้อม เอามีดทิ่มแทง ให้จมลงสู่ก้นเบื้องล่าง

Lemmy Caution แทรกตัวเข้ามาในลิฟท์ เพื่อมีโอกาสพูดคุย นัดหมายสัมภาษณ์ Professor von Braun แต่กลับได้รับคำตอบปฏิเสธ ไม่ยินยอมพบเจอเป็นการส่วนตัว แต่ภายหลังเขายังให้โอกาสเข้าร่วมเป็นสมาชิก ครอบครอง Galaxy แห่งนี้ด้วยกัน!

เกร็ด1: Prof. von Braun น่าจะได้แรงบันดาลใจมาจาก Wernher von Braun (1912-77) วิศวกรอวกาศชาว German เคยเป็นสมาชิกพรรค Nazi สรรค์สร้างจรวด V-2 หลังสงครามอพยพหลบหนีสู่สหรัฐอเมริกา ทำงานกองทัพอากาศสร้างจรวด Explorer 1 (1958) ก่อนถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ NASA กลายเป็นหัวหน้าทีมออกแบบยาน Saturn V ต่อมาได้รับฉายา “Father of Space Travel” บ้างเรียก “Father of Rocket Science” … ที่มาที่ไปของชื่อตัวละคร สื่อถึงโลกอนาคต การเดินทาง แกแลคซี่ เหมาะกับหนังไซไฟโคตรๆ

เกร็ด2: ชื่อเดิมของตัวละครคือ Leonard Nosferatu เป็นการอ้างอิงถึงโคตรหนังเงียบ Nosferatu (1922) ของผู้กำกับ F. W. Murnau ทั้งนี้ Lemmy Caution ยังเคยเปรียบเทียบรอยยิ้มของ Natacha ว่ามีเขี้ยวเหมือนหนังแวมไพร์เรื่องหนึ่ง (ก็น่าจะสื่อถึงหนังเงียบเรื่องนี้กระมัง)

เกร็ด3: Lemmy Caution เมื่อตระหนักถึงตัวตนแท้จริงของ Natasha (ว่าเป็นบุตรสาวของ Leonard Nosferatu) พยายามบอกว่าเธอเกิดที่ Nueva York คือคำเรียกภาษา Spanish ของกรุง New York

Lemmy Caution ถูกพาตัวมายัง Civil Control/Residents Control เพื่อทำการลงทะเบียนบุคคล และสอบสัมภาษณ์โดย Alpha 5 (คงจะเป็นรุ่นก่อนหน้า Alpha 60) ระหว่างกำลังเดินผ่านโถงทางเดิน จะได้ยินเสียง “Occupied” ซ้ำๆอยู่หลายครั้ง นั่นน่าจะดังจากประตูห้องที่พวกเขาเดินผ่าน ว่าง-ไม่ว่าง พอได้ยินคำว่า “Free” ก็เดินเข้าไปในห้องแห่งนั้น

ผมครุ่นคิดว่านี่น่าจะคือสตูดิโอ/ห้องบันทึกเสียงทั่วๆไป แต่ด้วยอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่โต มันเลยดูล้ำยุคสมัยนั้น เหมาะกับหนังไซไฟโลกอนาคตเรื่องนี้ยิ่งนัก! สำหรับ Alpha 5 คาดว่าน่าจะสื่อถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ด้านหลังห้องอัดเสียง/ห้องสัมภาษณ์นี้ สังเกตว่ามีวิศวกรเดินไปเดินมา เหมือนจะควบคุมการทำงานอยู่เบื้องหลังกระมัง

หญิงสาวเปลือยกายในตู้กระจก น่าจะคือต้นแบบ Seductress กระมัง? จัดแสดงอยู่ระหว่างกึ่งกลางทาง เบื้องบนสู่เบื้องล่าง เบื้องหน้าสู่เบื้องหลัง Lemmy Caution กำลังจะได้พบเห็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง Alpha 60 ลึกล้ำเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถทำความเข้าใจ

ตลอดการเดินทางสู่เบื้องหลัง Alpha 60 จะได้ยินเสียงพูด (ของ Alpha 60) คำอธิบายเหตุผลของการอยากให้ Ivan Johnson (ชื่อแฝงของ Lemmy Caution) เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Alphaville เพราะน่าจะล่วงรู้จุดแข็งจุดอ่อนของ ‘the Outlands’ เพื่อจักสามารถเข้ายึดครองครอบ แบบเดียวกับที่ฝรั่งเศสเคยทำกับบรรดาประเทศอาณานิคม

We send those properly brain-washed to provoke the other galaxies, the strikes, revolutions, family rows, student revolts. That’s us: Grand Omega Minus.

เท่าที่ผมหาข้อมูลได้ ภายในอาคารหลังนี้คือ Électricité de France (Electricity of France) สำนักงานใหญ่(หลังเก่า)ของบริษัทผลิตพลังงาน/กระแสไฟฟ้าในประเทศฝรั่งเศส มันเลยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ล้ำยุคสมัยนั้นอยู่ไม่น้อยทีเดียว

ส่วนภาพอาคารภายนอกถ่ายทำที่ Esso Tower ตั้งอยู่ที่ La Défense, Hauts-de-Seine ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 1963 แล้วเสร็จสิ้นเมษายน 1965 ความสูง 11 ชั้น ถูกทุบทิ้งเมื่อปี 1993 เพื่อสร้างตึกใหม่ Cœur Défense

ผมครุ่นคิดว่าคือตู้หยอดคำ เพราะเมื่อใส่เหรียญเข้าไปจะมีแผ่นป้ายข้อความอะไรสักอย่างออกมา “Merci” แปลว่า Thank You น่าจะเป็นหนึ่งในคำที่กำลังจะถูกลบเลือนกระมัง เพราะจะมีเพียงบรรดา Seductress ที่พูดคำว่า

Yes, I’m very well, thank you so very much.

ได้ยินบ่อยครั้งจนรู้สึกว่านี่น่าจะเป็นการตั้งโปรแกรมมาให้พูด โดยไม่ให้ลูกค้าต้องเอ่ยปากขอบคุณพนักงาน/ลูกจ้าง หรือ Seductress จนในที่สุดอาจหลงลืมไป

การที่ Lemmy Caution ปฏิเสธขึ้นลิฟท์ หลายคนอาจมองว่าทั้งตัวละครและผู้กำกับ Godard มีความต่อต้านเทคโนโลยี ความสะดวกสบาย อยากที่จะก้าวเดิน/ทำอะไรๆด้วยลำแข้งของตนเอง แต่มันก็ไม่จำเป็นนะครับ ฉากนี้แค่เพียงปฏิกิริยาตัวละครหลังสามารถหลบหนีเอาตัวรอดออกมาจาก Residents Control เลยไม่ต้องการถูกควบคุมครอบงำโดยแนวคิดของ Alpha 60

น่าเสียดายที่ผมหารายละเอียดภาพพื้นหลังไม่ได้ แต่ดูเหมือนการเตรียมกองทัพของนโปเลียน พร้อมที่จะทำสงคราม (หรือคือ Lemmy กลับห้องพักมาเตรียมตัวสู้รบกับ Alpha 60)

We live in the void of metamorphoses. But the echo that runs throughout the day that echo beyond time, anguish or caress. Are we near to our conscience, or far from it?

Your eyes have returned from a despotic land where no one has known the meaning of a glance.

Despair has no wings, nor does love. No face, they don’t speak. I don’t look at them, I don’t speak to them. But I am as alive as my love and despair.

Dying is not dying.

The beguiler beguiler.

Men who change.

ประโยคเหล่านี้นำจากหนังสือ Capitale de la douleur (1926) แปลว่า Capital of Pain รวบรวมบทกวีของ Paul Éluard (1895-1952) หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มการเคลื่อนไหว Dadaism และ Surrealism

ด้วยความที่ Natasha ไม่สามารถเข้าใจสักประโยคที่อ่านมา เธอจึงเดินออกหาคัมภีร์ไบเบิล แท้จริงแล้วมันคือพจนานุกรม แต่ก็ไม่ได้บัญญัติศัพท์ทั้งหมด เพียงคำที่ Alpha 60 กำหนดไว้ใช้งาน … วินาทีที่ Lemmy รับล่วงรู้ว่านี่คือพจนานุกรม ทั้งสองนั่งอยู่ตรงหน้าโทรทัศน์ ซึ่ง(ยุคสมัยนั้น)ถือว่าเป็นสื่อชวนเชื่อ ล้างสมองประชาชนได้ดีนักแล

เด็กเสิร์ฟอาหารเช้าหน้าตาคุ้นๆ Jean-Pierre Léaud

ศัพท์ภาษาฝรั่งเศสรอบนี้ประกอบด้วย

  • détruire แปลว่า destroy
  • par elle-même แปลว่า ny herself
  • seurer ceux แปลว่า know those
  • celle qui แปลว่า the one who
  • pleurent แปลว่า are crying
  • tur v’ แปลว่า you
  • tendresseแปลว่า tenderness

เมื่อตัวละครตั้งคำถามว่าอะไรคือความรัก จักนำเข้าสู่ซีเควนซ์ที่ราวกับความครุ่นคิด/จินตนาการเพ้อฝัน ร้อยเรียงภาพประกอบคำบรรยาย เริ่มจากดวงตาของ Natasha วูบๆวาบๆ ใบหน้าอาบแสงไฟ-ความมืดมิด จากนั้นได้พบเจอ ยืนเคียงข้าง Lemmy เอื้อมมือสัมผัส โอบกอด เต้นรำ บลา บลา บลา จนช็อตสุดท้ายซ้อนภาพท้องฟ้าและหญิงสาวกำลังอ่านบทกวีจากหนังสือ Capital of Pain

Your voice, your eyes, your hands, your lips
Our silence, our words
Light that goes, light that returns
A single smile between us
In quest of knowledge I watched night create day
O beloved of all, beloved of one alone
your mouth silently promised to be happy
Away, away, says hate
Closer, closer, says love
A caress leads us from our infancy
Increasingly I see the human form as a lovers’ dialogue
The heart has but one mouth
Everything by chance
All words without thought
Sentiments adrift
A glance, a word, because I love you
Everything moves
We must advance to live
Aim straight ahead toward those you love
I went toward you, endlessly toward the light
If you smile, it enfolds me all the better
The rays of your arms pierce the mist.

Paul Éluard

หลังเสร็จกามกิจยามเช้าก็มาถึงพอดิบดี ระหว่างที่ Lemmy กำลังล้างหน้าตา พูดประโยคหนึ่งเกี่ยวกับสายลับ สังเกตว่ามุมกล้องถ่ายภาพสะท้อนในกระจก และ Natasha ยืนประกอบอยู่ด้านหลัง เท่านี้ก็บอกใบ้อะไรหลายๆว่าเธอนั้นเป็นสายลับ ค่ำคืนที่ผ่านมาก็สามารถล้วงความลับของเขาได้สำเร็จ

หลังจาก Lemmy โดนจับกุมตัวอีกครั้ง (เพราะดันไปหัวเราะเรื่องตลกของ Natasha ทำผิดกฎเรื่องห้ามแสดงอารมณ์) จึงต้องเข้ามานั่งสนทนากับ Alpha 5 ที่ Residents Control คำพูดประโยคนี้พยายามแสดงความคิดเห็นขัดย้อนแย้ง(คำพูดของ Alpha 60) ที่ว่ามนุษย์ไม่มีอดีตและอนาคต ด้วยเหตุผล ‘อดีตทำให้เกิดอนาคต’ และทุกสิ่งอย่างจักหวนกลับมาบรรจบดั่งวัฏจักรชีวิต

The past represents its future, it advances in a straight line yet it ends by coming full circle.

Lemmy Caution

สำหรับคนที่ช่างสังเกต ภาพยนตร์ของผู้กำกับ Godard มักจะนำเสนอฉากเดิมๆซ้ำสองครั้งในทิศทางกลับตารปัตรตรงกันข้าม อย่างการสนทนากับ Alpha 5 ก็มีสองครั้งเช่นกัน

  • ครั้งแรกท่ามกลางแสงสว่าง Alpha 5 สัมภาษณ์ถามคำถาม Ivan Johnson (ยังไม่รับรู้ว่าอีกฝ่ายคือใคร) แล้วอนุญาตให้ปล่อยตัวไป
  • ครั้งหลังท่ามกลางความมืดมิด Lemmy Caution ตั้งคำถามที่ Alpha 5 ไม่สามารถขบครุ่นคิดหาคำตอบ อีกฝ่ายบอกว่าปิดกั้นทุกประตูทางออก แต่เขาก็สามารถบุกฝ่าออกไป

พอหลบหนีออกมาจาก Residents Control จะมีเสี้ยววินาทีหนึ่งที่หนังถ่ายภาพ ‘Invert Shot’ กลับขาวเป็นดำ กลับดำเป็นขาว เพื่อสื่อถึงทุกสิ่งอย่างหลังจากนี้จะเริ่มพลิกกลับตารปัตร แต่ขณะนี้ยังเห็นแค่แวบเดียวเท่านั้นนะครับ (หลังจาก Lemmy Caution ทำลายเครื่อง Alpha 60 จะปรากฎช็อตลักษณะนี้อีกหลายครั้ง)

You know “journalist” and “justice” both begin with the same letter?

Lemmy Caution

นั่นน่าจะคือเหตุผลที่ให้ Lemmy Caution ปลอมตัวเป็นนักข่าว Ivan Johnson และการถ่ายภาพ แสงแฟลช ไม่แตกต่างจากการยิงปืนสักเท่าไหร่!

Look at yourself. Men of your type will soon be extinct. You’ll become something worse than dead. You’ll become a legend, Mr. Caution.

Prof. von Braun

สองช็อตนี้แบ่งแยกด้วยเฉดสีตรงกันข้าม ทางฝั่งของ Prof. von Braun คือตัวแทนอนาคตแห่งแสงสว่าง ขณะที่ Lemmy Caution กลับปกคลุมด้วยความมืดมิด อดีตที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน … หลายคนมักตีความประโยคนี้ถึง ผกก. Godard แต่ไม่ใช่ว่าผลงานภาพยนตร์จะถูกหลงลืม แต่คือการได้กลายเป็นตำนานลือเล่าขาน

ก่อนหน้านี้ Prof. von Braun พยายามโน้มน้าวให้ Lemmy เลือกอาศัยอยู่ที่นี่เพื่อครอบครองทุกสิ่งอย่าง นั่นให้ความรู้สึกเหมือนแวมไพร์ Nosferatu (ที่เป็นชื่อเดิมของตัวละคร) ที่ต้องการดูดเลือด ดื่มกินทุกสิ่งอย่าง

หลังจาก Prof. von Braun ถูกเข่นฆ่า และ Alpha 60 ถูกทำลาย นอกจากภาพ ‘Invert Shot’ ยังสังเกตว่าผู้คนต่างมีท่าทางผิดแปลกประหลาด บ้างเดินตุปัดปุเป๋ พุ่งชนกำแพง ฯลฯ เหล่านี้สามารถสื่อถึงโลกภายหลังสูญเสียเหตุผลและตรรกะ (Logic) ทำให้ชีวิตขาดเป้าหมาย สิ่งสามารถเป็นที่พึ่งพักพิง เลยแสดงออกอย่างไม่รู้จะครุ่นคิดทำอะไรต่อไป

สาเหตุที่ Lemmy Caution ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเขายังไม่โดนล้างสมอง หรือถูกควบคุมครอบงำโดย Alpha 60 เลยสามารถมีความครุ่นคิดอ่าน เป้าหมายความต้องการ นั่นคือค้นหาหญิงสาว Natasha และรักพาเธอออกไปจากสถานที่แห่งนี้

แซว: ท่าทางของบรรดาซอมบี้ เหมือนจะได้แรงบันดาลใจจาก I Walked with a Zombie (1943)

Our destiny is not frightful by being unreal; it is frightful because it is irreversible and iron-clad. Time is the substance I am made of. Time is a river which sweeps me along, but I am the river; it is a tiger which destroys me, but I am the tiger; it is a fire which consumes me, but I am the fire. The world, unfortunately, is real; I, unfortunately, am Borges.

เสี้ยวลมหายใจสุดท้ายของ Alpha 5 ได้มีการเอ่ยกล่าวประโยคหนึ่งอ้างอิงจากบทความ A New Refutation of Time (1944-46) แต่งโดย Jorge Luis Borges (1899-1986) นักเขียน ‘fantasist’ ชาว Argentine

ผมละขำกลิ้งกับความพยายามอวดอ้างของ Lemmy Caution มันมีประโยชน์อะไรที่จะพิสูจน์ให้คอมพิวเตอร์ที่แม้มีสติแต่ไร้ชีวิตได้พบเห็นชัยชนะของตนเอง เพียงต้องการบอกว่า “ความรักชนะทุกสิ่ง” อารมณ์เหนือกว่าเหตุผลและตรรกะใดๆ … แต่มันก็สะท้อนความคิดเห็นของผู้กำกับ Godard ออกมาได้อย่างชัดเจนทีเดียว

ขากลับออกจาก Alphaville ได้ยินเสียงพูดบอกว่าเป็นเวลา 23:15 ยังไม่ทันครบหนึ่งวันเสียด้วยซ้ำที่ Lemmy Caution เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ แต่ความแตกต่างจากขามาก็คือ ช่วงเวลาที่จับต้องได้ ยังไม่ถึงเที่ยงคืนมืดมิดสนิท นั่นแปลว่าชีวิตยังมีแสงสว่างแห่งความหวัง

ลำดับการขึ้นตัวอักษรตอนจบของหนัง จะมีการขึ้นทีละคำ I → IN → FIN ซึ่งสามารถแปลได้ว่า I, in the end. ฉันกลายเป็นตัวเองในตอนจบ! สอดคล้องกับ Natasha/Anna Karina สามารถเข้าใจความหมายของคำว่ารัก และพูดประโยค Je vous aime (I Love You) แก่ผู้กำกับ Jean-Luc Godard

ตัดต่อโดย Agnès Guillemot (1931-2005) ขาประจำผู้กำกับ Jean-Luc Godard ร่วมงานกันตั้งแต่ Le petit soldat (1963) แต่ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ออกฉายคือ A Woman Is a Woman (1961) จนถึงผลงานสิ้นสุดยุคสมัยแรก Week-end (1967)

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Lemmy Caution ตั้งแต่ขับรถ Ford Galaxie เดินทางมาถึง Alphaville ได้พบเจอสิ่งต่างๆมากมาย ปฏิบัติภารกิจได้รับมอบหมาย สำเร็จเสร็จสิ้นก็เดินทางกลับไปพร้อมคนรักใหม่ Natacha von Braun

  • อารัมบท, Lemmy Caution เดินทางมาถึง Alphaville
    • ได้รับการต้อนรับที่คาดไม่ถึงที่โรงแรม รวมถึงการมาถึงของผู้ช่วย Natacha von Braun
    • ออกค้นหาสายลับที่สูญหาย Henri Dickson ติดตามมาพบเจอยังอพาร์ทเม้นท์แห่งหนึ่ง มีโอกาสพูดคุย เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายใน Alphaville
  • พบเจอเป้าหมาย
    • Natacha พา Lemmy มายังสระว่ายน้ำ สถานที่ประหารชีวิตนักโทษกระทำความผิด
    • Lemmy พบเจอเป้าหมาย Prof. von Braun พยายามแทรกตัวเข้าหาแล้วใช้ข้ออ้างนักข่าวสัมภาษณ์ตัวต่อตัว แต่กลับถูกรุมซ้อม กระทำร้ายร่างกาย
    • ถูกพาตัวไปยัง Residents Control โดนสัมภาษณ์โดย Alpha 5 ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัว ก่อนได้รับโอกาสออกทัวร์สถานที่แห่งนี้
  • ปฏิบัติภารกิจ
    • Lemmy เกี้ยวพาราสี Natacha พยายามเสี้ยมสอนให้รู้จักความรัก
    • จนกระทั่งสายลับบุกเข้ามา เพราะสืบพบว่าเขาคือ Lemmy Caution ถูกควบคุมตัวมายัง Residents Control อีกครั้ง
    • ครานี้เมื่อสามารถหลบหนีได้สำเร็จ จึงออกติดตามหา Prof. von Braun และทำลาย Alpha 60
    • หลังเสร็จสิ้นภารกิจ ตัดสินใจพา Natacha ออกเดินทางไปจาก Alphaville

แม้โครงสร้าง(สามองก์)ดำเนินเรื่องของหนังจะเป็นเส้นตรงไปตรงมา แต่ลีลาการนำเสนอที่บางครั้งเป็น Long Take, Jump Cut, Insert Cut, จู่ๆแทรกภาพป้ายนีออน E=mc2, E=hf ฯลฯ แถมยังต้องทำความเข้าใจศัพท์แสง รายละเอียดเฉพาะกาลของหนัง มันเลยมีความสลับซับซ้อน ต้องใช้การขบครุ่นคิดวิเคราะห์พอสมควรทีเดียว


เพลงประกอบโดย Paul Misraki (1908-98) เกิดที่ Constantinople, Ottoman Empire (ปัจจุบันคือ Istanbul, Turkey) ในครอบครัวชาวฝรั่งเศสเชื้อสาย Jews, ค้นพบความสามารถด้านดนตรีตั้งแต่เด็ก เลยถูกส่งไปร่ำเรียนที่ Paris ชื่นชอบการเล่น Jazz Pianist และแต่งเพลงป็อป ประกอบภาพยนตร์ เริ่มมีชื่อเสียงจาก On purge bébé (1931) ของผู้กำกับ Jean Renoir กลายเป็นขาประจำในช่วงที่ต่างอพยพหลบหนีสงครามโลกครั้งที่สองสู่สหรัฐอเมริกา ผลงานเด่นๆ อาทิ Montparnasse 19 (1958), Mr. Arkadin (1955), And God Created Woman (1956), Alphaville (1965), Le Doulos (1963) ฯลฯ

แทนที่งานเพลงจะมีเสียงของโลกอนาคต (futuristic) กลับเต็มไปด้วยกลิ่นอายหนังนัวร์ บรรยากาศอึมครึม มืดหมองหม่น สัมผัสถึงภยันตรายรายล้อมรอบด้าน หรือคือ Alphaville สถานที่ที่เต็มไปด้วยความลึกลับ ซุกซ่อนเร้นสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง ถ้าผู้อยู่อาศัยไม่สามารถปรับตัว หรือข้อเท็จจริงบางอย่างถูกเปิดโปง ก็อาจถูกไล่ล่า เข่นฆ่า นำพาให้เกิดความคลุ้มบ้าคลั่ง

Main Theme ของหนังใช้ชื่อตรงมากๆ La ville inhumaine แปลว่า The inhuman city ย่อมสื่อถึง Alphaville เมืองที่มีความผิดมนุษย์มนาแห่งนี้ … ชวนให้นึกถึงบรรยากาศของ Sin City (2005) อยู่ไม่น้อยเลยนะ!

ในอัลบัมมีอยู่ทั้งหมด 5 เพลง แต่ผมขอเลือกมาอีกแค่ Thème d’amour หรือ Love Theme ฟังดูอาจไม่ได้โรแมนติกหวานแหวว เหมือนมีอะไรบางอย่างพยายามบีบบังคับ กดทับ ควบคุมความรู้สึกดังกล่าวไว้ภายใน (โปรแกรมคำสั่งของ Alpha 60 เพื่อไม่ให้มนุษย์แสดงอารมณ์ออกมา) แต่การค่อยๆได้เรียนรู้ ฟังคำเพ้อพร่ำ (ของ Lemmy Caution) โดยไม่รู้ตัวค่อยๆทำให้หัวใจเปิดออก เข้าถึงห้วงอารมณ์ของความรัก จนสามารถเบ่งบานสะพรั่ง แม้ยังสถานที่ที่ไม่ต่างจากขุมนรกแห่งนี้

Alphaville นำเสนอความเป็นไปได้ของโลกอนาคต เมื่อมนุษยชาติตัดสินใจละทอดทิ้งอารมณ์ (Emotion) ยึดถือเหตุผลและตรรกะ (Logic) ใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิต จริงอยู่มันก่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง แต่นั่นย่อมทำให้มนุษย์สูญเสียความเป็นปัจเจกบุคคล ทุกสิ่งอย่างจะถูกควบคุมโดยองค์กรกลาง/หน่วยงานรัฐ ในที่นี้ก็คือ Alpha 60 ไม่แตกต่างจากเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) ประชาชนจะมีสภาพไม่ต่างหุ่นยนต์ที่ไร้เสรีภาพและจิตวิญญาณ

แซว: แวบแรกที่ผมเห็นชื่อ Alphaville ทำให้นึกถึงคำเรียก Alpha Male พวกหนุ่มหล่อ สายกีฬา กล้ามใหญ่บึกบึน ออกแนวดิบๆเถื่อนๆ แบดบอยนิดๆ ซึ่งมันยังเข้ากับภาพลักษณ์ของ Lemmy Caution ได้เหมือนกัน!

Lemmy Caution ได้รับภารกิจสืบสวนสอบสวน แล้วค้นหาวิธีทางกำจัด/ทำลายล้าง Alpha 60 แสดงถึงการไม่ยินยอมรับของผู้กำกับ Godard ถ้าอนาคตมนุษยชาติต้องสูญเสียอารมณ์ หลงเหลือเพียงเหตุผลและตรรกะ พยายามแสดงให้เห็นว่าโลกใบนั้นย่อมตกอยู่ในความมืดหมองหม่น (นำเสนอด้วยบรรยากาศหนังนัวร์) และเมื่อทุกสิ่งอย่างพังทลาย (ช่วงท้ายที่ Alpha 60 ถูกทำลาย) พวกเขาจักกลายเป็นคนไร้จิตวิญญาณ ยืนหยุดนิ่งเฉยๆ หรือเดินชนฝาผนัง เรียกว่าไม่สามารถครุ่นคิดทำอะไรด้วยตนเองได้อีกต่อไป

เชื่อว่ามีเพียงความรัก จักสามารถนำพาแสงสว่างสาดทั่วพื้นปฐพี (องก์สามของหนังดำเนินเรื่องตอนกลางวัน) และส่องเข้ามายังจิตใจชาย-หญิง ก่อเกิดความอบอุ่น เร่าร้อนทรวงใน ไม่มีใครตอบสนองความใคร่ได้มากกว่าบุคคลที่ฉันตกหลุมรัก Natacha von Braun หรือก็คือ Anna Karina กำลังได้เรียนรู้จักคำว่ารัก นั่นคือสิ่งสำคัญสูงสุดเหนือกว่าอื่นใด

วงการภาพยนตร์ก็เฉกเช่นกัน ผู้กำกับ Godard ขณะนั้นมีความเชื่อว่าอนาคต(ของภาพยนตร์) กำลังจะถูกควบคุมครอบงำอย่าง(เผด็จการ)เบ็ดเสร็จโดยบรรดาโปรดิวเซอร์ (ประสบการณ์ตรงจากเมื่อครั้นสรรค์สร้าง Contempt (1963)) ต่อไปคงสนเพียงให้ทุนโปรเจคที่เป็นสูตรสำเร็จ คำนวณแล้วสามารถทำกำไร ไม่หลงเหลือพื้นที่ให้ศิลปินสรรค์สร้างผลงานศิลปะ กระทำสิ่งตอบสนองอารมณ์ ความต้องการส่วนบุคคล

แม้ว่าโลกปัจจุบันจะเข้าสู่ยุคสมัยเหตุและผล ประชาชนเปลี่ยนมาเชื่อในหลักวิทยาศาสตร์ ทุกสิ่งอย่างต้องมีข้อพิสูจน์ หลักฐาน แต่ก็เต็มไปด้วยตรรกะถูกๆผิดๆ หันมาใช้ความรู้สึกในการครุ่นคิดตัดสินใจ (ภาพยนตร์/งานศิลปะนี่ตัวดีเลยนะ คอยชี้นำทาง/ชักชวนเชื่อให้ผู้ชมบังเกิดอารมณ์ร่วม ‘romanticize’ กับทุกสรรพสิ่งอย่าง) สำหรับตอบสนองกิเลสตัณหา ความต้องการส่วนบุคคล ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยปัจเจกชน โหยหาเสรีภาพในการใช้ชีวิตด้วยกันทั้งนั้น

อนาคตที่เมื่อมนุษย์ไม่สนห่าเหวอะไร ใครจะทำอะไรก็ช่าง เอาความต้องการส่วนบุคคลเป็นที่ตั้ง ไม่พึงพอใจอะไรก็แสดงออกด้วยอารมณ์ ไร้เหตุผล ตรรกะ ศีลธรรม-มโนธรรม มีเพียงความเห็นแก่ตัว และสันชาตญาณในการเอาชีพรอด … นั่นต่างหากวันสิ้นโลกอย่างแท้จริง!

ที่น่าตลกสุดๆก็คือผู้กำกับ Godard สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยอคติต่อเหตุผลและตรรกะ แต่หลังจากเลิกราหย่าร้างภรรยา Karina (อย่างเป็นทางการ) เขาก็ค่อยๆกลายเป็นบุคคลที่หมกมุ่นอยู่กับทฤษฎี หลักการ สรรค์สร้างผลงานโดยไม่หลงเหลืออารมณ์ร่วม ความรู้สึกใดๆ ‘Essay Film’ ที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ (ไม่สนว่าผู้ชมจะสามารถดูหนังเข้าใจ) ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ และสูญสิ้นความเป็นมนุษย์ในที่สุด


เข้าฉายฝรั่งเศสเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1965 ก่อนติดตามด้วยเทศกาลหนังเมือง Berlin เสียงตอบรับค่อนข้างมึนงง มีทั้งชื่นชอบมากๆและเกาหัวไม่เข้าใจ แต่สามารถคว้ารางวัล Golden Berlin Bear ในปีที่มีผลงานโดดเด่นกว่าอย่าง Cat Ballou (1965), Charulata (1964), Le Bonheur (1965), Repulsion (1965), The Knack… and How to Get It (1965) ฯลฯ

ด้วยทุนสร้างประมาณ $220,000 เหรียญ มียอดจำหน่ายตั๋ว 503,125 ใบ น่าจะพอคืนทุนกระมัง แต่ค่อนข้างน่าผิดหวังสำหรับนักแสดง Eddie Constantine หรือเมื่อเทียบกับหนังซีเรียล Lemmy Caution (เรื่องอื่นๆยอดจำหน่ายตั๋วหลักล้านกว่าๆทั้งนั้นเลยนะ!)

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 4K แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี 2019 กลายเป็น Blu-Ray โดย Kino Lorber ส่วนฉบับที่หาดูออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel ยังแค่คุณภาพ DVD อยู่นะครับ

ส่วนตัวชื่นชอบในหลายๆแนวคิด สร้างหนังไซไฟอนาคตโดยใช้พื้นหลังปัจจุบัน, นำเสนอความขัดแย้งระหว่างเหตุผล vs. อารมณ์, Eddie Constantine ดิบเถื่อนได้ใจ, และโคตรท้าทายกับการขบครุ่นคิดวิเคราะห์ ค้นหาเนื้อหาสาระสำคัญ … แต่เมื่อผู้ชมสามารถทำเข้าใจทุกสิ่งอย่าง หลังจากนั้นหนังก็แทบไม่หลงเหลืออะไร ตอนผมดูรอบสองบังเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย เรื่องราวดำเนินไปอย่างเอื่อยๆเฉื่อยๆ เมื่อเทียบผลงานเด่นๆอื่นๆของผกก. Godard มันยังขาดสีสัน สิ่งสร้างความตื่นเต้น สนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่มีอะไรให้ลุ้นระทึก อยากติดตามตอนจบสักเท่าไหร่

น้อยครั้งมากๆที่ผมดูหนังซ้ำรอบสอง นั่นแสดงถึงความสลับซับซ้อน/ลุ่มลึกล้ำที่ผู้ชมทั่วไปเข้าไม่ถึงแน่ๆ Alphaville (1965) จึงเป็นความท้าทายเฉพาะกลุ่มคอหนังไซไฟ Hardcore, พวกไพร่ Godardian, ชื่นชอบบรรยากาศ Neo-Noir, แนวสืบสวนสอบสวน, นักคิด-นักปรัชญา, และรับรู้จัก Eddie Constantine จากหนังซีเรียล Lemmy Caution ลองหามารับชมดูนะครับ

เกร็ด: ภาพยนตร์ที่มี Alphaville (1965) เป็นแรงบันดาลใจ อาทิ Fahrenheit 451 (1966), Blade Runner (1982), Element of Crime (1984) ฯ

จัดเรต 15+ กับความดิบเถื่อน ‘Hard-Boiled’ และซับซ้อนจนดูไม่ค่อยรู้เรื่อง

คำโปรย | Alphaville โคตรหนังไซไฟของผู้กำกับ Jean-Luc Godard ดินเถื่อน ล้ำอนาคต แต่ไกลเกินกว่าทุกคนจะไปถึง
คุณภาพ | ล้ำอนาคตไปไกล
ส่วนตัว | น่าสนใจ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: