Atlantique

Atlantics (2019) French, Senegalese, Belgian : Mati Diop ♥♥♥♥

คลื่นลมในมหาสมุทร Atlantics ช่างมีความลึกลับ เหนือธรรมชาติ ซัดพาวิญญาณคนตายหวนกลับเข้าฝั่ง เพื่อกระทำสิ่งสุดท้ายที่ยังติดค้างคาใจ, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes

Atlantics (2019) คือภาพยนตร์ขนาดยาว (Feature Length) เรื่องแรกแจ้งเกิดผกก. Mati Diop หลานสาวของ Djibril Diop Mambéty ผู้กำกับโคตรภาพยนตร์ Touki Bouki (1973) เรียกได้ว่าลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ในอนาคตไม่แน่ว่าอาจมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จยิ่งกว่าลุงของตนเอง

นั่นเพราะ Mati Diop ได้กลายเป็นผู้กำกับหญิง ผิวสี เชื้อสายแอฟริกัน (Senegalese) บุคคลแรกส่งภาพยนตร์เข้าฉายสายการประกวด (in-Competition) เทศกาลหนังเมือง Cannes น่าเสียดายปีนั้นมีแต่เรื่องแข็งๆ Parasite (2019), Portrait of a Lady on Fire (2019), Pain and Glory (2019), Les Misérables (2019) ฯ การคว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) อาจเพราะโชคช่วยนิดๆ แต่นี่เพิ่งเป็นจุดเริ่มต้น อนาคตอีกยาวไกล ท้องฟ้าสว่างสดใส

(ล่าสุดเมื่อต้นปี ผกก. Diop ก็เพิ่งส่งสารคดี Dahomey (2024) คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin ต้องถือว่ากลายเป็นระดับตำนานไปแล้วละ)

สำหรับคนที่ไม่รับรู้รายละเอียดใดๆเกี่ยวกับ Atlantics (2019) เชื่อว่าระหว่างรับชมต้องเกิดความประหลาดใจ คาดไม่ถึง ผมเองก็คนหนึ่งที่ต้องเพ่งเล็ง ขยี้ตา (เพราะดูผ่านจอโทรศัพท์มือถือ) ไม่ได้(ตา)ฝาดไปใช่ไหม? เป็นการผสมผสานเรื่องราวเหนือธรรมชาติ (Supernatural) ออกมาในสไตล์ ‘magical realism’ คลุกเคล้าเข้ากันได้อย่างงดงาม มหัศจรรย์ แอบตกหลุมรักนักแสดงนำ Mame Bineta Sane


Mati Diop (เกิดปี ค.ศ. 1982) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่กรุง Paris เป็นบุตรของนักดนตรี Wasis Diop ซึ่งคือน้องชายของผู้กำกับ Djibril Diop Mambéty, วัยเด็กเดินทางไปๆกลับๆ France ↔ Senegal ทำให้เกิดอัตลักษณ์สองสัญชาติ (Transnational Identity) มีความหลงใหลทั้งภาพยนตร์ (ลุง), ดนตรี (บิดา), การถ่ายภาพ (มารดา), จนกระทั่งช่วงระหว่างฝึกงานโรงละคอน ได้ทำงานเบื้องหลัง ควบคุมเสียง วีดีโอโปรโมทการแสดง เลยมีโอกาสกำกับหนังสั้นเรื่องแรก Last Night (2004) ถึงค้นพบความสนใจด้านนี้จริงจัง

หลังทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Sharunas Bartas ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ตัดสินใจเข้าร่วม Le Pavillon of the Palais de Tokyo ตามด้วย Le Fresnoy (National Studio of the Contemporary Arts) ทำให้มีโอกาสรับรู้จักผกก. Claire Denis ชักชวนมาแสดงนำภาพยนตร์ 35 Rhums (2008) แม้เสียงตอบรับด้านการแสดงดียอดเยี่ยม แต่ก็ทำให้เธอตระหนักถึงความสนใจแท้จริงคืองานเบื้องหลัง กำกับภาพยนตร์

ผกก. Diop กำกับหนังสั้นแนวทดลอง Atlantics (2009) ความยาว 16 นาที เรื่องราวเกี่ยวกับผองเพื่อนชาว Senegalese วางแผนจะล่องเรือข้ามมหาสมุทร Atlantic เสี่ยงตายเข้าทวีปยุโรปอย่างผิดกฎหมาย … แม้เสียงตอบรับจะผสมๆ แต่สามารถคว้าหลากหลายรางวัลจากเทศกาลหนัง และถือได้ว่าเป็นอารัมบท/ภาคก่อน (Prequel) ของ Atlantics (2019) เลยก็ว่าได้

อีกผลงานหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือสารคดีขนาดสั้น Mille Soleils (2013) แปลว่า A Thousand Suns ที่ผกก. Diop พยายามย้อนรอยภาพยนตร์ Touki Bouki (1973) ติดตามหานักแสดงนำ Magaye Niang ปัจจุบันนั้นยังมีชีวิต ความเป็นอยู่ แตกต่างไปจากเดิมเช่นไร?

(หนังสั้นทั้งสองเรื่องสามารถหารับชมทาง Criterion Channel)

หลังสะสมประสบการณ์ทำงานทั้งด้านการแสดง กำกับสารคดี หนังสั้น ผกก. Diop ตัดสินใจเข้าเรียนต่อโปรแกรมภาพยนตร์ Film Study Center Fellowship Program ณ Harvard Radcliffe Institute ระหว่างปี ค.ศ. 2014-15 ซึ่งได้เขียนบทโปรเจคจบ Fire, Next Time ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Atlantique หรือ Atlantics (2019)


As soon as I decided I was going to become a filmmaker, it was immediately connected to my African origins, as if I wanted my cinema to be rooted there. I think I needed to use cinema to explore this territory.

Mati Diop

ตั้งแต่เด็กที่ผกก. Diop เดินทางไปๆกลับๆ France ↔ Senegal ทำให้พบเห็นความแตกต่างระหว่างสองประเทศ/สองทวีป “Migration is part of who I am” เข้าใจความรู้สึกของบรรดาวัยรุ่น คนหนุ่ม-สาว ที่ในช่วงทศวรรษ 2000s มีความกระตือรือล้นต้องการเสี่ยง วัดดวง ล่องเรือออกเดินทางข้ามมหาสมุทร Atlantic เพื่อไปต่อสู้ดิ้นรน หางานทำยังทวีปยุโรป

When I returned to Senegal in 2009 to reinvest and explore my African origins and legacy, I discovered the youth generation were escaping the country on mass for Europe, by boat, in search of a better future. The loss of so many young people at sea deeply troubled me and I was sick of the media misinterpreting their stories. So I decided to make a short documentary in which a young man recounts his own experience of the crossing.

เมื่อตอนสรรค์สร้างหนังสั้น Atlantics (2009) นำแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริง เรื่องเล่าของชายคนหนึ่งที่เคยล่องเรือออกเดินทางจากเมือง Dakar, Senegal ข้ามมหาสมุทร Atlantic ไปถึงประเทศ Spain ซึ่งในการขยับขยายเป็นภาพยนตร์ขนาดยาว ผกก. Diop ร่วมกับเพื่อนนักเขียน Olivier Demangel ครุ่นคิดต่อยอดถึงบุคคลผู้ถูกทอดอยู่ทิ้งเบื้องหลัง นำเสนอผ่านมุมมองตัวละครหญิงสาว จะมีความรู้สึกนึกคิดยังไงกับการจากไปของพี่ชาย/คนรัก

I filmed somebody who was telling his own true story, his own crossing of the sea from Dakar to Spain. And I thought I should probably write a film about the girl who stayed behind because we’ve heard… I mean… at least through Atlantics, the shorts, I was able to light and capture the story of a crossing, but what would these girls have to say, what would his sister who had to stay behind have to say?


ณ ชานเมือง Dakar, Senegal ริมชายฝั่งมหาสมุทร Atlantic นำเสนอเรื่องราวของ Souleiman พนักงานก่อสร้างที่ถูกเบี้ยวค่าจ้างนานหลายเดือน จึงครุ่นคิดวางแผนร่วมกับผองเพื่อน ค่ำคืนนี้ตระเตรียมล่องเรือ ออกเดินทางไปเสี่ยงโชคยังทวีปยุโรป

Souleiman มีแฟนสาวชื่อ Ada บ่ายวันนี้พยายามเกี้ยวพาราสี หาโอกาสกอดจูบ ร่วมรักหลับนอน แต่สุดท้ายไม่สามารถพูดบอกกับเธอว่ากำลังจะร่ำลาจากไป, สำหรับฝ่ายหญิงแม้จะมีใจให้เขา แต่ก็พยายามปกปิดที่ตนเองถูกครอบครัวบังคับให้หมั้นหมายกับเศรษฐี Omar กำลังจะแต่งงานกันอีกไม่ช้า หลังจากรับรู้การจากไปโดยไม่ร่ำลา ตกอยู่ในความห่อเหี่ยว หมดสูญสิ้นความกระตือรือล้น

เหตุการณ์วุ่นๆวายๆเกิดขึ้นในวันแต่งงานระหว่าง Ada กับ Omar จู่ๆเกิดไฟลุกไหม้บนเตียงนอนอย่างไม่ทราบสาเหตุ นักสืบหนุ่ม Issa พยายามขบไขปริศนา แล้วค่ำคืนนั้นยังมีปรากฎการณ์ลึกลับ หญิงสาวนับสิบเดินทางไปยังบ้านหรูของนายจ้าง/นักธุรกิจก่อสร้าง ทวงค่าแรงที่อีกฝ่ายคั่งค้างไม่ยินยอมจ่ายมาหลายเดือน … มันบังเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไรขึ้นเนี่ย?


สิ่งถือว่ามีความท้าทายสุดของหนังสำหรับผกก. Diop คือการคัดเลือกนักแสดง เพราะแนวทางของเธอพยายามทำออกมาในสไตล์สารคดี จึงพยายามมองหาบุคคลทั่วๆไปที่มีความใกล้เคียงกับตัวละคร พบเจอ Ibrahima Traoré (รับบท Souleiman) ยังสถานที่ก่อสร้าง, Nicole Sougou (รับบท Dior เพื่อนสนิทของ Ada) ทำงานเป็นผู้จัดการบาร์แห่งหนึ่ง

Casting the right people and training them to act is always the most challenging thing I guess, because the characters are the heart of the film. I have a very documentary-style approach to casting. To find Souleiman, I went to a construction site because I wanted him to know this reality. Dior [Ada’s best friend] worked as a barmaid at the time and her life was quite close to her character’s.

Mati Diop

แต่บุคคลหาพบเจอยากที่สุดคือ Ada ใช้เวลานานถึง 7 เดือนกว่าจะพบเจอ Mame Bineta Sané (เกิดปี ค.ศ. 2000) ครอบครัวมีพี่น้องหกคน ไม่เคยร่ำเรียนหนังสือ แค่พออ่านเขียนได้เล็กๆน้อยๆ ขณะนั้นกำลังฝึกงานตัดเย็บเสื้อผ้า คาดไม่ถึงว่าจะได้รับโอกาสครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต

It took me seven months to find Ada. I was about to delay shooting, but then I saw this girl [Mame Bineta Sané] one day in Thiaroye and it was beautiful because she appeared when I wasn’t consciously looking. The fact that she was missing up to this point made me even more involved in casting the right person because I chose the rest of the characters as though I was her; who would be my girlfriends, who would be my lover?

ด้วยความที่นักแสดงทั้งหมดคือมือสมัครเล่น ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านภาพยนตร์ สไตล์การทำงานของผกก. Diop จึงมุ่งเน้นให้พวกเขาถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเองออกมา เคอะๆเขินๆ ขาดๆเกินๆไปบ้าง แต่ผลลัพท์คือความเป็นธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งใดๆ


ถ่ายภาพโดย Claire Mathon (เกิดปี ค.ศ. 1975) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส ร่ำเรียนการถ่ายภาพยัง École nationale supérieure Louis-Lumière จากนั้นถ่ายทำหนังสั้น สารคดี ผลงานเด่นๆ อาทิ Stranger by the Lake (2013), Atlantics (2019), Portrait of a Lady on Fire (2019), Petite Maman (2021), Spencer (2021), Saint Omer (2022) ฯ

ก่อนหน้านี้ Mathon เคยร่วมงานผกก. Diop ถ่ายทำสารคดี Mille soleils (2013) จึงเข้าใจแนวทาง รับรู้ความสนใจ แม้เป็นภาพยนตร์ ‘Feature Length’ ยังพยายามทำออกมาในสไตล์สารคดี (documentary-style) ด้วยการใช้กล้อง Hand-Held เพียงสองตัว (RED Epic ถ่ายทำตอนกลางวัน, VariCam 35 มีความไวสูง ‘high sensitivity’ สำหรับถ่ายทำตอนกลางคืน) แบกขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ได้ภาพสั่นๆ สะท้อนความไม่มั่นคง จิตใจอ่อนไหว โคลงเคลงไปตามคลื่นลมมหาสมุทร Atlantic

แต่ความโดดเด่นของงานภาพ คือการสร้างสัมผัส ‘texture’ และบรรยากาศให้ดูลึกลับ หลอกหลอน ‘magical realism’ โดยเฉพาะภาพมหาสมุทร Atlantic เหมือนมีแรงดึงดูดบางอย่างให้ลุ่มหลง เต็มไปด้วยความพิศวง ราวกับต้องมนต์ … พูดกันอย่างไม่อ้อมค้อม Atlantics (2019) คือหนังผี!

Atlantics is a film of ghosts, and the VariCam 35, whose texture we also liked, provided us with a particular acuity and the possibility of making a land and faces that are seldom filmed visible. This camera seemed made for this film!

The rather matte texture, the importance of flares, the quality of the blacks and the brilliances, especially on skin at night, add to the fantastic dimension of the film but still keep the soul of the Senegalese capital present. We liked to feel the materiality of dust, humidity, and the sea spray.

The ocean is the fantastic. We tried to film it as though it were a planet unto itself, an inhuman planet (going there means dying). The viewer had to feel the importance of the heavenly bodies and the characters caught up in something bigger, in the cosmos.

Claire Mathon

หนังปักหลักถ่ายทำอยู่ยัง Dakar เมืองหลวงของประเทศ Senegal ในย่านชานเมือง/ชุมชนชาวประมง Thiaroye ติดกับชายหาด Plage de Yoff ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ค.ศ. 2018

I chose Thiaroye — a fishing community in the suburbs — for aesthetic reasons first and foremost, but also because of its history. When African soldiers [who fought for the French Free army] were brought here after the Second World War, they asked for equal pay to their white counterparts. The French officers refused and killed [as many as 300 of] them when they protested. That night [30 November 1944] is known as the Massacre of Thiaroye and it isn’t a well-known story because a lot of effort has been made to cover it up.

Mati Diop

ตั้งแต่เมื่อครั้นถ่ายทำหนังสั้น Atlantics (2009) ผกก. Diop บังเกิดความหลอกหลอนต่อมหาสมุทร Atlantic ที่พลัดพรากชีวิตผู้อพยพมากมายนับไม่ถ้วน เมื่อพบเห็นคลื่มลมแรง สายน้ำซัดกระทบหาดทราย เลยอดไม่ได้จะเปรียบเทียบถึงชีวิต ความตาย เวลาถ่ายภาพมหาสมุทร พยายามทำออกมาให้ดูลึกลับ หลอกหลอน พลังธรรมชาติยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถต่อต้านทาน

When I shot the 2009 short, I found it hard not to make connections between these waves of departure. It was very disturbing to me that young men would take these boats and risk their lives to reach Europe, especially when you think the slave trade was the opposite. Dakar felt like a ghost city to me for that reason, and the Atlantic feels like a very haunted place.

Mati Diop

แซว: ผมเห็นภาพท้องทะเล/มหาสมุทรทีไร ชวนให้นึกถึง A Man There Was (1917), Man of Aran (1934) และ By the Bluest of Seas (1936) แต่ทั้งสามเรื่องใช้ภาพคลื่นลมพายุ แทนความรู้สึก ระบายอารมณ์คลุ้มบ้าคลั่ง! คนละบรรยากาศกับ Atlantics (2019) ภายนอกดูสงบงาม ราบรื่น ละรอกคลื่นไม่ได้รุนแรงประการใด แต่ผู้ชมกลับบังเกิดความหลอกหลอน วาบหวิว สั่นสยิวทรวงใน

ทำไมไฟถึงลุกไหม้เตียงนอน? ได้อย่างไร? คำตอบคือเป็นฝีมือนักสืบ Issa แม้ร่างกายเจ็บปวดอิดๆออดๆ แต่เหมาะสำหรับร่างทรง ค่ำคืนแต่งงานของ Ada กับ Omar เลยถูกวิญญาณ Souleiman มาเข้าสิง

มองมุมหนึ่งคือความรู้สึกผิดหวัง ไม่พึงพอใจที่แฟนสาวกำลังจะแต่งงานชายอื่น เลยจุดไฟเผาเตียงนอน เพื่อเป็นลางบอกเหตุร้าย จำต้องเลื่อนการเข้าเรือนหอออกไป, หรือจะตีความว่า Souleiman รับรู้ธาตุแท้ตัวตนของ Omar จึงไม่ต้องการให้ Ada ตกเป็นเหยื่อ เสียความบริสุทธิ์กับบุคคลไม่เห็นคุณค่าความรัก

เลเซอร์สีเขียวในบาร์ริมทะเล เป็นอุปกรณ์ประกอบฉากที่ช่วยสร้างบรรยากาศการเต้นรำ ให้ดูพิศวง ชวนลุ่มหลงใหล ราวกับดินแดนใต้มหาสมุทร หรืออาจจะตีความโลกหลังความตาย ซึ่งแสงสีนี้เมื่อสะท้อนผิวดำ มันช่างงดงาม เปร่งปราย เข้ากันอย่างโรแมนตก หวานฉ่ำ

ผมอ่านเจอว่าเมื่อตอนสรรค์สร้างหนังสั้น Atlantics (2009) ผกก. Diop ให้ความสำคัญกับประภาคาร (Lighthouse) เพราะคือแสงสว่างนำทางบุคคลที่พยายามล่องเรือข้ามมหาสมุทร Atlantic ทีแรกตั้งใจจะแทรกใส่ไว้ในภาพยนตร์ Atlantics (2019) แต่ไม่รู้จะเอาไว้ตรงไหน (เพราะมันไม่มีฉากล่องเรือปรากฎให้เห็น) ใกล้เคียงที่สุดก็คือแสงเลเซอร์สีเขียวของซีเควนซ์นี้ นำทางให้คนหนุ่ม-สาวมาพบเจอ พรอดรัก และพลัดพรากจากชั่วนิรันดร์

The way I shot the lighthouse in Atlantics (2009) the short was so special to me that there was no other way I could film the it other than how it I did it in the short. So we forgot about filming the lighthouse in the feature. Maybe the way I filmed the light inside the club was a way to make the lighthouse exist in the feature.

Atlantique

ภาพสุดท้ายของหนัง เช้าตื่นขึ้นหลังสูญเสียพรหมจรรย์ นั่นทำให้ Ada ราวกับได้ถือกำเนิด เกิดใหม่ เติบโตเป็นผู้ใหญ่เต็มวัย รอดชีวิตจากเหตุการณ์หายนะ ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความสูญเสีย ดิ้นหลุดพ้นโชคชะตากรรม ค้นพบตัวตนเอง สามารถกำหนดเส้นทาง/เป้าหมายชีวิต กำลังจะเริ่มต้นนับหนึ่งอีกครั้ง

การหันมาสบตาหน้ากล้อง “Breaking the Fourth Wall” ของ Ada เพื่อให้ผู้ชมมองย้อนเรื่องราวของหนังกลับเข้าหาตัวเราเอง โดยเป้าหมายหลักๆของผกก. Diop พุ่งเป้าไปที่ชาว Senegalese (และชาวแอฟริกัน) มันถึงเวลาที่เราควรต้องจัดการปัญหา ก้าวข้ามผ่านอดีต เพื่อให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าเทียบเท่านานาอารยะ

Something I appreciate a lot in the film of my uncle called Hyènes (1992) is that the main character became a metaphor for hit own country. That’s similar to what Ada says at the end of the film. She finally emerged from that night and now she’s able to look at herself in the mirror, recognize herself and say, “I am Ada.” She survived loss, which made her more aware of, not only who she is, but that she can stand up after having lost the person she loved the most. Like Senegal, she is taking back control of her destiny. 

Mati Diop

ตัดต่อโดย Aël Dallier Vega (เกิดปี ค.ศ. 1979) เกิดที่ Paris, แต่ไปเติมโตยัง Guyana, Mali, West Indies, England, แล้วหวนกลับฝรั่งเศสมาร่ำเรียนทฤษฎีภาพยนตร์ จากนั้นไปฝึกฝนการตัดต่อยัง Escuela Internacional de Cine y Televisión (EICTV) ณ ประเทศ Cuba มีผลงานหนังสั้น สารคดี ภาพยนตร์ขนาดยาว Atlantics (2019) ฯ

การดำเนินเรื่องของหนังไม่ได้จำเพาะเจาะจงมุมมองนำเสนอ แต่มีลักษณะเหมือน ‘ส่งไม้ผลัด’ เริ่มต้นจาก Souleiman ถูกเบี้ยวค่าแรง นั่งรถมาหาแฟนสาว Ada สลับสับเปลี่ยนสู่เรื่องราวของเธอ เฝ้ารอคอยพบเจอตอนค่ำ แต่เขากลับขึ้นเรือข้ามมหาสมุทร Atlantic จากไปโดยไม่ร่ำลา จำใจเข้าร่วมพิธีแต่งงานกับ Omar แล้วเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เตียงนอน สลับสับเปลี่ยนสู่มุมมองนักสืบหนุ่ม Issa พยายามสืบค้นหาความจริง แต่ก็ไม่พบเจออะไร หลังซักถามข้อมูลจาก Ada เธอเดินทางไปเยี่ยมเยียนเพื่อนสนิท Fanta จู่ๆล้มป่วย นอนซมซานบนเตียง ยามค่ำคืนโดยไม่รู้ตัวกลายเป็นซอมบี้ ออกเดินทางไปทวงหนี้จากนายจ้าง/เจ้าของธุรกิจก่อสร้าง ฯลฯ

  • เรื่องราวของ Souleiman
    • Souleiman เป็นแรงงานก่อสร้าง ถูกเบี้ยวหนีมาหลายเดือน
    • หลังเสร็จงานนั่งรถออกเดินทาง
    • มาพบเจอแฟนสาว Ada พากันไปเที่ยวเล่น เกี้ยวพาราสีริมมหาสมุทร Atlantic
  • งานแต่งงานของ Ada
    • Ada เฝ้ารอคอยที่จะได้พบเจอชายคนรักตอนค่ำ แต่เขากลับขึ้นเรือข้ามมหาสมุทร Atlantic จากไปโดยไม่ร่ำลา
    • พิธีแต่งงานระหว่าง Omar กับ Ada
    • จู่ๆเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เตียงนอน ทำให้งานแต่งงานต้องยุติลงโดยพลัน
  • นักสืบ Issa พยายามสืบสวนปรากฎการณ์ลึกลับ
    • นักสืบ Issa ถูกเรียกตัวเข้ามาสืบสวนเหตุการณ์ไฟไหม้เตียงนอน
    • ค่ำคืนนั้นหญิงสาวนับสิบเดินทางไปทวงหนี้จากนายจ้าง/เจ้าของธุรกิจก่อสร้าง
    • Ada ได้รับข้อความลึกลับ คาดคิดว่าคือ Souleiman ก่อนถูกนักสืบ Issa ควบคุมขังชั่วขณะ
  • การหวนกลับมาของ Souleiman
    • หลังออกจากห้องขัง Ada ขายทิ้งทุกสิ่งอย่างของ Omar ตั้งใจจะไปทำงานยังบาร์ริมทะเล
    • Ada รับทราบความจริงเกี่ยวกับ Souleiman
    • นายจ้าง/เจ้าของธุรกิจก่อสร้าง ยินยอมจ่ายค่าแรงที่เบี้ยวหนี้
    • วิญญาณ Souleiman เข้าสิงร่างนักสืบ Issa แวะเวียนมาหา Ada พรอดรัก เริงระบำ ร่วมหลับนอน
    • เช้าวันใหม่ Ada ตื่นขึ้นพร้อมความสดใส

หลายคนอาจรู้สึกรำคาญกับการสลับสับเปลี่ยนมุมมองนำเสนอ กระโดดไปกระโดดมา ดูไม่มีหลักมีแหล่ง แต่ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจแนวคิด ‘ส่งไม้ผลัด’ ทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนมุมมองตัวละคร จะต้องมีเหตุการณ์หรืออะไรบางอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์ คล้ายๆสัมผัสนอก-ในบทกวี จะเกิดความอ้ำอึ่งทึ่ง ประทับใจอย่างคาดไม่ถึง


เพลงประกอบโดย فاطمة القديري, Fatima Al Qadiri (เกิดปี ค.ศ. 1981) เกิดที่ Dakar บิดาเป็นนักการทูตชาว Kuwaiti ขณะนั้นประจำการอยู่ Senegal พอบุตรสาวอายุได้สองขวบจึงเดินทางกลับ Kuwait โตขึ้นได้รับทุนการศึกษาไปเรียนต่อยังสหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาภาษาศาสตร์ New York University ระหว่างทำงานนิตยสาร DIS มีโอกาสทำ Mini-Mix บทเพลง Muslim Trance ได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี จึงเริ่มทำบล็อก แต่งเพลง แนวถนัดคือ Synthesizer, Electronic Music ออกอัลบัมแรก Warn-U (2011),

Fatima is by far one the best musicians and artists of my generation and embodies the music of my time. I chose her because I wanted the music of the film to bewitch the audience like a djinn [genie] would, she also has an understanding of the complex geopolitical landscape of the film. My [way of telling stories] is fed by a lot of different references — European Gothic and the romantic movement, as well as my African and Muslim heritage — so I think the film is really a strange aesthetic combination. Fatima and I have a very similar hybrid culture.

Mati Diop

งานเพลงของหนังช่างแปลกประหลาด คาดไม่ถึงยิ่งนัก เลือกใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงที่ฟังดูฟุ้งๆ เหนือธรรมชาติ สร้างสัมผัสหลอกหลอน ขณะเดียวกันก็มีความล้ำอนาคต (Futuristic) สะกดจิตวิญญาณผู้ชม ให้เคลื่อนคล้อย รู้สึกเหมือนกำลังล่องลอย (อยู่ในมหาสมุทร Atlantic) พร้อมเสียงคลื่นลมซัดกระทบหาดทราย (Ambient Sound)

การเลือกใช้บทเพลงสไตล์นี้แทนที่จะเป็นดนตรีพื้นบ้าน (Traditional) หรือฟากฝั่งตะวันตก (Western) ทำให้หนังมีความเป็นสากล ล้ำอนาคต ความจริงที่อยู่เหนือกาลเวลา มนุษย์ทุกคนเกิดแล้วก็ต้องตาย กระทำสิ่งชั่วร้าย สักวันย่อมได้รับผลกรรมคืนสนอง

หนึ่งในบทเพลงที่มีความน่าสนใจอย่างมากๆก็คือ Yelwa Procession เสียงสังเคราะห์ฟังดูบิดๆเบี้ยวๆ ก่อนเสียงขับร้องของสาวๆจะค่อยๆดังขึ้น แต่เมื่อผสมผสานกลับให้ความรู้สึกเหมือนกำลังกระเสือกกระสน ดิ้นรน กรีดกราย ขวนขวายอยากมีชีวิต แต่โชคชะตาฟ้าลิขิตให้ต้องประสบหายนะ ความตาย เหลือสิ่งสุดท้ายที่ยังติดค้างคาใจ หวนกลับขึ้นฝังเพื่อเข้าสิงสถิต เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชีวิต

ไล่มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 50s-60s หลากหลายประเทศในทวีปแอฟริกาได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคม แต่ใช่ว่าประเทศเหล่านั้นจะสามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงได้โดยทันที (เพราะเคยตกเป็นอาณานิคมมานานนับศตวรรษ พอได้รับเอกราชก็ไปไม่ถูกอยู่สักพัก) ด้วยเหตุนี้จึงยังต้องพึ่งพาอาศัยพวกจักรวรรดินิยม ในด้านเศรษฐกิจ สังคม บางครั้งก็ถูกแทรกแซงทางการเมือง … มีคำเรียกลัทธิอาณานิคมใหม่ (Neo-Colonialism)

ใครเคยรับชม Touki Bouki (1973) [หรืออาจจะ La noire de… (1966), Soleil Ô (1970) ฯ] ย่อมพบเห็นสิ่งที่พวกอดีตจักรวรรดินิยมพยายามเสี้ยมสอน ปลูกฝัง สร้างค่านิยมชวนเชื่อ ยุโรปคือสรวงสวรรค์ ฝรั่งเศสเปรียบดั่งดินแดนหลังสายรุ้ง (Over the Rainbow) ทำให้ชาวแอฟริกันที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน ทนทุกข์ยากลำบาก ตัดสินใจวัดดวง เสี่ยงโชคชะตา ไปตายเอาดาบหน้า ขึ้นเรือข้ามมหาสมุทร Atlantic ลักลอบเข้าทวีปยุโรปอย่างผิดกฎหมาย

กาลเวลาเคลื่อนพานผ่านมาจนถึง Atlantics (2019) กว่าครึ่งศตวรรษที่เหตุการณ์ลักษณะนี้ยังพบเห็นได้ทั่วไป นั่นแสดงว่าไม่มีใคร ผู้นำ/รัฐบาลประเทศไหน ให้ความสนใจแก้ปัญหาผู้อพยพอย่างจริงจัง ‘migration crisis’ ชาวแอฟริกันยังคงต้องต่อสู้ดิ้นรน เฝ้ารอคอยโอกาส วันไหนคลื่นลมสงบก็อาจสามารถล่องเรือข้ามฝั่ง แต่ก็ยังมีผู้คนอีกมากที่ต้องจบชีวิต กลายเป็นวิญญาณล่องลอย ไม่สามารถไปสู่สุขคติ

The idea was to write a ghost story about a generation who perished at sea, the omnipresence of their absence and the girls of a neighbourhood who are left behind and haunted by the spirits of these lost boys. I wanted the film to give a place for these spirits to find refuge; to ask for justice; to get the money they’re owed; to make love to their lover one last time. It’s a very new subject, born from talking about people as being ‘illegal’ when they leave the country they are born in. It’s essential for film and literature to make the oppressed not only visible, but truly embodied.

Mati Diop

ผกก. Diop แม้ถือกำเนิดในครอบครัวผู้อพยพ แต่บิดามีอาชีพการงานมั่นคง ฐานะค่อนข้างดี ไม่ได้ต้องต่อสู้ดิ้นรน ทนทุกข์ยากลำบาก สามารถเดินทางไปๆกลับๆ France ↔ Senegal ได้รับการศึกษาระดับสูง และสามารถเลือกใช้ชีวิตอย่างอิสรภาพ … พูดง่ายๆว่าลูกคุณหนู สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยความรู้สึกสงสารเห็นใจ

การเดินทางไปๆกลับๆ France ↔ Senegal ทำให้ผกก. Diop เกิดอัตลักษณ์สองสัญชาติ (Transnational Identity) ช่วงวัยเด็กคงรู้สึกสนุกสนาน แต่พอเติบโตขึ้นย่อมบังเกิดความสับสน ไม่เข้าใจตนเอง ต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อค้นหาฉันคือใคร? อยากทำอะไร? จนในที่สุดเมื่อค้นพบสื่อภาพยนตร์ ตระหนักว่าควรหวนกลับหาต้นกำเนิด รากเหง้า สรรค์สร้าง Atlantics (2019) เพื่อสามารถค้นพบตัวตนเอง ‘self discovery’

It’s a very complex experience to be mixed, to be crossed by different cultures. It’s a really complex subject on its own and a lot of it is expressed in my film. It’s not really that binary. It’s a more fragmented and hybrid landscape. It’s not French or African. It’s more Western versus the rest of the world. It’s hard to talk about it as a subject in general, because it’s quite complex, but I think that the film is really a response to the very fragmented and kaleidoscopic relationship I have to the diversity of my influences, and also the need not to be defined or confined into any category, both aesthetically, cinematographically, or in terms of gender and race. The film is really an invitation to get rid of any categories and it really breaks a lot of molds. As a mixed girl, I’m not white and I’m black, I’m a mix of so many different cultures. I constantly experience the hybridizing of my own complex and mobile identity, which so many people experience—most people do actually. 

ผมมอง Atlantics (2019) เปรียบดั่งจดหมายรักของผกก. Diop ถึง(บิดา) บรรพบุรุษ ชาว Senegalese (เหมารวมทวีปแอฟริกา) ดินแดนที่เธอคร่ำครวญ โหยหา แวะเวียนไปบางครั้งครา แต่ไม่มีวันที่ตนเองจักสามารถเป็นส่วนหนึ่ง ปักหลักใช้ชีวิต

You don’t have a home until you leave it and then, when you have left it, you never can go back.

เกร็ด: ชื่อหนังภาษาอังกฤษ Atlantics มีการแทรกใส่ “s” เพื่อเป็นการเน้นย้ำ และด้วยเหตุผลว่าต้องการนำเสนอเรื่องราวที่มีเนื้อหาสาระซ่อนเร้นมากกว่าหนึ่งประเด็น

I put an “s” to the title of my film, “Atlantics,” because it was a way to talk about actual migration, but also to touch on other ghost stories through the story of that crossing. The ocean is both political and mythical. 


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เสียงตอบรับถือว่าดียอดเยี่ยม ได้รับการคาดหมายจากหลายๆคน หนึ่งในตัวเต็งคว้ารางวัล Palme d’Or แต่ผลลัพท์ได้ Grand Prix (ที่สอง) ก็ถือว่าไม่เลวทีเดียว

นอกจากนี้หนังยังเป็นตัวแทน Senegal ส่งลุ้นรางวัล Oscar: Best Foreign Language Film สามารถเข้าถึงรอบ 10 เรื่อง แต่ไปไม่ถึงห้าเรื่องสุดท้าย

เมื่อตอนเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ได้รับการจัดซื้อโดย Netflix ต่อมามีการประกาศเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2020 ว่าหนังจะได้รับการจัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดย Criterion Collection แต่จนถึงปัจจุบัน (พฤษภาคม ค.ศ. 2024) ยังไม่มีรายละเอียดอะไรใดๆเพิ่มเติม ก็ไม่รู้จะวางขายเมื่อไหร่กัน?

แม้สไตล์ภาพยนตร์ของผกก. Diop จะยังไม่ได้โดดเด่นชัดเจน หรือมีความเป็นส่วนตัวมากนัก แต่ความมหัศจรรย์ของ ‘magical realism’ ทำให้หนังมีความเฉพาะตัว ดูลึกลับ ชักชวนให้ลุ่มหลงใหล เรื่องราวสะท้อนปัญหาสังคมมากมาย ท้ายที่สุดคือการค้นพบตัวเอง ‘self-discovery’ หวนกลับหารากเหง้า และตระหนักว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย!

จัดเรต 13+ กับวิญญาณหวนกลับมาหลอกหลอน

คำโปรย | คลื่นลมในมหาสมุทร Atlantics มันช่างลึกลับ ทรงพลัง คาบเกี่ยวระหว่างชีวิต-ความตาย ซัดทำลายภาพลวงตา ให้ผู้ชมตระหนักว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย!
คุณภาพ | ติ
ส่วนตัว | ถูกซัดพา

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: