Babette's Feast

Babette’s Feast (1987) Danish : Gabriel Axel ♥♥♥♥

งานเลี้ยงฉลองสุดหรูหราด้วยฝีมือเชฟจากภัตตาคารฝรั่งเศสชื่อดัง ปรุงให้กับชาวบ้านผู้เคร่งครัดศาสนา (Pietistic Lutheranism) แต่พวกเขากลับเชื่อว่าอาหารมื้อนี้จักทำให้ตกนรกหมกไหม้, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

ผมรับรู้จัก Babette’s Feast (1987) จากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Hayao Miyazaki ทีแรกก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรกับชื่อหนัง จนกระทั่งตอนเขียนถึง The Scent of Green Papaya (1993) กำกับโดย Trần Anh Hùng แล้วพบเจอบทความพาดพิงผลงานล่าสุด The Taste of Things (2023) ทำการการเปรียบเทียบ Babette’s Feast (1987) เลยเพิ่งค้นพบว่าภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับมื้ออาหารฝรั่งเศสสุดหรูหรา

นั่นเองทำให้ผมมีความโคตรๆคาดหวังต่อ Babette’s Feast (1987) เฝ้ารอคอยเมื่อไหร่จะพบเห็นมื้ออาหารดังกล่าว? ซึ่งสิ่งคาดไม่ถึงอย่างสุดๆคือนำเสนอศาสตร์เกี่ยวกับอาหาร ทั้งระหว่างทำ และขณะรับประทาน (ใครเคยรับประทานอาหารฝรั่งเศส น่าจะรับรู้ถึงความละเอียดอ่อน เต็มไปด้วยลำดับขั้นตอน จานนี้ทานก่อน-หลัง คู่กับไวน์ขาว-แดง แชมเปญ หรืออะไรใดๆ ฯลฯ) เชฟไม่แตกต่างจากศิลปิน มื้ออาหารเปรียบดั่งงานศิลปะชั้นสูง!

ความเป็นครัวชั้นสูง อาหารสไตล์ยุโรป อาจทำให้ชาวเอเชียอย่างเราๆ เข้าไม่ถึงสัมผัส รสชาติ ผิดแผกแตกต่างจากภาพยนตร์อย่าง Tampopo (1985), The Scent of Green Papaya (1993), Eat Drink Man Woman (1994) หรือ Jiro Dreams of Sushi (2011) ปรุงแต่งมื้ออาหารที่มักคุ้นเคยชิน แค่ได้ยินเสียงครก สับหมู หรือกระทะไฟแดง กลิ่นหอมฉุยก็แทบจะลอยมาเตะจมูก


Axel Gabriel Erik Mørch (1918-2014) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Danish เกิดที่ Aarhus, Denmark ครอบครัวเป็นเจ้าของโรงงาน ฐานะร่ำรวย ถูกส่งไปใช้ชีวิตยัง Paris, France จนกระทั่งอายุ 17 กิจการล้มละลายเลยต้องหวนกลับ Denmark ฝึกฝนเป็นคนทำงานไม้ (Carbinet Maker) ก่อนได้เข้าเรียนการแสดง Royal Danish Theatre จบออกมามุ่งหน้าสู่ฝรั่งเศส เป็นนักแสดงละครเวที Théâtre de l’Athénée, Théâtre de Paris, จากนั้นเริ่มผันตัวสู่เบื้องหลัง กำกับซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Nothing But Trouble (1955), ผลงานส่วนใหญ่มักเป็นแนวตลกโปกฮา ว้าวุ่นวายเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ อาทิ The Red Mantle (1967), Sex and the Law (1967), The Goldcabbage Family (1975) ฯ

มีโปรเจคหนึ่งที่อยู่ในความใฝ่ฝันของ Axel คือดัดแปลงเรื่องสั้น Babettes Gæstebud แปลว่า Babette’s Feast ชื่อไทย งานเลี้ยงของบาเบตต์ ประพันธ์โดย Isak Dinesen นามปากกาของ Baroness Karen Christenze von Blixen-Finecke (1885-1962) นักเขียนชาว Danish เจ้าของอีกผลงานดัง Out of Africa (1937)

นวนิยายน่าอ่านเล่มนี้ใช้ฉากเรียบง่ายแต่กลับให้ภาพหรูหรา นำเสนอมุมมองอันบริสุทธิ์แต่จริงแท้ของตัวละคร ผู้อ่านจะได้ดื่มด่ำไปกับมื้ออาหารสุดหรูที่ฉาบทาด้วยความเจียมเนื้อเจียมตัวปนอหังการของศิลปิน!!!

คำโปรยฉบับแปลไทย รสวรรณ พึ่งสุจริต (สำนักพิมพ์สมมติ)

แรกเริ่มนั้น Dinesen เขียนเรื่องสั้น Babette’s Feast เป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Ladies Home Journal เมื่อปี ค.ศ. 1953 จากนั้นทำการแปลภาษา Danish สำหรับการแสดงละครวิทยุ (Radio Drama) ก่อนรวบรวมอยู่ในคอลเลคชั่น Anecdotes of Destiny (1958)

All I can say is that in Babette’s Feast there’s a minister, but it’s not a film about religion. There’s a general, but it’s not a film about the army. There’s a cook, but it’s not a film about cooking. It’s a fairy tale, and if you try to over-explain it, you destroy it. If you wish, it’s a film about the vagaries of fate and a film about art because Babette is an artist. She creates the greatest masterpiece of her life and gives it to the two old maids.

Gabriel Axel

เรื่องราวของชุมชนชาวบ้านริมเล Jylland อยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของ Denmark ในช่วงศตวรรษที่ 19th ต่างใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่าย ปฏิเสธชื่อเสียง เงินทอง ยึดถือมั่นตามหลักคำสอนศาสนา Pietistic Lutheranism จนกระทั่งการมาถึงของ Babette Hersant (รับบทโดย Stéphane Audran) อดีตเชฟภัตตาคารฝรั่งเศสชื่อดัง Café Anglais อพยพหลบหนีสงคราม อาสาทำงานเป็นคนรับใช้ ปักหลักอาศัยมายาวนานกว่าสามสิบปี

กระทั่งวันหนึ่งบังเอิญถูกรางวัลล็อตเตอรี่ 10,000 ฟรังก์ ต้องการเลี้ยงอาหารฝรั่งเศสตอบแทนบุญคุณชาวบ้านทั้งหลาย จึงสั่งซื้อวัตถุดิบชั้นดี เครื่องปรุงที่มีความเลิศรส หรูหรา ราคาแพง แต่กลับสร้างความหวาดหวั่นวิตกให้กับชาวบ้านริมเล Jylland เพราะมองว่าการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รับประทานอาหารที่มีความสิ้นเปลือง อาจนำทางพวกเขาสู่ขุมนรกมอดไหม้


ในส่วนของนักแสดง ตอนแรกสตูดิโอ Nordisk Film อยากประหยัดงบประมาณด้วยการเลือกใช้เพียงนักแสดงสัญชาติ Danish แต่ผกก. Axel เรียกร้องความถูกต้องตามสัญชาติ ทีมนักแสดงก็เลยมีทั้งฝรั่งเศส, เดนมาร์ก, สวีเดน

  • บทบาท Filippa ประกอบด้วย Bodil Kjer (วัยชรา), Hanne Stensgaard (วัยสาว), Tina Kiberg (ขับร้องเสียงโซปราโน)
  • บทบาท Martine ประกอบด้วย Birgitte Federspiel (วัยชรา), Vibeke Hastrup (วัยสาว)
  • ในส่วนของผู้ดี/ราชวงศ์สวีเดน ก็เลือกนักแสดงสัญชาติ Swedish อาทิ Jarl Hulle และ Bibi Andersson ทั้งสองเป็นที่รู้จักจากการร่วมงานผกก. Ingmar Bergman
  • ชาวบ้าน/ผู้สูงวัยใน Jylland ต่างเป็นนักแสดงชาว Danish หลายคนเคยร่วมงานผกก. Carl Theodor Dreyer อาทิ Lisbeth Movin (Day of Wrath), Preben Lerdorff Rye (Ordet), Axel Strøbye (Gertrud), Bendt Rothe (Gertrud), Ebbe Rode (Gertrud) ฯ

และสำหรับ Babette ในตอนแรกผกก. Axel มีความสนใจอยากได้ Catherine Deneuve แม้เจ้าตัวมีความสนอกสนใจ แต่กลัวการถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมกับบท เลยบอกปัดปฏิเสธไป, ต่อมาคือ Stéphane Audran จากความประทับใจ Violette Nozière (1978), Cop au Vin (1985) ทีแรกลองติดต่อหาสามี/ผกก. Claude Chabrol ได้รับความเห็นชอบด้วย เลยส่งบทหนังให้อ่าน เพียงไม่ถึงสองชั่วโมงโทรศัพท์มาตอบตกลง

Stéphane Audran ชื่อจริง Colette Suzanne Jeannine Dacheville (1932-2018) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Versailles, Seine-et-Oise โตขึ้นฝึกฝนการแสดงยัง Ecole de théâtre Charles Dullin แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จกับละคอนเวทีนัก เลยผันตัวมาแสดงภาพยนตร์ ร่วมงานครั้งแรกกับว่าที่สามี Claude Chabrol ตั้งแต่ Les Cousins (1959) ผลงานเด่นๆ อาทิ Les Biches (1968), Le Boucher (1970), The Discreet Charm of the Bourgeoisie (1972), Violette Nozière (1978), Cop au Vin (1985), Babette’s Feast (1987) ฯ

รับบท Babette Hersant อดีตเชฟภัตตาคารหรูในฝรั่งเศส จำต้องอพยพหลบหนีสงครามออกนอกประเทศ ยินยอมทำงานเป็นสาวใช้สองพี่น้อง Filippa & Martine ยังหมู่บ้านชาวเล Jylland เป็นเวลากว่าสามสิบปี ลึกๆเหมือนยังคงโหยหา ครุ่นคิดถึงบ้านเกิด จนกระทั่งวันหนึ่งถูกรางวัลล็อตเตอรี่ 10,000 ฟรังก์ นั่นคือโอกาสสำหรับหวนกลับไป แต่เธอกลับเลือกใช้เงินนั้นจับจ่ายเป็นค่าวัตถุดิบ เครื่องปรุง สำหรับมื้ออาหารสุดพิเศษ เลี้ยงขอบคุณชาวบ้านแห่งนี้ให้ที่ชีวิตใหม่กับตนเอง

หลังจากได้รับบทหนัง เห็นว่า Audran เปิดเพียงหน้าท้ายๆ พบเห็นบทสรุปเรื่องราว รวมถึงถ้อยคำคมๆอย่าง “An artist is never poor.” นั่นคือเหตุผลการตอบตกลงที่เรียบง่าย รวดเร็ว … อาจเพราะสามี Chabrol เป็นคนแนะนำบทหนังด้วยกระมัง จึงมีความเชื่อมั่นระดับหนึ่งว่าบทบาทต้องเหมาะสมกับตนเอง

Babette เป็นตัวละครที่บทพูดไม่เยอะ (นั่นเพราะเธอเป็นชาวฝรั่งเศส ต้องฝึกพูดภาษา Danish) แต่ความโดดเด่นคือการแสดงออกภาษากาย โดยเฉพาะท่าทางขยับเคลื่อนไหวในห้องครัว เห็นว่าไปร่ำเรียนกับหัวหน้าเชฟ Jan Cocotte-Pedersen ภัตตาคาร La Cocotte ณ Copenhagen สอนทั้งสูตรอาหาร มารยาต่างๆ รวมถึงฝึกฝนลีลาทำครัวให้ออกมาดูสมจริงมากที่สุด

ซึ่งถ้าใครช่างสังเกตจะพบว่าปฏิกิริยาอารมณ์ตัวละครระหว่างทำอาหารมื้อนั้น จะมีความแตกต่างจากกิจวัตรประจำวันทั่วไป สีหน้ามุ่งมั่น ท่าทางจริงจัง ตั้งใจทำงานหนัก เสร็จแล้วสูบบุหรี่ผ่อนคลาย ราวกับได้ยกภาระอันหนักอึ้งออกจากทรวงอก หมดทุกข์หมดโศก ไม่เกิดความสูญเสียดายอะไรใดๆอีกต่อไป สามารถนอนตายตาหลับได้เลยกระมัง


ถ่ายภาพโดย Henning Kristiansen (1927-2006) ผู้กำกับ/ตากล้องสัญชาติ Danish ผลงานเด่นๆ อาทิ Hunger (1966), The Missing Clerk (1971), Babette’s Feast (1987) ฯ

งานภาพของหนัง พยายามทำออกมาให้ดูความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่เน้นลูกเล่นภาพยนตร์หวือหวา ในสไตล์ Minimalist เพื่อสอดคล้องวิถีชีวิตชาวเล Jylland ต่างยึดถือปฏิบัติตามคำสอนศาสนาอย่างเคร่งครัด เลยไม่ต้องการแสงสีสันสว่างสดใส บรรยากาศเย็นๆ โทนสีซีดๆ เฉพาะงานเลี้ยงเต้นรำและการแสดงอุปรากรที่หรูหราอลังการ

ต้นฉบับเรื่องสั้นระบุพื้นหลังเมืองท่า Berlevåg เหนือสุดของประเทศ Norway แต่พอผกก. Axel เดินทางไปสำรวจสถานที่ พบว่ามีความหรูหรา สวยงามเกินไป “beautiful tourist brochure” ไม่เหมาะกับวิถีสมถะเรียบง่าย เลยตัดสินใจมองหาสถานที่แห่งใหม่ ก่อนพบเจอหมู่บ้าน Vigsø, Thisted Kommune ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของ Nordjylland (North Jutland)

There is a lot that works in writing, but when translated to pictures, it doesn’t give at all the same impression or feeling. All the changes I undertook, I did to actually be faithful to Karen Blixen.

Gabriel Axel

พอได้สถานที่ถ่ายทำ มอบหมายให้ Sven Wichmann (Production Design) ออกแบบสร้างหมู่บ้านขึ้นใหม่ เน้นความเรียบง่าย ไม่ต้องการให้มีจุดโดดเด่นอะไร

โบสถ์แห่งนี้คือ Mårup Kirke (แปลว่า Mårup Church) ตั้งอยู่ยัง Vendsyssel ทางตอนเหนือของ Jylland ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1250 ด้วยสถาปัตยกรรม Romanesque มีความเรียบง่ายทั้งภายนอก-ใน แต่สิ่งสำคัญสุดคือความเชื่อศรัทธาทางจิตใจของชาวคริสเตียน

จะว่าไปมีช่วงกึ่งกลางเรื่อง Filippa & Martine หลังจากพบเห็นเครื่องปรุงอาหาร วัตถุดิบที่ยังมีชีวิตของ Babette บังเกิดความหวาดกลัว จินตนาการเตลิดเปิดเปิง ภาพซ้อนวันโลกาวินาศ คนขี่ม้าสี่คนแห่งวิวรณ์ (Four Horsemen of the Apocalypse) ราวกับว่านี่อาจเป็นกระยาหารมื้อสุดท้าย รับประทานแล้วคงได้ตกนรกทั้งเป็น

เมนูของ Babette ต้นฉบับเรื่องสั้นเห็นว่ามีเขียนชื่อเมนู แต่จะไม่ลงรายละเอียดว่าทำอะไรยังไง (ไม่มีสูตร) ผกก. Axel จึงมอบหมายให้หัวหน้าเชฟ (Head Chef) Jan Cocotte-Pedersen จากภัตตาคาร La Cocotte ณ Copenhagen เป็นผู้ออกแบบเมนู 5-course ประกอบด้วย

  • (ซุป) Soupe de tortue géante [Giant Turtle Soup]
    • ไวน์องุ่น Xérès amontillado [Amontillado Sherry]
  • (ออร์เดิฟ) Blinis Demidoff (au caviar et à la crème) [Blinis Demidoff (with caviar and cream)]
    • แชมเปญ Champagne Veuve Clicquot 1860
  • (จานหลัก) Cailles en sarcophage au foie gras et sauce aux truffes [Quail in sarcophagus with foie gras and truffle sauce]
    • ไวน์แดง Clos de Vougeot 1845
  • (สลัด) Salade d’endives aux noix [Endive salad with walnuts]
    Fromages français d’Auvergne [French cheeses from Auvergne]
    Savarin et salade de fruits glacés [Savarin and frozen fruit salad]
  • (ของหวาน) Baba au rhum [Rum Baba and fresh glazed fruit salad]
    • แชมเปญ Vieux marc Fine Champagne

หลังอิ่มหนำจากมื้ออาหาร ชาวบ้านทั้งหลายออกมาจับมือเต้นรำวนรอบบ่อน้ำ แสดงความสุขสำราญราวกับได้ขึ้นสรวงสวรรค์ มุมกล้องพยายามถ่ายให้ติดดวงดาวบนท้องฟากฟ้า (ราวกับว่านั่นคือสรวงสวรรค์) ให้อิสระผู้ชม/ชาวคริสเตียนครุ่นคิดตีความ อาหารมื้อนี้จะทำให้เราขึ้นสวรรค์หรือตกนรกมอดไหม้

คำร้อง Danishคำแปล Google Translate
Klokken slår, tiden går,
evigheden os forestår.
Lad os da bruge den kostbare tid,
tjene vor Herre med al vor flid,
så skal vi nok komme hjem!
The clock strikes, time passes,
eternity presides over us.
Let us then use the precious time,
serve our Lord with all our diligence,
then we must come home!

ตัดต่อโดย Finn Henriksen (1933-2008) ผู้กำกับ นักเขียน ตัดต่อภาพยนตร์ สัญชาติ Danish,

แม้ชื่อหนังจะคือ Babette’s Feast แต่เรื่องราวไม่ได้นำเสนอผ่านมุมมองของ Babette Hersant เป็นพี่น้อง Filippa และ Martine สองผู้สูงวัยอาศัยอยู่หมู่บ้านริมเล Jylland เริ่มต้นหวนระลึกความทรงจำเมื่อครั้นยังเป็นสาวสวย ต่างพบเจอบุรุษผู้หมายปอง และการมาถึงของ Babette เมื่อสามสิบห้าปีก่อน ได้นำพาความเปลี่ยนแปลงเล็กๆให้กับชาวบ้านละแวกนี้

การดำเนินเรื่องอาจชวนสับสนในครึ่งแรก เพราะเป็นการแนะนำตัวละคร อารัมบทก่อนการมาถึงของ Babette และเมื่อเรื่องราวหวนกลับสู่ปัจจุบัน ก็บังเกิดเหตุการณ์วุ่นๆ ถูกรางวัลล็อตเตอรี่ นำไปสู่งานเลี้ยงอาหารฝรั่งเศส ลาภปากที่ขัดย้อนแย้งต่อจิตสามัญสำนึกผู้คน

  • อารัมบท แนะนำผู้สูงวัย Filippa, Martine และสาวใช้ Babette
  • สัมพันธ์รักของ Filippa และ Martine
    • เริ่มจากเจ้าหน้าที่ทหาร Lorens Löwenhielm ได้รับมอบหมายให้มาประจำการยัง Jylland ตกหลุมรัก Martine แต่ก็มิอาจอดรนทน รับรู้ว่าตนเองไม่มีทางครองคู่ จึงเดินทางกลับสวีเดน ดำเนินตามความฝันตนเอง
    • นักร้องอุปรากรชื่อดัง Achille Papin มาทำการแสดงที่สวีเดน แล้วตัดสินใจหยุดพักผ่อนยัง Jylland ตกหลุมรักน้ำเสียงของ Filippa อาสาเป็นครูสอนร้องเพลง เชื่อมั่นว่าสักวันจะต้องแจ้งเกิดโด่งดัง แต่เธอกลับปฏิเสธความสำเร็จนั้น
  • การมาถึงของ Babette
    • หลายปีต่อมา Achille Papin เขียนจดหมายถึง Filippa ให้ช่วยรับอุปถัมภ์ Babette Hersant หลบลี้หนีภัยจากสงครามกลางเมืองฝรั่งเศส
    • Babette Hersant ใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวเล Jylland
  • Babette ถูกรางวัลล็อตเตอรี่
    • ตัดกลับมาปัจจุบัน 35 ปีให้หลัง Babette กลายเป็นสมาชิกหมู่บ้านที่ได้รับความรัก ความเอ็นดู เป็นที่โปรดปรานของใครๆ
    • วันหนึ่งมีจดหมายส่งจาก Paris แจ้งว่า Babette ถูกรางวัลล็อตเตอรี่ 10,000 ฟรังก์
    • หลังจากครุ่นคิดอยู่สักพักใหญ่ Babette อาสาจัดงานเลี้ยงรับประทานอาหารในสไตล์ฝรั่งเศษ
  • งานเลี้ยงของ Babette
    • Babette เดินทางไปสั่งวัตถุดิบ เครื่องปรุง นำกลับมายังหมู่บ้านแห่งนี้
    • หลังจากพบเห็นวัตถุดิบของสัตว์มีชีวิต สร้างความหวาดหวั่นให้กับชาวบ้าน ว่าอาหารมื้อนี้จะนำทางพวกเขาสู่ขุมนรก
    • General Lorens Löwenhielm ตอบรับคำเชิญ เดินทางมาร่วมงานเลี้ยงมื้อนี้
    • ค่ำคืนงานเลี้ยงของ Babette
    • และหลังงานเลี้ยง เดินทางกลับบ้านด้วยรอยยิ้ม อิ่มหฤทัย

ในส่วนของเพลงประกอบ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะ ‘diegetic music’ พบเห็นการขับร้อง ทำการแสดงสด บทเพลงสรรเสริญพระเจ้า, บรรเลงออร์เคสตรา และอุปรากร Mozart: Don Giovanni

  • Mozart: Don Giovanni
    • Act 1, Scene 3: Fin ch’ han dal vino (แปลว่า As long as they have wine) ชื่อเล่น Champagne Aria
    • Act 1, Scene 9: Là ci darem la mano (แปลว่า There we will give each other our hands)
  • Brahms: Waltz in A-Flat Major, Op. 39 No. 15
  • Kuhlau: Sonatina in F Major, Op. 55, No. 4: II. Andantino Con Espressione

ส่วนบทเพลง Soundtrack โดย Per Nørgård (เกิดปี 1932) คีตกวี นักทฤษฎีดนตรี สัญชาติ Danish เกิดที่ Gentofte, โตขึ้นเข้าศึกษา Royal Danish Academy of Music แล้วไปเรียนต่อที่กรุง Paris หลงใหลในสไตล์เพลงร่วมสมัย (Contemporary Music) ทำงานเป็นครูสอนดนตรียัง Odense Conservatory ตามด้วย Royal Danish Conservatory of Music มีผลงาน Orchestral, Opera, Concertante, Chamber Music, เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ The Red Mantle (1967), Babette’s Feast (1987) ฯ

งานเพลงของ Nørgård สำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งใจรับฟัง อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามีอยู่ ท่วงทำนองสั้นๆ เรียบง่าย กลมกลืนพื้นหลัง คลอประกอบหนังเบาๆ ส่วนใหญ่เป็นการบรรเลงเปียโน ไม่ก็ออร์แกน (โดย Finn Gravnbøl) สอดคล้องสไตล์ Minimalist และวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวเล Jylland


หนึ่งในบทเพลงที่ถือเป็นไฮไลท์อย่างคาดไม่ถึง Là ci darem la mano บทเพลงคู่ (Duet) ที่นักร้องอุปรากร Achille Papin (รับบทโดย Jean-Philippe Lafont นักร้องเสียง Baritone สัญชาติฝรั่งเศส) ทำการเสี้ยมสอน พร้อมเกี้ยวพาราสี Filippa (ขับร้องโดย Tina Kiberg นักร้องเสียง Soprano สัญชาติ Danish) เนื้อคำร้องมันช่างมีความสอดคล้องจองเรื่องราวขณะนั้นๆ … หลายคนอาจไม่คุ้นกับฉบับได้ยินในหนัง เพราะขับร้องด้วยภาษาฝรั่งเศส (ต้นฉบับคืออิตาเลี่ยน)

เกร็ด: Don Giovanni แรกพบเจอตกหลุมรัก Zerlina แม้ว่าเธอหมั้นหมายกับ Masetto วางแผนชักชวนทั้งสองมาร่วมงานเลี้ยงเฉลิมฉลองแต่งงานที่ปราสาท พอแฟนหนุ่มกลับบ้านไปก่อน เขาจึงเริ่มหยอกล้อ เกี้ยวพาราสีด้วยบทเพลง Là ci darem la mano

แถมให้อีกบทเพลงเพราะๆ Se, hvor sig dagen atter skynder แปลว่า See how the day hastens again ได้ยินหลังเสร็จจากรับประทานอาหาร Filippa ขับร้อง บรรเลงเปียโน รวบรวมอยู่ใน Danish Hymnbook No. 766 (บทเพลงสรรเสริญพระเจ้า)

ต้นฉบับ Danishคำแปล Google Translation
Se, hvor sig dagen atter skynder,
i vestervand sig solen tog,
vor hviletime snart begynder;
o Gud, som udi lyset bor
og sidder udi Himmelsal,
vær du vort lys i mørkeds dal.
Vort timeglas det alt nedrinder,
af natten drives dagen bort,
al verdens herlighed forsvinder
og varer kun så ganske kort;
Gud, lad dit lys ej blive slukt
Og nådens dør ej heller lukt.
See how the day hastens again,
in the west the sun set,
our hour of rest soon begins;
o God, who lives outside the light
and sits outside Himmelsal,
be our light in the valley of darkness.
Our hourglass it all pours down,
by night the day is driven away,
all the glory of the world vanishes
and lasts only so very briefly;
God, do not let your light be extinguished
And the door of grace does not smell either.

LINK: https://www.youtube.com/watch?v=uDKNlLzrDfw

Babette’s Feast (1987) นำเสนอเรื่องราวของชุมชนที่มีความเชื่อมั่นศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้า เลือกที่จะใช้ชีวิตสมถะ กินอยู่อย่างเรียบง่าย พอมีพอใช้ ไม่ต้องการชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จอะไรๆใดๆ เพียงยึดถือปฏิบัติตามคำสอน เพื่อว่าเมื่อลาจากโลกใบนี้ ตายแล้วได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ กลับไปอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้า

การมาถึงของ Babette Hersant หญิงต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม เคยมีชีวิตเลิศหรูหรา เชฟระดับภัตตาคาร แต่เพราะภัยสงครามทำให้ต้องอพยพหลบหนี ลี้ภัยมาอาศัยอยู่กับชาวบ้านแห่งนี้ ค่อยๆเรียนรู้ที่จะปรับตัว ปล่อยวาง เข้าใจความเพียงพอดี กระทั่งกาลเวลาพานผ่านมากว่า 35 ปี วันหนึ่งบังเอิญถูกล็อตเตอรี่ นี่อาจคือการร่ำจากลาครั้งสุดท้าย

แม้ว่า Babette ยังมีความคร่ำครวญ โหยหา ครุ่นคิดถึงช่วงเวลาเคยอาศัยอยู่ฝรั่งเศส เป็นเชฟระดับภัตตาคาร แต่กาลเวลาได้พานผ่านมาเนิ่นนาน ได้เรียนรู้ที่จะปรับตัว ปล่อยวาง คลายความยึดติดกับโลกใบนั้น การถูกรางวัลล็อตเตอรี่ไม่ได้ทำให้เธอกระตือรือล้นที่จะหวนกลับไป แต่เกิดความต้องการจะทำบางสิ่งอย่างเพื่อตอบแทนชาวบ้านทั้งหลาย เรียกร้องขอครั้งแรกครั้งเดียวในชีวิต ปรุงอาหารฝรั่งเศสมื้อสุดท้าย

ผกก. Axel เป็นชาว Danish แต่กลับใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ Paris, ฝรั่งเศส ฟังดูมันช่างตรงกันข้ามกับ Babette เชฟชาวฝรั่งเศส แต่ต้องอพยพลี้ภัยมาอยู่ประเทศ Denmark

เชฟ (Chef) คือคำเรียกผู้ประกอบอาหารระดับสูง มีความรู้ เชี่ยวชำนาญ มากด้วยประสบการณ์ รังสรรค์มื้ออาหารด้วยความประณีต วิจิตรศิลป์ ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ หน้าตาภายนอก แต่ยังสัมผัสอันซับซ้อนของรูป-รส-กลิ่น-เสียง แบบเดียวกับศิลปินรังสรรค์งานศิลปะ ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์

แม้ว่า Babette’s Feast (1987) จะไม่ใช่ผลงานเรื่องสุดท้ายของผกก. Axel แต่ก็มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในชีวิตต้องการดัดแปลงเรื่องสั้น สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้จงได้ พยายามเก็บเกี่ยวสะสมประสบการณ์ มองหาโอกาสในอาชีพการงาน ท้ายที่สุดก็สามารถทำได้สำเร็จ แบบเดียวกับ Babette ปรุงอาหารมื้อสุดท้าย ต่อจากนี้คงได้นอนตายตาหลับ ไม่มีอะไรหลงเหลือติดค้างคาใจ

เนื่องจากผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาคริสต์ จึงขอไม่วิเคราะห์ถึงกระยาหารมื้อนี้ จักทำให้ชาวคริสเตียนตกนรกมอดไหม้หรือไม่? แต่สำหรับชาวพุทธ ไม่มีกล่าวถึงความหรูหราฟุ่มเฟือยของมื้ออาหาร เพียงหักห้ามเนื้อสัตว์บางประเภท (พระสงฆ์ห้ามรับประทาน เนื้อมนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข ราชสีห์ ฯ) และสอนให้พิจารณาอาหารโดยความเป็นของน่าเกลียด

อาหาเรปฏิกูลสัญญา (กัมมัฏฐาน, คัมภีร์อังคุตตรนิกาย) คือการพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร กำหนดหมายว่า อาหารที่บริโภค ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล เหตุให้ได้รับทุกข์ ภัย อุปัทวันตรายต่างๆ รวมถึงภัยจากความยินดีในการรับประทาน หากพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดสุขุม จะพบเห็นโทษภัยที่น่ากลัว และถ้าขาดการพิจารณาจะมองไม่เห็นโทษเลย

อาหารมื้อที่มีความปรารถนาน้อยเปนเนื้อข้าว มีความสันโดษเปนกับข้าว เปนอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกนี้ บางคนกล่าวว่ามื้อที่หิว ข้อนั้นย่อมไม่แน่นอนนัก เพราะคนที่มีหิวบางคนก็ยังเลือกอาหาร และติเตียนเมื่อบริโภคแล้ว.

ข้าวสุกเปล่าที่เคี้ยวบดอยู่ในปากมีความสันโดษในห้วงแห่งดวงใจเปนกับ ย่อมหวานยิ่งกว่าข้าวสุกระคนด้วยนมข้นอย่างหวาน แต่เคี้ยวกลืนด้วยหัวใจแห่งชาวโลกธรรมดา! แม้ว่าตามธรรมชาติของแป้งข้าวในข้าวสุข เมื่อผสมกับน้ำลายแล้ว แปรธาตุเปนน้ำตาลรู้สึกหวานแก่ผู้เคี้ยวก็จริง แต่มันหวานไม่ถึง 1/100 ของข้างที่เคี้ยวและกลั้วด้วยน้ำลายอันผสมด้วยเชื้อแห่งสันโดษ.

เคยปรากฏแก่ข้าพเจ้าในบางครั้งว่า หวานจนขนลุกและเย็นซ่าไปทั่วตัว มีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น จนรู้สึกว่า 3-4 คำก็พอแล้วสำหรับชีวิตในวันนี้ แต่ถ้าบางวันข้าพเจ้าเผลอลืมราดน้ำปรุงรสกล่าวคือความสันโดษนี่แล้ว ย่อมรู้สึกว่า ชาวบ้านช่างใจจืดแก่พวกเราเสียจริงหนอ! เขาไม่ให้อาหารที่เปนรสชาติแก่ลิ้นเสียเลย ทั้งที่วันนั้นมีการแกงไม่น้อยกว่า 2-3 อย่างก็มี

พระพุทธบิดาตรัสว่า จิตต์เปนธรรมชาติที่มีอารมณ์อันเดียว หมายความว่ามันเสวยอารมณ์ หรือรู้สึกอารมณ์ได้คราวละอัน ท่านจะป้อนอารมณ์อันไหนก็ให้แก่มันย่อมแล้วแต่ท่านจะเลือก เมื่อสันโดษเปนธรรมารมณ์ที่จิตเสวยอยู่แล้ว เมื่อนั้นมันย่อมเปนเด็กที่เลี้ยงง่ายไม่อ้อน และไม่รู้สึกถึงการที่มันเคยเลี้ยงยากครั้งก่อนๆ หรือครั้งอื่นๆ เลย

เพราะมันมีอารมณ์อันเดียว เปนแต่มันเปลี่ยนอารมณ์เร็วมากเท่านั้น เมื่อท่านไม่ยอมให้มันเปลี่ยน ผูกมัดไว้แน่นกับเสาเขื่อนคือสันโดษเหมือนลูกโคที่เขาจะนำไปฆ่าแล้ว ผักล้วนๆ หรือข้าวสุกล้วน ไม่มีอะไรเจือปน ก็ทำความพอใจอิ่มเอมให้แก่จิตต์เท่ากันกับอาหารที่ท่านหลงเพ้อว่าวิเศษทั้งหลาย ซึ่งเปนอาหารชนิดยาเสพติดมากกว่า ถ้าทำถูกวิธีจิตต์จะมีอารมณ์อันเดียว และไม่อ้อนเลย

วันหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นโคกินหญ้าด้วยความสังเกตยิ่งกว่าทุกวัน เข้าใจว่ามันรู้สึกอร่อยเท่าที่พวกมันเปนทาสลิ้นเห็นอาหารตามภัตตาคารสูงๆ หรือแม่ครัวฝีมือดีเหมือนกัน วันหนึ่งข้าพเจ้าเลี้ยงปลาในสระด้วยข้าวสุกอย่างเดียว ข้าวสุกซึ่งมนุสส์กินแต่อย่างเดียวไม่ได้ แต่พวกปลามันเห็นเปนดุจว่า เทวดาเอาของทิพย์มาหว่านให้ทีเดียว นี่คือธรรมชาติ! มนุสส์ได้ยอมเปนขี้ข้าของปิสาจมหาอุบาทว์คือตัณหาในรสที่ลิ้นไปเสียแล้ว จึงกินข้าวสุกอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งที่มนุสส์ก็คือสัตว์ธรรมชาติชนิดหนึ่งเหมือนกัน

วันหนึ่งข้าพเจ้าสละทองหยิบ และขนมหม้อแกง และของอื่นบางอย่าง แทนที่จะบริโภคเอง ให้พวกปลานั้นกิน แต่มันหากินไม่ ดูเถิดธรรมชาติ! มนุสส์สัตว์ธรรมชาติ ได้ละจากสิ่งที่บริสุทธิ์ ไปยึดสิ่งที่เศร้าหมอง เสพติดยาฝิ่นอย่างเงียบๆ ให้เป็นของจำเป็นสำหรับชีวิตด้วยการยึดถือ เห็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติเปนของเลวทราม สิ่งที่ปรุงใหม่ และหายากเปนของดี เพราะอุปทานที่ลิ้น!…ข้าวต้องผัดต้องปรุงเสียก่อน จึงจะกินข้าวนั้นได้โดยไม่ต้องกินกับข้าว ซึ่งความจริงมันก็เหมือนกับข้าวนั่นเอง

ธรรมชาติต้องการอาหารที่บำรุง หาต้องการอาหารที่แสลงไม่, อาหารที่ปรุงยิ่งวิเศษยิ่งขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น เปนแต่มีกลิ่น, สี, รส ฝั่งมนุสส์ให้โง่หลงผิดยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง…

อาหารมื้ออร่อยที่สุด โดยพุทธทาสภิกขุ

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เห็นว่าเสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แต่สามารถคว้ารางวัล Prize of the Ecumenical Jury – Special Mention จากนั้นตระเวนออกฉายตามเทศกาลหนัง โดยไม่รู้ตัวบังเกิดกระแสนิยมจากผู้ชมอเมริกัน กลายเป็นตัวแทนเดนมาร์กเข้าชิง Golden Globe และคว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 2K ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 จัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดยค่าย Criterion Collection และ Artificial Eye

โชคดีที่ผมพอมีความรู้นิดๆหน่อยๆเกี่ยวกับอาหารฝรั่งเศส (สมัยเรียนมหาวิทยาลัย มีวิชาที่สอนมารยาทบนโต๊ะอาหาร) เคยติดตามรายกายทำอาหารอย่างมาสเตอร์เชฟ ท็อปเชฟ ฯ เลยสามารถเข้าใจวัฒนธรรมการกินที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อน มองเป็นศาสตร์ศิลปะ

ขณะเดียวกันความขัดแย้งระหว่างอาหารชั้นสูง vs. ศรัทธาศาสนา ทำให้งานเลี้ยงสุดเต็มไปด้วยความหรรษา ว้าๆวุ่นวาย พร้อมถ้อยคำเฉียบคมคาย “An artist is never poor.”

จัดเรต pg กับสรรพสัตว์ที่กำลังจะถูกเชือดทำอาหาร

คำโปรย | Babette’s Feast มื้ออาหารสุดหรูหราของ Gabriel Axel อิ่มหนำทั้งร่างกาย และจิตวิญญาณ
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | อิ่มหนำ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: