Beethoven: Symphony No. 7

Beethoven: Symphony No. 7

Symphony No. 7 in A major, Op. 92 คือบทประพันธ์ที่ Ludwig van Beethoven บอกว่าเป็นผลงานดีที่สุดของตนเอง, โดยเฉพาะ Movement II Allegretto (A minor) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ได้รับการเปรียบเปรยว่าเป็นเหมือนการประกาศชัยชนะของ Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington ที่มีต่อ Joseph-Napoléon Bonaparte (พี่ชายของนโปเลียน)

ในช่วงกลางยุค 1810s ถึงแม้ Beethoven จะได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง popular หรือมีการแสดงเกิดขึ้นบ่อยๆ, Symphony No. 7 ถือว่าเป็นผลงานยุคหลังๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้วงกว้าง โดยเฉพาะ Movement ที่ 2 ได้รับความนิยมมาก จนได้ถูกนำมาแสดงฉายเดี่ยวๆ ไม่รวมเข้ากับชุดเพลง Symphony บ่อยครั้ง

ประพันธ์ขึ้นระหว่างปี 1811-1812 Beethoven ขณะนั้นสุขภาพไม่ค่อยดี อยู่ระหว่างการพักผ่อนฟื้นฟูร่างกายที่ Bohemian Spa ในเมือง Teplice ขณะนั้นยุโรปอยู่ท่ามกลางสงคราม ฝรั่งเศสนำโดย Napoléon Bonaparte กำลังยึดครอง Vienna อยู่, เพลงนี้แต่งให้กับ Count Moritz von Fries ผู้ดีชาว Austrian เป็นนายธนาคารและผู้อุปถัมถ์งานศิลปะชื่อดังแห่งยุค

Moritz von Fries และครอบครัว, วาดโดย François Gérard ปี 1805

Symphony ลำดับที่ 7 มีความยาวประมาณ 40 นาที แบ่งออกเป็น 4 ท่อน (Movement)

  1. Poco sostenuto – Vivace (A major)
  2. Allegretto (A minor)
  3. Presto – Assai meno presto (trio) (F major) (Trio in D major)
  4. Allegro con brio (A major)

ในรอบปฐมทัศน์ที่เวียนนา วันที่ 8 ธันวาคม 1813 เป็นงานการกุศลสำหรับทหารที่บาดเจ็บใน Battle of Hanau, Beethoven เป็นผู้กำกับวงเอง พูดยกย่องทหารผ่านศึกเหล่านี้ว่า ‘พวกเรารู้สึกประทับใจในความเสียสละรักชาติ ของทหารกล้าเหล่านี้ ที่ทำเพื่ออพวกเรามากเหลือเกิน’

“We are moved by nothing but pure patriotism and the joyful sacrifice of our powers for those who have sacrificed so much for us.”

ก่อนหน้าการแสดง Beethoven ให้สัมภาษณ์ออกมาว่า ‘นี่คือผลงานที่ดีที่สุดของตน’ และหลังจากการแสดงจบ ท่อนที่สอง Allegretto ได้รับเสียงเรียกร้องให้มีการ Encore (เล่นซ้ำอีกรอบ) ในคืนนั้น นี่เรียกว่า Instant Popularity (โด่งดังทันที)

ผมจะขอพูดถึงเฉพาะ Movement ที่ 2 เท่านั้นนะครับ เพราะคือท่อนที่ผมได้ยินล่าสุดจากหนังเรื่อง The King’s Speech เลยอยากจะเขียนถึงสักหน่อย (แต่ผมรู้จักเพลงนี้ครั้งแรกจากตัวอย่างหนังเรื่อง The Fall-2008)

กับฉบับที่ดีที่สุด (ที่หาฟังได้ใน Youtube) คือของ Leonard Bernstein ร่วมกับ Boston Symphony Orchestra ในปี 1990, จุดเด่นของฉบับนี้คือจังหวะ (Tempo) ที่พอดีเท่ากับต้นฉบับ ถือว่าเป็นการตีความที่เคารพ Beethoven มากที่สุดแล้ว (เสียงช่วงแรกๆจะเบาหน่อย แต่อย่าเปิดลำโพงดังไปละ เพราะถึงท่อนกระหึ่มเมื่อไหร่ จะดังมาก)

กับตัวอย่างหนังเรื่อง The Fall (2006) จากผู้กำกับ Tarsem Singh ผมแทรกมาให้ดูด้วย เพราะถือว่าเป็นหนัง/ตัวอย่างหนัง ที่อธิบายความสวยงามของเพลงนี้ได้เลอค่า และตรงที่สุด

ความรู้สึกหลังจากที่ได้ยิน เหมือนดั่งพายุที่ค่อยๆถาโถมเข้ามาจนเต็มอก แต่ไม่สามารถระเบิดออกมาได้ ความอัดอั้นที่พร้อมจะปลิดชีพของเรา แต่เมื่อฟ้าฝนลมพัดได้จางหายไป มันดั่งสรวงสวรรค์ ชัยชนะของความอดกลั้นที่ถึงขีดสุด โลกใบนี้มันช่างสวยงาม เลอค่า เลิศล้ำ ไม่อาจหาอะไรเปรียบ

คำบรรยายชื่นชมบทเพลงนี้ของ Richard Wagner เขียนเป็นบทกวี ไม่ขอแปลนะครับ ถ้าอ่านได้จะเห็นความสวยงาม

“All tumult, all yearning and storming of the heart, become here the blissful insolence of joy, which carries us away with bacchanalian power through the roomy space of nature, through all the streams and seas of life, shouting in glad self-consciousness as we sound throughout the universe the daring strains of this human sphere-dance. The Symphony is the Apotheosis of the Dance itself: it is Dance in its highest aspect, the loftiest deed of bodily motion, incorporated into an ideal mold of tone.”

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่า Symphony นี้จะมีคนไทยรู้จักกันมากเท่า Symphony เบอร์ 5 กับ เบอร์ 9 หรือเปล่า แต่ความไพเราะ … นี่ขนาด Beethoven บอกเองว่า เพลงนี้เยี่ยมสุด ก็ควรจะรู้จักไว้นะ

TAGLINE | “Symphony No. 7 คือความอมตะที่ทันทีของ Ludwig van Beethoven โดยเฉพาะ Movement 2 ที่ทำให้รู้สึกว่า หลังฟ้าฝน โลกใบนี้มันช่างสวยงาม”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LOVE

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: