Béla Tarr

Béla Tarr’s Favorite Films

สำหรับผมแล้ว ดิจิตอลไม่ใช่ภาพยนตร์! ฟีล์มต่างหากคือสื่อที่สามารถสำแดงพลัง ถ่ายทอดตัวตน อารมณ์ ความรู้สึก ผ่านเทคนิค ภาษา ลีลาการนำเสนอ เช่นนั้นแล้วสิบเรื่องโปรดของผู้กำกับ Béla Tarr ประกอบด้วย

Let’s say “perfect motion picture.” For me, this digital stuff is not the film. It is a motion picture, but different. You can express yourself. You can express your emotions. You can say everything.

Béla Tarr

Béla Tarr (เกิดปี 1955) ผู้กำกับภาพยนตร์สัญชาติ Hungarian เกิดที่ Pécs แล้วมาเติบโตยัง Budapest, บิดาเป็นนักออกแบบฉากพื้นหลัง มารดาทำงานนักบอกบท (Prompter) ในโรงละครเดียวกัน ทำให้ตั้งแต่เด็กมีโอกาสวิ่งเล่น รับรู้จักโปรดักชั่นละครเวที ตอนอายุ 10 ขวบ ได้รับเลือกแสดงภาพยนตร์โทรทัศน์ ก่อนค้นพบว่าตนเองไม่มีความชื่นชอบ(ด้านการแสดง)สักเท่าไหร่ ตั้งใจอยากเป็นนักปรัชญา แต่เมื่ออายุ 16 หลังจากสรรค์สร้างสารคดีสั้น 8mm ไปเข้าตาสตูดิโอ Béla Balázs Studios ถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ฮังการี สั่งห้ามเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย เพื่อบีบบังคับให้เขาเลือกสายอาชีพผู้กำกับ (ตอนนั้นก็ไม่ได้ต่อต้านอะไร เพราะภาพยนตร์คือสิ่งที่ตนเองชื่นชอบหลงใหลอยู่แล้ว)

ผลงานช่วงแรกๆของผู้กำกับ Tarr ยึดถือตามแบบอย่าง ‘Budapest School’ ประกอบด้วย Family Nest (1979), The Outsider (1981), The Prefab People (1982) มีลักษณะ Social Realism แฝงการวิพากย์วิจารณ์การเมือง นำเสนอสภาพความจริงของประเทศฮังการียุคสมัยนั้น นักวิจารณ์ทำการเปรียบเทียบ John Cassavetes แต่เจ้าตัวบอกยังไม่เคยรับรู้จักใครคนนี้ด้วยซ้ำ

ความสิ้นหวังต่อสถานการณ์ทางการเมือง ภายใต้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ Hungarian People’s Republic ทำให้ผู้กำกับ Tarr ตัดสินใจละทอดทิ้งแนวทาง ‘social realism’ หันมาสรรค์สร้างผลงานที่เป็นการสร้างโลกส่วนตัวขึ้นมา เพื่อนำเสนอความท้อแท้สิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก ไม่ต่างไปจากวันสิ้นโลกาวินาศ เริ่มตั้งแต่ Almanac of Fall (1984), แล้วพัฒนาสไตล์ลายเซ็นต์ Damnation (1988), กลายเป็นผลงานมาสเตอร์พีซ Sátántangó (1994), Werckmeister Harmonies (2000), The Man from London (2007) และ The Turin Horse (2011)

At the beginning of my career, I had a lot of social anger. I just wanted to tell you how fu..ed up the society is. This was the beginning. Afterwards, I began to understand that the problems were not only social; they are deeper. I thought they were only ontological. It’s so, so complicated, and when I understood more and more, when I went closer to the people… afterward, I could understand that the problems were not only ontological. They were cosmic. The whole fu..ed up world is over. That’s what I had to understand, and that’s why the style has moved.

ลายเซ็นต์ ‘สไตล์ Tarr’ มักแช่ค้างภาพไว้นานๆ Long Take ระยะ Long Shot (แต่เวลาตัวละครสนทนาอย่างออกรสจะใช้ระยะภาพ Close-Up) มีการขยับเคลื่อนไหวอย่างเชื่องชักช้า ค่อยๆเปิดเผยรายละเอียดที่ถูกปกปิดซ่อนเร้นไว้ สลับสับเปลี่ยนมุมมอง บางครั้งก็หมุนเวียนวงกลม 360 องศา ซึ่งพอเหตุการณ์ในซีนนั้นๆจบลงจะปล่อยทิ้งภาพสักระยะ (สร้างความรู้สึกเหมือนจะมีอะไรต่อ แต่ก็ไม่เคยเห็นมีอะไร)

You know I like the continuity, because you have a special tension. Everybody is much more concentrated than when you have these short takes. And I like very much to build things, to conceive the scenes, how we can turn around somebody, you know, all the movements implied in these shots. It’s like a play, and how we can tell something, tell something about life…Because it’s very important to make the film a real psychological process.

โดยเนื้อหาสาระมักเกี่ยวกับการสูญเสีย ท้อแท้สิ้นหวัง ต้องการออกไปจากสถานที่แห่งนี้ (หรือคือประเทศฮังการี) แต่กลับมีบางสิ่งอย่างฉุดเหนี่ยวรั้ง สร้างบรรยากาศสังคมเสื่อมโทรม ราวกับวันสิ้นโลกาวินาศ ชีวิตไม่หลงเหลืออะไรต่อจากนี้ (ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด ทุกสิ่งอย่างจักเวียนมาบรรจบเหมือนไม่มีเคยสิ่งใดๆบังเกิดขึ้น)

I despise stories, as they mislead people into believing that something has happened. In fact, nothing really happens as we flee from one condition to another … All that remains is time. This is probably the only thing that’s still genuine — time itself; the years, days, hours, minutes and seconds.

โดยทีมงานหลักๆของแบรนด์ ‘สไตล์ Tarr’ จะประกอบด้วยสามตัวละครสำคัญ ส่วนผู้กำกับ Tarr มองตนเองเหมือนดั่งวาทยากรกำกับวงดนตรี เพียงปะติดปะต่อแต่ละภาคส่วนเข้าร่วมด้วยกัน

  • László Krasznahorkai (เกิดปี 1954) นักเขียนนวนิยายชาว Hungarian เจ้าของฉายา “Hungarian master of the apocalypse” รับรู้จักกันมาตั้งแต่ปี 1985 จากความประทับใจผลงาน Sátántangó (1985) พูดคุยกันถูกคอ มองฮังการีแง่มุมเดียวกัน เลยได้ร่วมงานตั้งแต่ Damnation (1988)
  • Ágnes Hranitzky (เกิดปี 1945) ศรีภรรยาของผู้กำกับ Tarr ไม่ใช่แค่ทำงานตัดต่อ หลายๆครั้งยังดูแลบทหนัง ออกแบบงานสร้าง (Production Design) ช่วยกำกับกองสอง เหมือนจะรับรู้จักกันมาตั้งแต่ The Outsider (1981) จนผลงานสุดท้าย
  • Mihály Víg (เกิดปี 1957) นักแต่งเพลงสัญชาติ Hungarian เกิดในครอบครัวนักดนตรี ถือว่าลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น พอโตขึ้นร่วมก่อตั้งวงใต้ดิน Trabant (1980–1986) ตามด้วย Balaton (1979-ปัจจุบัน) กลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Béla Tarr ร่วมงานกันตั้งแต่ Almanac of Fall (1984) จนถึงผลงานเรื่องสุดท้าย

We did these films together, Mihály, László, Ágnes and I. László was the writer, Mihály was the musician, Ágnes was the editor. I was just the conductor. I simply put them all together.


มีนักข่าวสอบถามผู้กำกับ Tarr ว่าได้รับอิทธิพลจากผลงานของใครบ้าง

I remember some movies from my young years, it was the time when I saw many movies. Now I have no time, and I don’t like to go and watch movies as I used to. But people like Robert Bresson, Ozu. I like some Fassbinder movies very much. Cassavettes. Hungarian films too.

Béla Tarr

ผมเคยอ่านเจอบทสัมภาษณ์หนึ่งบอกว่าผู้กำกับ Tarr ไม่ค่อยเชื่อถือเรื่องการจัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสักเท่าไหร่ เพราะเราไม่ควรตัดสินงานศิลปะด้วยตัวเลขหรือผลโหวต แต่เขาก็เคยส่งรายชื่อสิบภาพยนตร์ให้นิตยสาร Sight & Sound เพื่อใช้ในการจัดอันดับเมื่อปี 2012 ประกอบด้วย … (เรียงตามลำดับตัวอักษร)

Alexander NevskyAlexander Nevsky (1938) กำกับโดย Sergei Eisenstein
Au Hasard BalthazarAu hasard Balthazar (1966) กำกับโดย Robert Bresson
Berlin Alexanderplatz (1980) กำกับโดย Rainer Werner Fassbinder
Frenzy (1972) กำกับโดย Alfred Hitchcock
MM (1931) กำกับโดย Fritz Lang
Man with a Movie CameraMan with a Movie Camera (1929) กำกับโดย Dziga Vertov
The Passion of Joan of Arc (1928) กำกับโดย Carl Theodor Dreyer ได้รับคำชื่นชมว่า “one of the most beautiful movies of all-time”
The Round-Up (1966) กำกับโดย Miklós Jancsó ให้คำยกย่องว่า “the greatest Hungarian film director of all time”
Tokyo StoryTokyo Story (1953) กำกับโดย Yasujirô Ozu
vivre sa vieVivre Sa Vie (1962) กำกับโดย Jean-Luc Godard

ความโดดเด่นของทั้งสิบผลงานนี้ ล้วนเต็มไปด้วยเทคนิค ลวดลีลา โดดเด่นในสไตล์ลายเซ็นต์ของผู้กำกับนั้นๆ และมักนำเสนอความเหี้ยมโหดร้ายของผู้คน/สังคม/โลกภายนอก แม้แต่ Tokyo Story (1953) ลูกในไส้แท้ๆกลับเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวทรวงในให้บิดา-มารดา

แซว: ถ้าไม่นับ Man with a Movie Camera (1929) แทบทุกเรื่องจะต้องมีคนตาย ในลักษณะโศกนาฎกรรม

หลังจากประกาศเลิกสร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับ Tarr ก็หันมาเปิดโรงเรียนสอนภาพยนตร์ เคยให้สัมภาษณ์ถึงการเชิญผู้กำกับดังๆ มาร่วมทำ Workshop ร่วมกับนักเรียนของเขา

ผู้สัมภาษณ์: How is retirement going?
Béla Tarr: You know what, I really don’t know how it is going, since I am absolutely fully busy with my film school … I have 35 students from all corners of the world, 35 different reasons, 35 different imaginations and I have to take care of them.

ผู้สัมภาษณ์: Are you teaching there with your cinematographer Fred Kelemen?
Béla Tarr: Sometimes I invite him to do workshops, but I am inviting a lot of people from around the globe…

ผู้สัมภาษณ์: Who in particular? Your former colleagues?
Béla Tarr: Apichatpong Weerasethakul, Carlos Reygadas, Guy Maddin, Pedro Costa, Gus van Sant, Ed Lachman and lot of others.

ผู้สัมภาษณ์: Do you consider these the top filmmakers?
Béla Tarr: Yes, they are the best filmmakers. I do not like to invite bad filmmakers. If you have a house and you invite somebody, you have a reason to invite that person.

ผลงานของ Béla Tarr ได้กลายเป็นอิทธิพล แรงบันดาลใจให้ผู้กำกับรุ่นใหม่มากมาย อาทิ เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ไฉ้ หมิงเลี่ยง, Gus Van Sant, Carlos Reygadas, Jim Jarmusch, Guy Maddin, Pedro Costa ฯลฯ และมีถึงสามผลงานที่ติดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของ Sight & Sound: Critic’s Poll เมื่อปี 2012

  • (=36) Sátántangó (1994)
  • (=171) The Werckmeister Harmonies (2000)
  • (=202) The Turin Horse (2011)

ระหว่างเดินสายโปรโมทฉบับบูรณะ Sátántangó (1994) มีนักข่าวสอบถามผู้กำกับ Tarr ถึงความเยิ่นยาวกว่า 7 ชั่วโมงของหนัง

Some people say stupid things such as, ‘Your movies are sad’. I say the question is this: how did you feel when you left the cinema? If you feel stronger, I am happy. If you are weaker, then I am sorry.

Béla Tarr

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: