Ben Hur 1959

Ben-Hur (1959) hollywood : William Wyler ♥♥♥♡

หนึ่งในหนังยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก Ben-Hur โดยผู้กำกับ William Wyler นำแสดงโดย Charlton Heston กวาด 11 รางวัล Oscar (เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์) ทำเงินสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลกขณะนั้น (เป็นรองเพียง Gone With The Wind), หนังถ่ายด้วยฟีล์ม 65 mm ถ้าคุณมีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์จอใหญ่ ไม่ควรพลาดเลยนะครับ

ผมคิดว่า Ben-Hur เป็นหนังเรื่องบังคับ ที่แทบทุกร้านขายแผ่นหนังจะมีวางขาย และถ้าคุณเป็นคนรักหนัง ชอบซื้อแผ่นเก็บไว้ ก็เชื่อว่าต้องมีหนังเรื่องนี้ในชั้นวางที่บ้านเป็นแน่, ผมก็คนหนึ่งที่มีหนังเรื่องนี้ติดบ้านเอาไว้ แรกๆก็หยิบมาดูจนจบทุกปี แต่เพราะหนังมันยาวมาก หลังๆก็มัก Fast Forward ข้ามไปดูฉากแข่งราชรถ (Chariots Race) อย่างเดียว จบแล้วเข้านอน จำได้ว่าไม่มีส่วนอื่นของหนังที่น่าสนใจเลย, ผมไม่ได้ดู Ben-Hur มาน่าจะเกิน 5 ปีแล้ว กลับมาดูครั้งนี้ ก็ระลึกได้เลยว่าทำไมใครๆ(รวมทั้งผมด้วย) จดจำหนังเรื่องนี้ได้แต่แค่ฉากแข่งรถม้าศึกเท่านั้น ว่ากันตามตรง นอกจากฉากนี้แทบไม่มีอะไรอีกที่สร้างความประทับใจได้อีกเลย น่าเบื่อแบบหาวแล้วหาวอีก โคตรเยิ่นเย้อและยาวมากๆ แต่ก็ทนดูจนจบนะครับ ไม่เช่นนั้นจะมาเขียนรีวิวได้ยังไง

ดัดแปลงจากนิยายเรื่อง Ben-Hur: A Tale of the Christ เขียนโดย Lew Wallace ตีพิมพ์เมื่อ 12 พฤศจิกายนปี 1880 เคยได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์มา 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ไปหาอ่านได้ในบทความก่อนหน้านี้เลย

Metro-Goldwyn-Mayer (MGM) เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์หนังเรื่อง Ben-Hur (1925) ได้ประกาศสร้างหนังเรื่องนี้เมื่อพฤศจิกายน 1953 โดยมี Sam Zimbalist เป็นโปรดิวเซอร์หนัง และถ่ายในระบบ CinemaScope, มีนักเขียนว่ากันว่าเป็นสิบๆคน ช่วยกันร่างบทหนัง คนสุดท้ายที่รวบรวมเรียบเรียงคือ Karl Tunberg, ตอนนั้นมอบหมายให้ Sidney Franklin เป็นผู้กำกับ และ Marlon Brando รับบทนำ แต่กลายเป็นว่าบทหนังสุดท้ายของ Tunberg ไม่เป็นที่พอใจของ Franklin ทำให้เขาถอนตัวออกไปตอนต้นปี 1956

Zimbalist ได้ติดต่อ William Wyler ที่เคยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับในหนังเวอร์ชั่น 1925 เมื่อต้นปี 1957 แต่ Wyler ปฏิเสธเพราะบทหนังจืดชืดและธรรมดามาก (very primitive, elementary) แต่ Zimbalist ก็ตื้อไม่เลิก เอาภาพร่าง storyboard ของฉากแข่งรถม้าศึกมาหลอกล่อ (แต่ Wyler บอกว่า นั่นมันงานของกองสอง Second-Unit) สิ่งที่ Wyler มองว่าเป็นความท้าทายและยอมตกลงกำกับ คือ การให้สิทธิ์สร้างเรื่องราวเพิ่มเติมที่มีมิติ จับต้องได้ แบบถึงเนื้อถึงตัว (body, depth, intimacy) และหลังจากที่ The Ten Commandments (1956) ของ Cecil B. DeMille ออกฉาย Wyler มีความต้องการสร้างให้หนังเกี่ยวกับศาสนาที่ดีกว่า (out DeMille) จึงยอมตกปากรับคำทำหนังเรื่องนี้

William Wyler เป็น Jews นะครับ เกิดที่ Mulhouse, Alsace ประเทศ Germany พ่อเป็น Swiss แม่เป็น German อพยพมาอเมริกาเมื่อปี 1923, หลังจากหนังเรื่องนี้ฉายเขาเคยออกมาให้สัมภาษณ์เชิงแซวๆว่า ‘ต้องให้คน Jews ถึงจะสร้างหนังเกี่ยวกับพระเจ้าได้ดี’ (It took a Jew to make a good film about Christ.)

สำหรับนักแสดงนั้น ว่ากันว่าใช้ตัวประกอบประมาณ 50,000 คน (น้อยกว่าปี 1925 ที่ว่าเป็นแสนๆคน) มี 365 คนที่มีบทพูด และ 45 คนที่ถือว่าเป็นตัวละครสำคัญ, การคัดเลือกนักแสดง Wyler ให้คนที่เป็น Roman รับบทโดยชาว British ส่วน Jews เป็นชาวอเมริกา ซึ่งผู้ชมสามารถแยกได้ชัดจากสำเนียงการพูด (สำเนียงอังกฤษ จะดูเหมือนขุนนางที่มีความเย่อหยิ่งจองหอง)

ก่อนที่บท Judah Ben-Hur จะตกเป็นของ Charlton Heston เคยมีนักแสดงดังๆอย่าง Marlon Brando, Burt Lancaster (แก่เกินไป), Paul Newman, Rock Hudson, Geoffrey Hurne, Leslie Nielson แม้แต่ Kirk Douglas ก็เคยแสดงความสนใจ แต่พอรู้ว่า Heston ต้องการบทเลยสนับสนุนเขาเต็มที่ แล้วตนไปเล่น Spartacus (1960) แทน, Heston ได้ค่าตัวจากหนังเรื่องนี้ $250,000 สำหรับ 30 สัปดาห์ (ถ้าเกินก็จะได้อีก) ไม่รวมค่าเดินทาง แต่ก็ยังน้อยกว่าผู้กำกับ Wyler ที่ได้ค่าตัว $350,000 (อีก 8% สำหรับรายได้ และ 3% สำหรับกำไร รวมๆแล้วเห็นว่าได้ถึง $1 ล้านเหรียญ) ซึ่งถือว่าเป็นผู้กำกับที่ได้ค่าตัวสูงที่สุดในสมัยนั้น

สำหรับบท Ben-Hur ต้องบอกว่า Heston เหมือนจะทุ่มเทแต่ไม่ค่อยทุ่มเทเท่าไหร่ (กระนั้นเขาก็ได้ Oscar สาขา Best Actor นะครับ) คือมันดูเหมือนว่า Wyler จะไม่ค่อยสนใจที่จะกำกับนักแสดงเท่าไหร่ เขาเป็นผู้กำกับที่เข้มงวด แต่มักจะไม่ชอบบอกว่าขาดอะไร, มีฉากหนึ่ง แค่เดินผ่านจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งเท่านั้น แต่ Wyler ถ่ายเป็นสิบๆเทค ไม่มีใครรู้ว่าผิดพลาดอะไร จน Heston ต้องเอ่ยปากถาม ถึงรู้ว่าควรเดินยังไง! ด้วยความที่ผู้กำกับให้อิสระนักแสดงอย่างเต็มที่ ทำให้บางครั้งอารมณ์และท่าทางของนักแสดงก็ดูเก้ๆกังๆ ไม่รู้ว่าจะต้องแสดงยังไงให้เหมาะสม ทำให้หนังเรื่องนี้เหมือนตัวละครเป็น Heston มากกว่า Ben-Hur

สำหรับ Messala เดิมทีนั้น Wyler ต้องการให้ Heston รับบทนี้ แต่เพราะมีนักแสดงหลายคนปฏิเสธรับบทนำ จึงเปลี่ยนให้ Heston รับบท Ben-Hur ส่วน Messala คนที่ได้บทคือ Stephen Boyd, ทั้ง Heston และ Boyd มีตาสีฟ้า Wyler จึงให้ Boyd ใส่คอนแทคสีน้ำตาล เพื่อให้ตรงข้ามกัน, การแสดงของ Boyd ถือว่ายอดเยี่ยมเลยนะครับ เหมือนว่าแทบทุกวินาทีที่ตัวละครนี้ปรากฏตัว มันจะมีความพลุกพล่านอยู่ข้างในใจพร้อมจะระเบิดออกมา (เหมือนโกรธแค้น เจ็บปวดตลอดเวลา), Boyd ได้ Golden Globe Award สาขา Best Supporting Actor แต่กลับไม่ได้เข้าชิง Oscar สาขานี้เสียอย่างนั้น

สำหรับบท Esther มีนักแสดงหญิงกว่า 30 คนที่มาคัดเลือก เป็น Haya Harareet นักแสดงหน้าใหม่สัญชาติ Israeli ที่ได้บทไป, Wyler พบเธอในเทศกาลหนังเมือง Cannes ที่หนังของเธอเรื่อง Hill 24 Doesn’t Answer (1955) ได้ไปฉายในสายการประกวด, Wyler มีความประทับใจในทักษะการพูด บุคคลิกและนิสัยเธอดีมากๆ จึงติดต่อให้มาทดสอบหน้ากล้องและได้บทไป, สำหรับ Esther เวอร์ชั่นนี้มีบทมากกว่าเวอร์ชั่นปี 1925 พอสมควร เธอได้เจอกับ Ben-Hur ตั้งแต่ต้นเรื่อง และเขาให้อิสรภาพแก่เธอเป็นของขวัญแต่งงาน นี่เป็นประเด็นที่ Wyler จงใจใส่เข้ามาแน่ๆ (เวอร์ชั่น 1925 Esther เป็นทาสไปจนจบเรื่องนะครับ) เป็นการแสดงถึงทัศนคติต่อความแตกต่างระหว่างชนชั้น ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วมนุษย์มีความเท่าเทียมกันหมด

สำหรับนักแสดงสมทบ ที่เบียด Stephen Boyd ไม่ให้ได้เข้าชิง Oscar แล้วตัวเองกลับได้ ในสาขา Best Supporting Actor คือ Huge Griffith ผู้รับบท Sheik Ilderim เจ้าของม้าศึกสีขาว 4 ตัว ที่ Ben-Hur ใช้ในการแข่งขัน, ตัวละครนี้ถือว่าออกมาแย่งซีนได้โดดเด่นพอสมควร แม้ในเวอร์ชั่น 1925 จะมีบทน้อยมาก แต่เวอร์ชั่นนี้ถือว่า Griffith ได้สร้างตัวละครให้มีความโดดเด่น โดยเฉพาะตอนที่เขาคุยกับม้า เห็นเป็นเหมือนเมียทั้งสี่ (เพี้ยนดีนะครับ ปกติคนเลี้ยงม้า จะเห็นเป็นเหมือนลูกรักมากกว่าเมีย!)

นักแสดงอีกคนที่ต้องขอพูดถึงคือ Jack Hawkins หนึ่งในนักแสดงชายที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในทศวรรษ 50s ของประเทศอังกฤษ เขาเพิ่งแสดงในหนังเรื่อง The Bridge on the River Kwai (1957) รับบทเป็น Major Warden ซึ่ง Wyler ชอบการแสดงของเขามาก ถึงกับเอ่ยปากชวนมาให้รับบท Quintus Arrius พ่อบุญธรรมของ Ben-Hur, ทีแรก Hawkins ปฏิเสธเพราะไม่อยากเล่นหนัง Epic ซ้ำอีก แต่ก็ทนแรงง้อของ Wyler ไม่ไหว, Hawkins ยังปรากฏตัวในหนังสุด Epic อีกเรื่องคือ Lawrence of Arabia (1962) ในบท General Allenby, การแสดงของ Hawkins เปรียบได้กับคนที่มีวิสัยทัศน์ และรู้จักคุณค่าของคน เพราะเขาเห็นแววตาของ Ben-Hur ใน Gallery ที่ไม่รู้จักคำว่ายอมแพ้ นั่นทำให้เขาสั่งไม่ให้ล็อกกุญแจ ซึ่ง Ben-Hur ก็ตอบแทนเขาด้วยการช่วยชีวิตหลังเรือล่ม การที่บ้านตระกูล Hur ไม่มีพ่อ (เห็นแต่แม่และน้องสาว) ทำให้ตัวละครนี้เปรียบได้กับพ่อของ Ben-Hur ที่คอยช่วยเหลือลูกชาย ชักนำกลับสู่วิถีทางที่ถูกต้อง

ถ่ายภาพโดย Robert L. Surtees เจ้าของรางวัล Oscar จากการถ่ายหนังสุด Epic เรื่อง King Solomon’s Mines (1950) และ The Bad and the Beautiful (1952) กับผลงาน Ben-Hur ทำให้เขาได้ Oscar ตัวที่ 3, หนังเรื่องนี้ใช้กล้อง MGM Camera 65 ซึ่งใช้ฟีล์ม 65 mm Eastmancolor ในอัตราส่วนภาพ 2.76:1 ถ่ายด้วยเลนส์ 70 mm Anamorphic Widescreen ผลิตโดย Mitchell Camera Company ว่ากันว่าเลนส์ตัวนี้ราคาอันละ $100,000 เหรียญ และหนังใช้ทั้งหมด 6 ตัวตอนส่งไปที่กรุง Rome สำหรับเตรียมการถ่ายทำ

เดิมนั้น Wyler เป็นคนที่ไม่ค่อยชอบ Anamorphic Widscreen นัก เพราะมันมีที่ว่างในเฟรมเยอะมาก (ภาพมันกว้างสุดๆเลย) กระนั้นเมื่อได้ถ่ายหนังเรื่องนี้ งานภาพมันได้ขยายความกว้างในระดับที่ คุ้มค่ามากๆ โดยเฉพาะฉากแข่งราชรถ หนังสามารถถ่ายราชรถสองคันเบียดเสียดกันได้เต็มหน้าจอ แค่ภาพซีนนี้ซีนเดียวนี่ Oscar แทบต้องขว้างรางวัลให้อย่างเร็วเลย สวยงามมากๆ

Chariots Race สนามสร้างบนพื้นที่ 18 เอเคอร์ หลัง Cinecitta Studio ชานเมืองกรุง Rome (มีรถบัสรับจ้างทัวร์วิ่งผ่านทุกชั่วโมง), ราชรถ 18 คัน (ใช้จริง 9 คัน) เวลาถ่ายทำ 5 สัปดาห์ ใช้ตัวประกอบ 1,500 คน (มาจริง 3,000 คน ตอนนั้นที่ Italy คนจนเยอะมาก ทำให้คนที่ไม่ได้เข้าฉากยืนประท้วงอยู่นอกสตูดิโอ) แค่เตรียมฉากนี้ก็หมดงบไปแล้ว $1 ล้านเหรียญ, คนที่ได้เครดิตในการกำกับฉากนี้คือ Andrew Marton และ Yakima Canutt, หนังใช้การถ่าย Medium Shot ถ่ายมุมกว้าง และถ่าย Close-Up ใบหน้าตัวละครขณะขี่รถม้า มีการแพนกล้องจากมุมสูง ด้านข้าง เรียกว่าทุกมุมที่หมุนกล้องได้, สำหรับการถ่าย Close-Up บนหลังม้า ใช้รถเครื่องยนต์แรงๆขับนำหน้า แต่เนื่องจากทางมันไม่ได้กว้างมาก ม้าเลยวิ่งเร็วกว่า (ถ้าสมัยนี้คงใช้ Crane ช่วยได้)

เกร็ด: ตอนที่ William Wyler ได้ดู The Bridge on the River Kwai (1957) ของ David Lean ชอบมากถึงขนาดเอ่ยปากขอให้ Lean กำกับฉาก Chariot Race และจะยกเครดิตให้เต็มๆเลยว่า ‘Chariot Race directed by David Lean’ แต่ Lean ปฏิเสธข้อเสนอ เพราะรู้ว่า Wyler เป็นคนมีความสามารถและน่าจะถ่ายฉากนี้ออกมาให้สุดยอดได้

เกร็ด: หนึ่งในคนที่เป็น Second-Unit กำกับ Chariot Race คือ Sergio Leone ผู้กำกับ Spaghetti Western ชื่อดังของ Italy

เกร็ด: ขณะที่หนังเรื่องนี้แย่งพื้นที่โรงถ่ายแทบทั้งหมดในสตูดิโอ Cinecitta, Federico Fellini กำลังถ่าย La dolce vita (1960) แอบอยู่ในมุมเล็กๆของสตูดิโอ

ตัดต่อโดย John D. Dunning และ Ralph E. Winters ด้วยฟีล์มความยาว 1,250,000 ฟุต (340,000 เมตร) ถือว่ายาวกว่า Ben-Hur (1925) เสียงอีกนะครับ (ว่ากันว่าราคาฟีล์ม ฟุตละ $1) แต่หนังถ่ายด้วยฟีล์ม 65mm แน่นอนว่าขนาดใหญ่กว่า 2 เท่า, Dunning บอกว่าตัดครั้งแรกได้ความยาว 4 ชั่วโมง ซึ่ง Wyler ต้องการให้หนังความยาวที่ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง สุดท้ายตัดได้เหลือ 213 นาที ความยาว 19,000 ฟุต (5,500 เมตร) นับว่าเป็นหนังที่มีความยาวที่สุดอันดับ 3 สมัยนั้น รองจาก Gone With The Wind และ The Ten Commandments

สำหรับ Chariots Race ต้องยอมรับว่า นี่เป็นหนังที่สมชื่อกับคำว่า ‘หนัง Action ที่ตื่นเต้นที่สุดในโลก’ ทั้งภาพ เสียง Special Effect จัดเต็มทุกอย่าง การตัดต่อก็สามารถสร้างอารมณ์ได้อย่างตื่นเต้น นี่น่าจะคือเหตุผลที่ทำให้ได้ Oscar สาขาตัดต่อ, แต่นอกเหนือฉากนี้ การตัดต่อถือว่า ช้ามากๆจนน่าเบื่อ ส่วนใหญ่หนังจะใช้การสนทนาเพื่อดำเนินเรื่อง มีการกระทำน้อยมาก (คงเอางบส่วนใหญ่ใส่ไปใน Chariots Race กระมัง) ขนาดฉากในเรือ Galley ที่สมควรยิ่งใหญ่ แต่หนังใช้ miniatures โมเดลเรือจำลองมายิงลูกไฟใส่กัน ตัดสลับกับเรือจริงๆที่น่าจะมีแค่ 1-2 ลำเท่านั้น (ถ่ายใน Tank น้ำหลัง MGM Studios ที่ Culver City, California) นี่เทียบไม่ได้กับ Ben-Hur (1925) ที่ใช้เรือจริงๆชนกันเลยนะครับ

ในฉากพระเยซูปรากฎกาย การตัดต่อจะเผยให้เห็นแค่หลังไวๆของท่านเท่านั้น แต่จะไม่เห็นหน้า แม้แต่ช่วงท้ายๆ ก็เอาแถบดำคาดหน้าไว้ นี่ถือเป็นการคารวะต้นฉบับปี 1925 นะครับ เพราะเวอร์ชั่นนั้นก็ไม่ให้เห็นหน้าพระเยซูเช่นกัน, เห็นว่า Wyler ไม่รู้จะให้ Claude Heater นักแสดงที่เล่นเป็นพระเยซู แสดงสีหน้ายังไงออกมา ถึงสมัยนั้นจะมีภาพวาดของพระเยซูอยู่มากมาย แต่ใช่ว่านั่นเป็นภาพของท่านจริงๆ การทำแบบนี้คงเพื่อเลี่ยงประเด็นถูกต่อว่าจากศาสนจักร ที่อาจนำเสนอภาพที่ไม่เหมาะสมของพระเยซูด้วย

เกร็ด: นี่เป็นหนัง hollywood เรื่องเดียวที่ไปขอ Vatican ว่าเป็นหนังเกี่ยวกับหนังศาสนา แล้วได้รับอนุญาตให้สร้างด้วยนะครับ, The Ten Commandments เห็นว่า Vatican ยังไม่ยอมรับเลย

เพลงประกอบโดย Miklós Rózsa คอมโพเซอร์ชาว Hungarian มีผลงานดังๆอย่าง The Thief of Bagdad (1940), The Lost Weekend (1945), Spellbound (1945), Lust for Life (1956) ฯ กับหนังเรื่องนี้ Rózsa ได้ทำการศึกษารูปแบบสไตล์เพลง Greek Roman ว่าควรมีลักษณะอย่างไร เมื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสมัยปัจจุบัน ใช้เวลาอยู่ร่วมกับกองถ่ายที่กรุง Rome ใช้เวลาเกือบปีกว่าจะประพันธ์เสร็จ, เพลงประกอบความยาว 3 ชั่วโมง ใช้จริง 2 ชั่วโมงครึ่ง แบบไม่มี leitmotifs (ท่อนซ้ำ) และไม่มีเพลงประจำตัวละคร (Character Song) ใช้การบันทึกเสียงต่อเนื่อง 12 session รวมเวลา 72 ชั่วโมง กับวง MGM Symphony Orchestra แบบ 6 channel Stereo, สมัยนั้นนี่เป็นอะไรที่ ‘บ้า’ มากๆ ไม่มีใครรู้ว่าทำไปเพื่ออะไร กับการแต่งเพลงความยาวระดับนี้ ซึ่งได้กลายเป็นเพลงประกอบหนังที่ยาวที่สุดในโลก (ก็แน่ละ ใครจะบ้าแต่งเพลงขนาดยาว 3 ชั่วโมง) และแน่นอนว่าต้องได้ Oscar สาขา Best Original Score (เป็นตัวที่ 3 ของ Rózsa ถัดจาก Spellbound-1945 และ A Double Life-1947), ในบรรดาทั้ง 3 เรื่องที่ได้ Oscar นี้ Rózsa บอกว่าเขาพึงพอใจ Ben-Hur มากที่สุด เพราะเขาใส่ทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถทำได้ลงไปในหนังเรื่องนี้

ถึงจะบอกเพลงไม่มีท่อนซ้ำ แต่ทุกฉากที่พระเยซูปรากฎกายเห็นหลังไวๆ เพลงประกอบจะเปลี่ยนจาก Orchestra เต็มวงเป็นเสียง Pipe Organ ที่เปลี่ยนบรรยากาศหนังไปเลยนะครับ นี่แสดงถึงความพิเศษของพระเยซู ที่สามารถเปลี่ยนทุกอย่างได้ (แม้แต่เสียงเพลง)

เกร็ด: นี่เป็นหนังเรื่องเดียวที่เรื่องราวเกิดในยุคโบราณ Medieval Age ที่มีเพลงประกอบได้ Oscar

Ben-Hur เป็นเรื่องราวที่มองได้หลายมุมมองมากๆ เป็นเรื่องของการล้างแค้น-ให้อภัย, ความเชื่อ-ศรัทธา, โรมัน-ยิว, พระเจ้ารูปแบบเก่า-ใหม่ ฯ หรือจะมองง่ายๆแค่เป็นหนัง Action Epic อิงประวัติศาสตร์ แต่ใจความสำคัญของหนังนั้นอิงศาสนาล้วนๆเลยนะครับ เราเป็นชาวพุทธดูหนังเรื่องนี้ก็จะได้มุมหนึ่ง ชาวคริสต์ก็จะอีกมุมหนึ่ง ผมจะเล่าให้ฟังแบบกึ่งๆแล้วกัน

ตัวละคร Messala ถูกสร้างให้อยู่ฝั่งตรงข้ามของ Ben-Hur ทั้งสองเป็นด้านมืด-ด้านสว่าง, ขาว-ดำ (ม้าแข่งยังสีขาว-ดำ), ความดี-ความชั่ว, โรมัน-ยิว, หยิน-หยาง ฯ นี่ก็เพื่อแสดงให้เห็นเหรียญ 2 ด้านของจิตใจมนุษย์

มันมีช่วงเวลาที่จิตใจฝั่งเลว เอาชนะฝั่งดี (Messala ส่ง Ben-Hur ไป Gallery) ด้วยเหตุการณ์ที่เป็นอุบัติเหตุ ไม่ตั้งใจ แต่ความละอาย เกรงกลัวต่อความผิดหรือต่อบาป ทำให้ความชั่วเข้าครอบงำจิตใจ, นี่เป็นช่วงเวลาที่จิตใจมนุษย์อ่อนแอมากๆ Ben-Hur เกือบยอมแพ้กลางทาง แต่พระเยซู ตักน้ำให้ดื่ม (เป็นการบอกว่า ความเชื่อศรัทธา คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความหวัง มีชีวิตรอด) หลังจากนั้น Ben-Hur ก็มีความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ที่จะมีชีวิตรอด

ใน Gallery เสียงกลองคือเสียงแห่งชีวิต เหมือนจังหวะการเต้นของหัวใจ ตุบ-ตับ, ทาสแต่ละคนเปรียบได้กับความคิดต่างๆที่ถูกยึดติดไว้ มีแต่ความเชื่อมั่นในอิสรภาพเท่านั้น (ตัวละคร Ben-Hur) ที่ทำให้เขาไม่ถูกพันธนาการล่ามโซ่ไว้ และสามารถเอาตัวชีวิตรอด หนีออกจากเรือยามถูกทำลายได้, ถึงเรือจะล่มสลาย แต่กองทัพชนะสงคราม นี่เป็นการเปรียบเทียบถึงการตายแล้วฟื้น เข้าใจและค้นพบตัวเอง เหมือนฆ่าทิ้งตัวตนเดิม แล้วเริ่มต้นเป็นคนใหม่, Ben-Hur จากทาสกลายมาเป็นลูกขุนนาง นี่แสดงถึง ความดีไม่มีวันตาย ถึงตายแล้วก็เกิดใหม่ได้

แม่และน้องสาวของ Ben-Hur ที่ถูกจองจำจนกลายเป็นโรคเรื้อน ผู้คนรังเกียจ นี่เป็นโรคติดต่อประเภทหนึ่งนะครับ แต่ไม่ใช่ติดกันง่ายๆนะ ต้องสัมผัสทางเลือด/น้ำลาย หรือกินข้าวจานเดียวกัน เท่านั้นถึงจะมีโอกาสติด, คนที่จมอยู่ในความแค้น จิตใจส่วนหนึ่งย่อมถูกกัดกร่อนทำลาย, แม่และน้องสาวเปรียบได้กับจิตใจของ Ben-Hur นี่เป็นผลลัพท์จากการจมปลักอยู่ในความแค้นนานหลายปี มันเป็นเหมือนโรคเรื้อนที่คอยกัดกินหัวใจ คนที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่แค่ตัวเขาเท่านั้น แต่ยังคนรอบข้าง เป็นการนำเสนอผลกระทบนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม

การแข่ง Chariots Race คือการต่อสู้ของจิตใจระหว่างความดีกับความชั่ว ม้า 4 ตัว คงเหมือนหัวใจ 4 ห้องที่หล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ วิ่งวนรอบสนามก็เหมือนวงเวียนวัฎจักรชีวิต, ความพ่ายแพ้ของ Messala เกิดจากการพยายามใช้แส้เกี่ยวดึงให้ Ben-Hur ตกลงจากราชรถ (ความชั่วทำลายความดี) แต่กลายเป็นว่าทำเช่นนั้น ทำให้เขาถูกดึงตกม้าเสียเอง (คนที่สามารถเข้าใจค้นพบตัวเอง เขาจะไม่มีความละอายถ้าต้องต่อสู้กับความชั่ว) ถูกทับกลิ้ง เหยียบย้ำจมดิน ก่อนเสียชีวิต ชัยชนะของ Ben-Hur ตรงๆเลยก็คือ ความดีเอาชนะความชั่ว

ความดีและความชั่ว เป็นของคู่กัน เมื่อความชั่วตายจากไป จึงเปรียบเหมือนจิตใจที่บริสุทธิ์เต็มร้อย ในตอนที่ Ben-Hur พบกับแม่และน้องสาวใน Valley of the Lepers ที่ถือว่าเป็นสถานที่มืดมิดที่สุดของมนุษย์ เขายอมรับและโอบกอดในสิ่งที่ทั้งสองเป็นอย่างไม่รังเกียจ (เหมือนการยอมรับในบาปของตนที่เคยทำผิด) พาพวกเขาไปหาพระเยซู เพื่อแสดงความสำนึกผิด และขออภัยให้ท่านยกโทษต่อบาป

มีเพียงศรัทธาความเชื่อในพระเจ้า ต่อโลกหน้าเท่านั้นที่จีรัง (เหมือนเกิดและตายคือสัจธรรม) การที่หนังไม่จบลงหลังจาก Chariots Race ก็เพื่อบอกว่า เมื่อจิตใจถูกชำระล้างไม่เหลือความชั่วอยู่แล้ว เป้าหมายต่อไปของมนุษย์คือศรัทธา, ถ้านี่เป็นหนังของชาวพุทธ ช่วงท้ายนี้จะคือการมุ่งสู่นิพพาน แต่เมื่อเป็นหนังของชาวคริสต์ เขาจึงเลือกเล่าถึงการเสียสละของพระเยซู ในการถูกตรึงกางเขน เพื่อเป็นผู้รับผิดต่อความจิตใจอันไร้เดียงสาของมนุษย์

กระนั้นหนังก็ไม่ได้จบลงที่พระเยซูฟื้นคืนชีพใน 7 วันนะครับ แต่จบลงที่ แม่และน้องสาวของ Ben-Hur หายจากโรคเรื้อนอย่างปาฏิหารย์ จากฝน (ที่แทนด้วยน้ำตาของพระเจ้า หรือน้ำพระทัยของท่าน) แล้วทุกคนอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข

สำหรับคนที่ไม่ได้เชื่ออะไรเรื่องศาสนามาก และมองไม่เห็นประเด็นนี้คงรู้สึกแปลกพิลึก เพราะมันจาก หนังดราม่า แก้แค้น แอคชั่น แล้วกลายเป็นแฟนตาซีไปเสียงั้น แต่เมื่อมองในแง่ศาสนา ตอนจบคือปาฏิหารย์ สิ่งมหัศจรรย์ นี่เป็นหนังที่ชาวคริสต์ดูแล้วคง ‘เชื่อในพระเจ้า’ มากยิ่งขึ้นกระมัง

ด้วยทุนสร้าง $14.7 ล้านเหรียญ หนังทำเงินในอเมริกา $74.7 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $146.9 ล้านเหรียญ เป็นหนังที่ทำเงินสูงสุดแห่งปีเร็วมากในขณะนั้น ซึ่งหนังเรื่องนี้ได้ช่วยต่อลมหายใจของ MGM ที่เกือบล้มละลาย (เพราะทุ่มทุนกับหนังเรื่องนี้ไปมหาศาล)

หนังได้เข้าชิง 12 รางวัล Oscar ได้มา 11 ประกอบด้วย
1. Best Picture
2. Best Director
3. Best Actor in a Leading Role (Charlton Heston)
4. Best Actor in a Supporting Role (Hugh Griffith)
5. Best Art Direction-Set Decoration: Color
6. Best Cinematography: Color
7. Best Costume Design: Color
8. Best Special Effects
9. Best Film Editing
10. Best Music: Scoring of a Dramatic or Comedy Picture
11. Best Sound Recording

สาขาที่พลาดคือ Best Writing, Adapt Screenplay, นอกจากนี้หนังยังได้ 3 รางวัล Golden Globe Award ประกอบด้วย

1. Best Motion Picture: Drama
2. Best Director
3. Best Supporting Actor (Stephen Boyd)

ผมถือว่า Oscar ปีนั้น Overrated ไปเสียหน่อยนะครับ และ Best Supporting Actor ถือว่า Stephen Boyd ถูก Snub เต็มหลังเลย ได้ Golden Globe แต่ไม่ได้เข้าชิง Oscar, ยอมรับว่าหนังเรื่องนี้ Epic ก็จริง แต่ในปีนั้นถือว่าคู่แข่งไม่แข็งเท่าไหร่ด้วย ส่วนใหญ่หนังที่ดีกว่านี้ก็ไม่เข้าตากรรมการ Oscar อาทิ Some Like It Hot ของ Billy Wilder, Anatomy of a Murder ของ Otto Preminger และ North by Northwest ของ Alfred Hitchcock ผลลัพท์ก็เลย Ben-Hur กวาดเรียบแทบทุกสาขา

เกร็ด: โปรดิวเซอร์ Sam Zimbalist เสียชีวิตระหว่างการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ แต่เขายังได้เครดิตในฐานะโปรดิวเซอร์หนัง ซึ่ง Mary Zimbalist ภรรยาของ Zimbalist ขึ้นรับรางวัล Best Picture แทน

เกร็ด: มีหนัง remake เพียง 2 เรื่องเท่านั้นที่ได้ Oscar สาขา Best Picture คือ Ben-Hur และ The Departed (2006)

เกร็ดที่ไม่ต้องรู้ก็ได้: Ben-Hur เป็นหนังเรื่องเดียวที่ชื่อหนังมียัติภังค์ (-) ที่ได้ Oscar สาขา Best Picture

นอกจากนี้หนังยังได้ BAFTA Awards สาขา Best Film from any Source และในการจัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ในชาร์ต AFI: Greatest American Films Of All Time ปี 1998 หนังติดอันดับ 72
และ AFI: Greatest American Films Of All Time ปี 2007 หนังติดอันดับ 100

นี่เป็นหนังเรื่องบังคับโดยสัญชาติญาณคนรักหนัง ว่าครั้งหนึ่งจะต้องหามาดู, เป็นหนังที่หาดูง่าย อย่างที่ผมบอก ลองเดินเข้าร้านขาย/เช่าแผ่นหนัง แทบทุกร้านจะต้องมีหนังเรื่องนี้, ถึงเนื้อแท้ของหนังจะเป็นกึ่งๆสอนศาสนา แต่คนส่วนใหญ่ (น่าจะโดยเฉพาะคนไทย) คงไม่มีใครจดจำเรื่องพรรค์นั้นได้ ผมคนหนึ่งที่ไม่เคยสนใจ (ถ้าอยากดูฉากตรึงกางเขน สอนศาสนาจริงๆ ไปดู The Passion of the Christ-2004 เสียดีกว่านะครับ), สำหรับคนที่ยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ ครั้งแรกก็ทนไปนะครับ ประสบการณ์เปิดบริสุทธิ์หนังทุกเรื่อง ยังไงมันย่อมสนุกแน่ๆ แต่ครั้งถัดๆไป ถ้ายังจำเรื่องราวได้ คงมีความรู้สึกไม่ต่างจากที่ผมพูดนัก จะกระโดดข้ามไปดูฉากแข่งราชรถเลยก็ได้ ไม่มีใครว่านะครับ อย่างอื่นของหนังมันไม่น่าสนใจ น่าจดจำ หรือน่าติดตามจริงๆ

ถึงคุณไม่ใช่ชาวคริสต์ ข้อคิดของหนังเรื่องนี้คือ ‘การให้อภัย’ และการ ‘ยอมรับผิด’ นำเสนอเรื่องราวของความแค้นความเกลียดชัง ที่น่ารังเกียจ เจ็บปวดทุกข์ทรมาน ไม่ว่าจะ โรมันต่อยิว หรือ Ben-Hur ต่อ Messala ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่เราจะยึดติดอยู่กับมัน

ผมค่อนข้างมั่นใจว่า Ben-Hur (2016) น่าจะแป๊ก เหตุผลสำคัญคือ การให้ Morgan Freeman ทำผมทรง dreadlock เป็นอะไรที่ไม่เข้ากันเสียเลย (นี่ประชดนะครับ), นักแสดงไม่มี Charisma และผู้กำกับก็บ้า Action มากเกินไป Timur Bekmambetov ไม่มีความเป็นศิลปินพอที่จะทำหนังเรื่องนี้ออกมาคารวะต้นฉบับได้แน่ๆ ถ้าคุณเสียเวลาดูไปแล้ว ก็ไปหา Ben-Hur เวอร์ชั่นนี้ดูล้างตาเอานะครับ

ใครชอบหนังประวัติศาสตร์สุด Epic, โรมัน ยิว อิสราเอล พระเยซู หนังกึ่งๆสอนศาสนา ถึงจะเป็นเรื่องแต่ง แต่ก็เคารพประวัติศาสตร์มากๆ, คอหนัง Action ที่ต้องการชมหนังที่ได้ชื่อว่ามี ‘ฉาก Action ที่ตื่นเต้นที่สุดในศตวรรษ’

จัดเรต 13+ กับฉากรุนแรง

TAGLINE | “Ben-Hur กำกับโดย William Wyler นำแสดงโดย Charlton Heston คือหนังสุดยิ่งใหญ่อลังการที่สอดไส้เรื่องศาสนา และเต็มไปด้วยความบ้าคลั่ง”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE 

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: