Birdman (2014)
: Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥♡
อีโก้ที่อยู่ภายในความหมกมุ่นครุ่นคิดของ Alejandro González Iñárritu สงบลงได้เพราะการนั่งสมาธิทุกตื่นเช้า รังสรรค์สร้าง Birdman เพื่อปลดปล่อยมันให้ได้รับอิสรภาพล่องลอยโผบินบ้าง ไม่เช่นนั้นคงอึดอัดแน่นคลุ้มคลั่ง จนค่อยๆสูญเสียสติควบคุมตนเองไม่ได้แน่
เสียงในหัวของผู้กำกับ Iñárritu ให้สัมภาษณ์เล่าว่าก็มีลักษณะคล้ายๆ Birdman ชอบทำตัวขี้สงสัย ประชดประชัน มักมากไม่รู้จักพอ โหยหาความสมบูรณ์แบบในทุกๆรอบด้าน นี่ถ้าไม่เพราะเขามีโอกาสเรียนรู้จักฝึกหัดนั่งสมาธิ ชีวิตคงไม่สามารถเอาตัวรอดมาถึงปัจจุบันได้แน่!
“My personal creative process is full of doubt, all the time, so there are a lot of them. To question your own process is a necessity. If you don’t question yourself, it’s impossible to improve. It’s a torturous process for me, and this voice that I have in my head is a fucking dictator, a horrible tyrant. I call it The Inquisitor. No matter how well you present the idea, that voice makes you feel like you will go to hell.
I have been meditating for the last five years. That has helped me to identify this voice that really tortured me all my life. Now that I have identified it, I find it is incredibly interesting. That in a way, is the seed of what this film is about. Everybody has their own version of The Inquisitor”.
– Alejandro González Iñárritu
คงเป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงชั่วกัปชั่วกัลป์ ระหว่าง Birdman กับ Boyhood สองโคตรภาพยนตร์แห่งปี ค.ศ. 2014 เรื่องไหนสมควรคว้ารางวัล Oscar มากกว่ากัน … ในเมื่อหวยมันออก Birdman ไม่ได้ประกาศผิดแบบ La La Land เลือกตั้งแพ้ก็ยอมรับโชคชะตา ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงกันได้เสียที่ไหน
ถึงตอนนั้นผมถือหาง Boyhood แต่หลังจากรับชม Birdman ก็ไม่เกิดอคติถ้าเรื่องนี้จะคว้า Oscar: Best Picture ถือว่ามีความเหมาะสมควรห่ำหั่นกันไม่ลงจริงๆ ถึงกระนั้นกองเชียร์เสื้อเหลืองย่อมไม่ยินยอมแน่ถ้าฝ่ายแดงชนะ ประชาธิปไตยปฏิเสธเผด็จการ … ไปนั่งสมาธิเสียเถอะนะ อีโก้ที่อยู่ภายในความหมกมุ่นครุ่นคิด จิตจักได้สงบสติอารมณ์ลงบ้าง
Alejandro González Iñárritu (เกิดปี 1963) ชื่อเล่น Negro ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City คนสุดท้องจากพี่น้อง 7 คน เมื่ออายุ 16 ปี ทำงานในเรือขนส่งสินค้าข้ามมหาสมุทร Atalantic จึงมีโอกาสเปิดโลกกว้าง ท่องเที่ยวยุโรป แอฟริกา (ทริปแรกคือ Barcelona) สองปีถัดมาเรียนต่อสาขาสื่อสาร Universidad Iberoamericana, จบแล้วได้เป็นนักจัดรายการวิทยุ สถานี WFM ต่อมากลายเป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ โฆษณา สร้างหนังสั้น ซีรีย์โทรทัศน์ และภาพยนตร์เรื่องแรก Amores perros (2000)
Iñárritu น่าจะเริ่มฝึกสมาธิประมาณปี 2009-10 ช่วงระหว่างกำลังสร้าง Biutiful (2010) หลังจากเริ่มแยกแยะ Alter-Ego อีกเสียงที่ดังขึ้นภายในความครุ่นคิดของตนเอง เกิดความลุ่มหลงใหลในสิ่งนามธรรมดังกล่าว เลยต้องการดึงออกมาสร้างเป็นตัวตนจับต้องได้
“the first image I described was the one you saw, a guy levitating and meditating. From there, you cannot go back. That image was the seed and the fun part, our attitude was reflected in that first shot”.
– Alejandro González Iñárritu
นำแนวคิดดังกล่าวไปพูดคุยกับ Armando Bó และ Nicolás Giacobone สองนักเขียนชาวอาร์เจนไตน์ ที่เพิ่งร่วมงานกันเรื่อง Biutiful (2010) แสดงความต้องการให้พื้นหลังเกี่ยวกับละครเวที และทั้งหมดนำเสนอต่อเนื่องเพียง Long Take ช็อตเดียว
“The first phone call from Alejandro was just the strangest thing ever. ‘I want to do a film about the theater, in one shot’.”
– Nicolás Giacobone
เพราะความที่ Bó และ Giacobone ไม่ได้มีประสบการณ์ด้านละครเวทีสักเท่าไหร่ Iñárritu เลยดึงตัวอีกนักเขียน Alexander Dinelaris Jr. สัญชาติอเมริกา ที่มีเพิ่งมีผลงาน Broadway โคตรฮิตเรื่อง The Bodyguard The Musical (2012)
สำหรับบทละครเวทีที่เลือกนำมาเป็นการแสดงพื้นหลัง คือ What We Talk About When We Talk About Love (1981) รวมเรื่องสั้นของนักเขียนสัญชาติอเมริกัน Raymond Carver (1938 – 1988) ก่อนหน้านี้มีผลงานที่ได้รับดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ คือ Short Cuts (1993) โดยผู้กำกับ Robert Altman
แซว: ว่ากันว่า Altman ใช้เวลาตื้อภรรยาหม้ายของ Carver ถึงสองปีเต็มกว่าจะได้ลิขสิทธิ์ดัดแปลง แต่ในกรณีของ Iñárritu แนบบทหนังไปด้วยแล้วได้จดหมายตอบกลับชื่นชอบ และหลังจากมีโอกาสรับชมหนังบอกว่า ‘Carver คงหัวเราะหนักมากแน่’
Riggan Thomson (รับบทโดย Michael Keaton) นักแสดง Hollywood ชื่อดังจากบทบาทซุปเปอร์ฮีโร่ Birdman เมื่อทศวรรษ 90s ปัจจุบันต้องการผันตัวมากำกับ/แสดงนำละครเวที Broadway ด้วยการดัดแปลงเรื่องสั้น What We Talk About When We Talk About Love ของ Raymond Carver กำลังจะเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ในอีก 2 วันข้างหน้า
เรื่องวุ่นๆเกิดขึ้นเมื่อนักแสดงสมทบเล่นได้ไม่น่าพึงพอใจเท่าไหร่ เป็นเหตุให้ต้องหาใครอื่นมาแทน ส้มหล่นใส่ Mike Shiner (รับบทโดย Edward Norton) ผู้คลั่งไคล้ Method Acting ต้องการทำทุกสิ่งอย่างให้ออกมาสมจริงจัง ดื่มเหล้ายังต้องมึนเมามาย ทั้งยังขอร่วมรักแฟนสาวต่อหน้าคนดู ฯ นั่นสร้างความคลุ้มคลั่งให้ Riggan ในรอบพรีวิวไม่น้อยทีเดียว
นำแสดงโดย Michael Keaton ชื่อจริง Michael John Douglas (เกิดปี 1951) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Coraopolis, Pennsylvania ลูกคนเล็กจากพี่น้องเจ็ดคน โตขึ้นเข้าเรียนสาขาการพูดยัง Kent State University แต่ก็ทนอยู่สองปีลาออกมาสานฝันเป็นนักแสดงละครเวที ตามด้วยแสดงรายการโทรทัศน์ ซิทคอม คอมเมอเดี้ยน Night Shift (1982), Beetlejuice (1988), กลายเป็นตำนานกับ Batman (1989) และ Batman Returns (1992) ฯ
รับบท Riggan Thomson นักแสดง Hollywood เคยประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงโด่งดังจากบทบาท Birdman จนติดตามมาหลอกหลอนกลายเป็น Alter-Ego ส่งเสียงพูดประชดประชันกึกก้องในความครุ่นคิด เสมือนว่ามีพลังจิตสามารถขยับเคลื่อนไหวสิ่งข้าวของ รวมถึงล่องลอยโผลบินบนฟากฟ้า, ปัจจุบันเพ้อวาดฝันความสำเร็จจากการแสดง Broadway แต่ก็มีเรื่องว้าวุ่นวายมากมายก่อนรอบปฐมทัศน์ ทำให้จิตใจไม่สามารถอยู่สงบสุข เลยกระทำบางสิ่งอย่างที่จะทำให้ตนเองกลายเป็นตำนานไม่รู้ลืม
Keaton เป็นแฟนผู้กำกับ Iñárritu ตั้งแต่ Amores perros (2000) เมื่อได้ยินว่าต้องการร่วมงานเลยรอคอยใจจดใจจ่อ อ่านบทดื่มไวน์พูดคุยกันตอนมื้อเย็น สอบถามแบบจริงจัง
“Are you making fun of me with this?”
– Michael Keaton
ผู้ชมส่วนใหญ่คงติดภาพ Keaton จากบทบาท Batman แต่เหตุผลของ Iñárritu เพราะความสามารถที่เล่นได้ทั้งดราม่า คอมเมอดี้ มีทั้งมุมสว่างและโคตรมืดมิด แถมพลิกกลับไปกลับมา แบกหนังทั้งเรื่องได้อย่างสบายๆ
“this movie was the most challenging I has ever done”.
ฉากตราตรึงสุดของ Keaton แน่นอนว่าคือความกล้าบ้า กางเกงในตัวเดียวเดินท่ามกลาง Times Square ถ้าเป็นคนอื่นคงเหี่ยวห่อไหล่ ปิดหน้าปิดตา ยอมแพ้ไปนานแล้ว แต่ท่วงท่าทางพี่แกอย่างกร่าง เร่งรีบแบบมีสไตล์ ทั้งกลัวทั้งยอมแพ้ไม่ได้ แก้ผ้าหน้ารอดเฉพาะหน้าได้สุดตรีนจริงๆ
Edward Harrison Norton (เกิดปี 1969) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Boston, Massachusetts เมื่อตอนอายุ 5 ขวบ ได้รับชมละครเพลง Cinderella เกิดความลุ่มหลงในในการแสดง อายุ 8 ขวบ มีโอกาสแสดงละครเพลง Annie Get Your Gun โตขึ้นเข้าเรียนวิจิตรศิลป์ Yale University, เริ่มจากเป็นนักแสดงละครเวที ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Primal Fear (1996), โด่งดังกับ American History X (1998), Fight Club (1999), The Incredible Hulk (2008), Moonrise Kingdom (2012), The Grand Budapest Hotel (2014) ฯ
รับบท Mike Shiner นักแสดงยอดฝีมือผู้มีความหมกมุ่นใน Method Acting ต้องการทำทุกสิ่งให้ดูหนักแน่น สมจริงจัง เกรี้ยวกราดโกรธเกลียดเมื่อใครพยายามหักห้ามกีดกัน ต้องให้ได้ดั่งอุดมการณ์เป้าหมายตามใจเท่านั้น อย่างอื่นช่างหัวมันฉันไม่แคร์
นักแสดงคนแรกที่เล็งไว้คือ Josh Brolin แต่เหมือนติดโปรเจคเรื่องอื่นอยู่, เห็นว่าหลังจากอ่านบท Norton พยายามโน้มน้าว Iñárritu ให้เลือกตนเอง แถมชอบทำแบบตัวละครที่พยายามชี้แนะนำ ปรับเปลี่ยนแปลงโน่นนี่นั่นตามใจ ไม่ผิดเลยกับบทบาทนี้!
ความหมกมุ่นใน Method Acting ของตัวละคร ส่วนตัวแอบรู้สึก Stereotype อยู่เล็กๆ แต่ความยียวนกวนประสาทของ Norton สร้างสรรค์ความเฉพาะตัว กล้าบ้าหน้าไม่อาย รูปร่างผอมเพียวแต่เปรี้ยวจัดจ้านได้ใจ ใครต่อยมาก็พร้อมสู้กลับ สุดเหวี่ยงอย่างเต็มศักยภาพสามารถ
“I had as much fun making Birdman as I’ve ever had making a movie. I think it was one of the most creatively satisfying experiences I’ve had — and I think it’s an incredibly audacious and very rare movie”.
– Edward Norton
Emily Jean ‘Emma’ Stone (เกิดปี 1988) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Scottsdale, Arizona ขึ้นเวทีการแสดงตั้งแต่อายุ 4 ขวบ วาดฝันเป็นตลก ตามด้วยนักร้อง โตขึ้นสมัครงานทดสอบหน้ากล้องมากมาย ได้รับเลือกแสดงซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์ Superbad (2007), เริ่มมีชื่อจาก Ghosts of Girlfriend Past (2009), ตามด้วย Zombieland (2009), Easy A (2010), The Help (2011), The Amazing Spider-Man (2012-14), Birdman (2015), คว้า Oscar: Best Actress เรื่อง La La Land (2017)
รับบท Sam Thomson ลูกสาววัยรุ่นของ Riggan เป็นเด็กหัวขบถดื้อรั้น เคยติดยาเข้าสถานบำบัด คงเพราะพยายามเรียกร้องความสนใจต่อพ่อที่ไม่เคยสนหัว แม้ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยใกล้ชิดแต่เธอพยายามหลบซ่อนเร้น แสร้งทำเป็นไม่มีตัวตน จนกระทั่งได้รับการค้นพบโดย Mike Shiner ไม่รู้เป็นคนแรกเลยหรือเปล่าเปิดอกยินยอมรับตัวตน ด้วยเหตุนี้เลยลงเอยด้วยการ…
ผมละอยากรู้มากๆว่านั่นคอนแทคเลนส์หรือดวงตาจริงๆของ Stone มันช่างดูใหญ่โต ผิดปกติ แถมทาขอบดำขลับ (เหมือนคนขี้ยา) สะท้อนพฤติกรรมตัวละครที่เต็มไปด้วยความก้าวร้าว หัวขบถ ขัดแย้งภายใน โหยหาการยินยอมรับ ใครก็ได้ที่สามารถเติมช่องว่างขาดหาย
ภาพลักษณ์อย่าง Stone คงจะให้แสดงเป็นกุลสตรีเรียบร้อยแบบผ้าพับไว้คงไม่ได้อยู่แล้ว แต่ความโดดเด่นของเรื่องนี้จนได้เข้าชิง Oscar นั่นเพราะเธอราวกับ ‘Stone’ (มึนเมาจากการพี้ยา) จริงๆ
เกร็ด: Stone ปลีกเวลามาถ่ายทำหนังเรื่องนี้ ระหว่างพักกอง The Amazing Spider-Man 2 (2014) ซึ่งเธอมีเพ้นท์รอยสักรูปนกตรงแขน สะท้อนความโหยหาอิสรภาพในชีวิตของตัวละคร
ถ่ายภาพโดย Emmanuel Lubezki หรือ Chivo ตากล้องยอดฝีมือสัญชาติ Mexican เพื่อนสนิทร่วมรุ่นเดียวกับ Cuarón เจ้าของสามรางวัลติด Oscar: Best Cinematography ประกอบด้วย Gravity (2013), Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) (2014), The Revenant (2015)
โดยปกติแล้วขาประจำของ Iñárritu คือ Rodrigo Prieto แต่ด้วยไดเรคชั่นหนังที่เปลี่ยนไป มีตากล้องเพียงคนเดียวเท่านั้นมากประสบการณ์ถ่ายทำแบบ Long Take คือ Lubezki เลยลองนำบทไปให้อ่านแล้วบ่นอุบ
“[Birdman] had all of the elements of a movie that I did not want to do at all”.
– Emmanuel Lubezki
แต่หลังจากพูดคุย เกลี้ยกล่อม ก็ยินยอมตอบตกลงรับความท้าทาย เริ่มต้นด้วยการเช่าโรงถ่ายว่างๆที่ Sony Studio ทดลองค้นหาวิธีการนำเสนอ ใช้เพื่อนๆ/หุ่นแทนตัวละคร เดินกี่ก้าว กล้องเคลื่อนยังไง จัดแสงตรงไหน เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ทั้งหมดในการถ่ายทำ
สถานที่ถ่ายทำจริงๆคือ St. James Theatre และ Kaufman Astoria Studios ซึ่งขณะนั้นกำลังปิดปรับปรุงชั่วคราว เลยสามารถทำโน่นนี่นั่นได้มากมาย ถึงกระนั้นถ่ายทำจริงทุกสิ่งอย่างต้องเป็นไปตามแผนเปะๆ ไร้ซึ่งช่องว่างสำหรับการ Improvised แม้แต่น้อย
“There was no room to improvise at all. Every movement, every line, every door opening, absolutely everything was rehearsed”.
– Alejandro González Iñárritu
แม้ทั้งเรื่องจะคือ Long Take แต่ในความเป็นจริง การถ่ายทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆนั้นเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้สองนักตัดต่อขาประจำ Douglas Crise และ Stephen Mirrione จึงเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันตั้งแต่กระบวนการซักซ้อม/ถ่ายทำจริง เพื่อดูว่าช็อตไหน ตำแหน่งใด สามารถตัดจบฉาก ให้เกิดความแนบเนียนสังเกตไม่ออก
ความยาวโดยเฉลี่ยของแต่ละเทคคือ 5-10 นาที ยาวนานสุดประมาณ 14 นาที ใช้เวลาถ่ายทำ 2 เดือน (ตัดต่อ 2 สัปดาห์) เพื่อให้ได้ออกมาสมบูรณ์แบบสุดเห็นว่าบางฉากต้องแสดงซ้ำๆ 20-30 เทค ซึ่งคนผิดพลาดบ่อยสุดคือ Emma Stone และน้อยครั้งสุด Edward Norton
เรื่องราวดำเนินไปในระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ซึ่งหนังความยาวแค่ 119 นาที จึงมีหลายครั้งที่เป็น Time Skip แบบเนียนๆ และสองครั้งกับใช้เทคนิค Time Lapse ด้วยการให้กล้องจับจ้องมองท้องฟ้า กลางวัน-กลางคืน ความมืดมิด-แสงอาทิตย์เคลื่อนพานผ่าน พอถึงช่วงเวลาก็หวนกลับมาดำเนินเรื่องต่อ
Title ของหนัง ขึ้นข้อความยาวๆไล่เลียงตามตัวอักษร นี่เป็นการเคารพคารวะภาพยนตร์ของ Jean-Luc Godard ถึงสองเรื่องคือ Pierrot le Fou (1965) และ Made in U.S.A (1966) ซึ่งข้อความนี้เห็นว่าแกะสลักบนหลุมฝังศพของ Raymond Carver (ผู้เขียนบทละคร What We Talk About When We Talk About Love)
ช็อตแรกการลอยตัวของ Riggan Thomson ผู้ชมสามารถมองได้ว่า ตัวละครฝึกสมาธิ/พลังจิตจนสำเร็จลอยได้จริงๆ หรือทั้งหมดเป็นจินตนาการที่เขาเพ้อฝันขึ้นมาด้วยตนเอง นี่รวมถึงการมีตัวตนของ Birdman ทั้งหมดเลยนะ!
การที่หนังถ่ายทำในลักษณะ Long Take เท่าที่ผมอ่านบทสัมภาษณ์ คำอธิบายของ Edward Norton ดูจะเข้าใจง่ายสุดแล้ว
“Alejandro [Iñárritu] has conceived it as kind of a waking dream, like a seamless floating shot. The entire film moves along without any apparent break or edit throughout virtually the entirety of the film. It’s not like one of those films where there’s a bravura seven-minute shot within the middle of the film that’s a set piece. The entire film presents itself as a single, unbroken seamless movement of the camera.
The amazing thing about Alejandro, I think, is he said right away, ‘Look, there’s a reason for doing this, which is I’m telling a story about a person in a spiritual crisis who might actually be losing his mind. He might actually be going crazy, we’re not sure. And I don’t ever want to leave the bubble of his anxiety: I want the audience with him inside the bubble of his mounting panic’.”
– Edward Norton
การมาถึงของ Mike Shiner ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว เขายืนอยู่ข้างๆหลอดไฟดวงนี้ กล้องและ Riggan เดินตรงรี่เข้ามาหา ทันใดที่แสงไฟสาดส่องมาตรงหน้า Shiner กลับเดินหลบหันหลังให้ เงามืดอาบฉาบใบหน้าเขา … นี่เป็นการสะท้อนตัวตน/ธาตุแท้ของเขา ยินยอมรับบทนี้เพื่อหวังผลบางสิ่งอย่าง ค่าตัวสูงลิบลิ่ว แย่งซีนความโดดเด่น และถ้าเป็นไปได้ก็ขโมยโชว์เป็นของตนเองไปเลย
เมื่อพูดถึงแสงสีสัน จะพบความหลากหลาย แดง น้ำเงิน เขียว ฯลฯ ซึ่งล้วนแฝงนัยยะบางอย่าง … ช็อตนี้สีแดง มอบสัมผัสภยันตราย เรื่องเลวร้าย ซึ่งสิ่งที่ตัวละครพูดบอกกับ Riggan ก็คือ …
ช็อตนี้ไม่มีอะไรนะครับ แค่ปรับโฟกัสระยะใกล้-ไกล ให้เห็นว่าใครที่นั่งอยู่ริมสุดบาร์ แต่ที่อยากพูดถึงคือในมุมนักวิจารณ์ (เพราะผมเองก็ถือว่าเป็นนักวิจารณ์) พวกเราก็แค่คนอยู่เบื้องหลังไกลๆแบบนี้ ไม่ใช่แนวหน้าที่จะหากินกับผู้ชม แต่คือผู้สนับสนุนหรือถีบส่ง เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม แบ่งพรรคพวก ให้คำชี้แนะนำ ประเมินคุณค่าผลงาน ยังไงก็เป็นอาชีพขาดไม่ได้ในทุกวงการ เพื่อกระตุ้นวิวัฒนการของศิลปะให้ก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่เพราะศิลปินครุ่นคิดว่า ฉันยอดเยี่ยมสุดแล้ว! (หรือหลงตนเอง?)
แซว: ชื่อ Tabitha Dickinson เห็นสิ่งที่ผมพยายามเน้นไหมเอ่ย
การพบเจอระหว่าง Mike Shiner และ Sam Thomson สองครั้งคราบนดาดฟ้า (กลางคืน-กลางวัน) ทั้งคู่ต่างคือขั้วตรงข้ามที่สามารถเติมเต็ม เข้าใจกันและกัน และมีความ ‘High’ ของใครของมัน (Sam เสพยาจนสูง, Mike สมจริงจังกับ Method Acting)
– Mike พยายามทำตัวให้โดดเด่นเข้าไว้
– Sam พยายามหลบซ่อนตัวราวกับไม่มีตัวตน
ด้วยเหตุนี้มันเลยไม่แปลกอะไรถ้าพวกเขา Truth of Dare ยินยอมรับคำท้าเมื่อไหร่ก็ถาโถมเข้าใส่หลังฉาก สะท้อนเข้ากับเรื่องราวในการแสดง Broadway (ที่ภรรยาของ Riggan เป็นชู้กับตัวละครของ Mike)
ว่าไปพบเห็นป้ายโฆษณา A Phantom of Opera เรื่องราวของนักแสดงโอเปร่าชื่อดังก้องโลก หลบซ่อนตัวอยู่ใต้หน้ากาก เรื่องราวของ Birdman/Batman แทบจะไม่แตกต่างกัน
แซว: วันที่ถ่ายทำฉากบนดาดฟ้านี้ โรงละครแถวๆนั้นกำลังมีรอบปฐมทัศน์ Lucky Guy นำแสดงโดย Tom Hanks ซึ่ง Norton ก็ได้ส่งข้อความหา แล้วพี่แกก็เงยหน้าขึ้นมาตะโกนโหวกแหวก
“What is going on? Is the girl from Spider-Man going to jump? Don’t jump, Emma!”
– Tom Hank
เนื่องจากหนังไม่ได้มีเงินทุนมากมายสำหรับว่าจ้างตัวประกอบและปิดถนน ด้วยเหตุนี้ฉากยัง Times Square จึงใช้ฝูงชนจริงๆที่เดินทางมารับชมละครเวที Broadway ยามสองทุ่มตรง (ถ้าก่อนหน้านี้คนจะเยอะเกิน หลังจากนี้ก็น้อยเกิน ต้องเวลาประมาณนี้กำลังดี) แต่การจะเรียกรวมพลนั้นเป็นไปไม่ได้ ซึ่งผู้กำกับ Iñárritu วันหนึ่งได้เห็นขบวนพาเรด เสียงดนตรีตีกลองดังสนั่นหวั่นไหว สามารถเรียกความสนใจผู้คนได้ล้นหลาม ก็เลยใช้วิธีเดียวกันนี้ แล้วก็แบกกล้องถ่ายทำกันไป แค่เพียง 2 เทคเท่านั้นก็สำเร็จเสร็จสิ้น!
ความน่าอับอายที่เกิดนี้กับ Riggan สะท้อนตัวตน/จิตวิญญาณของนักแสดง ทุกวันที่ขึ้นเวทีแสดงหนัง/ละคร ล้วนขายความเปลือยเปล่า/ตัวตนเองเพื่อให้ผู้ชมเกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เสียงหัวเราะ ทุกห้วงอารมณ์
การเปรียบเทียมยอดฮิตของ Birdman คือ Alter-Ego ของ Riggan Thomson ซึ่งเป็นทั้งความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิต และตราบาป/Trauma อยากหลงลืมทอดทิ้ง แต่มันกลับติดตัวเขาไปจนวันตาย
ช่วงเวลาที่จิตใจของ Riggan ตกอยู่ในสภาพหดหู่ อ่อนล้า ตื่นเช้าขึ้นมาเมาค้าง เหตุนี้จึงราวกับ Birdman ได้เข้าสิงสู่แปรสภาพกลายเป็น ด้วยเหตุนี้จึงปรากฎภาพเหมือนล่องลอย โบยบิน ไปรอบๆ ก่อนสุดท้ายเดินเข้าโรงละคร … คนขับแท็กซี่เดินเข้าไปทวงเงิน
แซว: Michael Keaton เห็นว่าเคยประสบเหตุการณ์ดังกล่าวเข้ากับตนเอง แบบนี้เปะๆคือลืมจ่ายค่าแท็กซี่ เปิดประตูตรงรี่เข้าไปในโรงละคร และโดนทวงถามค่ารถ อับอายขายหน้าเพื่อนร่วมงานไปเป็นวันๆ
จะว่าไปหนังมีการใช้ CGI เข้าช่วยเยอะทีเดียวนะ ไม่ใช่แค่ฉากนี้ที่สร้างนกเหล็กถล่ม Broadway แต่ยังฉากภาพสะท้อนในกระจก ลบเชือก ลบกล้อง ลบทีมงานเบื้องหลัง ฯลฯ
ว่ากันว่า Martin Scorsese เป็นหนึ่งในฝูงผู้ชม … แต่ผมหาไม่เจอ!
ฉากนี้ให้สังเกตดีๆ ขณะที่ทุกคนลุกยืนขึ้นปรบมือ เจ๊ Tabitha Dickinson จะนั่งอยู่กับที่ แล้วอยู่ดีๆเธอก็ลุกขึ้นเดินออกจากโรงละครโดยพลัน … ช่างเป็นวิธีเรียกร้องความสนใจที่เด่นชัดเจนมากๆ
ผมไม่ค่อยแน่ใจการเลือกแสงสีน้ำเงินอาบฉาบบรรดาผู้ชมในโรงละคร ว่าต้องการสื่อถึงอะไรกันแน่? แต่ความเกือบตายของ Riggan คงมอบสัมผัสเย็นยะเยือกไปถึงขั้วหัวใจของผู้ชมเลยทีเดียว
เกร็ด: หลายๆฉากของหนังในรอบพรีวิว เห็นว่าไม่ได้ใช้มนุษย์จริงๆเข้าฉากเหมือนช็อตนี้นะครับ ผมเห็นรูปคือหุ่นหน้าคน ไม่สิ้นเปลืองสักเท่าไหร่
ขณะที่ 99% ของหนังคือโคตร Long Take แต่จะมีชั่วขณะหนึ่งช่วงต้นและท้าย ร้อยเรียงภาพชุดสโลโมชั่น หนึ่งในนั้นคือช็อตนี้แมงกะพรุน!
ประมาณกึ่งกลางหนัง Riggan เล่าเรื่องราวบางอย่างให้อดีตภรรยารับฟัง เกี่ยวกับรอยไหม้ผิวหนัง แท้จริงแล้วเกิดจากความต้องการฆ่าตัวตายหลังจากโดนภรรยาจับได้ว่านอกใจ แต่แมงกระพรุนดันช่วยชีวิตไว้! … ภาพช็อตนี้เลยประมาณว่า สาเหตุที่เขายังไม่เสียชีวิตจากปืนลั่น ก็เพราะภาพแมงกระพรุนช่วยชีวิตไว้นี่แหละ –”
แซว: จมูกใหม่ของ Riggan ใช้ CGI สร้างขึ้นนะครับ, สังเกตผ้าพันแผลดูราวกับหน้ากาก Birdman นั่งขี้อยู่ในห้องน้ำสะท้อนถึงความ Shit ของชีวิตขณะนี้, และดอก Lilac คือสัญลักษณ์ของความตาย ไม่นิยมมอบให้เป็นของขวัญต่อใคร
หนังทิ้งปริศนาตอนจบไว้อย่างค้างคาว่า Riggan กระโดดตกตึก หรือสามารถโบยบินได้ เพราะดวงตาโคตรโตของ Sam เริ่มจากก้มลงก่อนแล้วค่อยมองขึ้น พบเห็นอะไรหรือเธอ?
ตอนจบดั้งเดิมของหนัง วางแผนให้ Johnny Depp ในห้องแต่งตัวของ Riggan มีภาพโปสเตอร์ Pirates of the Caribbean ติดอยู่ด้านหลัง พูดน้ำเสียง Jack Sparrow
“What the fuck are we doing here, mate?”
จุดประสงค์เพื่อนเป็นการเวียนวนลูป ทุกสิ่งอย่างเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จักจบสิ้นสุด … แต่ตอนจบดังกล่าวไม่เป็นที่พึงพอใจของ Iñárritu เลยครุ่นคิดกันใหม่กลายเป็นปัจฉิมบทแห่งความคลุมเคลือดังกล่าว
เพลงประกอบโดย Antonio Sánchez นักแต่งเพลง/ตีกลอง สัญชาติ Mexican, ได้รับคำท้าทายจาก Iñárritu ต้องการใช้เพียงเสียงกลองเพื่อสร้างจังหวะให้กับเรื่องราว
“The drums, for me, was a great way to find the rhythm of the film… In comedy, rhythm is king, and not having the tools of editing to determine time and space, I knew I needed something to help me find the internal rhythm of the film”.
– Alejandro González Iñárritu
ผมว่ายอดเยี่ยมกว่า Whiplash (2014) เสียอีกนะ! เสียงกลองใน Birdman ไม่เพียงแค่สร้างจังหวะเท่านั้น มันจะมีระดับความดัง-เบา เนิบนาบ-เร่งรีบ-รุกเร้า สามารถทำให้หัวใจเต้นระริกสั่นรัว (ไปตามจังหวะกลอง) ก่อเกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกพ้องตามมา
แต่ก็ไม่ใช่ว่าหนังทั้งเรื่องมีแต่เสียงกลองนะครับ หลายครั้งทีเดียวได้ยินบทเพลงคลาสสิก
– Maurice Ravel: Pavane pour une infante défunte
– Maurice Ravel: Piano Trio in A Minor, Passacaille
– Gustav Mahler: Symphony No. 9 in D
– Gustav Mahler: Ich bin der Welt Abhanden Gekommen [Rückert-Lieder]
– Pyotr Ilyich Tchaikovsky: Symphony No. 5 Op. 64 in E Minor: Andante Cantabile
– Pyotr Ilyich Tchaikovsky: Symphony No. 4 in F minor Op. 36.2 in Andantino in Modo Di Canzone
– Sergei Rachmaninoff: Symphony No. 2 in E Minor, Op. 27 ท่อน Largo และ Allegro Moderato
บทเพลงที่ดังขึ้นขณะ Birdman โผบินเหินหาว นำจาก Sergei Rachmaninoff: Symphony No. 2 in E minor Op. 27 บันทึกการแสดงโดย The Stuttgart Radio Symphony Orchestra
Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) คือความพยายามของผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu ที่จะระบายความครุ่นคิด/รู้สึกของตนเองต่อวงการภาพยนตร์ การมาถึงของยุคสมัย Superhero และการปรับตัวสู่โลกอนาคต (เพราะชีวิตไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีตได้)
ขอเริ่มจากมุมมองของ Iñárritu ต่อการมาถึงของยุคสมัย Superhero
“I think there’s nothing wrong with being fixated on superheroes when you are 7 years old, but I think there’s a disease in not growing up”.
– Alejandro González Iñárritu
หลักๆคือเรื่องของเงิน และความสำเร็จ ที่ค่อยๆบั่นทอนคุณค่าของภาพยนตร์ลงไป สตูดิโอผู้สร้างสนเพียงกำไร ลงทุน $100 ล้านเหรียญ หวังคืน $1,000 ล้านเหรียญ กลายเป็นค่านิยมมาตรฐานไปแล้ว
อีกเหตุผลหนึ่งคือการมองโลกในแง่มุมเดียว แทบทั้งนั้นคือกลุ่มคนขวาจัด หัวก้าวหน้า โลกเสรี ใครเป็นศัตรูไม่เข้าพวกก็เข่นฆ่าทำลายล้าง นั่นทำให้เกิดการปลูกฝังค่านิยม ไม่ต่างอะไรกับยาพิษ ‘Cultural Genocide’ ผู้ชมจดจำเพียงความบันเทิง ไม่ได้ครุ่นคิดถึงสาระประโยชน์ คุณค่าความเป็นมนุษย์แม้แต่น้อย
“I sometimes enjoy them because they are basic and simple and go well with popcorn. The problem is that sometimes they purport to be profound, based on some Greek mythological kind of thing. And they are honestly very right wing. I always see them as killing people because they do not believe in what you believe, or they are not being who you want them to be. I hate that, and don’t respond to those characters. They have been poison, this cultural genocide, because the audience is so overexposed to plot and explosions and shit that doesn’t mean nothing about the experience of being human”.
มีเหมือนกันที่ Hollywood เสนอโปรเจค Superhero ให้กับ Iñárritu แต่เจ้าตัวบอกปัดปฏิเสธ
“How can I give up two years of my life mainly for money? I couldn’t do it”.
การจะต่อกรกับภาพยนตร์ Superhero ย่อมไม่ใช่ด้วยปัจจัยเงินทุน แต่ต้องคือเนื้อหาสาระ คุณค่าทางศิลปะ ใช้สติปัญญาชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดติดตาม จนเกิดความเข้าถึงบางสิ่งอย่าง สัจธรรมชีวิต นั่นถือเป็นอีกแง่มุมหนึ่งของความบันเทิง จรรโลงสังคมกว่า และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมให้คนทุกเพศวัย
“I turned 50 last year and I have learned a lot going through my personal process. I learned there are ways to approach life. You can never change the events, but you can change the way you approach them”.
อดีต ประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งเกิดขึ้นผ่านไปแล้ว ไม่มีทางแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่เราสามารถปรับมุมความเข้าใจ มองโลกด้วยทิศทางแตกต่าง ดูอย่าง Michael Keaton เคยเล่น Batman ประสบความสำเร็จโด่งดัง แต่ชีวิตหลังจากนั้นก็ขึ้นๆลงๆเอาแน่เอานอนไม่ได้ ใครจะไปครุ่นคิดว่าเกือบๆ 3 ทศวรรษถัดมา จะมีโอกาสหวนกลับมาเล่นบทบาทคล้ายเดิม Birdman (2014) แถมยัง Spider-Man: Homecoming (2017) และภาคต่อ เออเว้ยเห้ย! ชีวิต อะไรๆมันก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
“The only thing that is important to me is to be honest to my circumstance and context. What this film talks about, I have been through. I have seen and experienced all of it; it’s what I have been living through the last years of my life. Instead of approaching it tragically, I wanted to try another mode. Not to reconcile past events, but actually to survive them. Doing this, I personally experienced a kind of reconciliation with life itself and faced things I don’t like about myself, things which used to make me bitter”.
ชีวิตจะก้าวไปข้างหน้าได้ก็ด้วยการเรียนรู้ความผิดพลาด ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นกว่าวันวาน อะไรเคยไม่ชอบโกรธเกลียดก็เปลี่ยนแปลง ดีอยู่แล้วรักษาธำรงไว้ต่อยอดทำให้ดียิ่งๆขึ้นไป อย่ามัวจมปลักหมกมุ่นครุ่นยึดติดกับอดีต ยังจะให้สิ่งจบสิ้นพานผ่านหวนย้อนกลับมามีอิทธิพลเหนือเราทำไม เชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะเสี่ยง ทดลอง เผชิญหน้าอะไรใหม่ๆ ผิดพลาดพลั่งก็คงไม่ถึงตาย ตราบใดมีลมหายใจ ชีวิตจำต้องต่อสู้ไป
สำหรับคำอธิบายสร้อยต่อท้ายในวงเล็บ (The Unexpected Virtue of Ignorance) ขอยกบทสัมภาษณ์ผู้กำกับมาเลยแล้วกัน
“In the moment that Riggin Thompson tries pretentiously and ignorantly to prove he is something that he is not, when he surrenders to that, when the critic says I will kill you, when his daughter rejects him and he realizes he has lost everything, in that moment right before that climactic act onstage, he is not acting. He is real and that is why the critic responded to his performance. He broke the rules of the game. And by surrendering to his reality, he gets to the unexpected virtue of ignorance. There was beauty in it”.
ความงดงามของชีวิต ในมุมมองอันคาดไม่ถึงของ Iñárritu คือการกระทำอันบริสุทธิ์ ไม่ปรุงแต่ง เสแสร้ง หรือหลอกลวงตัวเอง ผู้คน/ผู้ชม ไม่อาจคาดเดาสิ่งเท็จจริงที่บังเกิดขึ้น นั่นถือเป็นจุดสูงสุดของการสรรค์สร้างงานศิลปะ บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็แล้วแต่คำใครจะเรียกหานิยาม
หนังเข้าฉายเปิดเทศกาลหนังเมือง Venice คว้ามาถึง 4 รางวัล (แต่ไม่ใช่รางวัลใหญ่เลยนะ)
– Future Film Festival Digital Award
– Leoncino d’Oro Agiscuola Award
– Nazareno Taddei Award
– Soundtrack Stars Award
ด้วยทุนสร้าง $18 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $60.9 ล้านเหรียญ รวมทั้งโลก $103.2 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยทีเดียว
เข้าชิง Oscar ทั้งหมด 9 สาขา คว้ามา 4 รางวัล
– Best Picture ** คว้ารางวัล
– Best Director ** คว้ารางวัล
– Best Actor (Michael Keaton)
– Best Supporting Actor (Edward Norton)
– Best Supporting Actress (Emma Stone)
– Best Original Screenplay ** คว้ารางวัล
– Best Cinematography ** คว้ารางวัล
– Best Sound Mixing
– Best Sound Editing
สาขาที่ถูก SNUB อย่างน่ากังขาคือ Best Original Score โดยคณะกรรมการ Academy ส่งจดหมายให้ความเห็นว่า บทเพลงคลาสสิกที่ใช้ในหนังไม่ใช่ Original Score (โดยมองข้ามเสียงกลองไปโดยสิ้นเชิง)
“the fact that the film also contains over a half an hour of non-original (mostly classical) music cues that are featured very prominently in numerous pivotal moments in the film made it difficult for the committee to accept your submission”.
พิธีกรมอบรางวัล Best Picture คือ Sean Penn ที่เคยร่วมงานกับ Iñárritu เรื่อง 21 Grams (2003) พูดแซวว่า
“And the Oscar goes to… Who gave this son of a bitch his green card? Birdman!”
– Sean Penn
แม้ Penn จะถูกตำหนิต่อว่าเป็นการใช้คำพูดดูถูก แต่ผู้กำกับ Iñárritu ไม่ถือสาอะไร มองเป็นเรื่องตลก เพราะทั้งคู่สนิทสนมกันดี (นักข่าวเองนะแหละที่ไปตีโพยตีพาย)
เกร็ดอื่นๆของรางวัล:
– ปกติแล้วหนังได้เข้าชิง Best Picture มักควบกับ Best Film Editing แต่เพราะเรื่องนี้ถือเป็น Long Take เลยไม่มีโอกาสลุ้นรางวัลใดๆ ซึ่งครั้งล่าสุดก็ Ordinary People (1980)
– เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่คว้ารางวัล Best Picture ด้วยชื่อมีวงเล็บ ()
– น่าจะเป็นหนังคว้ารางวัล Best Picture ชื่อยาวที่สุด แต่ไม่ใช่ชื่อเข้าชิงยาวที่สุดนะครับ Dr. Strangelove or: How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb (1964)
– เป็นหนังรางวัล Best Picture เรื่องแรก ถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลทั้งหมด (เรื่องอื่นๆก่อนหน้านี้ยังถ่ายด้วยฟีล์ม หรือดิจิตอลบางส่วน)
ผมรับชม Birdman ครานี้เป็นคำรอบสอง ยังหัวเราะท้องแข็งกับฉากกางเกงในตัวเดินเดียวท่ามกลาง Times Square มันเป็นความจี๊ดเจ็บจริง! เรียกได้ว่าคือ ‘จิตวิญญาณการแสดง’ จะมีสักกี่คนในโลกทุ่มเทมุมานะ พยายามได้ถึงขนาดนั้น!
แต่สิ่งที่โดยส่วนตัวคลุ้มคลั่งไคล้สุดของหนัง คือโคตรของโคตรๆๆ Long Take ทั้งรู้ว่าไม่ใช่ทั้งหมดแต่ก็ยังอึ้งทึ่ง ตราตะลึง ขาดไปนิดเดียวเท่านั้นคืออยากให้กล้องโผบินไปด้วยกับ Birdman และเคลื่อนติดตามตัวละครขณะกระโดดลงจากดาดฟ้า มันจะยอดยิ่งอ้าปากค้างกว้างๆเลยละ!
เปรียบเทียบความ ‘High Art’ ใกล้เคียงสุดของ Birdman คงเป็น 8½ (1963) ของ Federico Fellini และ Opening Night (1977) ของ John Cassavetes งดงามทรงคุณค่าในเชิงศิลปะ แต่สำหรับผู้ชมทั่วไปคงส่ายหัวกุมขมับ, แนะนำเฉพาะกับคอหนัง Art-House, ลุ่มหลงใหลละครเวที Play within Film, แฟนๆผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu และคลั่งไคล้นักแสดง Michael Keaton, Edward Norton, Emma Stone, Naomi Watts ไม่ควรพลาด
เผื่อคนชอบหนัง Long Take แนะนำเพิ่มเติมกับ Rope (1948), Russian Ark (2002) ฯ
จัดเรต 18+ กับความหมกมุ่นระดับคลุ้มคลั่งของตัวละคร เสพยา มึนเมามาย และล่องลอยไปอย่างขาดสติควบคุม
Leave a Reply