
Wendy Hiller รับรู้ตัวว่ากำลังจะไปไหนจริงๆนะหรือ? บางครั้งฟากฝั่งฝันอาจไม่ใช่เป้าหมายปลายทางแท้จริง ทุกสิ่งอย่างล้วนขึ้นอยู่กับจิตใจของเราเอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
a recommend list
Wendy Hiller รับรู้ตัวว่ากำลังจะไปไหนจริงๆนะหรือ? บางครั้งฟากฝั่งฝันอาจไม่ใช่เป้าหมายปลายทางแท้จริง ทุกสิ่งอย่างล้วนขึ้นอยู่กับจิตใจของเราเอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ภาพยนตร์แนวปลุกใจรักชาติ (Patriotic Film) แม้เรือพิฆาต HMS Kelly ถูกโจมตีจนอับปางลง แต่ก็ไม่ทำให้จิตวิญญาณผู้คนจมดิ่งสู่ก้นเบื้องมหาสมุทร, กำกับการแสดงโดย Noël Coward และหน้าที่กำกับอื่นๆโดย David Lean
ภาพยนตร์ชวนเชื่อรวมดารา ผลงานลำดับที่สามของ Powell & Pressburger, ถ่ายภาพโดย Freddie Young, ตัดต่อโดย David Lean, เมื่อกลุ่มทหารนาซีเยอรมันถูกปล่อยเกาะบนผืนแผ่นดินแคนาดา อุดมการณ์ที่ไม่ยอมแปรเปลี่ยน เมื่อต้องเผชิญหน้าแนวคิดเสรีภาพ มันช่างเป็นความคู่ขนานกันโดยสิ้นเชิง
นักผจญเพลิง (Firefighter) ถือเป็นวีรบุรุษของประเทศอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คอยดับไฟจากเครื่องบินทิ้งระเบิดไม่ให้ลุกลามบานปลาย นำเสนอสไตล์สารคดีแต่ผลลัพท์ไม่ต่างจากภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda)
โดยปกติแล้วภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda) มักพยายามโน้มน้าว เสียดสี ชี้ชักนำ ใส่ร้ายอีกฝั่งฝ่าย ไม่ก็ยกยอปอปั้นตนเอง แต่สำหรับ Listen to Britain (1942) กลับทำออกมาในลักษณะ ‘กวีภาพยนตร์’ งดงามวิจิตรศิลป์
หลังสหรัฐอเมริกาถูกโจมตี Pearl Harbor เสนาธิการทหารบก George C. Marshall ติดต่อขอให้ผู้กำกับ Frank Capra สรรค์สร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda Film) เพื่อโต้ตอบกลับ Triumph of the Will (1935) กลายมาเป็นหนังซีรีย์จำนวน 7 ภาคละ 40-83 นาที
สองสามีภรรยาหลบหนีออกจากเรือนจำ ปล้นรถตำรวจ ลักพาตัวสายตรวจ มุ่งหน้าสู่ Sugarland เพื่อทวงคืนสิทธิ์การเลี้ยงดูบุตรชาย แต่ความเพ้อฝันของพวกเขาไม่ได้เคลือบด้วยน้ำตาล มันคือหนทางด่วนมุ่งสู่หายนะต่างหาก!
ผลงานเรื่องแรกได้รับโอกาสฉายในโรงภาพยนตร์ของผู้กำกับ Steven Spielberg นำเสนอการท้าดวลระหว่างรถเก๋ง vs. รถบรรทุก ที่มีความเสี่ยงอันตราย ท้าความตาย เต็มไปด้วยความตื่นเต้นลุ้นระทึก และแฝงนัยยะลุ่มลึกอย่างคาดไม่ถึง
วินาทีที่คุณหนูไฮโซ Kate Winslet ให้คำมั่นสัญญาหนีตามไอ้หนุ่มชนชั้นสาม Leonardo DiCaprio นั่นคือสิ่งที่สังคมสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ พอดิบพอดีกับเรือ RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง กลายเป็นคำเรียก ‘ชู้รักเรือล่ม’ ไม่มีวันจมหายตามกาลเวลา
แม้ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายรับ แต่ค่ำคืนนั้นได้รับการจดจำว่าสามารถจุดประกายภาพยนตร์แนวหายนะ (Disaster Films) เต็มไปด้วยรายละเอียดใกล้เคียงประวัติศาสตร์ และอาจยอดเยี่ยมยิ่งกว่าหนังเคยทำเงินสูงสุดในโลกเรื่องนั้น!
ภรรยาล้มป่วยหนักไม่มีเงินค่ารักษา สามีจึงตัดสินใจปั่นจักรยาน 7 วัน 7 คืน อยากจะทำเหมือน Ace in the Hole (1951) แต่ก็ได้แค่เวียนวนไปวนมา วังวนแห่งหายนะของผู้อพยพชาว Afghan
เด็กชายถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย ต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรน ทำงานหาเลี้ยงชีพรอดด้วยตนเอง ใช้การวิ่งคือนัยยะเชิงสัญญะ ฉันจะดำเนินชีวิตต่อไปได้ไกลแค่ไหน มีโอกาสถึงเป้าหมายเส้นชัยหรือไม่
หนึ่งในภาพยนตร์ได้รับการยกย่อง “Best Iranian Film of all time” เรื่องราวของเด็กชาย Bashu หลบหนีสงคราม Iran–Iraq War (1980-88) จากทางตอนใต้มาถึงภาคเหนือของอิหร่าน พบเจอกลุ่มชาติพันธุ์ Gilak ที่แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ชมจักได้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่ามนุษยธรรม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ห่าฝนที่ตกลงมา ชุ่มฉ่ำเสียงหัวเราะด้วยภาษาภาพยนตร์สุดจัดจ้าน และชอกช้ำคราบน้ำตาเพราะนำเสนอหายนะของประเทศอิหร่าน, แนะนำโดย Martin Scorsese รวบรวมอยู่ใน World Cinema Project
ไม่ใช่ Close-Up (1990) หรือ A Separation (2011) แต่คือ The Deer (1974) ได้รับการโหวตอย่างเอกฉันท์จากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ชาวอิหร่าน ให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล! รวมถึง Behrouz Vossoughi กลายเป็นนักแสดงอันดับหนึ่งของชาวเปอร์เซีย
วัวตัวเดียวทำเสียวทั้งหมู่บ้าน! การเสียชีวิตของมันสามารถสะท้อนจิตวิทยา แฝงปรัชญา ความเชื่อศรัทธา ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯ ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้น Iranian New Wave แต่ต้องเรียกว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
มาสเตอร์พีซเรื่องแรกแห่งวงการภาพยนตร์อิหร่าน! สร้างโดยผู้กำกับหญิง Forugh Farrokhzad บันทึกภาพนิคมโรคเรื้อน (Leaper Colony) พบเห็นความอัปลักษณ์ พิกลพิการ แต่พวกเขายังคงสู้ชีวิตไม่ต่างจากคนปกติทั่วไป
เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แน่นอนว่าบินไม่ได้! แต่ถ้ามันตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องโบยบิน นั่นแสดงถึงช่วงเวลาหมดสิ้นหวัง ไร้หนทางธำรงชีพรอด … จะว่าไปภาพโปสเตอร์เด็กสาวกำลังแบกเด็กชาย แลดูเหมือนกระดองเต่า ไม่น่าจะโบกบินได้เช่นกัน
การเป็นผู้หญิงในประเทศอิหร่าน มันช่างมีความเหนือจริงยิ่งนัก! เต็มไปด้วยกฎระเบียบข้อบังคับ เด็กหญิงต้องสวมฮิญาบตอนอายุ 9 ขวบ ห้ามเล่นกีฬา ห้ามปั่นจักรยาน ต้องแต่งงานตามคำสั่งครอบครัว แต่ด้วยวิถีของโลกยุคสมัยใหม่ การมีเงินทองจะทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป!
เมื่อตอนอายุสิบเจ็ด ผกก. Mohsen Makhmalbaf เคยใช้มีดทิ่มแทงตำรวจนายหนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส สองทศวรรษถัดมาออกติดตามหาจนพบเจอ ชักชวนมาร่วมงานภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อสรรค์สร้างช่วงเวลาแห่งความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา