
วัวตัวเดียวทำเสียวทั้งหมู่บ้าน! การเสียชีวิตของมันสามารถสะท้อนจิตวิทยา แฝงปรัชญา ความเชื่อศรัทธา ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯ ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้น Iranian New Wave แต่ต้องเรียกว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
beautiful picture, superb cinematography, legendary camera
วัวตัวเดียวทำเสียวทั้งหมู่บ้าน! การเสียชีวิตของมันสามารถสะท้อนจิตวิทยา แฝงปรัชญา ความเชื่อศรัทธา ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯ ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้น Iranian New Wave แต่ต้องเรียกว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แน่นอนว่าบินไม่ได้! แต่ถ้ามันตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องโบยบิน นั่นแสดงถึงช่วงเวลาหมดสิ้นหวัง ไร้หนทางธำรงชีพรอด … จะว่าไปภาพโปสเตอร์เด็กสาวกำลังแบกเด็กชาย แลดูเหมือนกระดองเต่า ไม่น่าจะโบกบินได้เช่นกัน
การเป็นผู้หญิงในประเทศอิหร่าน มันช่างมีความเหนือจริงยิ่งนัก! เต็มไปด้วยกฎระเบียบข้อบังคับ เด็กหญิงต้องสวมฮิญาบตอนอายุ 9 ขวบ ห้ามเล่นกีฬา ห้ามปั่นจักรยาน ต้องแต่งงานตามคำสั่งครอบครัว แต่ด้วยวิถีของโลกยุคสมัยใหม่ การมีเงินทองจะทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป!
The Marquise of O… สูญเสียสามีไปหลายปี จู่ๆตั้งครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ แม้พยายามอ้างความบริสุทธิ์ใจ แต่ถูกครอบครัวขับไล่ ผลักไส ไม่สามารถยินยอมรับพฤติกรรมสำส่อน ก่อนค้นพบว่าบุคคลข่มขืนเธอนั้นคือ … มนุษย์ทุกคนล้วนมีดี-ชั่วในตัวเอง, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
La Collectionneuse (แปลว่า The Collector) คือคำเรียกหญิงสาวที่ชื่นชอบสะสมแฟนหนุ่ม เก็บแต้มผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่แท้จริงแล้วเธอเป็นเช่นนั้นหรือไหม? คว้ารางวัล Silver Bear: Extraordinary Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หนึ่งในอนิเมชั่นงดงามที่สุดในโลก! วาดภาพสีน้ำมันด้วยมือ ทีละเฟรม ลงบนกระจก ด้วยสัมผัส Romantic Realism ดัดแปลงจากโคตรวรรณกรรมของ Ernest Hemingway คว้ารางวัล Oscar: Best Animated Short Film, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ในสถานพยาบาลแห่งนี้ เวลามีการผันแปรเปลี่ยนเหมือนนาฬิกาทราย อดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน พลิกกลับไปกลับมาอย่างน่าฉงนสงสัย แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนดูเสื่อมโทรม ปรักหักพัง สะท้อนเข้ากับสภาพประเทศโปแลนด์ยุคสมัยนั้น, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
จากเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง ซ้อนซับซ้อนสู่ความไม่รู้จบของเรื่องราว เพื่อสื่อถึงวังวนไร้หนทางออก ไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น ‘บ่วงรัดคอ’ ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์
พร่ำเพ้อรำพันถึงเธอ โปแลนด์ในอดีต (ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) เพราะปัจจุบันนั้นไม่มีวันที่เราสองจักหวนกลับมาครอบครองคู่รักกันอีกครั้ง, กลิ่นอาย Casablanca (1942) แต่มีความเหนือจริงอยู่เล็กๆ
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ Wojciech Has นำเสนอ 24 ชั่วโมงของคนอยากเลิกเหล้า แต่กาลเวลากลับเคลื่อนพานผ่านไปอย่างเชื่องชักช้า จนเกิดความตระหนักว่าไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น ‘บ่วงรัดคอ’ ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์
ฝาแฝดสยาม (Siamese twins) คือสิ่งมีชีวิตที่มีความลึกลับ -รับบทโดย Jeremy Irons ในการแสดงน่าจะยอดเยี่ยมที่สุด- มักมีบางสิ่งอย่างเชื่อมโยงถึงกัน แต่ถึงแยกแยะลักษณะทางกายภาพไม่ออก อุปนิสัย สภาพจิตใจของพวกเขาย่อมมีความแตกต่าง(ขั้วตรงข้าม)
ครั้งแรกย่อมรู้สึกตกตะลึง ครั้งสองสัมผัสถึงความลุ่มลึกซึ้ง ครั้งสามบังเกิดความตราตรึง … รับชมถึงครั้งที่เจ็ดเมื่อไหร่คงคบไม่ได้อีกต่อไป! คำเทศนาสั่งสอนวันสิ้นโลกาวินาศของผู้กำกับ David Fincher เปียกปอน หนาวเหน็บ สั่นสะท้านทรวงใน กลายเป็นผลงานอมตะเหนือกาลเวลาไปแล้วละ
ผู้กำกับ Andrzej Żuławski ตกอยู่ในอาการคลุ้มบ้าคลั่งเมื่อถูกภรรยาเลิกราหย่าร้าง สรรค์สร้าง Possession (1981) ด้วยการทำให้ฝ่ายหญิงดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ ขยะแขยงที่สุด ไม่ต่างจากถูกปีศาจร้ายเข้าสิง แต่ใครกันแน่ที่สูญสิ้นความเป็นมนุษย์
ไม่ว่าแม่อธิการ Joan of the Angels จะถูกซาตานเข้าสิงหรือไม่? ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามท้าทายความเชื่อศรัทธาชาวคริสต์ เมื่อต้องเผชิญหน้าสิ่งชั่วร้ายรุกรานเข้ามาในจิตใจ เราควรจะโอบกอดยินยอมรับ หรือขับไล่ผลักไสออกห่างไกล
ภาพยนตร์เรต X ถูกแบนในหลายๆประเทศ เพราะความสุดโต่งเหนือจริงของการล่าแม่มด พฤติกรรมเก็บกดทางเพศของแม่ชี หรือแม้แต่กษัตริย์ King Louis XIII ยังถูกตีความว่าเป็น Queer แต่ถ้าเราสามารถมองผ่านสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายเหล่านั้น ก็อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ที่แท้จริง
สิ้นสุดสัปดาห์ภาพยนตร์ยุคสมัยแรกของผู้กำกับ Jean-Luc Godard นำพาผู้ชมออกเดินทาง (Road Movie) จากสังคมเมือง มุ่งสู่ชนบท แล้วลงขุมนรก! นำเสนอความเสื่อมถดถอยของอารยธรรม ผ่านบทพิสูจน์แห่งศรัทธา ดินแดนแฟนตาซี โลกความจริงที่เหี้ยมโหดร้าย และท้ายสุดคือการสูญเสียความเป็นมนุษย์
นักศึกษาหัวรุนแรงกลุ่มหนึ่ง มีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อลัทธิเหมาเจ๋อตุง (Maoist) ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองฝรั่งเศสให้ดำเนินสู่ทิศทางนั้น แต่นั่นคืออุดมคติ (Idealist) เพ้อเจ้อไร้สาระ (Fantasist) ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน!
แม้ความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา จะจบสิ้นลงไปสักพักใหญ่ๆ แต่ผู้กำกับ JLG และ AK ยังคงอยากทดลองใจกันอีกสักครั้ง ว่ายังหลงเหลือเยื่อใยความสัมพันธ์อยู่บ้างไหม แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้มันหลอกลวงผู้บริโภคตั้งแต่ชื่อ Made in U.S.A. ไม่เห็นมีฉากไหนถ่ายทำยังสหรัฐอเมริกา???
โลกอนาคตที่วิทยาศาสตร์ เหตุผลและตรรกะคือทุกสิ่งอย่าง อารมณ์จักกลายเป็นภาระต้องถูกกำจัดให้สิ้นซาก เช่นนั้นแล้วมนุษย์จะยังรับรู้จักความรัก มีอิสรภาพในการครุ่นคิดแสดงออกได้อย่างไร? คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
เขาชื่อกานต์ (พ.ศ. ๒๕๑๖) เปี่ยมล้นด้วยอุดมการณ์ของท่านมุ้ย แจ้งเกิดทั้งสรพงศ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์, ภิญโญ ทองเจือ แต่กาลเวลาทำให้คุณค่าหลงเหลือเพียงอุดมคติ และความเป็นคลื่นลูกใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ไทย