ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Omar Sharif รับบทเกษตรกรหนุ่มจบใหม่ เข้ามาพัฒนาผลผลิตไร่อ้อยให้ได้มาตรฐาน กลายเป็นที่ต้องการของตลาด แต่กลับสร้างความอิจฉาริษยาให้พวกนายทุน ครุ่นคิดแผนการชั่วร้าย ทำลายพืชผลการเกษตร ฆาตกรรมอำพราง โยนความผิดให้ผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิต สุดท้ายแล้วความจริงจะได้รับการเปิดเผยหรือไม่?
หมวดหมู่: rare EDITED
beautiful cut, edited film, trim, fade, eddie, eddy, ตัดต่อยอดเยี่ยม
Cairo Station (1958)
สถานีรถไฟ Cairo Ramses Station ช่างเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยมลพิษ หญิงสาวขายน้ำอัดลมระริกระรี้อยากแต่งงาน ยินยอมศิโรราบแฟนหนุ่มชอบใช้ความรุนแรง (Toxic Masculinity) ขณะเดียวกันยังถูกหมายปองจากชายผู้มีปัญหาทางจิต (Sexual Repression) พยายามสะกดรอย คุกคาม ขู่ฆ่า, หนึ่งในภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่สุดของประเทศ Egypt
ชายหนุ่มต้องการแต่งงานกับหญิงสาว แต่ประเพณีของชาว Cameroonian ฝ่ายชายต้องจ่ายค่าสินสอดทองหมั้น แล้วเขาจะไปหาเงินทองจากไหนกัน? ผิดกับลุงแท้ๆ ร่ำรวย มือเติบ ชิงตัดหน้าซื้อเธอมาเป็นภรรยาคนที่ห้า มันช่างเป็นเรื่องราวความรักอันเจ็บปวด หัวใจแตกสลาย
Sambizanga (1972)
นักปฏิวัติถูกจับกุม คุมขังยังเรือนจำ ณ Sambizanga, Portuguese Angola แล้วโดนทัณฑ์ทรมานจนเสียชีวิต นั่นคือจุดเริ่มต้น Angolan War of Independence (1961-74) นำเสนอผ่านมุมมองผู้กำกับหญิง เรียบง่าย ทรงพลัง แม้ต้องถ่ายทำยังประเทศเพื่อนบ้าน Congo
Hyènes (1992)
ภาพยนตร์กึ่งสุขกึ่งโศก (Tragi-Comedy) เมื่อมหาเศรษฐีนีเดินทางกลับบ้านเกิด ณ Colobane, Senegal พร้อมมอบเงินก้อนใหญ่ ให้ใครก็ตามลงมือเข่นฆาตกรรมอดีตชู้รัก เคยข่มขืนตนเองตอนอายุ 17 จนตั้งครรภ์ ระหว่างศีลธรรม ความถูกต้อง หรืออำนาจของเงิน ชาวบ้านแห่งนี้จะตัดสินใจเช่นไร?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Touki Bouki (1973)
การเดินทางเพื่อค้นหาตัวตนเองของผู้กำกับ Djibril Diop Mambéty ในสไตล์ Bonnie and Clyde ปล้น-ฆ่า(วัว) ก่ออาชญากรรม เป้าหมายปลายทางคือฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน ‘The Wizard of Oz’ แต่แท้จริงแล้วปารี่ ปารีส ไม่ต่างอะไรจากปาหี่
Soleil Ô (1970)
กลุ่มชายฉกรรจ์ชาว Mauritania หลังเข้าร่วมพิธีศีลจุ่ม อพยพเดินทางสู่ฝรั่งเศสเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่พอมาถึงกลับไม่สามารถหาทำงาน ถูกปฏิเสธต่อต้าน ขับไล่ ผลักไส หวาดกลัวการรุกรานของ ‘Black Invasion’ นำเสนอด้วยวิธีการที่หลากหลาย ท้าทาย คล้ายศิลปะภาพแปะติด (Collage)
หญิงสาวผิวดำชาว Senegalese ออกเดินทางสู่ฝรั่งเศส วาดฝันดินแดน ‘The Wizard of Oz’ แต่กลับถูกเจ้านายชี้นิ้วออกคำสั่ง กลายเป็นขี้ข้ารับใช้ เต็มไปด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด เพื่อต่อต้านลัทธิอาณานิคม (Anti-Colonialism)
La Pyramide humaine (1961)
หลังจากหลายๆประเทศในแอฟริกาได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคม ผู้กำกับ Jean Rouch ทำการทดลองให้กลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน พวกเขาจะสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ยินยอมรับกันและกันได้หรือไม่?
แม้เต็มไปด้วยข้อจำกัดยุคสมัย แต่ผู้กำกับ Jean Rouch ยังสามารถรังสรรค์สร้างสารคดีบันทึกวิถีชีวิตผู้อพยพชาว Nigerien เดินทางมาปักหลักใช้แรงงานอยู่ยัง Treichville, Abidjan เมืองหลวงประเทศ Côte d’Ivoire (Ivory Coast) ท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ใกล้จะได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศส
Erosu + Gyakusatsu (1969)
ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ (ความยาว 216 นาที) ที่ทำการถกเถียงปรัชญาการเมือง + เรื่องส่วนบุคคล, พวกนักปฏิวัติพยายามเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม แต่พอเป็นเรื่องส่วนตัว เสรีในรัก (Free Love & Free Sex) รวมถึงการปลดแอกทางเพศ (Sexual Liberation) กลับถูกปฏิเสธต่อต้านด้วยความรุนแรง อาฆาตแค้น ลอบสังหาร
Honō to Onna (1967)
ผลงานจากหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague (หรือ Japanese New Wave) ที่แพรวพราวไปด้วย ‘Mise-en-scène’ แต่ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับเด็กหลอดแก้วคือลูกของใคร? มันช่างเฉิ่มเฉย ตกยุคสมัย
Ninjō kami fūsen (1937)
ผลงานสวอนซองของผู้กำกับ Sadao Yamanaka นำเสนอความเปราะบางชีวิต มุมมืดจักรวรรดิญี่ปุ่น พยากรณ์หายนะกำลังจะบังเกิดขึ้น หรือก็คือการมาถึงของ Second Sino-Japanese War (1937-45) และ World War II (1939-45)
น้องชายแอบลักขโมยมีดสั้นซามูไร อาจทำให้พี่สาว (รับบทโดย Setsuko Hara) ต้องรับเคราะห์กรรมด้วยการขายตัวหาเงินมาชดใช้หนี้, Priest of Darkness (1936) นำเสนอมุมมืด โลกใต้ดินของญี่ปุ่นยุคก่อน (Edo period) ที่สามารถสะท้อนเข้ากับสมัยปัจจุบันนั้น ก่อนสงครามโลกครั้งสองได้อย่างน่าหวาดสะพรึง
Tange Sazen Yowa: Hyakuman Ryô no Tsubo (1935)
ไหเงินล้านบรรพบุรุษ ถูกส่งมอบเป็นของขวัญแต่งงานน้องชาย ไม่เห็นคุณค่าสักเท่าไหร่เลยขายต่อคนรับซื้อของเก่า มอบให้บุตรชายใช้เลี้ยงปลาทอง, เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาไหเงินล้าน มีความโคตรๆบันเทิง ชิบหายวายป่วนสไตล์ Sadao Yamanaka, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Tokyo Sonata (2008)
Sonata (คำนาม) ดนตรีที่เรียบเรียงสำหรับเครื่องดนตรีหนึ่งหรือสองชิ้น, Tokyo Sonata นำเสนอเรื่องราวครอบครัวธรรมดาๆ บิดา-มารดา และบุตรชายทั้งสอง ต่างสนเพียงบรรเลงบทเพลงชีวิตของตนเอง โดยไม่ใคร่ให้ความใจสมาชิกคนอื่น สุดท้ายแล้วออร์เคสตราที่เรียกว่าครอบครัว เลยดำเนินมาใกล้ถึงจุดแตกแยก, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Mùi đu đủ xanh (1993)
กลิ่นมะละกอ (Papaya) บางคนว่าหอมหวน บางคนว่าเหม็นหืน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ตลบอบอวลด้วยความทรงจำผู้กำกับ Trần Anh Hùng จากบ้านเกิดมาตั้งแต่อายุสิบสอง มองย้อนกลับไปรู้สึกสงสารเห็นใจ ประเทศเวียดนามยังคงยึดถือมั่นในสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy)
Moonstruck (1987)
พระจันทร์เป็นใจ เต็มไปด้วยเรื่องราวรักๆใคร่ๆ ความวุ่นๆวายๆของคนขี้เหงา ทั้งหนุ่ม-สาว กลางคน สูงวัย อาจเพราะหวาดกลัวความตาย เลยต้องมองหาใครสักคนเคียงข้างกาย
Rupan Sansei: Kariosutoro no Shiro (1979)
ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki ดัดแปลงจากมังงะ Lupin the Third ปรับเปลี่ยนอาชญากรผู้เหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ให้กลายเป็นจอมโจรโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจหญิงสาว
Taiyō no Ōji Horusu no Daibōken (1968)
ร่วมงานครั้งแรกระหว่าง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki (Concept Artist, Scene Design และ Key Animation) แม้โปรดักชั่นล่าช้ากว่าสามปี บางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป เข้าฉายไม่กี่วันก็เงียบหาย แต่กลับได้รับกระแสคัลท์ติดตามมา สร้างอิทธิพลให้วงการอนิเมชั่น จนกลายเป็นหนึ่งในอนิเมะยอดเยี่ยมตลอดกาล!