กระเบื้องโมเสก/กระจกสะท้อนความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Andrei Tarkovsky ที่มีความเป็นส่วนตัว อารมณ์ศิลปิน งดงามวิจิตรศิลป์ โดยไม่สนใจว่าผู้ชมจะดูรู้เรื่องหรือไม่ ใครสามารถปีนป่ายบันไดก็อาจหลงใหลคลั่งไคล้ แต่ตัวหนังไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไรนอกจากระบายความรู้สึกอัดอั้นภายในของผู้สร้าง
หมวดหมู่: rare SONG
beautiful song, nice melody, great lyrics
Dil Se.. (1998)
Dil Se.. (1998) Bollywood : Mani Ratnam ♥♥♥◊
ฉากที่ตัวละครของ Shah Rukh Khan และ Malaika Arora กำลังร้องเล่นเต้นเพลง Chaiyya Chaiyya บนรถไฟที่กำลังแล่นอยู่ นี่ถือเป็นหนึ่งในฉากอมตะที่สุดของภาพยนตร์ Bollywood
Brazil (1985)
Brazil (1985) : Terry Gilliam
หนังเรื่องนี้ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประเทศ Brazil แม้แต่น้อย ผู้กำกับ Terry Gilliam กับหนังแนว Dystopia, Sci-Fi, Comedy Satire ที่มีการเสียดสีระบบราชการ (Bureaucratic) ได้อย่างเจ็บแสบ บ้าคลั่ง ไร้สติ คนสติดีๆอาจดูหนังเรื่องนี้ไม่รู้เรื่อง แต่คนที่เข้าใจระบบเป็นอย่างดี นี่เป็นหนังที่อาจทำให้คุณเสียสติได้
Beauty and the Beast (1991)
Beauty and the Beast (1991) hollywood : Gary Trousdale, Kirk Wise ♥♥♥♡
คนจะงาม งามที่ใจ ใช่ใบหน้า
คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน
คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน
คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต
The Jungle Book (1967) : Wolfgang Reitherman
อนิเมชั่นของ Disney ขึ้นชื่อว่ามีใจความลึกซึ้งแฝงอยู่เสมอ หนึ่งในนั้น The Jungle Book ถือว่าไม่ธรรมดา นอกจากเรื่องราวที่เปรียบเทียบได้กับคนประเภทต่างๆในสังคมแล้ว ยังมีส่วนผสมของความ Racism ที่รุนแรงพอสมควร ในโอกาสที่ Live-Action กำลังมาถึง (2016) คุณจะเลือกเป็นแค่เด็กน้อยที่เห็นหนังของ Disney มีแค่ความสนุกและสวยงาม หรือมองลึกลงไปให้เห็นแนวคิดอันชั่วร้ายที่ผู้ใหญ่นิสัยไม่ดีสอดไส้เอาไว้
Non Non Biyori & Repeat
Non Non Biyori & Repeat (2013, 2015)
อนิเมะซีรีย์แนว Slice-Of-Life ประเภท Healing เรื่องราวในแต่ละวันของเด็กหญิงต่างวัย 4 คนในหมู่บ้านชนบทห่างไกล โรงเรียนของพวกเธอมีนักเรียนแค่ 5 คนเท่านั้น ใครชอบอนิเมะดูสบายๆ บรรยากาศผ่อนคลาย Slow-Life และแฝงแนวคิดการใช้ชีวิต แนะนำให้หามาดูเลยนะครับ
Some Like It Hot (1959)
Some Like It Hot (1959) : Billy Wilder ♥♥♥♥♡
(14/6/2019) ในบรรดาภาพยนตร์ที่มีลักษณะ ตัวละครตกอยู่สถานการณ์อันเลวร้าย แต่สุดท้ายสามารถหลบลี้หนีเอาตัวรอดได้สำเร็จทุกครั้งครา Some Like It Hot ถือว่านำพาผู้ชมไปถึงจุดสุดสูง ในระดับที่ Nobody Perfect!
Yellow Earth (1984)
Huáng tǔdì (อ่านว่า หวงถู่ตี้) ดินสีเหลืองที่ปลูกหญ้าไม่อยากจะขึ้น แต่เป็นทรัพยากรหลักในมณฑลส่านซี ทางตอนเหนือของจีนแผ่นดินใหญ่ มีความทุรกันดารห่างไกล ผู้คนยังยึดถือมั่นในขนบประเพณี เด็กสาวต้องแต่งงานเมื่ออายุสิบสี่ กระทั่งการมาถึงของกองทัพเส้นทางที่แปด (Eighth Route Army) แห่งพรรคคอมมิวนิสต์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้างไหม?
The Sound of Music (1965)
The Sound of Music (1965) : Robert Wise
ครั้งหนึ่งในชีวิต “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” มนต์รักเพลงสวรรค์ไม่ใช่หนังที่สมบูรณ์แบบ แต่มีความสวยงามในบทเพลงสุดไพเราะ และการแสดงสุดตราตรึงของ Julie Andrews ที่มักจะทำให้ผู้ชมหลงใหลตกหลุมรัก แล้วมองข้ามข้อเสียเหล่านั้นไป, เข้าชิง Oscar 10 สาขา ได้มา 5 รางวัล รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี และครั้งหนึ่งหนังเคยทำเงินมากที่สุดในโลก
เวลากลับไปแก้ไขอดีต โลกจะน่าอยู่/ชีวิตมีความสุขขึ้นจริงๆนะหรือ? นั่นคือสิ่งที่ผู้กำกับ Mamoru Hosoda พยายามปรับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาจากต้นฉบับนวนิยาย ผลลัพท์กลับกลายเป็นความยุ่งเหยิง สับสนอลม่าน หลายสิ่งอย่างค้างๆคาๆ แต่อย่างน้อยก็เป็นบทเรียนสอนให้รู้ว่า จงมีความสุขอย่างพอเพียง ครุ่นคิดถีงคนอื่นบ้าง และทำวันนี้ให้ดีที่สุด
Cowboy Bebop (1998-99)
เรื่องป่วนๆของกลุ่มคน(และสุนัข) ผู้มีความขบถต่อวิถี พยายามหลบหลีกหนี ทอดทิ้งบางสิ่งอย่างจากอดีต เพื่อออกค้นหาโลกใบใหม่ สไตล์ตนเองไม่เหมือนใคร เดินทางไปจนสุดขอบระบบสุริยะ แต่สุดท้ายก็หวนกลับมาเผชิญหน้าตัวตนเอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Crouching Tiger, Hidden Dragon (2000)
กระบี่หยกฟ้าบันดาล ความยาวสองศอกเก้านิ้ว กว้างหนึ่งนิ้ว หนาสองจุดห้า ด้ามจับเคยประดับทับทิม ลวดลายแกะสลักสมัยพระเจ้าฉินอู่ (ครองราชย์ 310-307 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ไม่ใช่แค่รูปลักษณะงดงาม แต่ยังแข็งแกร่งทนทาน มีความเฉียบแหลมคมยิ่งนัก เป็นยอดศัสตราวุธที่ชาวยุทธจักรต่างเคารพยำเกรง ถึงอย่างนั้นก็มิได้การันตีว่าผู้ครองครอบจักยิ่งใหญ่เหนือใครใต้หล้า
Solaris (1972)
Solaris (1972) : Andrei Tarkovsky ♥♥♥♥♡
ความครุ่นคิดเห็นต่อยุคสมัยสงครามเย็นของปรมาจารย์ผู้กำกับ Andrei Tarkovsky สิ่งที่มนุษยชาติกำลังร้องเรียกโหยหา ไม่ใช่การแพร่ขยายอาณาเขตพรมแดนบนโลกหรือห้วงอวกาศ แต่คือ ‘กระจก’ สำหรับสะท้อนตัวตนเองออกมา
Lage Raho Munna Bhai (2006)
Lage Raho Munna Bhai (2006)
เรื่องที่ 2 ของแฟนไชร์ Munna Bhai ที่เนื้อเรื่องไม่มีความต่อเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับภาคแรกแต่อย่างใด เพียงแต่หยิบ 2 ตัวละครหลักมาใส่เท่านั้น นี่เป็นหนังภาคต่อที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ภาคแรก ในมุมผมมองว่านี่เป็นภาคที่ดีกว่ามากๆ อะไรหลายๆลงตัว เพลงประกอบเพราะๆหลายเพลง การันตีด้วยรางวัลที่มีมากกว่า โดยเฉพาะ National Film Award ได้ถึง 4 สาขา Best Popular Film Providing Wholesome Entertainment, Best Screenplay, Best Lyric และ Best Support Actor น่าเสียดายที่หนังได้แค่เกือบมีโอกาสเป็นตัวแทนส่ง Academy Award โดยเรื่องที่อินเดียส่งปีนั้นคือ Rang De Basanti
Tengen Toppa Gurren Lagann (2007)
Tengen Toppa Gurren Lagann
เตะเหตุผล ตรรกะต่างๆทิ้งไปก่อนจะดูอนิเมะซีรีย์เรื่องนี้ คนที่ไม่ชอบอนิเมะแนว robot ให้ลองเสี่ยงดูสัก 8-10 ตอน แล้วคุณจะหยุดดูไม่ได้ เพราะนี่เป็นอนิเมะแนว Extreme Action ที่ทำให้หัวใจคุณเต้นแรงจนผิดปกติ กับตอนจบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล
Singin’ in the Rain (1952)
Singin’ in the Rain (1952) : Gene Kelly, Stanley Donen ♥♥♥♥♥
(11/3/2018) นี่คือภาพยนตร์ที่รวบรวมหลากหลายบทเพลง Musical สุดฮิตในยุคคลาสสิก Remix ไว้ในอัลบัมเดียว ขับร้องท่ามกลายสายลมฝนเปียกโชกโชนหนาวเน็บ แต่เหมือนพระอาทิตย์สาดส่องอบอุ่นกายใจ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Witcher 3: Wild Hunt
The Witcher 3: Wild Hunt
ผมเพิ่งเล่นเกมนี้จบสดๆร้อนๆเลย ใช้เวลาไป 120+ ชั่วโมง ครึ่งเดือนกว่าจะเล่นจบ เพิ่งถอย notebook มาใหม่เมื่อสิ้นปี เน้นสเป็คเล่นเกม AAA โดยเฉพาะ สอย The Witcher 3: Wild Hunt มาตอน New Year Sales ได้ลด 50% คงต้องเขียนรีวิวสักหน่อยนะครับ ให้เวลากับเกมนี้นานทีเดียว
Raja Hindustani (1996)
Raja Hindustani (1996)
Aamir Khan กับการแสดงที่น่าจะดีที่สุดของเขาใน Raja Hindustani ประกบคู่กับ Karisma Kapoor หนึ่งในนักแสดงหญิงชื่อดังคนหนึ่งของ bollywood นี่เป็นหนังที่ทำถล่มทลายในยุคนั้น ทำให้ Aamir Khan ได้ Best Actor จาก Filmfare Award เป็นตัวแรก หลังจากเคยได้ Best Male Debut จาก Qayamat Se Qayamat Tak เมื่อปี 1989
Roja (1992)
Roja (1992)
bollywood ไม่ได้มีแค่หนังภาษา Hindi เท่านั้น แต่ยังมี Tamil, Kannada, Bengali, Malayalam, Telugu นับไม่ถ้วนเลย แต่ถ้าถามภาษาไหนฮิตที่สุดในอินเดีย ก็คงหนีไม้พ้น Hindi วันนี้จะมานำเสนอหนัง Tamil เรื่องหนึ่ง ผมไปเห็นเรื่องนี้เข้าจากชาร์ท 10 Best Soundtracks ของนิตยสาร Times ซึ่งพอเห็นเครดิตคนทำเพลงเท่านั้นแหละ เขาไม่ใช่ใครอื่นไกล A.R. Rahman นี่เป็นหนัง Debut ของเขาเลย
In the Mood for Love (2000)
In the Mood for Love (2000) Hong Kong : Wong Kar-Wai ♥♥♥♥♡
(19/12/2016) ในห้วงอารมณ์แห่งความรัก ชายหญิงมีความใกล้ชิดสนิทสนม ต้องการเป็นของกันและกัน แต่เพราะมีเส้นบางๆกีดกั้น ขัดขวางทางพวกเขาไว้ ใครคนหนึ่งจำต้องเดินจากไป, เมื่อเวลาเคลื่อนผ่าน หลงเหลือเพียงความทรงจำ กระซิบบอกซากโบราณสถาน ให้เก็บความลับนี้ไว้ชั่วนิรันดร์