เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก Kōji (รับบทโดย Yūzō Kayama) ตกหลุมรักพี่สะใภ้ Reiko (รับบทโดย Hideko Takamine) หลายปีให้หลังจากพี่ชายตายไป จึงตัดสินใจสารภาพรักต้องห้าม (Taboo) มันไม่เหมาะสมจริงๆนะหรือ?
หมวดหมู่: rare SOUNDTRACK
greatest song, suberb music, best soundtrack, beautiful melody
Onna ga kaidan o noboru toki (1960)
เมื่อมาม่าซัง Hideko Takamine ก้าวขึ้นบันไดสู่สรวงสวรรค์ของบุรุษ เธอจักต้องคอยให้บริการ เอาอกเอาใจ ใช้มารยาหญิงละเล่นเกมหัวใจ แต่จะมีใครมอบความรัก ความจริงใจ ให้หญิงขายบริการบ้างไหม?
Inazuma (1952)
สังคมพยายามเสี้ยมสอนให้หญิงสาวต้องแต่งงาน ลงหลักปักฐาน ก้มหัวศิโรราบต่อบุรุษเพศ แต่หลังจาก Hideko Takamine พบเห็นสารพัดความวุ่นๆวายๆในครอบครัวของมารดาและพี่ทั้งสาม ตัดสินใจก้าวออกมา พึ่งพาตนเอง ครองตัวเป็นโสดเสียยังดีกว่า, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Meshi (1951)
พลิกภาพนางฟ้า Setsuko Hara มาเป็นภรรยาผู้เต็มไปด้วยความเก็บกด อดกลั้น อัดอั้นกับชีวิตแม่บ้าน ซักผ้า ทำอาหาร ปัดกวาดเช็ดถู ปรนเปรอนิบัติสามี วันๆมีแต่ความซ้ำซากจำเจ ไม่รู้จักจบจักสิ้น เธอจะค้นพบหนทางออกของชีวิตหรือไม่?
Cool Hand Luke (1967)
เรื่องราวของ Luke (บทบาทยอดเยี่ยมที่สุดของ Paul Newman) ผู้มีความหล่อ เท่ห์ รอยยิ้มทรงเสน่ห์ เป็นที่รักของเพื่อนนักโทษ พยายามหลบหนีจากค่ายแรงงาน (Chain Gang) แต่จนแล้วจนรอดถูกจับกลับมา จนหมดสูญสิ้นความเชื่อมั่นศรัทธาต่อตนเอง-พระเจ้า เลยจำยินยอมก้มหัวศิโรราบต่อระบบ
Le Joli Mai (1963)
หลังจาก Algerian War (1954-62) สิ้นสุดลงวันที่ 19 มีนาคม พอย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิเดือนพฤษภาคม Chris Marker และตากล้อง Pierre Lhomme จึงแบกกล้อง ออกสัมภาษณ์ สอบถามความคิดเห็นชาว Parisian ถึงสรรพสิ่งต่างๆในชีวิต อิทธิพล ผลกระทบ ความเปลี่ยนแปลงภายหลังสิ้นสุดสงคราม
Tanín no Kao (1966)
วิศวกรเคมี Mr. Okuyama (รับบทโดย Tatsuya Nakadai) เสียโฉมจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน โชคดีว่าเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ สามารถสร้างหน้ากากมนุษย์ขึ้นมาทดแทน แต่เมื่อสวมใส่กลับทำให้ตัวตน(เก่า)ค่อยๆเลือนหาย อันเนื่องจากรูปลักษณ์ใหม่ทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป
Otoshiana (1962)
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ Hiroshi Teshigahara, คนงานเหมืองถูกฆาตกรรมโดยไม่ทราบสาเหตุ กลายเป็นวิญญาณล่องลอย พยายามออกติดตามหาเบื้องหลังความจริง แต่รู้คำตอบแล้วจะสามารถทำอะไร? เพียงว่ายเวียนวนอยู่บนโลกหลังความตาย
Le Boucher (1970)
หนังพยายามนำเสนอร่องรอย หลักฐาน บ่งชี้ชัดว่าคนขายเนื้อ (The Butcher) คือฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) แต่ความสนใจของผู้กำกับ Claude Chabrol ไม่ได้ต้องการไล่ล่าจับกุมตัวคนร้าย ชักชวนผู้ชมร่วมค้นหาเบื้องหลัง สาเหตุผล สำรวจจิตใจคน บังเกิดแรงผลักดันอะไรถึงไม่สามารถควบคุมตนเอง?
The Man with the Golden Arm (1955)
ผู้กำกับ Otto Preminger ต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด (Drug Addict) แต่มันกลับขัดต่อกฎระเบียบ ประเด็นต้องห้ามของ Motion Picture Production Code หรือที่รู้จักในชื่อ Hays Code เลยตัดสินใจช่างแม้ง ก็ไม่ต้องขออนุญาต ผลลัพท์ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Strangers on a Train (1951)
ชายแปลกหน้าสองคนบังเอิญพบเจอกันบนขบวนรถไฟ คุยไปคุยมา ชักชวนแลกเปลี่ยนแผนการฆาตกรรม ฉันฆ่าเมียนาย นายฆ่าพ่อฉัน เราสองไม่รู้จักกัน มันช่างเป็น ‘Perfect Murder’ นำเสนอด้วยสไตล์ Hitchcockian เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ระทึกขวัญ รถไฟชนกัน
โปรดิวเซอร์ David O. Selznick แม้เพิ่งคว้า Oscar ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสองปีติดๆจาก Gone With The Wind (1940) และ Rebecca (1941) แต่ทว่ากลับตกอยู่สภาวะหดหู่ ล้มป่วยซึมเศร้า (Depression) จนต้องเข้ารับการบำบัดในสถาบันจิตเวชศาสตร์ พอหายดีกลับมาเกิดความกระตือรือร้น ต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
หลังการแต่งงาน Joan Fontaine เต็มไปด้วยความเคลือบแคลง ฉงนสงสัย ชายคนรัก Cary Grant มีพฤติกรรมลับๆล่อๆ เต็มไปด้วยข้อกังขา ‘Suspicion’ ก่อนรับรู้ว่าหมอนี่เป็นคนไม่เอาถ่าน การงานไม่เคยทำ วันๆเอาแต่เล่นพนันหมดตัว แล้วเอาเงินที่ไหนมาจับจ่ายใช้สอย กินหรูอยู่สบาย จู่ๆคนรอบข้างสูญหาย ล้มตาย หรือว่า …
Europa (1991)
ผู้กำกับ Lars von Trier ได้รับการเปิดเผยจากมารดาก่อนเสียชีวิต บุคคลที่เลี้ยงดูเขามาเป็นเพียงพ่อบุญธรรม เมื่อมีโอกาสพบเจอหน้าบิดาแท้ๆ กลับถูกปฏิเสธต่อต้าน นั่นคือจุดเริ่มต้นความสิ้นหวัง ไม่ต่างจากยุโรป/เยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Atlantique (2019)
คลื่นลมในมหาสมุทร Atlantics ช่างมีความลึกลับ เหนือธรรมชาติ ซัดพาวิญญาณคนตายหวนกลับเข้าฝั่ง เพื่อกระทำสิ่งสุดท้ายที่ยังติดค้างคาใจ, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Erosu + Gyakusatsu (1969)
ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ (ความยาว 216 นาที) ที่ทำการถกเถียงปรัชญาการเมือง + เรื่องส่วนบุคคล, พวกนักปฏิวัติพยายามเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม แต่พอเป็นเรื่องส่วนตัว เสรีในรัก (Free Love & Free Sex) รวมถึงการปลดแอกทางเพศ (Sexual Liberation) กลับถูกปฏิเสธต่อต้านด้วยความรุนแรง อาฆาตแค้น ลอบสังหาร
Honō to Onna (1967)
ผลงานจากหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague (หรือ Japanese New Wave) ที่แพรวพราวไปด้วย ‘Mise-en-scène’ แต่ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับเด็กหลอดแก้วคือลูกของใคร? มันช่างเฉิ่มเฉย ตกยุคสมัย
Tange Sazen Yowa: Hyakuman Ryô no Tsubo (1935)
ไหเงินล้านบรรพบุรุษ ถูกส่งมอบเป็นของขวัญแต่งงานน้องชาย ไม่เห็นคุณค่าสักเท่าไหร่เลยขายต่อคนรับซื้อของเก่า มอบให้บุตรชายใช้เลี้ยงปลาทอง, เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาไหเงินล้าน มีความโคตรๆบันเทิง ชิบหายวายป่วนสไตล์ Sadao Yamanaka, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Ballada o soldate (1959)
บทกวีรำพันเรื่องราวทหารรัสเซียนายหนึ่ง ได้รับอนุญาตให้ลากลับบ้าน แต่ระหว่างทางพบเจอเรื่องวุ่นๆวายๆ ที่จักทำให้ผู้ชมอมยิ้ม ตกหลุมรัก ก่อนหัวใจแตกสลาย, สามารถเข้าชิง Oscar: Best Original Screenplay
Mùi đu đủ xanh (1993)
กลิ่นมะละกอ (Papaya) บางคนว่าหอมหวน บางคนว่าเหม็นหืน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ตลบอบอวลด้วยความทรงจำผู้กำกับ Trần Anh Hùng จากบ้านเกิดมาตั้งแต่อายุสิบสอง มองย้อนกลับไปรู้สึกสงสารเห็นใจ ประเทศเวียดนามยังคงยึดถือมั่นในสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy)