เรื่องราวของหนุ่มชายขอบ ชอบแอบเข้าไปหลับนอนในบ้านคนอื่น พยายามฝึกฝน ‘ghost practice’ เพื่อให้ตัวตนค่อยๆเลือนหาย กลายเป็นเหมือนวิญญาณล่องลอย รูปธรรมสู่นามธรรม นี่คืออีกผลงานชิ้นเอกที่ทำให้ผู้กำกับ Kim Ki-duk กลายเป็นอมตะนิรันดร์, คว้ารางวัล Silver Lion: Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Venice
หมวดหมู่: rare STORY
best writing, twist and turn, unexpected story, beautiful emotion
สองสาววัยรุ่นยังไม่บรรลุนิติภาวะ เลือกจะขายบริการทางเพศเพื่อนำเงินไปท่องเที่ยวยุโรป วันหนึ่งบิดาบังเอิญพบเห็น แทนที่จะพูดคุยสอบถาม ปรับความเข้าใจ กลับระบายอารมณ์เกี้ยวกราดใส่บรรดาลูกค้าเหล่านั้น, คว้ารางวัล Silver Bear: Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Address Unknown (2001)
ร้อยเรียงประสบการณ์วัยเด็กของผู้กำกับ Kim Ki-duk มักโดนเพื่อนๆกลั่นแกล้ง (Bully) ดูถูกเหยียดหยาม (Racist) พบเห็นสารพัดเหตุการณ์ความรุนแรง ทั้งยังบิดาชอบทารุณกรรม (Child Abuse) ชีวิตเต็มไปด้วยความอึดอัดอั้น เก็บกด อดกลั้น แทบอยากจะคลุ้มบ้าคลั่ง
ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Kim Ki-duk ทำการเปรียบเทียบมนุษย์ = จระเข้, คนไร้บ้านอาศัยอยู่ใต้สะพานข้ามแม่น้ำ Han River ใช้ชีวิตด้วยสันชาติญาณ ตอบสนองตัณหาอารมณ์ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกยุคสมัยใหม่ แต่พวกเขาเหล่านี้ใช่ขยะสังคมจริงๆนะหรือ?
Oasis (2002)
เรื่องราวความรักชายขอบ ระหว่างชายบกพร่องทางสติปัญญา (รับบทโดย Sol Kyung-gu) กับหญิงสมองพิการ ร่างกายขยับเคลื่อนไหวลำบาก (รับบทโดย Moon So-ri) โอเอซิสแห่งนี้คือสรวงสวรรค์ของคนสอง แต่คือขุมนรกของคนชม
ความทรงจำไม่ใช่สัจนิรันดร์ คือสิ่งสามารถบิดเบือน ลบเลือน ผันแปรเปลี่ยน อย่างผู้ป่วยภาวะสูญเสียความจำส่วนอนาคต (Anterograde Amnesia) เพราะไม่สามารถสร้างความทรงจำใหม่ จึงถูกคนรอบข้างฉกฉวยโอกาส เดี๋ยวมาดี เดี๋ยวมาร้าย ปลอมตัวเป็นใครก็ได้ จนท้ายที่สุดแม้แต่ตัวตนเองยังพยายามล่อหลอกตัวตนเอง
Une affaire de femmes (1988)
เรื่องจริงของ Marie-Louise Giraud (รับบทโดย Isabelle Huppert คว้ารางวัล Volpi Cup for Best Actress) ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินในช่วง Vichy France เนื่องจากรับทำแท้งเถื่อนหญิงสาว 27 คน มันอาจดูเป็นเรื่องผิดศีลธรรม แต่ลองรับฟังเหตุผลของเธอก่อน แล้วค่อยตัดสินถูก-ผิด ดี-ชั่ว สมควรได้รับความสงสารเห็นใจหรือไม่
La Rupture (1970)
เริ่มต้นเช้าวันหนึ่ง สามีตรงเข้ามาทำร้ายร่างกายภรรยาและบุตร ฝ่ายหญิงจึงโต้ตอบด้วยการใช้กระทะทุบศีรษะ! ความรุนแรงบังเกิดขึ้นนี้คงทำให้ใครต่อใครตีตราว่าร้าย รับไม่ได้กับความรุนแรง ต้องเลิกราหย่าร้างเท่านั้น แต่เบื้องหลังความจริงเป็นไร เราคนนอกอย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจ
Le Boucher (1970)
หนังพยายามนำเสนอร่องรอย หลักฐาน บ่งชี้ชัดว่าคนขายเนื้อ (The Butcher) คือฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) แต่ความสนใจของผู้กำกับ Claude Chabrol ไม่ได้ต้องการไล่ล่าจับกุมตัวคนร้าย ชักชวนผู้ชมร่วมค้นหาเบื้องหลัง สาเหตุผล สำรวจจิตใจคน บังเกิดแรงผลักดันอะไรถึงไม่สามารถควบคุมตนเอง?
Les Cousins (1959)
ญาติห่างๆของ Le Beau Serge (1958) เดินทางเข้าเมืองหลวง ลุ่มหลงระเริงไปกับแสงสีเสียง (แต่หนังถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ) เต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้ายวน พยายามต่อต้านขัดขืน กลับจบลงด้วยความขมขื่น, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
French New Wave เริ่มต้นที่ Le Beau Serge (1958) นำเสนอการหวนกลับหารากเหง้าของผู้กำกับ Claude Chabrol เติบโตขึ้นยังหมู่บ้านชนบท Sardent, France พบเจอเพื่อนเก่ามีสภาพไม่เอาถ่าน บังเกิดความมุ่งมั่น จิตวิญญาณแรงกล้า ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อให้เขาสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่
The Man with the Golden Arm (1955)
ผู้กำกับ Otto Preminger ต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด (Drug Addict) แต่มันกลับขัดต่อกฎระเบียบ ประเด็นต้องห้ามของ Motion Picture Production Code หรือที่รู้จักในชื่อ Hays Code เลยตัดสินใจช่างแม้ง ก็ไม่ต้องขออนุญาต ผลลัพท์ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ผู้ชมต่างจดจำ The Country Girl (1954) อันเนื่องจาก Grace Kelly ปล้นรางวัล Oscar: Best Actress มาจาก Judy Garland ภาพยนตร์ A Star is Born (1954) แต่มันเป็นการแสดงยอดเยี่ยมขนาดนั้นเชียวหรือ??
Strangers on a Train (1951)
ชายแปลกหน้าสองคนบังเอิญพบเจอกันบนขบวนรถไฟ คุยไปคุยมา ชักชวนแลกเปลี่ยนแผนการฆาตกรรม ฉันฆ่าเมียนาย นายฆ่าพ่อฉัน เราสองไม่รู้จักกัน มันช่างเป็น ‘Perfect Murder’ นำเสนอด้วยสไตล์ Hitchcockian เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ระทึกขวัญ รถไฟชนกัน
โปรดิวเซอร์ David O. Selznick แม้เพิ่งคว้า Oscar ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสองปีติดๆจาก Gone With The Wind (1940) และ Rebecca (1941) แต่ทว่ากลับตกอยู่สภาวะหดหู่ ล้มป่วยซึมเศร้า (Depression) จนต้องเข้ารับการบำบัดในสถาบันจิตเวชศาสตร์ พอหายดีกลับมาเกิดความกระตือรือร้น ต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ครั้งแรกของผู้กำกับ Alfred Hitchcock นำเสนอเรื่องราวในพื้นที่จำกัด (Limited Setting) ถ่ายทำบนเรือชูชีพ หลังถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำ Nazi U-boat แต่เมื่อมีทหารเยอรมันคนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือ พวกเขาจะทำอะไรยังไงกับชายคนนี้ดี?
The Lady Vanishes (1938)
ด้วยสัมผัส Hitchcockian ทำให้การหายตัวไปของหญิงชราบนขบวนรถไฟ เต็มไปด้วยความลึกลับ ซับซ้อน คาดไม่ถึง เธอมีตัวตนจริงหรือไม่? หรือใครบางคนจัดฉาก เล่นละคอนตบตา แต่จะทำไปเพื่ออะไรกัน?
มาสเตอร์พีซเรื่องแรกของ Alfred Hitchcock, ชายคนหนึ่งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ เลยถูกไล่ล่าติดตาม ต้องออกเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ ผจญภัยไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อขบไขปริศนา The 39 Steps มันคืออิหยังหว่ะ?
Melancholia (2011)
ไม่ต้องไปสนหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่าดาวเคราะห์พเนจร Melancholia จะพุ่งชนโลกได้อย่างไร? เมื่อวันโลกาวินาศคืบคลานเข้ามา ไม่สามารถหาหนทางหลบหนี คนส่วนใหญ่คงตกอยู่ในสภาพหดหู่ ซึมเศร้า หมดสิ้นหวังอาลัย แต่สำหรับผู้กำกับ Lars von Trier คงนั่งเหม่อมองท้องฟ้า อดไม่ได้จะยิ้มเริงร่า
Dogville (2003)
เลือนลางระหว่างภาพยนตร์-ละคอนเวที มีเพียงเส้นชอล์กขีดแบ่งบ้านแต่ละหลัง ทุกสิ่งอย่างล้วนเปิดกว้าง แต่ทุกคนกลับสร้างบางอย่างขึ้นมากีดขวางกั้น เรียกร้องโน่นนี่นั่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม นี่นะหรือวิถีอเมริกัน? ดินแดนแห่งโอกาส สำหรับเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่เมื่ออาศัยอยู่นานวัน สันดานธาตุแท้ผู้คนจักค่อยๆเปิดเผยออกมา