ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki ดัดแปลงจากมังงะ Lupin the Third ปรับเปลี่ยนอาชญากรผู้เหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ให้กลายเป็นจอมโจรโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจหญิงสาว
หมวดหมู่: anime
anime, animation, cartoon, อนิเมะ, การ์ตูน, l’anime, アニメ
Taiyō no Ōji Horusu no Daibōken (1968)
ร่วมงานครั้งแรกระหว่าง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki (Concept Artist, Scene Design และ Key Animation) แม้โปรดักชั่นล่าช้ากว่าสามปี บางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป เข้าฉายไม่กี่วันก็เงียบหาย แต่กลับได้รับกระแสคัลท์ติดตามมา สร้างอิทธิพลให้วงการอนิเมชั่น จนกลายเป็นหนึ่งในอนิเมะยอดเยี่ยมตลอดกาล!
Wanpaku Ōji no Orochi Taiji (1963)
หลังทดลองผิดลองถูก สะสมประสบการณ์มาจนถึงภาพยนตร์อนิเมชั่นลำดับที่หกของ Toei Animation แต่ถือเป็นมาสเตอร์พีซเรื่องแรก สำแดงความเป็นญี่ปุ่น ดัดแปลงตำนานเทพปกรณัมเมื่อครั้น Izanami และ Izanagi ให้กำเนิดหมู่เกาะ Ōyashima (ประเทศญี่ปุ่น) และบุตรชาย Susanoo ต่อสู้อสูรกายแปดหัว Yamata no Orochi
อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของ Mushi Production (ก่อตั้งโดย Osamu Tezuka) ทำการทดลองสร้างตัวละครจากภาพโปสเตอร์ที่ติดอยู่ตามตรอกซอกซอย แม้ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหว แต่ใช้ลูกเล่นตัดต่อสร้างจังหวะให้สอดคล้องบทเพลง แถมยังมีเรื่องราวจับต้องได้, คว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award
ภาพยนตร์อนิเมชั่นฟีล์มสีเรื่องแรกของญี่ปุ่น และเรื่องแรกของ Toei Animation แต่กลับดัดแปลงตำนานนางพญางูขาว นิทานพื้นบ้านชาวจีน นั่นสะท้อนยุคสมัยหลังสงคราม (Post-War) ความพ่ายแพ้ทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียจิตวิญญาณ ความเชื่อมั่น เป็นตัวตนเอง จำต้องพึ่งพามหาอำนาจในการเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ
Silly Symphony (1929-39)
75 การ์ตูนสั้นไร้สาระจากสตูดิโอ Walt Disney จุดประสงค์เพื่อฝึกฝนนักอนิเมเตอร์ ทำการทดลองเทคโนโลยี ลูกเล่นอนิเมชั่นใหม่ๆ ในลักษณะ Musical Comedy หลายๆเรื่องมีความงดงาม ทรงคุณค่า แฝงสาระข้อคิด และมีถึง 7 เรื่องสามารถคว้ารางวัล Oscar: Short Subject, Cartoons
อาจไม่ใช่การ์ตูนใส่เสียง (Synchronized Sound) เรื่องแรกของโลก! แต่ทว่า Steamboat Willie (1928) คือเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จโด่งดัง กลายเป็นรากฐานวงการอนิเมชั่น จุดกำเนิด Mickey Mouse และ Walt Disney
Skazka skazok (1979)
ขูดๆขีดๆเรื่องเล่าความทรงจำ นำเสนอผ่านมุมมองเจ้าหมาป่าน้อย (Grey Wolf) พบเห็นความวุ่นๆวายๆของมนุษย์ชาวรัสเซีย ในช่วงคาบเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่สอง ตัดสลับระหว่างโลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Mirror (1975)
Yózhik v tumáne (1975)
เม่นแคระ (Hedgehog) พลัดหลงทางเข้าไปในละอองหมอก มันช่างเป็นสถานที่ที่มีความลึกลับ หวาดสะพรึง ต้องเผชิญหน้ากับ(ความกลัวของ)ตนเอง ถึงสามารถค้นหาหนทางออก พบเจอเป้าหมายชีวิต, มาสเตอร์พีซแห่งวงการอนิเมชั่น และเป็นที่โปรดปรานของ Hayao Miyazaki
Vinni-Pukh (1969)
ลบภาพจำ Winnie the Pooh ฉบับของ Walt Disney ทิ้งไปได้เลย! เพราะหมีเกรียนฉบับสหภาพโซเวียต มีความเฉียบคมคาย แฝงปรัชญาลุ่มลึกล้ำ สร้างเสียงหัวเราะขบขัน ออกแบบตัวละครน่ารักน่าชัง แม้เพียงสามตอนสั้นๆ แต่ทำให้เกิดความประทับใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่รู้ลืมเลือน
Snezhnaya Koroleva (1957)
ครั้งแรกของการดัดแปลงเทพนิยาย The Snow Queen (1844) ประพันธ์โดย Hans Christian Andersen สู่ภาพยนตร์อนิเมชั่น (Traditional Animation) ผลงานที่จักกลายเป็นแรงบันดาลใจ Hayao Miyazaki บังเกิดความมุ่งมั่น อยากสรรค์สร้างอนิเมะอย่างจริงจัง!
Ruka (1965)
Jiří Trnka เจ้าของฉายา “Walt Disney of Eastern Europe” สรรค์สร้างผลงานสวอนซองเรื่องสุดท้าย ระบายความอึดอัดอั้นต่อหัตถ์ของพระเจ้า การถูกควบคุมครอบงำโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ Czechoslovakia ได้รับยกย่องหนึ่งใน “Greatest Animated Shorts Film of All-Time”
Krysař (1986)
ดัดแปลงจากนิทานพื้นบ้านสุดหลอกหลอก Pied Piper of Hamelin มาเป็นโคตรผลงาน Stop-Motion Animation ใช้การแกะสลักจากไม้ ทำออกมาในสไตล์ German Expressionism (แบบเดียวกับภาพยนตร์ The Cabinet of Dr. Caligari (1920)) งดงาม วิจิตรศิลป์ แฝงสาระข้อคิด “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Něco z Alenky (1988)
Alice (in Wonderland) ฉบับผสมผสานระหว่าง Live-Action & Stop-Motion Animation สร้างบรรยากาศ Dark Fantasy ได้อย่างเหนือจริง (Surrealist) เติมเต็มจินตนาการของ Lewis Carroll น่าจะสมบูรณ์แบบที่สุดแล้วละ!
เปรียบได้กับ Lost in Translation (2003) ฉบับ Stop-Motion Animation แต่นำเสนอเพียงค่ำคืนของชายวัยกลางคน (Midlife Crisis) มีความโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว อาศัยอยู่ในโรงแรมหรูตัวคนเดียว พบเจอหญิงสาวแปลกหน้า เกี้ยวพาราสีจนได้ร่วมรักหลับนอน (One Night Stand)
The Old Man and the Sea (1999)
หนึ่งในอนิเมชั่นงดงามที่สุดในโลก! วาดภาพสีน้ำมันด้วยมือ ทีละเฟรม ลงบนกระจก ด้วยสัมผัส Romantic Realism ดัดแปลงจากโคตรวรรณกรรมของ Ernest Hemingway คว้ารางวัล Oscar: Best Animated Short Film, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
เด็กชายวัย 9 ขวบ บังเอิญผลักมารดาตกบันไดเสียชีวิต เขากำลังต้องเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาเลวร้ายนั้น นำเสนอด้วยเทคนิค Stop-Motion Animation ช่างมีความมหัศจรรย์ ต้องมนต์ขลัง
ดัดแปลงจากนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของ Philip K. Dick นำประสบการณ์หลังหย่าร้างภรรยา (คนที่สี่) เสพติดยาจนเริ่มเห็นภาพหลอน ยังดีที่เข้ารักษาตัวในสถานบำบัดได้ทัน แต่เพื่อนของเขาหลายคนอาจไม่โชคดีเช่นนั้น, หนังมีความเป็น ‘สไตล์ Linklater’ มากไปนิด แต่ก็มืดหม่นและเจ็บจี๊ดถึงทรวงใน
จากการถ่ายทำ Live-Action นำมาวาดภาพ Animation ที่อาจดูปวดเศียรเวียนเกล้า แต่ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถาม สนทนาอภิปรัชญา ทุกวันนี้เรากำลังหลับหรือตื่น มีชีวิตหรือจมอยู่ความฝัน อะไรคืออิสรภาพ-โชคชะตากรรม ทำอย่างไรถึงสามารถดิ้นหลุดพ้นจากวัฎฎะสังสาร แล้วมนุษย์เกิดมาทำไมกัน?