
เรื่องวุ่นๆของความหิวกระหาย ต่อการมีชีวิตของคนหนุ่มสาวชาวไต้หวัน ช่วงทศวรรษ 90s ตั้งแต่เด็กเล็ก-ผู้ใหญ่-สูงวัย ล้วนเต็มไปด้วยความเก็บกด ‘sexual repression’ เฝ้ารอคอยวันระบายออกมา, อย่ารับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ตอนท้องหิวเป็นอันขาดเชียวนะ!
chinese film, china, hong kong, taiwan, taipei, mandarin, cantonese
เรื่องวุ่นๆของความหิวกระหาย ต่อการมีชีวิตของคนหนุ่มสาวชาวไต้หวัน ช่วงทศวรรษ 90s ตั้งแต่เด็กเล็ก-ผู้ใหญ่-สูงวัย ล้วนเต็มไปด้วยความเก็บกด ‘sexual repression’ เฝ้ารอคอยวันระบายออกมา, อย่ารับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ตอนท้องหิวเป็นอันขาดเชียวนะ!
บิดา-มารดาพยายามเรียกร้องขอให้บุตรชายหาคู่ครองแต่งงาน แต่เขาเป็นเกย์และมีคู่ขาคนรักอยู่แล้ว จึงครุ่นคิดแผนจัดงานแต่งหลอกๆกับหญิงสาวคนหนึ่ง ตั้งใจให้เป็นแค่ปาร์ตี้เล็กๆ กลับขยับขยายจนเรื่องราวบานปลายไปใหญ่, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
ความอร่ามของพระราชวัง(ดอก)ทอง เป็นการแสดงให้เห็นถึงคติรวมหมู่ (Collectivism) เมื่อผู้คนสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกระทำสิ่งต่างๆเพื่อเป้าหมายส่วนรวม จักสามารถสร้างความยิ่งใหญ่ให้ประเทศชาติ, นี่คือภาพยนตร์ที่ทำให้รัฐบาลจีนเลือกจางอี้โหมว มาเป็นผู้กำกับพิธีเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Beijing 2008
ท่ามกลางแมกไม้นานาพันธุ์ เรื่องราวความรักสามเส้าระหว่างหลิวเต๋อหัว และทาเคชิ คาเนชิโร่ ใครจะได้ครอบครองดอกไม้งาม ‘นางล่มเมือง’ จางจื่ออี๋ ต่างฝ่ายต่างเหมือนถูกคมมีดบินทิ่มแทงกลางใจ ถ้ามิได้ใช้ชีวิตกับหญิงคนรัก ฆ่ากันให้ตายเสียยังดีกว่า!
นี่คือ The Wizard of Oz (1939) ที่ทำการหวนระลึกถึงช่วงเวลาแห่งสีสัน อดีตอันทรงคุณค่า ประเทศจีนเคยเต็มเปี่ยมด้วยชีวิตชีวา ปัจจุบันหลงเหลือเพียงความหนาวเหน็บ เยือกเย็นชา แต่อนาคตเมื่อทั้งสองช่วงเวลาเวียนมาบรรจบ กลับสร้างความอบอุ่นขึ้นภายใน, คว้ารางวัล Silver Bear: Jury Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
เพราะได้รับทุนสร้างจากรัฐบาลจีน ผู้กำกับจางอี้โหมวเลยยืนกรานว่าหนังไร้ซึ่งนัยยะทางการเมือง แต่เพียงเพื่อโบนัสไม่กี่สิบหยวน ครูสาววัยสิบสามกลับยินยอมทำทุกสิ่งอย่าง จนหลงลืมหน้าที่รับผิดชอบแท้จริงของตนเอง, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
หลังเสร็จจาก To Live (1994) ผู้กำกับจางอี้โหมวจงใจเลือกผลงานถัดไปเกี่ยวกับกลุ่มอาชญากร เจ้าพ่อมาเฟีย (ที่สามารถสื่อถึงชนชั้นผู้นำประเทศจีน) พอดิบพอดีใกล้จะเลิกราแฟนสาวกงลี่ นี่คือการร่วมงานครั้งสุดท้าย (ขณะนั้น) จึงแทรกใส่เรื่องราวของคนทรยศหักหลัง … เป็นหนังที่สวยแต่รูป จูบไม่หอมสักเท่าไหร่
นโยบายลูกคนเดียวของเติ้งเสี่ยวผิง ไม่ต่างอะไรจากการเตะผ่าหมากสามีของชิวจู (นำแสดงโดย กงลี่ ในบทบาทเจิดจรัสที่สุด) เธอรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งไม่ถูกต้องจึงพยายามร้องเรียนหน่วยงานรัฐ แต่ไม่ว่าองค์กรท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กระทั่งขึ้นศาลยุติธรรม ล้วนได้รับคำตัดสินแบบเดียวกัน, คว้ารางวัล Golden Lion และ Volpi Cup for Actress จากเทศกาลหนังเมือง Venice
เพราะพฤติกรรมสุดซาดิสม์ของสามี ทำให้จูโด (Ju Dou) ลักลอบสมสู่กับหลานชาย (ของสามี) ผลกรรมทำให้บุตรของพวกเขาปฏิเสธต่อต้านบิดา แถมยังตั้งใจจะปิตุฆาต … นี่เหมือนกับพวกยุวชนแดงช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ไม่ยินยอมรับอดีต กระทำร้ายผู้ครุ่นคิดเห็นต่าง ทำลายทุกสิ่งอย่างก่อนยุคสมัยคอมมิวนิสต์
ข้าวฟ่างถูกนำมาทำไวน์แดง แล้วกลายเป็นเลือดไหลนองท่วมทุ่ง ระหว่างการสงคราม Second Sino-Japanese War (1937-45), ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับจางอี้โหมว คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin จัดจ้านด้วยแสงสีสัน คลุ้มคลั่งด้วยอารมณ์ ชวนเชื่อค่านิยมรักชาติ ไม่ยินยอมให้ใครอื่นมากอบโกยผลประโยชน์จากผืนแผ่นดินแดนบ้านเรา
Once Upon a Time in China (1991) : Tsui Hark ♥♥♥♡
กาลครั้งหนึ่ง … ช่วงปลายราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1875 ประเทศจีนต้องผจญศึกหนักทั้งจากภายนอกผู้รุกรานชาติตะวันตก และภายในการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเหล่าขุนนางราชสำนัก หวงเฟยหง (รับบทโดย Jet Lee) และลูกศิษย์ จึงจำต้องหาหนทางพิชิตคว้าชัย ด้วยสติปัญญาไม่ได้ก็ต้องพละกำลังกังฟู
Havoc in Heaven (1961, 64) : Wan Laiming ♥♥♥♥
อนิเมชั่นภาพสีขนาดยาวเรื่องแรกของประเทศจีน แต่เป็นผลงานเรื่องสุดท้ายของ Wan Brothers ก่อนการมาถึงของ Culture Revolution ดัดแปลงจากนวนิยายจีนคลาสสิก ไซอิ๋ว เฉพาะตอนเห้งเจีย/ซุนหงอคงอาละวาดแดนสวรรค์ ตั้งฉายาตัวเองว่ามหาเทพเสมอฟ้า งดงาม อลังการ พริ้วไหวเหมือนการแสดงงิ้ว เรียกได้ว่า Masterpiece
Crows and Sparrows (1949) : Zheng Junli ♥♥♥♡
อพาร์ทเม้นท์เล็กๆแห่งนี้กำลังถูกขาย แล้วผู้เช่าจะย้ายไปอาศัยอยู่ไหน? ลักลอบสร้างขึ้นช่วงบั้นปลายสงครามกลางเมืองจีน เมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋นกำลังพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เชิดชูการร่วมมือร่วมใจเผชิญหน้าอยุติธรรม รับชมปัจจุบันอาจไม่ตระหนักถึงใจความชวนเชื่อสักเท่าไหร่
The Spring River Flows East (1947) : Zheng Junli & Cai Chusheng ♥♥♥♡
ได้รับการเปรียบเทียบ ‘Gone With the Wind ของประเทศจีน’ แถมยังทำเงินสูงสุดตลอดกาลขณะนั้น!, เรื่องราวครอบครัวชาวจีนในเซี่ยงไฮ้ ครึ่งแรกพานผ่านสงครามแปดปี Second Sino-Japanese War (1937-45) ครึ่งหลังยุคสมัยแห่งการฟื้นฟู (Reconstruction Era) นี่เราต้องทนทุกข์ทรมานไปอีกนานเท่าไหร่
Little Toys (1933) : Sun Yu ♥♥♥♡
Ruan Lingyu รับบทนักประดิษฐ์ของเด็กเล่น กิจการเล็กๆภายในครอบครัว แต่เมื่อเกิดการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ถึงอาวุธสงคราม ปืนใหญ่ เครื่องบินรบ กลายสภาพเป็นหนังชวนเชื่อ ปลุกกระแสรักชาตินิยม ภาคภูมิใจในสิ่งของผลิตทำเองในประเทศ สามารถต่อกรมหาอำนาจชาติอื่นได้ไม่น้อยหน้า
Laborer’s Love (1922) : Zhang Shichuan ♥♥♥
หนังเงียบเต็มเรื่อง ความยาวประมาณ 20 นาที เก่าแก่ที่สุดหลงเหลือถึงปัจจุบันของประเทศจีน สร้างโดยสองผู้ก่อตั้ง ‘Founding Father’ แห่งวงการภาพยนตร์จีน Zheng Zhengqiu และ Zhang Shichuan รับชมไว้สำหรับผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์
The Big Road (1934) : Sun Yu ♥♥♥
ชายหกคนฉันท์พี่น้อง ร่วมแรงปลุกใจฝูงชนก่อสร้างทำถนนหนทาง เพื่อให้ทหารจีนสามารถเดินทัพมุ่งหน้าสู่สนามรบ ปกป้องประเทศชาติจากการรุกรานญี่ปุ่น ช่วงก่อนการมาถึงของ Second Sino-Japanese Wars
Street Angel (1937) : Yuan Muzhi ♥♥♥♡
เซี่ยงไฮ้ จากเคยเป็นเพียงชุมชนบทเล็กๆ ทำการประมงหาปลา แต่หลังจากเกาะฮ่องกงถูกยึดครองโดยสหราชอาณาจักร ค่อยๆแปรสภาพสู่เมืองท่า มหานคร เชื่อมรอยต่อความเจริญโลกยุคใหม่ ผู้คนมากมายแห่อพยพเข้าไป การจะดิ้นรนเอาตัวรอดหาใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด
Painted Skin (1993) : King Hu ♥♥♡
ซนต๋าโซ่น แหกดวงโปเย ผลงานทิ้งท้ายของปรมาจารย์ผู้กำกับ หู จินเฉวียน โดยรวมค่อนข้างน่าผิดหวังทีเดียว แม้จะคับคั่งด้วยนักแสดงคุณภาพ, Special Effect สุดอลังการ, แต่มีปัญหาที่วิธีดำเนินเรื่อง กระโดดไปมาเหมือนบรรดาจอมยุทธใช้วิชาตัวเบา ผู้ชมคงต้องเหาะเหินเดินอากาศถึงสามารถบรรลุเข้าใจหนังเรื่องนี้ได้
A Chinese Ghost Story (1987) : Ching Siu-Tung ♥♥♥
โปเยโปโลเย เย้ยฟ้าแล้วก็ท้า ฉบับอำนวยการสร้างโดย ฉีเคอะ จะพาคุณโบยบินโลดเต้นไปกับ Special Effect ตื่นตระการตา, ความน่ารักน่าชังของคู่มนุษย์-ผี เลสลี่ จาง กับ หวัง จู่เสียน เหมาะสำหรับผู้ชมยุคสมัยใหม่ ตัดต่อรวดเร็วฉับไว เพลงประกอบตราตรึง … ก็แล้วแต่คนจะชอบ