
เรื่องวุ่นๆของความหิวกระหาย ต่อการมีชีวิตของคนหนุ่มสาวชาวไต้หวัน ช่วงทศวรรษ 90s ตั้งแต่เด็กเล็ก-ผู้ใหญ่-สูงวัย ล้วนเต็มไปด้วยความเก็บกด ‘sexual repression’ เฝ้ารอคอยวันระบายออกมา, อย่ารับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ตอนท้องหิวเป็นอันขาดเชียวนะ!
taiwanese, taiwan film
เรื่องวุ่นๆของความหิวกระหาย ต่อการมีชีวิตของคนหนุ่มสาวชาวไต้หวัน ช่วงทศวรรษ 90s ตั้งแต่เด็กเล็ก-ผู้ใหญ่-สูงวัย ล้วนเต็มไปด้วยความเก็บกด ‘sexual repression’ เฝ้ารอคอยวันระบายออกมา, อย่ารับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ตอนท้องหิวเป็นอันขาดเชียวนะ!
บิดา-มารดาพยายามเรียกร้องขอให้บุตรชายหาคู่ครองแต่งงาน แต่เขาเป็นเกย์และมีคู่ขาคนรักอยู่แล้ว จึงครุ่นคิดแผนจัดงานแต่งหลอกๆกับหญิงสาวคนหนึ่ง ตั้งใจให้เป็นแค่ปาร์ตี้เล็กๆ กลับขยับขยายจนเรื่องราวบานปลายไปใหญ่, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Lust, Caution (2007) : Ang Lee ♥♥♥♥♡
หนังรางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice เรื่องที่ 2 ของปรมาจารย์ผู้กำกับ Ang Lee, หนัง Erotic ผสม Sadistic ที่มีความวิจิตรประณีตลุ่มลึก ถ้าไม่ใช่คนเอเชียคงไม่สามารถดื่มด่ำไปกับรสสัมผัสของหนังได้เป็นแน่
Yi Yi (2000) Taiwan : Edward Yang ♥♥♥♥♥
ฉากเปิดเรื่องขณะกำลังถ่ายภาพหมู่งานแต่งงาน Yang-Yang เด็กชายถูกเด็กหญิงที่ยืนอยู่ข้างหลังสะกิดแกล้ง เขาหันหลังกลับไปหลายครึ่ง จนเกิดคำถาม ‘ทำไมคนเราถึงมองเห็นความจริงได้แค่ครึ่งเดียว เหมือนมองเห็นข้างหน้าแต่มองไม่เห็นข้างหลัง’ นี่คือใจความของหนังเรื่องนี้ ที่ไม่ใช่แค่ภาพถ่ายจากข้างหลัง แต่รวมไปถึงเทคนิคการถ่ายภาพ การตัดต่อและเพลงประกอบที่มีใจความเช่นเดียวกันนี้
A City of Sadness (1989) : Taiwan – Hou Hsiao-Hsien
หนังรางวัล Golden Lion ของประเทศจีน-Taiwan โดยผู้กำกับ Hou Hsian-Hsien (The Puppetmaster – 1991, The Assassin – 2015) เรื่องราวของ A City of Sadness เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ออกตัวจาก Taiwan ไปถึง การสังหารหมู่ 228 (White Terror) อันนำไปสู่การประกาศอัยการศึกถึง 38 ปีของก๊กมินตั๋ง พรรคชาตินิยมจีน นำแสดงโดย Tony Leung Chiu-Wai, Jack Kao และ Sung Young Chen
A Brighter Summer Day (1991) : Edward Yang ♥♥♥♥♡
(14/1/2018) เหตุผลของการเกิดโศกนาฎกรรมในภาพยนตร์เรื่องนี้ คืออิทธิพลจากทุกสิ่งอย่างในจักรวาลชีวิตของเด็กชายหนุ่ม ตั้งแต่พ่อ-แม่ ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน สังคม ประเทศชาติ สถานการณ์โลก ต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน อนาคตมันช่างหมดสิ้นหวังโดยสิ้นเชิง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
กระบี่หยกฟ้าบันดาล ความยาวสองศอกเก้านิ้ว กว้างหนึ่งนิ้ว หนาสองจุดห้า ด้ามจับเคยประดับทับทิม ลวดลายแกะสลักสมัยพระเจ้าฉินอู่ (ครองราชย์ 310-307 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ไม่ใช่แค่รูปลักษณะงดงาม แต่ยังแข็งแกร่งทนทาน มีความเฉียบแหลมคมยิ่งนัก เป็นยอดศัสตราวุธที่ชาวยุทธจักรต่างเคารพยำเกรง ถึงอย่างนั้นก็มิได้การันตีว่าผู้ครองครอบจักยิ่งใหญ่เหนือใครใต้หล้า
A Touch of Zen (1971) : King Hu ♠♠♠♠♠
(25/6/2017) Zen เป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นับถือแพร่หลายในแถบประเทศเอเชียตะวันออก (จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น) โดยคำว่าเซ็นเป็นการออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน 禅 อ่านว่า ฉาน มาจากภาษาบาลี ฌาน, นี่คือผลงาน Masterpiece แห่งชาวตะวันออก โดยปรมาจารย์ผู้กำกับหูจินเฉวียน (King Hu) ที่ต้องการนำเสนอว่า ความขัดแย้งทุกสิ่งอย่างในโลก สามารถยุติลงได้ด้วยการให้อภัยและปล่อยวาง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Dragon Inn (1967) : King Hu ♥♥♥♥♡
(24/6/2017) โรงเตี๊ยมหลงเหมิน (ประตูมังกร) ตั้งอยู่ ณ ดินแดนอันว่างเปล่าห่างไกลปืนเที่ยง ริมสุดชายแดนประเทศจีน แต่ช่วงวันสองวันนี้กลับเป็นสถานที่พบปะโดยบังเอิญของเหล่าผู้คนและจอมยุทธ์ มันกำลังจะมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นหรือเปล่า? นี่คือภาพยนตร์คลาสสิกระดับตำนานของประเทศจีน ที่สอดไส้แนวคิด ปรัชญา และการเมือง ได้อย่างลึกล้ำสวยงาม