เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก Kōji (รับบทโดย Yūzō Kayama) ตกหลุมรักพี่สะใภ้ Reiko (รับบทโดย Hideko Takamine) หลายปีให้หลังจากพี่ชายตายไป จึงตัดสินใจสารภาพรักต้องห้าม (Taboo) มันไม่เหมาะสมจริงๆนะหรือ?
หมวดหมู่: japanese
japan, Japanese film
Onna ga kaidan o noboru toki (1960)
เมื่อมาม่าซัง Hideko Takamine ก้าวขึ้นบันไดสู่สรวงสวรรค์ของบุรุษ เธอจักต้องคอยให้บริการ เอาอกเอาใจ ใช้มารยาหญิงละเล่นเกมหัวใจ แต่จะมีใครมอบความรัก ความจริงใจ ให้หญิงขายบริการบ้างไหม?
Nagareru (1956)
Kinuyo Tanaka รับบทแม่บ้าน/คนใช้ (Housemaid) เข้าทำงานยัง Okiya สถานที่พักอาศัยของสาวๆเกอิชา (Geisha) พบเห็นฉากหลัง ความวุ่นๆวายๆ พวกเธอไม่ได้กินหรูอยู่สบายอย่างที่ใครๆครุ่นคิดเข้าใจกัน
Bangiku (1954)
ดอกเบญจมาศที่เคยเบ่งบาน มาวันนี้ร่วงโรยตามกาลเวลา, เรื่องราวของสี่เกอิชาสูงวัย ในอดีตเคยเบ่งบานสะพรั่ง ได้รับการเด็ดดอม หอมดม แต่พออายุมากขึ้นก็ร่วงโรยตามสังขาร ทำได้เพียงพร่ำเพ้อโหยหา วันวานยังหวานอยู่
ดัดแปลงจากนวนิยายเสียงแห่งขุนเขา ผลงานของ Yasunari Kawabata นักเขียนญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับรางวัล Nobel Prize สาขาวรรณกรรม, เรื่องราวของบิดาสูงวัยใกล้ฝั่ง พบเห็นรอยแตกร้าวในครอบครัว บุตรชายคบชู้นอกใจภรรยา บุตรสาวใกล้เลิกราหย่าร้างสามี เขาทำอะไรไม่ได้นอกจากทอดถอนลมหายใจ
Inazuma (1952)
สังคมพยายามเสี้ยมสอนให้หญิงสาวต้องแต่งงาน ลงหลักปักฐาน ก้มหัวศิโรราบต่อบุรุษเพศ แต่หลังจาก Hideko Takamine พบเห็นสารพัดความวุ่นๆวายๆในครอบครัวของมารดาและพี่ทั้งสาม ตัดสินใจก้าวออกมา พึ่งพาตนเอง ครองตัวเป็นโสดเสียยังดีกว่า, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Meshi (1951)
พลิกภาพนางฟ้า Setsuko Hara มาเป็นภรรยาผู้เต็มไปด้วยความเก็บกด อดกลั้น อัดอั้นกับชีวิตแม่บ้าน ซักผ้า ทำอาหาร ปัดกวาดเช็ดถู ปรนเปรอนิบัติสามี วันๆมีแต่ความซ้ำซากจำเจ ไม่รู้จักจบจักสิ้น เธอจะค้นพบหนทางออกของชีวิตหรือไม่?
Tsuma yo bara no yô ni (1935)
บุตรสาวพร่ำบ่นถึงบิดา ไม่เคยแวะเวียนกลับหามารดา มัวแต่เอาอกเอาใจชู้รัก/เมียใหม่ จึงตัดสินใจออกเดินทาง ติดตามค้นหา ก่อนมาพบเจอเบื้องหลังอันขมขื่น ภาพยนตร์ดราม่าครอบครัวสุดซึ้ง ที่จักทำให้ลูกหลานครุ่นคิดถึงหัวอกบิดา-มารดา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Akarui Mirai (2003)
แมงกะพรุน ถูกจับมาเลี้ยงในตู้ปลา มันคงโหยหา คร่ำครวญ อยากหวนกลับสู่มหาสมุทร เปรียบเทียบดั่งหนุ่ม-สาว คนรุ่นใหม่ ต่างถูกบริบททางสังคมกดทับ พยายามปรับตัวเข้าหา กลับสร้างความขัดแย้ง แล้วเมื่อไหร่จะพบเจออนาคตสดใส, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
การมาถึงของยุคสมัยโลกาภิวัตน์ (Globalization) อินเตอร์เน็ตทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั้งโลก แต่มันทำให้เราคลายความเหงาได้จริงๆหรือ? นั่งอยู่ในห้องมืดๆ หน้าจอสว่างๆ แตกต่างอะไรจากวิญญาณคนตาย?
Cure (1997)
ผู้ป่วยของ Cure (1997) คือบุคคลธรรมดาทั่วไป ครู หมอ ตำรวจ ฯ ต่างมีครอบครัวอบอุ่น อาชีพการงานมั่นคง ได้รับนับหน้าถือตาจากผู้คน แต่เมื่อพวกเขาผ่านการ”รักษา”ทำให้ตัวตนแท้จริงเปิดเผยออกมา กลายเป็นฆาตกรสังหารโหด พร้อมทิ้งรอยบาดแผล X
บ้านแสนสุขที่เคยเต็มไปด้วยความอบอุ่น อุบัติเหตุคร่าชีวิตทารกน้อย ทำให้บิดา-มารดาราวกับตกนรกมอดไหม้ กลายเป็นปีศาจร้ายสิงสถิตอยู่ในบ้านแสนโศก! พล็อตคาดเดาไม่อยาก แต่เทคนิคพิเศษน่าตื่นตาในยุคสมัยนั้น และยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับวีดีโอเกมส์ Resident Evil
โคตรหนังคัลท์ที่ไม่เคยได้รับกระแสคัลท์! ข้างใต้สระน้ำ Demon Pond คือที่อยู่อาศัยของเทพเจ้ามังกร (Dragon God) คอยปกป้องหมู่บ้านมนุษย์จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่ทว่าคนรุ่นใหม่เริ่มไม่เชื่อในปรัมปรา ตำนานพื้นบ้าน ปฏิเสธทำตามวิถีสืบต่อกันมาช้านาน ผลลัพท์เลยก่อให้เกิดหายนะครั้งยิ่งใหญ่
Sakura no Mori no Mankai no Shita (1975)
นักเขียน Ango Sakaguchi แต่งเรื่องสั้น In the Forest, Under Cherries in Full Bloom (1947) โดยได้แรงบันดาลใจจากช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังกรุง Tokyo ถูกโจมตีทางอากาศ (Air Raid) ศพผู้เสียชีวิตจะถูกนำมาฝังรวมกันอยู่ ณ Ueno Hill ใกล้กับบริเวณที่ซากุระกำลังเบ่งบาน
Shura (1971)
จากแพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์แปลกใหม่ Funeral Parade of Roses (1969), ผลงานถัดไปของผู้กำกับ Toshio Matsumoto นำเสนอมุมมืด ปีศาจภายในจิตใจ ซามูไรถูกเกอิชาทรยศหักหลัง บันดาลโทสะ มิอาจควบคุมอารมณ์เกรี้ยวกราด พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อฆ่าล้างแค้น, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หนังผีญี่ปุ่นทุนต่ำ ทำออกมาในสไตล์กึ่งๆละคอนเวที (Kabuki Play) ละม้ายคล้าย The Ballad of Narayama (1958) แพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์ ‘Trick Film’ สำหรับสร้างความหลอกหลอน บรรยากาศสยองขวัญคลาสสิก
Tanín no Kao (1966)
วิศวกรเคมี Mr. Okuyama (รับบทโดย Tatsuya Nakadai) เสียโฉมจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน โชคดีว่าเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ สามารถสร้างหน้ากากมนุษย์ขึ้นมาทดแทน แต่เมื่อสวมใส่กลับทำให้ตัวตน(เก่า)ค่อยๆเลือนหาย อันเนื่องจากรูปลักษณ์ใหม่ทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป
Otoshiana (1962)
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ Hiroshi Teshigahara, คนงานเหมืองถูกฆาตกรรมโดยไม่ทราบสาเหตุ กลายเป็นวิญญาณล่องลอย พยายามออกติดตามหาเบื้องหลังความจริง แต่รู้คำตอบแล้วจะสามารถทำอะไร? เพียงว่ายเวียนวนอยู่บนโลกหลังความตาย
Erosu + Gyakusatsu (1969)
ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ (ความยาว 216 นาที) ที่ทำการถกเถียงปรัชญาการเมือง + เรื่องส่วนบุคคล, พวกนักปฏิวัติพยายามเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม แต่พอเป็นเรื่องส่วนตัว เสรีในรัก (Free Love & Free Sex) รวมถึงการปลดแอกทางเพศ (Sexual Liberation) กลับถูกปฏิเสธต่อต้านด้วยความรุนแรง อาฆาตแค้น ลอบสังหาร
Honō to Onna (1967)
ผลงานจากหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague (หรือ Japanese New Wave) ที่แพรวพราวไปด้วย ‘Mise-en-scène’ แต่ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับเด็กหลอดแก้วคือลูกของใคร? มันช่างเฉิ่มเฉย ตกยุคสมัย