
ภรรยาล้มป่วยหนักไม่มีเงินค่ารักษา สามีจึงตัดสินใจปั่นจักรยาน 7 วัน 7 คืน อยากจะทำเหมือน Ace in the Hole (1951) แต่ก็ได้แค่เวียนวนไปวนมา วังวนแห่งหายนะของผู้อพยพชาว Afghan
Middle East, Bahrain, Cyprus, Egypt, Iran, Iraq, Israel, Jordan, Kuwait, Lebanon, Oman, Palestinian territories, Qatar, Saudi Arabia, Syria, Turkey, United Arab Emirates, UAE, Yemen
ภรรยาล้มป่วยหนักไม่มีเงินค่ารักษา สามีจึงตัดสินใจปั่นจักรยาน 7 วัน 7 คืน อยากจะทำเหมือน Ace in the Hole (1951) แต่ก็ได้แค่เวียนวนไปวนมา วังวนแห่งหายนะของผู้อพยพชาว Afghan
เด็กชายถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย ต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรน ทำงานหาเลี้ยงชีพรอดด้วยตนเอง ใช้การวิ่งคือนัยยะเชิงสัญญะ ฉันจะดำเนินชีวิตต่อไปได้ไกลแค่ไหน มีโอกาสถึงเป้าหมายเส้นชัยหรือไม่
พนักงานรถไฟสูงวัย จู่ๆได้รับจดหมายเกษียณอายุเลิกจ้าง ชีวิตตกอยู่ในความสิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป! โคตรหนัง ‘slow cinema’ ต้นแบบอย่าง The Turin Horse (2011) คว้ารางวัล Silver Bear: Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
หนึ่งในภาพยนตร์ได้รับการยกย่อง “Best Iranian Film of all time” เรื่องราวของเด็กชาย Bashu หลบหนีสงคราม Iran–Iraq War (1980-88) จากทางตอนใต้มาถึงภาคเหนือของอิหร่าน พบเจอกลุ่มชาติพันธุ์ Gilak ที่แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ชมจักได้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่ามนุษยธรรม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ห่าฝนที่ตกลงมา ชุ่มฉ่ำเสียงหัวเราะด้วยภาษาภาพยนตร์สุดจัดจ้าน และชอกช้ำคราบน้ำตาเพราะนำเสนอหายนะของประเทศอิหร่าน, แนะนำโดย Martin Scorsese รวบรวมอยู่ใน World Cinema Project
ไม่ใช่ Close-Up (1990) หรือ A Separation (2011) แต่คือ The Deer (1974) ได้รับการโหวตอย่างเอกฉันท์จากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ชาวอิหร่าน ให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล! รวมถึง Behrouz Vossoughi กลายเป็นนักแสดงอันดับหนึ่งของชาวเปอร์เซีย
วัวตัวเดียวทำเสียวทั้งหมู่บ้าน! การเสียชีวิตของมันสามารถสะท้อนจิตวิทยา แฝงปรัชญา ความเชื่อศรัทธา ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯ ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้น Iranian New Wave แต่ต้องเรียกว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
มาสเตอร์พีซเรื่องแรกแห่งวงการภาพยนตร์อิหร่าน! สร้างโดยผู้กำกับหญิง Forugh Farrokhzad บันทึกภาพนิคมโรคเรื้อน (Leaper Colony) พบเห็นความอัปลักษณ์ พิกลพิการ แต่พวกเขายังคงสู้ชีวิตไม่ต่างจากคนปกติทั่วไป
เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แน่นอนว่าบินไม่ได้! แต่ถ้ามันตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องโบยบิน นั่นแสดงถึงช่วงเวลาหมดสิ้นหวัง ไร้หนทางธำรงชีพรอด … จะว่าไปภาพโปสเตอร์เด็กสาวกำลังแบกเด็กชาย แลดูเหมือนกระดองเต่า ไม่น่าจะโบกบินได้เช่นกัน
บันทึกการเดินทางเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายของ Nelofer Pazira (ครึ่งจริง-ครึ่งแต่ง) เพื่อติดตามหาน้องสาวอาศัยอยู่ Kandahar, Afghanistan ในช่วงการขึ้นมาเรืองอำนาจของกลุ่มตาลีบัน แต่โอกาสประสบความสำเร็จช่างน้อยนิดยิ่งนัก
การเป็นผู้หญิงในประเทศอิหร่าน มันช่างมีความเหนือจริงยิ่งนัก! เต็มไปด้วยกฎระเบียบข้อบังคับ เด็กหญิงต้องสวมฮิญาบตอนอายุ 9 ขวบ ห้ามเล่นกีฬา ห้ามปั่นจักรยาน ต้องแต่งงานตามคำสั่งครอบครัว แต่ด้วยวิถีของโลกยุคสมัยใหม่ การมีเงินทองจะทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป!
เมื่อตอนอายุสิบเจ็ด ผกก. Mohsen Makhmalbaf เคยใช้มีดทิ่มแทงตำรวจนายหนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส สองทศวรรษถัดมาออกติดตามหาจนพบเจอ ชักชวนมาร่วมงานภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อสรรค์สร้างช่วงเวลาแห่งความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา
The Song of Sparrows (2008) : Majid Majidi ♥♥♥♥♡
พ่อถูกไล่ออกจากงาน เพราะเผลอปล่อยนกกระจอกเทศหลุดหนีออกจากฟาร์ม มองหาอาชีพใหม่กลายเป็นวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง โดยไม่รู้ตัวค่อยๆซึมซับรับความเห็นแก่ตัวของชาวเมือง กำลังจะลักขโมยตู้เย็นที่ได้รับมอบหมายให้ไปส่ง แต่พอพบเห็นฝูงนกกระจอกเทศ เกิดความตระหนักถึงบางสิ่งอย่างขึ้นมาได้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Color of Paradise (1999) : Majid Majidi ♥♥♥♥
เด็กชายแม้พิการตาบอด แต่สามารถสัมผัสและได้ยินเสียงที่คนทั่วไปเพิกเฉยไม่ใส่ใจ ราวกับว่านั่นคือสีสันของสรวงสวรรค์ ที่พระเจ้าอำนวยอวยพรให้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Through the Olive Trees (1994) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
มนุษย์โหยหาสิ่งที่คือสัจนิรันดร์ เฉกเช่นเดียวกับชายหนุ่มเดินติดตามหญิงสาวผ่านต้นมะกอก (Olive Trees) รอรับฟังคำตอบขอแต่งงาน แต่ไม่ว่าเธอจะบอกกล่าวเขาเช่นไร ชีวิตยังคงต้องก้าวเดินต่อไป
Life, and Nothing More… (1992) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
ไม่ได้ต้องการสร้างภาคต่อ Where Is the Friend’s Home? (1987) แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศอิหร่านเมื่อปี ค.ศ. 1990 ประมาณการเสียชีวิตกว่า 30,000 คน! ผู้กำกับ Abbas Kiarostami เลยแบกกล้องออกเดินทางหวนกลับสู่เมือง Koker เพื่อติดตามหานักแสดงเด็กๆเคยร่วมงาน จะยังมีใครหลงเหลือชีวิตรอดอยู่บ้างไหม
Where Is the Friend’s Home? (1987) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
เด็กชายตระหนักได้ว่าหยิบสมุดการบ้านเพื่อนติดตัวกลับมาด้วย ต้องการนำส่งคืนก่อนถูกครูลงโทษพรุ่งนี้เช้า แต่… บ้านนายอยู่ไหน? ภาพยนตร์สร้างชื่อระดับนานาชาติให้ผู้กำกับ Abbas Kiarostami งดงามดั่งบทกวี, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The White Balloon (1995) : Jafar Panahi ♥♥♥♥
เด็กหญิงวัย 7 ขวบ ต้องการซื้อปลาทองตัวใหม่ แต่เงินที่กว่าจะออดอ้อนขอแม่มาได้ กลับมีเรื่องว้าวุ่นวายให้ถูกลักขโมย ทำตกหล่น สูญหายข้างทาง สุดท้ายแล้วเธอจะได้เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝันนั้นหรือเปล่า, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Waltz with Bashir (2008) : Ari Folman ♥♥♥♡
ร่วมออกค้นหาความทรงจำของอดีตนายทหารสัญชาติอิสราเอล Ari Folman ที่สูญหายไปในช่วงสงครามเลบานอน ค.ศ. 1982 ผ่านมากว่ายี่สิบปีทำไมถึงหลงลืม? หรือเพราะมีบางสิ่งอย่างไม่อยากจดจำ! นำเสนอด้วยรูปแบบอนิเมชั่นสอง+สามมิติ มีความแปลกประหลาดพิศดาร แต่เหมาะสมกับเรื่องราวลักษณะนี้อย่างที่สุด, คว้ารางวัล Golden Globe: Best Foreign Language Film
The Salesman (2016) Iranian : Asghar Farhadi ♥♥♥♡
ถ้าใครสักคนทำร้ายคนที่คุณรักจนปางตาย ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นใคร มีความตั้งใจหรือเปล่า คุณจะยอมให้อภัยได้หรือเปล่า