
เด็กชายถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย ต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรน ทำงานหาเลี้ยงชีพรอดด้วยตนเอง ใช้การวิ่งคือนัยยะเชิงสัญญะ ฉันจะดำเนินชีวิตต่อไปได้ไกลแค่ไหน มีโอกาสถึงเป้าหมายเส้นชัยหรือไม่
iranian, iran film
เด็กชายถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย ต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรน ทำงานหาเลี้ยงชีพรอดด้วยตนเอง ใช้การวิ่งคือนัยยะเชิงสัญญะ ฉันจะดำเนินชีวิตต่อไปได้ไกลแค่ไหน มีโอกาสถึงเป้าหมายเส้นชัยหรือไม่
พนักงานรถไฟสูงวัย จู่ๆได้รับจดหมายเกษียณอายุเลิกจ้าง ชีวิตตกอยู่ในความสิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป! โคตรหนัง ‘slow cinema’ ต้นแบบอย่าง The Turin Horse (2011) คว้ารางวัล Silver Bear: Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
หนึ่งในภาพยนตร์ได้รับการยกย่อง “Best Iranian Film of all time” เรื่องราวของเด็กชาย Bashu หลบหนีสงคราม Iran–Iraq War (1980-88) จากทางตอนใต้มาถึงภาคเหนือของอิหร่าน พบเจอกลุ่มชาติพันธุ์ Gilak ที่แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ชมจักได้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่ามนุษยธรรม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ห่าฝนที่ตกลงมา ชุ่มฉ่ำเสียงหัวเราะด้วยภาษาภาพยนตร์สุดจัดจ้าน และชอกช้ำคราบน้ำตาเพราะนำเสนอหายนะของประเทศอิหร่าน, แนะนำโดย Martin Scorsese รวบรวมอยู่ใน World Cinema Project
ไม่ใช่ Close-Up (1990) หรือ A Separation (2011) แต่คือ The Deer (1974) ได้รับการโหวตอย่างเอกฉันท์จากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ชาวอิหร่าน ให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล! รวมถึง Behrouz Vossoughi กลายเป็นนักแสดงอันดับหนึ่งของชาวเปอร์เซีย
วัวตัวเดียวทำเสียวทั้งหมู่บ้าน! การเสียชีวิตของมันสามารถสะท้อนจิตวิทยา แฝงปรัชญา ความเชื่อศรัทธา ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯ ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้น Iranian New Wave แต่ต้องเรียกว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
มาสเตอร์พีซเรื่องแรกแห่งวงการภาพยนตร์อิหร่าน! สร้างโดยผู้กำกับหญิง Forugh Farrokhzad บันทึกภาพนิคมโรคเรื้อน (Leaper Colony) พบเห็นความอัปลักษณ์ พิกลพิการ แต่พวกเขายังคงสู้ชีวิตไม่ต่างจากคนปกติทั่วไป
เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แน่นอนว่าบินไม่ได้! แต่ถ้ามันตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องโบยบิน นั่นแสดงถึงช่วงเวลาหมดสิ้นหวัง ไร้หนทางธำรงชีพรอด … จะว่าไปภาพโปสเตอร์เด็กสาวกำลังแบกเด็กชาย แลดูเหมือนกระดองเต่า ไม่น่าจะโบกบินได้เช่นกัน
บันทึกการเดินทางเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายของ Nelofer Pazira (ครึ่งจริง-ครึ่งแต่ง) เพื่อติดตามหาน้องสาวอาศัยอยู่ Kandahar, Afghanistan ในช่วงการขึ้นมาเรืองอำนาจของกลุ่มตาลีบัน แต่โอกาสประสบความสำเร็จช่างน้อยนิดยิ่งนัก
การเป็นผู้หญิงในประเทศอิหร่าน มันช่างมีความเหนือจริงยิ่งนัก! เต็มไปด้วยกฎระเบียบข้อบังคับ เด็กหญิงต้องสวมฮิญาบตอนอายุ 9 ขวบ ห้ามเล่นกีฬา ห้ามปั่นจักรยาน ต้องแต่งงานตามคำสั่งครอบครัว แต่ด้วยวิถีของโลกยุคสมัยใหม่ การมีเงินทองจะทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป!
เมื่อตอนอายุสิบเจ็ด ผกก. Mohsen Makhmalbaf เคยใช้มีดทิ่มแทงตำรวจนายหนึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส สองทศวรรษถัดมาออกติดตามหาจนพบเจอ ชักชวนมาร่วมงานภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อสรรค์สร้างช่วงเวลาแห่งความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา
The Song of Sparrows (2008) : Majid Majidi ♥♥♥♥♡
พ่อถูกไล่ออกจากงาน เพราะเผลอปล่อยนกกระจอกเทศหลุดหนีออกจากฟาร์ม มองหาอาชีพใหม่กลายเป็นวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง โดยไม่รู้ตัวค่อยๆซึมซับรับความเห็นแก่ตัวของชาวเมือง กำลังจะลักขโมยตู้เย็นที่ได้รับมอบหมายให้ไปส่ง แต่พอพบเห็นฝูงนกกระจอกเทศ เกิดความตระหนักถึงบางสิ่งอย่างขึ้นมาได้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Color of Paradise (1999) : Majid Majidi ♥♥♥♥
เด็กชายแม้พิการตาบอด แต่สามารถสัมผัสและได้ยินเสียงที่คนทั่วไปเพิกเฉยไม่ใส่ใจ ราวกับว่านั่นคือสีสันของสรวงสวรรค์ ที่พระเจ้าอำนวยอวยพรให้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Through the Olive Trees (1994) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
มนุษย์โหยหาสิ่งที่คือสัจนิรันดร์ เฉกเช่นเดียวกับชายหนุ่มเดินติดตามหญิงสาวผ่านต้นมะกอก (Olive Trees) รอรับฟังคำตอบขอแต่งงาน แต่ไม่ว่าเธอจะบอกกล่าวเขาเช่นไร ชีวิตยังคงต้องก้าวเดินต่อไป
Life, and Nothing More… (1992) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
ไม่ได้ต้องการสร้างภาคต่อ Where Is the Friend’s Home? (1987) แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศอิหร่านเมื่อปี ค.ศ. 1990 ประมาณการเสียชีวิตกว่า 30,000 คน! ผู้กำกับ Abbas Kiarostami เลยแบกกล้องออกเดินทางหวนกลับสู่เมือง Koker เพื่อติดตามหานักแสดงเด็กๆเคยร่วมงาน จะยังมีใครหลงเหลือชีวิตรอดอยู่บ้างไหม
Where Is the Friend’s Home? (1987) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
เด็กชายตระหนักได้ว่าหยิบสมุดการบ้านเพื่อนติดตัวกลับมาด้วย ต้องการนำส่งคืนก่อนถูกครูลงโทษพรุ่งนี้เช้า แต่… บ้านนายอยู่ไหน? ภาพยนตร์สร้างชื่อระดับนานาชาติให้ผู้กำกับ Abbas Kiarostami งดงามดั่งบทกวี, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The White Balloon (1995) : Jafar Panahi ♥♥♥♥
เด็กหญิงวัย 7 ขวบ ต้องการซื้อปลาทองตัวใหม่ แต่เงินที่กว่าจะออดอ้อนขอแม่มาได้ กลับมีเรื่องว้าวุ่นวายให้ถูกลักขโมย ทำตกหล่น สูญหายข้างทาง สุดท้ายแล้วเธอจะได้เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝันนั้นหรือเปล่า, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Salesman (2016) Iranian : Asghar Farhadi ♥♥♥♡
ถ้าใครสักคนทำร้ายคนที่คุณรักจนปางตาย ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นใคร มีความตั้งใจหรือเปล่า คุณจะยอมให้อภัยได้หรือเปล่า
Children of Heaven (1997) Iranian : Majid Majidi ♥♥♥♥♡
ว๊าว! นี่เป็นหนังสุดมหัศจรรย์ที่ต้องบอกต่อ และ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” เด็กชายทำรองเท้าของน้องสาวหาย เขาพยายามทำทุกอย่าง รวมถึงลงแข่งขันวิ่งมาราธอน เขาไม่สนใจอันดับ 1 และ 2 เป้าหมายคืออันดับ 3 ที่มีรองเท้าคู่หนึ่งเป็นรางวัล
A Separation (2011) Iranian : Asghar Farhadi ♥♥♥♥♡
หนังอิหร่านเรื่องแรกที่คว้ารางวัล Oscar สาขา Best Foreign Language Film และ Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, หนังมีใจความเกี่ยวกับการเลือกของลูกสาววัย 11 ระหว่างพ่อและแม่ที่กำลังจะหย่าร้างกัน เธอต้องตัดสินใจว่าจะอยู่กับใคร, หนังเรื่องนี้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”