จิ้งจกเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสัญญะของความโดดเดี่ยว ลองนึกภาพจิ้งจกเกาะอยู่ตามเพดาน ตามผนัง มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่คนไม่เคยเลี้ยง แต่ก็ไม่เคยไล่ ต่างคนต่างอยู่ บนเพดานกว้างจิ้งจกตัวหนึ่งจะดูโดดเด่นเป็นปื้นสีหม่นท่ามกลางสีขาว ชีวิตสองสปีชีย์อยู่ห่างกันไม่กี่เมตร แต่โลกของเรากับจิ้งจกเหมือนไกลกันหลายปีแสง – ปราบดา หยุ่น
หมวดหมู่: south-east asia
south east asia, SEA
เรื่องตลก 69 (1999)
ด้วยความที่ ฝัน บ้า คาราโอเกะ (พ.ศ. ๒๕๔๐) สร้างความอับอายให้เป็นเอก รัตนเรือง เวลาไปฉายตามเทศกาลหนัง “มันดูโชว์ออฟ มันดูหวือหวา ดูแบบเหมือนคนแต่งตัวจัด แต่ไม่ค่อยมีอะไรในสมองเท่าไหร่” ทว่ายี่สิบนาทีสุดท้ายของหนังที่ดำเนินเรื่องในหนึ่งวันมันเวิร์คแฮะ เลยอยากทำเรื่องถัดไปที่มีแค่หนึ่งวัน หนึ่งสถานที่ เรื่องตลก 69
ฝัน บ้า คาราโอเกะ (1997)
ร้อยเรียงเรื่องราวความคิดถึง ❤️ อีปู (เฟย์ อัศเวศน์) ฝันถึงแม่แต่ก็เป็นห่วงพ่อ (ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว), ไอ้น้อย (เรย์ แมคโดนัลด์) ฝันอยากไปอเมริกาตามหาพ่อ?, เสี่ยโต้ง (วีรดิษ วิญญรัตน์) กระทืบทุกคนเข้าใกล้เมียน้อย (แชมเปญ เอ็กซ์) ฯ นำมาแปะติดปะต่อ กลายเป็นภาพความฝัน วันบ้าๆ ในผับ บาร์ ร้านคาราโอเกะ
Xích Lô (1995)
ปั่นสามล้อถีบรอบกรุง Ho Chi Minh ในช่วงทศวรรษ 90s พบเห็นวิถีชีวิต ผู้คน สภาพสังคมเสื่อมโทรมทราม จักรยานถูกลักขโมย (พล็อตคล้ายๆ Bicycle Thieves (1948)) ทำให้ติดอยู่ในวังวนอาชญากรรม, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Mùi đu đủ xanh (1993)
กลิ่นมะละกอ (Papaya) บางคนว่าหอมหวน บางคนว่าเหม็นหืน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ตลบอบอวลด้วยความทรงจำผู้กำกับ Trần Anh Hùng จากบ้านเกิดมาตั้งแต่อายุสิบสอง มองย้อนกลับไปรู้สึกสงสารเห็นใจ ประเทศเวียดนามยังคงยึดถือมั่นในสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy)
เทพธิดาโรงแรม (1974)
มาลีเป็นกะหรี่ที่สวยที่สุดในโลก เป็นประโยคที่ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ วิยะดา อุมารินทร์ ต่างหากคือกะหรี่ของท่านมุ้ยที่สวยที่สุดในโลก! เอ็นดูทะนุถนอมในกองถ่ายจนตั้งครรภ์ เป็นเหตุให้ต้องหย่าร้างชายาองค์ก่อน แม้มีบุตรร่วมกันมาถึงสองคน
เขาชื่อกานต์ (1973)
เขาชื่อกานต์ (พ.ศ. ๒๕๑๖) เปี่ยมล้นด้วยอุดมการณ์ของท่านมุ้ย แจ้งเกิดทั้งสรพงศ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์, ภิญโญ ทองเจือ แต่กาลเวลาทำให้คุณค่าหลงเหลือเพียงอุดมคติ และความเป็นคลื่นลูกใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ไทย
นางนาก (1999)
นางนาก (พ.ศ. ๒๕๔๒) : นนทรีย์ นิมิบุตร ♥♥♥♡
ในยุคที่หนังไทยราวกับได้ตายท้องกลม แต่ความรักของผู้สร้างยังคงอยู่นิรันดร์ พยายามรังสรรค์นำเสนอมุมมองสิ่งแปลกใหม่ คาดหวังแค่ปลุกแม่นากให้ฟื้นตื่น แต่ความสำเร็จกว่า ๑๕๐ ล้านบาท สามารถคืนชีพวงการภาพยนตร์ไทย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ทองปาน (พ.ศ. ๒๕๑๙) : ไพจง ไหลสกุล, สุรชัย จันทิมาธร, ยุทธนา มุกดาสนิท, รัศมี เผ่าเหลืองทอง ♥♥♥♡
ภาพยนตร์ ‘ประหลาด’ ของไทย หาญกล้าวิพากษ์วิจารณ์นโยบายพัฒนาชนบทของรัฐบาล ต่อการสร้างเขื่อนผามอง กั้นแม่น้ำโขง ช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งพอหนังเสร็จประจวบกับการมาถึงของ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงถูกแบนห้ามฉาย ต้องอ้อมโลกไปโด่งดังไกล กว่าจะได้หวนกลับมาสู่สายตาคนไทย
ผู้แทนนอกสภา (พ.ศ. ๒๕๒๖) : สุรสีห์ ผาธรรม ♥♥♡
อุดมคติแห่งประชาธิปไทย แม้ว่าผู้สร้างต้องการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไฉนกลับให้ตอนจบลงเอยอย่างนั้นเสียละ! นี่มันสะท้อนความหมดสิ้นหวังทางการเมือง คนดีไม่มีที่ยืนในสังคมไทย
เปนชู้กับผี (2006)
เปนชู้กับผี (พ.ศ. ๒๕๔๙) : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
หนึ่งในหนังผีไทย ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญว่ามีความน่าหวาดสะพรึงกลัวที่สุด แต่แน่ใจแล้วหรือว่านี่คือหนังผี? การไม่ยินยอมรับตนเอง สูญเสียสิ้นศรัทธา เปนเหตุให้ทุกสิ่งอย่างเวียนวนหวนกลับคืนสู่จุดเริ่มต้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก! รัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ ก็เช่นกัน
หมานคร (2004)
หมานคร (พ.ศ. ๒๕๔๗) : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เกิด เติบโตขึ้นในกรุงเทพหมานคร พบเห็นความวุ่นวาย เร่งรีบร้อน เห็นแก่ตัวของชาวเมืองหลวง ตั้งใจถ่ายทอดวิถีชีวิต โลกทัศนคติผู้คน ด้วยมุมมองส่วนตน ‘Magical Realism’ เว่อวังอลังการสุดโต่ง สรวงสวรรค์หรือขุมนรกก็แล้วแต่ใครจะมองเห็น
ฟ้าทะลายโจร (2000)
ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. ๒๕๔๓) : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
‘หนังไทย คือความบันเทิงราคาถูก’ คำกล่าวนี้ของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ทั้งจริงและเจ็บปวด! รวบรวมความชื่นชอบวัยเด็ก นำเสนอด้วยมุมมองคนรุ่นใหม่ ให้เหมือนบันทึกประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ไทย สร้างเอกลักษณ์ให้โลกประจักษ์ชื่นชม พร้อมอับอายขายขี้หน้าไปพร้อมๆกัน
มนต์รักทรานซิสเตอร์ (2001)
มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. ๒๕๔๔) : เป็นเอก รัตนเรือง ♥♥♥♥
ต่อให้ร่ำรวยเงินทองแค่ไหนก็แดกไม่ได้ เวลาขี้ออกมามันทรมาน! ภาพยนตร์ลำดับสามของ เป็นเอก รัตนเรือง ในช่วงวัยกำลังจัดจ้าน อหังการ ดัดแปลงจากหนังสือที่ตนเองไม่ได้ชื่นชอบสักเท่าไหร่ (แต่แฟนสาวขณะนั้นชอบ) แต่มองเป็นความท้าทายผสมอารมณ์ลูกทุ่ง เสียดสีสังคมได้อย่างแสบกระสันต์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
มหา’ลัย เหมืองแร่ (2005)
มหา’ลัย เหมืองแร่ (พ.ศ. ๒๕๔๘) : จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡
ณ จุดตกต่ำสุดในชีวิตของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ สอบตกโดนรีไทร์ เที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา เลยถูกพ่อส่งไปทำงานกรรมกรเหมืองแร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เรียนรู้จักความยากลำบาก เหน็ดเหนื่อยสายตัวแทบขาด กลายเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า มากยิ่งกว่าการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
15 ค่ำ เดือน 11 (2002)
๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕) : จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡
เกิดเป็นคนยุคสมัยนี้แบบ อนุชิต สพันธุ์พงษ์ ช่างแสนลำบากยากเข็น ตกอยู่กึ่งกลางระหว่างถูก-ผิด ศรัทธา-ผลประโยชน์ ตำนานความเชื่อโบราณ-วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่ถึงจะอึดอัดเครียดคลั่งแค่ไหน สุดท้ายก็ต้องปล่อยวางจากความหมกมุ่นยึดติด, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ช่างมันฉันไม่แคร์ (1986)
ช่างมันฉันไม่แคร์ (พ.ศ. ๒๕๒๙) : หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ♥♥♥♡
ช่างมันฉันไม่แคร์ เป็นคำตัดพ้อรำพันของ สินจัย หงษ์ไทย (เปล่งพานิช) และ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ต่อชายคนรักที่นิสัยเปลี่ยนแปลง และสภาพสังคมไทยหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ แค่เพียงกว่าสิบปี อะไรๆกลับมีแต่เลวร้ายเสื่อมทรามลง ทอดถอนลมหายใจ ปลงอย่างอ่อนแรง หวนกลับคืนสู่ธรรมชาติท้องทุ่งนา ไขว่คว้าหาความสงบสุขทางใจเสียยังดีกว่า
เวลาในขวดแก้ว (1991)
เวลาในขวดแก้ว (พ.ศ. ๒๕๓๔) : ประยูร วงศ์ชื่น, อมรศรี เย็นสำราญ, อนุกูล จาโรทก ♥♥♥♡
ครอบครัวแตกแยก พ่อ เลิกรากับ แม่ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาวัยรุ่นหลงทางผิด แล้วเมื่อประเทศชาติแตกแยก ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รัฐบาล ใช้ความรุนแรงกับ นักศึกษา/ประชาชน เฉกเช่นนั้นจักเกิดความวุ่นวายอะไร?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ดาวคะนอง (2016)
ดาวคะนอง (พ.ศ. ๒๕๕๙) : อโนชา สุวิชากรพงศ์ ♥♥♥♡
อดีตเริ่มเลือนหาย ความทรงจำกระจัดกระจาย แต่มันกลับมาโดดเด่นชัดอีกครั้งเมื่อประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อันเป็นชวนเหตุให้ อโนชา สุวิชากรพงศ์ นำพาตัวเองหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น เมื่อปีที่ฉันเกิดตรงกับเหตุการณ์ ๖ ตุลา พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างพื้นที่ความทรงจำให้พี่น้องชาวไทย ยินยอมได้อย่างไรเมื่อเผด็จการยึดครองประเทศ!
อินทรีทอง (พ.ศ. ๒๕๑๓) : มิตร ชัยบัญชา ♥♥♡
มิตร ชัยบัญชา เป็นนักแสดงที่ดี แต่เรื่องการกำกับยังถือว่าอ่อนด้อยประสบการณ์นัก, สำหรับผลงานสุดท้ายในชีวิต เน้นขายความอลังการงานสร้าง ต่อสู้บู๊สุดมันส์ระหว่าง แดง vs. เหลืองทอง, โจร vs. ตำรวจ, คอมมิวนิสต์ vs. ประชาธิปไตย คงไม่มีใครสวมหน้ากากอินทรี แล้วจะยิ่งใหญ่ได้มากกว่านี้อีกแล้ว