
มาลีเป็นกะหรี่ที่สวยที่สุดในโลก เป็นประโยคที่ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ วิยะดา อุมารินทร์ ต่างหากคือกะหรี่ของท่านมุ้ยที่สวยที่สุดในโลก! เอ็นดูทะนุถนอมในกองถ่ายจนตั้งครรภ์ เป็นเหตุให้ต้องหย่าร้างชายาองค์ก่อน แม้มีบุตรร่วมกันมาถึงสองคน
thai,thai film,หนังไทย
มาลีเป็นกะหรี่ที่สวยที่สุดในโลก เป็นประโยคที่ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ วิยะดา อุมารินทร์ ต่างหากคือกะหรี่ของท่านมุ้ยที่สวยที่สุดในโลก! เอ็นดูทะนุถนอมในกองถ่ายจนตั้งครรภ์ เป็นเหตุให้ต้องหย่าร้างชายาองค์ก่อน แม้มีบุตรร่วมกันมาถึงสองคน
เขาชื่อกานต์ (พ.ศ. ๒๕๑๖) เปี่ยมล้นด้วยอุดมการณ์ของท่านมุ้ย แจ้งเกิดทั้งสรพงศ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์, ภิญโญ ทองเจือ แต่กาลเวลาทำให้คุณค่าหลงเหลือเพียงอุดมคติ และความเป็นคลื่นลูกใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ไทย
นางนาก (พ.ศ. ๒๕๔๒) : นนทรีย์ นิมิบุตร ♥♥♥♡
ในยุคที่หนังไทยราวกับได้ตายท้องกลม แต่ความรักของผู้สร้างยังคงอยู่นิรันดร์ พยายามรังสรรค์นำเสนอมุมมองสิ่งแปลกใหม่ คาดหวังแค่ปลุกแม่นากให้ฟื้นตื่น แต่ความสำเร็จกว่า ๑๕๐ ล้านบาท สามารถคืนชีพวงการภาพยนตร์ไทย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ทองปาน (พ.ศ. ๒๕๑๙) : ไพจง ไหลสกุล, สุรชัย จันทิมาธร, ยุทธนา มุกดาสนิท, รัศมี เผ่าเหลืองทอง ♥♥♥♡
ภาพยนตร์ ‘ประหลาด’ ของไทย หาญกล้าวิพากษ์วิจารณ์นโยบายพัฒนาชนบทของรัฐบาล ต่อการสร้างเขื่อนผามอง กั้นแม่น้ำโขง ช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งพอหนังเสร็จประจวบกับการมาถึงของ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงถูกแบนห้ามฉาย ต้องอ้อมโลกไปโด่งดังไกล กว่าจะได้หวนกลับมาสู่สายตาคนไทย
ผู้แทนนอกสภา (พ.ศ. ๒๕๒๖) : สุรสีห์ ผาธรรม ♥♥♡
อุดมคติแห่งประชาธิปไทย แม้ว่าผู้สร้างต้องการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไฉนกลับให้ตอนจบลงเอยอย่างนั้นเสียละ! นี่มันสะท้อนความหมดสิ้นหวังทางการเมือง คนดีไม่มีที่ยืนในสังคมไทย
เปนชู้กับผี (พ.ศ. ๒๕๔๙) : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
หนึ่งในหนังผีไทย ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญว่ามีความน่าหวาดสะพรึงกลัวที่สุด แต่แน่ใจแล้วหรือว่านี่คือหนังผี? การไม่ยินยอมรับตนเอง สูญเสียสิ้นศรัทธา เปนเหตุให้ทุกสิ่งอย่างเวียนวนหวนกลับคืนสู่จุดเริ่มต้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก! รัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ ก็เช่นกัน
หมานคร (พ.ศ. ๒๕๔๗) : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เกิด เติบโตขึ้นในกรุงเทพหมานคร พบเห็นความวุ่นวาย เร่งรีบร้อน เห็นแก่ตัวของชาวเมืองหลวง ตั้งใจถ่ายทอดวิถีชีวิต โลกทัศนคติผู้คน ด้วยมุมมองส่วนตน ‘Magical Realism’ เว่อวังอลังการสุดโต่ง สรวงสวรรค์หรือขุมนรกก็แล้วแต่ใครจะมองเห็น
ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. ๒๕๔๓) : วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ♥♥♥♥
‘หนังไทย คือความบันเทิงราคาถูก’ คำกล่าวนี้ของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ทั้งจริงและเจ็บปวด! รวบรวมความชื่นชอบวัยเด็ก นำเสนอด้วยมุมมองคนรุ่นใหม่ ให้เหมือนบันทึกประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ไทย สร้างเอกลักษณ์ให้โลกประจักษ์ชื่นชม พร้อมอับอายขายขี้หน้าไปพร้อมๆกัน
มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. ๒๕๔๔) : เป็นเอก รัตนเรือง ♥♥♥♥
ต่อให้ร่ำรวยเงินทองแค่ไหนก็แดกไม่ได้ เวลาขี้ออกมามันทรมาน! ภาพยนตร์ลำดับสามของ เป็นเอก รัตนเรือง ในช่วงวัยกำลังจัดจ้าน อหังการ ดัดแปลงจากหนังสือที่ตนเองไม่ได้ชื่นชอบสักเท่าไหร่ (แต่แฟนสาวขณะนั้นชอบ) แต่มองเป็นความท้าทายผสมอารมณ์ลูกทุ่ง เสียดสีสังคมได้อย่างแสบกระสันต์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
มหา’ลัย เหมืองแร่ (พ.ศ. ๒๕๔๘) : จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡
ณ จุดตกต่ำสุดในชีวิตของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ สอบตกโดนรีไทร์ เที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา เลยถูกพ่อส่งไปทำงานกรรมกรเหมืองแร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เรียนรู้จักความยากลำบาก เหน็ดเหนื่อยสายตัวแทบขาด กลายเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า มากยิ่งกว่าการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๕) : จิระ มะลิกุล ♥♥♥♡
เกิดเป็นคนยุคสมัยนี้แบบ อนุชิต สพันธุ์พงษ์ ช่างแสนลำบากยากเข็น ตกอยู่กึ่งกลางระหว่างถูก-ผิด ศรัทธา-ผลประโยชน์ ตำนานความเชื่อโบราณ-วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่ถึงจะอึดอัดเครียดคลั่งแค่ไหน สุดท้ายก็ต้องปล่อยวางจากความหมกมุ่นยึดติด, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ช่างมันฉันไม่แคร์ (พ.ศ. ๒๕๒๙) : หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ♥♥♥♡
ช่างมันฉันไม่แคร์ เป็นคำตัดพ้อรำพันของ สินจัย หงษ์ไทย (เปล่งพานิช) และ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ต่อชายคนรักที่นิสัยเปลี่ยนแปลง และสภาพสังคมไทยหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ แค่เพียงกว่าสิบปี อะไรๆกลับมีแต่เลวร้ายเสื่อมทรามลง ทอดถอนลมหายใจ ปลงอย่างอ่อนแรง หวนกลับคืนสู่ธรรมชาติท้องทุ่งนา ไขว่คว้าหาความสงบสุขทางใจเสียยังดีกว่า
เวลาในขวดแก้ว (พ.ศ. ๒๕๓๔) : ประยูร วงศ์ชื่น, อมรศรี เย็นสำราญ, อนุกูล จาโรทก ♥♥♥♡
ครอบครัวแตกแยก พ่อ เลิกรากับ แม่ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาวัยรุ่นหลงทางผิด แล้วเมื่อประเทศชาติแตกแยก ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รัฐบาล ใช้ความรุนแรงกับ นักศึกษา/ประชาชน เฉกเช่นนั้นจักเกิดความวุ่นวายอะไร?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ดาวคะนอง (พ.ศ. ๒๕๕๙) : อโนชา สุวิชากรพงศ์ ♥♥♥♡
อดีตเริ่มเลือนหาย ความทรงจำกระจัดกระจาย แต่มันกลับมาโดดเด่นชัดอีกครั้งเมื่อประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อันเป็นชวนเหตุให้ อโนชา สุวิชากรพงศ์ นำพาตัวเองหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น เมื่อปีที่ฉันเกิดตรงกับเหตุการณ์ ๖ ตุลา พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างพื้นที่ความทรงจำให้พี่น้องชาวไทย ยินยอมได้อย่างไรเมื่อเผด็จการยึดครองประเทศ!
อินทรีทอง (พ.ศ. ๒๕๑๓) : มิตร ชัยบัญชา ♥♥♡
มิตร ชัยบัญชา เป็นนักแสดงที่ดี แต่เรื่องการกำกับยังถือว่าอ่อนด้อยประสบการณ์นัก, สำหรับผลงานสุดท้ายในชีวิต เน้นขายความอลังการงานสร้าง ต่อสู้บู๊สุดมันส์ระหว่าง แดง vs. เหลืองทอง, โจร vs. ตำรวจ, คอมมิวนิสต์ vs. ประชาธิปไตย คงไม่มีใครสวมหน้ากากอินทรี แล้วจะยิ่งใหญ่ได้มากกว่านี้อีกแล้ว
เกิดเป็นหงส์ (พ.ศ. ๒๕๐๙) : คุณาวุฒิ ♥♥♥♥
เพชรา เชาวราษฎร์ เกิดในตระกูลชนชั้นสูง พร้อมด้วยรูป ทรัพย์ เชื้อสายขัตติยะ แต่การมาถึงของโลกยุคสมัยทุนนิยม ทำให้ถูกฉุดคร่าลงมาตกต่ำ ถึงกระนั้นก็ไม่ขอละทิ้งศักดิ์ศรีความเป็นหงส์ ให้ฝูงแร้งกาเชยชมดอมดมได้โดยง่าย นอกเสียจาก มิตร ชัยบัญญา สุดที่รักแห่งดวงใจ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
จุฬาตรีคูณ (พ.ศ. ๒๕๑๐) : ดอกดิน กัญญามาลย์ ♥♥♥♥
แม้คุณภาพฟีล์ม 16mm ที่คงเหลือถึงปัจจุบันจะไม่ค่อยสวยงามนัก แต่โศกนาฎกรรมความรักระหว่าง อริยวรรต (มิตร ชัยบัญชา) กับ ดารารายพิลาส (เพชรา เชาวราษฎร์) ดัดแปลงจากนวนิยายของ พนมเทียน ช่างงดงามตราตรึงยิ่งนัก และบทเพลงจุฬาตรีคูณ ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล (วงสุนทราภรณ์) เพราะพริ้งเหนือกาลเวลา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ไทรโศก (พ.ศ. ๒๕๑๐) : คุณาวุฒิ ♥♥♥♡
หนึ่งในการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ มิตร ชัยบัญชา รับบทพร้อมกัน ๒ ตัวละคร หนึ่งไอ้บ้าใบ้ผู้โชคร้าย สองคือลูกชาย(ของไอ้ใบ้นะแหละ) เฉลียวฉลาด หล่อเหลา มาดผู้ดี ใครๆต่างเคลิบเคลิ้มตกหลุมรัก ประกบสามนักแสดง โสภา สถาพร, รักชนก จินดาวรรณ และบุศรา นฤมิตร ซึ่งโชคชะตาชีวิตจริงของพวกเธอ สะท้อนการปรับตัวภายใต้ ‘ร่มเงายุคสมัยของ เพชรา เชาวราษฏร์’ ได้อย่างน่าขนหัวลุก
บันทึกรักของพิมพ์ฉวี (พ.ศ. ๒๕๐๕) : ศิริ ศิริจินดา ♥♥♥♡
ผลงานการแสดงเรื่องแรกของ เพชรา เชาวราษฎร์ ประกบว่าที่คู่ขวัญตลอดกาล มิตร ชัยบัญชา ต่อให้ชายคนรักจะเลวชั่วต่ำทรามสักเพียงใด แต่ไม่มีอะไรในโลกนี้ จะยกโทษให้อภัยกันไม่ได้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
เพชรตัดเพชร (พ.ศ. ๒๕๐๙) : วิจิตร คุณาวุฒิ, พร้อมสิน สีบุญเรือง, ประกอบ แก้วประเสริฐ ♥♥♥♡
โปรดักชั่นระดับ Hollywood โกอินเตอร์ไกลถึงฮ่องกง แต่คงคุณภาพแบบไทยๆ มิตร ชัยบัญชา เฉือนคมตัดกับ ลือชัย นฤนาท ทำเอาหนัง James Bond ยังต้องชิดซ้าย แค่เพียงฉายเดือนกว่าๆรายรับเกิน ๓ ล้านบาท ขึ้นแท่นทำเงินสูงสุดตลอดกาลขณะนั้นโดยทันที