
ใครมีโอกาสพบเห็นแสงสีเขียว (Green Ray หรือ Green Flash) หรืออีกชื่อว่า แสงแห่งโชค (Lucky Light) จะช่วยปัดเป่าสิ่งเลวร้าย พรุ่งนี้จักได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ และประสบแต่ความโชคดี, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
european film, british, french, italian, german, russian, swedish, etc.
ใครมีโอกาสพบเห็นแสงสีเขียว (Green Ray หรือ Green Flash) หรืออีกชื่อว่า แสงแห่งโชค (Lucky Light) จะช่วยปัดเป่าสิ่งเลวร้าย พรุ่งนี้จักได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ และประสบแต่ความโชคดี, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
The Marquise of O… สูญเสียสามีไปหลายปี จู่ๆตั้งครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ แม้พยายามอ้างความบริสุทธิ์ใจ แต่ถูกครอบครัวขับไล่ ผลักไส ไม่สามารถยินยอมรับพฤติกรรมสำส่อน ก่อนค้นพบว่าบุคคลข่มขืนเธอนั้นคือ … มนุษย์ทุกคนล้วนมีดี-ชั่วในตัวเอง, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ‘Six Moral Tales’ ชักชวนผู้ชมตั้งคำถาม จุดไหนถือเป็นการคบชู้นอกใจ? ตั้งแต่ครุ่นคิดเพ้อฝัน เริ่มสานสัมพันธ์หญิงอื่น หรือถึงขั้นร่วมรักหลับนอน ต่อให้อ้างว่าฉันบริสุทธิ์ใจ ยึดถือมั่นในศีลธรรม แต่คนพรรค์นี้มีความน่าเชื่อถือตรงไหนกัน?
La Collectionneuse (แปลว่า The Collector) คือคำเรียกหญิงสาวที่ชื่นชอบสะสมแฟนหนุ่ม เก็บแต้มผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่แท้จริงแล้วเธอเป็นเช่นนั้นหรือไหม? คว้ารางวัล Silver Bear: Extraordinary Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ค่ำคืนวันคริสต์มาสกับ Maud (รับบทโดยสุดสวย Françoise Fabian) ที่แม้มีเพียงการพูดคุยสนทนา (All-Talk) กลับทำให้ Jean-Louis Trintignant ผู้เคร่งศาสนา ยึดถือมั่นในอุดมการณ์ กล้าลุกขึ้นมากระทำสิ่งบางสิ่งอย่างตอบสนองความต้องการของหัวใจ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หนังสั้นเรื่องแรกของ ‘Six Moral Tales’ ที่จะสร้างความฉงนสงสัย เรื่องราวดังกล่าวแฝงข้อคิด คติสอนใจ ศีลธรรมอันดีงามประการใด? แต่ผกก. Rohmer เคยกล่าวไว้ว่า ขอแค่ผู้ชมได้ขบครุ่นคิด โต้ถกเถียงถึงหนทางเลือกตัวละคร นั่นแหละคือ ‘Moral’ ของศิลปะภาพยนตร์
จุดเริ่มต้นของคำว่า Cinéma Vérité (แปลว่า Cinema Truth) ทำการทดลองบันทึกบทสัมภาษณ์ผู้คนเดินไปมาตามท้องถนน เพียงตั้งคำถามถึงความสุข แต่พัฒนาสู่ความเป็นไปได้ไม่รู้จบของชีวิต สภาพสังคม สงคราม การเมืองฝรั่งเศสทศวรรษ 60s, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ในสถานพยาบาลแห่งนี้ เวลามีการผันแปรเปลี่ยนเหมือนนาฬิกาทราย อดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน พลิกกลับไปกลับมาอย่างน่าฉงนสงสัย แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนดูเสื่อมโทรม ปรักหักพัง สะท้อนเข้ากับสภาพประเทศโปแลนด์ยุคสมัยนั้น, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
จากเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง ซ้อนซับซ้อนสู่ความไม่รู้จบของเรื่องราว เพื่อสื่อถึงวังวนไร้หนทางออก ไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น ‘บ่วงรัดคอ’ ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์
พร่ำเพ้อรำพันถึงเธอ โปแลนด์ในอดีต (ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) เพราะปัจจุบันนั้นไม่มีวันที่เราสองจักหวนกลับมาครอบครองคู่รักกันอีกครั้ง, กลิ่นอาย Casablanca (1942) แต่มีความเหนือจริงอยู่เล็กๆ
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ Wojciech Has นำเสนอ 24 ชั่วโมงของคนอยากเลิกเหล้า แต่กาลเวลากลับเคลื่อนพานผ่านไปอย่างเชื่องชักช้า จนเกิดความตระหนักว่าไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น ‘บ่วงรัดคอ’ ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์
คำสัญญาขายฝันของกลุ่มอาชญากรรัสเซีย (Vory v zakone) แท้จริงแล้วคือคำลวงล่อหลอกหญิงสาว ลักพามาขายบริการ ตกเป็นทาสยาเสพติด จนไร้หนทางดิ้นหลบหนี ทำไมโลกปัจจุบันนี้มันช่างมีความกลับกลอกปอกลอกยิ่งนัก!
ผู้กำกับ Andrzej Żuławski ตกอยู่ในอาการคลุ้มบ้าคลั่งเมื่อถูกภรรยาเลิกราหย่าร้าง สรรค์สร้าง Possession (1981) ด้วยการทำให้ฝ่ายหญิงดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ ขยะแขยงที่สุด ไม่ต่างจากถูกปีศาจร้ายเข้าสิง แต่ใครกันแน่ที่สูญสิ้นความเป็นมนุษย์
บิดาของผู้กำกับ Andrzej Żuławski ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยินยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อครอบครัว เข้าร่วมวิจัยโรคไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) ด้วยการให้เห็บ/หมัด ดื่มเลือดเป็นอาหาร (lice-feeding) … แค่คิดแม้งก็สยองแล้ว
ไม่ว่าแม่อธิการ Joan of the Angels จะถูกซาตานเข้าสิงหรือไม่? ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามท้าทายความเชื่อศรัทธาชาวคริสต์ เมื่อต้องเผชิญหน้าสิ่งชั่วร้ายรุกรานเข้ามาในจิตใจ เราควรจะโอบกอดยินยอมรับ หรือขับไล่ผลักไสออกห่างไกล
ภาพยนตร์เรต X ถูกแบนในหลายๆประเทศ เพราะความสุดโต่งเหนือจริงของการล่าแม่มด พฤติกรรมเก็บกดทางเพศของแม่ชี หรือแม้แต่กษัตริย์ King Louis XIII ยังถูกตีความว่าเป็น Queer แต่ถ้าเราสามารถมองผ่านสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายเหล่านั้น ก็อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ที่แท้จริง
สิ้นสุดสัปดาห์ภาพยนตร์ยุคสมัยแรกของผู้กำกับ Jean-Luc Godard นำพาผู้ชมออกเดินทาง (Road Movie) จากสังคมเมือง มุ่งสู่ชนบท แล้วลงขุมนรก! นำเสนอความเสื่อมถดถอยของอารยธรรม ผ่านบทพิสูจน์แห่งศรัทธา ดินแดนแฟนตาซี โลกความจริงที่เหี้ยมโหดร้าย และท้ายสุดคือการสูญเสียความเป็นมนุษย์
นักศึกษาหัวรุนแรงกลุ่มหนึ่ง มีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อลัทธิเหมาเจ๋อตุง (Maoist) ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองฝรั่งเศสให้ดำเนินสู่ทิศทางนั้น แต่นั่นคืออุดมคติ (Idealist) เพ้อเจ้อไร้สาระ (Fantasist) ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน!
แม้ความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา จะจบสิ้นลงไปสักพักใหญ่ๆ แต่ผู้กำกับ JLG และ AK ยังคงอยากทดลองใจกันอีกสักครั้ง ว่ายังหลงเหลือเยื่อใยความสัมพันธ์อยู่บ้างไหม แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้มันหลอกลวงผู้บริโภคตั้งแต่ชื่อ Made in U.S.A. ไม่เห็นมีฉากไหนถ่ายทำยังสหรัฐอเมริกา???
หลังหย่าร้างอดีตภรรยา Anna Karina ก็ถึงเวลาที่ Jean-Luc Godard ต้องก้าวเดินต่อไปกับ Masculin Féminin (1966) ทำการบันทึกภาพวัยรุ่นหนุ่ม-สาว ชาวฝรั่งเศส ช่วงทศวรรษ 60s เก็บฝังไว้ใน ‘Time Capsule’ แต่ดูแล้วรู้สึกเศร้าๆ เหงาๆชอบกล