ด้วยสัมผัส Hitchcockian ทำให้การหายตัวไปของหญิงชราบนขบวนรถไฟ เต็มไปด้วยความลึกลับ ซับซ้อน คาดไม่ถึง เธอมีตัวตนจริงหรือไม่? หรือใครบางคนจัดฉาก เล่นละคอนตบตา แต่จะทำไปเพื่ออะไรกัน?
หมวดหมู่: british
British film, Great Britain, United Kingdom, England, English film, Wales, Scotland, Ireland, North Ireland
กลุ่มผู้ก่อการร้ายวางแผนก่อวินาศกรรม (Sabotage) ตั้งใจจะระเบิดกรุง London แม้ไม่รู้ด้วยเหตุผลอันใด แต่ด้วยลีลาการนำเสนอสไตล์ Hitchcockian สร้างความตื่นเต้น ระทึกขวัญ สั่นสะท้านทรวงใน
มาสเตอร์พีซเรื่องแรกของ Alfred Hitchcock, ชายคนหนึ่งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ เลยถูกไล่ล่าติดตาม ต้องออกเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ ผจญภัยไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อขบไขปริศนา The 39 Steps มันคืออิหยังหว่ะ?
เริ่มต้นตั้งใจให้เป็นหนังเงียบ แต่พอเทคโนโลยีเสียงเดินทางมาถึงเกาะอังกฤษ ผู้กำกับ Alfred Hitchcock จึงเลือกถ่ายทำหลายๆฉากขึ้นใหม่ ครั้งแรกของการพากย์เสียงทับ (Dubbing) และกลายเป็นภาพยนตร์พูดทั้งเรื่อง (All-Talkie) ครั้งแรกของสหราชอาณาจักร
Dogville (2003)
เลือนลางระหว่างภาพยนตร์-ละคอนเวที มีเพียงเส้นชอล์กขีดแบ่งบ้านแต่ละหลัง ทุกสิ่งอย่างล้วนเปิดกว้าง แต่ทุกคนกลับสร้างบางอย่างขึ้นมากีดขวางกั้น เรียกร้องโน่นนี่นั่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม นี่นะหรือวิถีอเมริกัน? ดินแดนแห่งโอกาส สำหรับเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่เมื่ออาศัยอยู่นานวัน สันดานธาตุแท้ผู้คนจักค่อยๆเปิดเผยออกมา
Dancer in the Dark (2000)
ไม่ใช่แค่สายตาตัวละครที่กำลังค่อยๆมืดบอด ถูกทรยศหักหลัง ตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง แต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมในกองถ่ายที่ Björk อ้างว่าถูกแตะอั๋ง ลวนลาม คุกคามทางเพศโดยผกก. Lars von Trier, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Breaking the Waves (1996)
หลังก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 เพื่อทำลายกฎกรอบภาพยนตร์ ให้หลงเหลือเพียงความบริสุทธิ์ของเรื่องราวและการแสดง แต่ทว่าผู้กำกับ Lars von Trier กลับแหกคำปฏิญาณเหล่านั้นเสียเองในการสรรค์สร้าง Breaking the Waves (1996), คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
โคตรหนังคัลท์ที่ยังคง(เฉิด)ฉายมาจนถึงปัจจุบัน ชักชวนให้วัยรุ่น คนหนุ่ม-สาว ได้เรียนรู้ เข้าใจตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ ปลดปล่อยน้ำกาม เปียกปอน ชุ่มฉ่ำ ความบันเทิงของชาว LGBTQIAN+
สารคดีบันทึกภาพการทำงานไปรษณีย์รถไฟ เดินทางจาก London มุ่งสู่ Glasgow, Scotland โดยไม่หยุดจอดสถานีไหน ยุคสมัยนั้นเขาทำกันอย่างไร? ได้รับการยกย่อง “Masterpiece of the British Documentary Film Movement”
Orlando (1992)
ชีวิตสามศตวรรษของ Orlando พบเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่สิ่งน่าสนใจที่สุดคือบทบาททางทางเพศในสังคมผู้ดีอังกฤษ เมื่อชายกลับกลายเป็นหญิง รับบทโดยนักแสดงคนเดียว Tilda Swinton (เล่นเป็นทั้งชายและหญิง) งดงาม ท้าทาย แต่อาจต้องปีนป่ายบันไดสูงสักหน่อย
Caravaggio (1986)
Michelangelo Caravaggio ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใดๆกับ Michelangelo Buonarroti แต่ต่างเป็นจิตรกรชื่อดัง เคยสรรค์สร้างผลงานให้สำนัก Vatican, ส่วนภาพยนตร์โคตรๆเหนือจริงเรื่องนี้ คือตัวตายตัวแทนผู้กำกับ Derek Jarman เพราะความเป็นศิลปิน รสนิยมรักร่วมเพศ นอนซมซาน ทุกข์ทรมาน และจากไปอย่างบลู
ผลงานเรื่องสุดท้ายของผู้กำกับ Darek Jarman หลังติดเชื้อไวรัส HIV ทำให้สายตาพร่าบอด สรรค์สร้างโคตรภาพยนตร์แนวทดลองเรื่องนี้ โดยใช้เพียงเสียงบรรยายและฉายภาพสีน้ำเงิน International Klein Blue (#002FA7) แทนความเจ็บปวด เศร้าโศก แต่ไม่เคยตกอยู่ในความหมดสิ้นหวัง
Distant Voices, Still Lives (1988)
กระเบื้องโมเสกความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Terence Davies นำเสนอการจากไปของบิดา ที่ยังคงสร้างอิทธิพลให้ลูกหลานสืบต่อมา งดงามวิจิตรศิลป์ แต่อาจมีความเฉพาะตัวเกินไปสักนิด
Withnail and I (1987)
ภาพยนตร์แนว Black Comedy ที่เป็นอัตชีวประวัติ (Autobiographical) ของผู้กำกับ Bruce Robinson นำจากประสบการณ์จริง เมื่อ’ฉัน’ถูกคุกคามทางเพศจาก Franco Zeffirelli ระหว่างถ่ายทำ Romeo and Juliet (1968)
หญิงสาวผู้ดีอังกฤษ Sarah Miles ล้มป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) จากการสูญเสียสามี ว่าจ้างคนขับรถ Robert Shaw ชักชวนพูดคุยสนทนา ทำให้ค่อยๆสามารถปรับตัวเข้าหาผู้อื่น แต่ฝ่ายชายกลับเกิดความเข้าใจผิด ครุ่นคิดว่าเธอแอบชื่นชอบตกหลุมรัก, ภาพยนตร์รางวัล Palme d’Or ที่ไม่สมควรค่าสักเท่าไหร่!
The Go-Between (1971)
เด็กชายวัย 12 ขวบ อาสารับส่งจดหมาย ‘Go-Between’ ไปมาระหว่างพี่สาวเพื่อน Lady Trimingham (รับบทโดย Julie Christie) กับหนุ่มบ้านนอกคอกนา Ted Burgess (รับบทโดย Alan Bates) แต่ความสัมพันธ์พวกเขาเป็นสิ่งที่สังคมยุคสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Accident (1967)
อุบัติเหตุทางกายไม่นานเดี๋ยวก็หาย แต่ความเจ็บปวดทางใจจากการถูกทรยศหักหลัง เจ้าหญิงในอุดมคติกลับมีพฤติกรรมสำส่อน นั่นจักตราฝังความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
King and Country (1964)
ทหารนายหนึ่งถูกกุมจับข้อหาละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ (Desertion) ทนายพยายามแก้ต่างว่าเขามีอาการ ‘Shell Shock’ แต่ผู้พิพากษากลับมองว่าคือข้ออ้างข้างๆคูๆ สั่งตัดสินประหารชีวิตยิงเป้า เพื่อไม่ให้ใครอื่นเอาเป็นแบบอย่าง มันต้องลงโทษรุนแรงขนาดนั้นเชียวหรือ?
The Servant (1963)
เมื่อคนรับใช้กลายมาเป็นนาย หายนะจึงบังเกิดขึ้นในบ้านหลังนี้! หลอกหลอน สั่นสะท้าน หวาดเสียวประตูหลัง หนึ่งในเสาหลักไมล์ของวงการภาพยนตร์อังกฤษ บทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Dirk Bogarde และมีบางสิ่งอย่างพาดพิงถึง HCUA
The Knack …and How to Get It (1965)
The Knack แปลว่าฝีมือ พรสวรรค์ ความสามารถพิเศษ แต่ถ้าเป็นศัพท์แสลงจะหมายถึงกลเม็ด เคล็ดลับ วิธีการที่จะทำบางสิ่งอย่างเฉลียวฉลาด ซึ่งภาพยนตร์รางวัล Palme d’Or เรื่องนี้ต้องการเสี้ยมสอนวิธีเก็บแต้ม เทคนิคจีบสาวในยุคสมัย Swinging London