
บทกวีรำพันหายนะแห่งรัก ต่อให้ Anne-Marie Stretter (รับบทโดย Delphine Seyrig) พยายามเสาะแสวงหา ขวนขวายไขว่คว้า เปลี่ยนคนรักไม่ซ้ำหน้า แต่กลับไม่มีใครสามารถรักษาโรคเรื้อนในหัวใจ หลงเหลือไว้เพียงเศษซากปรักหักพัง
french film, france
บทกวีรำพันหายนะแห่งรัก ต่อให้ Anne-Marie Stretter (รับบทโดย Delphine Seyrig) พยายามเสาะแสวงหา ขวนขวายไขว่คว้า เปลี่ยนคนรักไม่ซ้ำหน้า แต่กลับไม่มีใครสามารถรักษาโรคเรื้อนในหัวใจ หลงเหลือไว้เพียงเศษซากปรักหักพัง
ชายชาวอเมริกันถูกเข่นฆาตกรรม (Political Assassination) หน่วยงานรัฐประกาศจัดงานศพสุดยิ่งใหญ่ แต่เขาคนนั้นคือใคร? มีความสำคัญใดต่อประเทศแถบละตินอเมริกัน? ซึ่งเมื่อความจริงได้รับการเปิดเผยนั้น สามารถสั่นสะเทือนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สมาชิกระดับสูงผู้จงรักภักดีของพรรคคอมมิวนิสต์ (รับบทโดย Yves Montand) วันหนึ่งถูกจับกุม คุมขัง โดนทัณฑ์ทรมาน บีบบังคับให้สารภาพความจริง แต่เขาไม่เคยกระทำอะไรผิด กลับต้องก้มหน้าก้มตา เดินวนไปวนมา ยินยอมรับโชคชะตา ทุกข์ทรมานทั้งร่างกาย-จิตใจ
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ Marie Antoinette ได้รับฉายา Madame Déficit (มาดามหนี้ท่วมหัว) ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789-99 เลยถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน! แต่ผู้กำกับ Sofia Coppola พยายามนำเสนอมุมมองส่วนตัวของ Kirsten Dunst ก็แค่เด็กหญิงสาวรักอิสระคนหนึ่งเท่านั้น
ผลงานมาสเตอร์พีซของ René Clair ที่ยังคงสะท้อนอคติต่อหนังเสียง (Sound Film) และการมาถึงของยุคสมัยอุตสาหกรรม สร้างแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Modern Times (1936) แต่กลับทำให้ Charlie Chaplin ถูกฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาล จำต้องไกล่เกลี่ยด้วยการยินยอมความ
ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Under the Roofs of Paris (1930) ทำให้ผู้กำกับ René Clair ราวกับถูกหวย กำลังจะร่ำรวย แต่ลอตเตอรี่ใบนั้นเก็บไว้แห่งหนไหน? เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาลอตเตอรี่ถูกรางวัล เต็มไปด้วยความขบขัน ฉิบหายวายป่วนระดับโกลาหล
แม้ว่า René Clair จะไม่ค่อยเห็นด้วยต่อการมาถึงของหนังพูด (Talkie) แต่ก็ได้ทดลองผิดลองถูกกับ Under the Roofs of Paris (1930) ใช้ประโยชน์จากเสียงและความเงียบได้อย่างโคตรๆสร้างสรรค์ น่าเสียดายคุณภาพถดถอยตามกาลเวลา
เรื่องวุ่นๆของเจ้าหมวกฟางอิตาเลี่ยน สร้างความสับสน โกลาหล วุ่นวายสุดๆในวันงานแต่งงานของ Albert Préjean แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้กำกับ René Clair ด้วยอิทธิพลของ Georges Méliès
เริ่มต้นบนชั้นดาดฟ้า ปืนใหญ่โบราณกำลังเคลื่อนเข้ามา (ด้วยเทคนิค Stop Motion) จากนั้นศิลปินดาด้า Francis Picabia และคีตกวี Erik Satie ค่อยๆกระย่องกระแย้ง (อย่าง Slow Motion) มายืนโต้ถกเถียง เตรียมจุดปืนใหญ่ใส่กรุง Paris แล้วกระโดดถอยหลังออกจากเฟรม (Reverse Shot)
ระหว่างกำลังร้อยเรียงภาพเมือง Nice, France รวมถึงเทศกาล Nice Carnival (Carnaval de Nice) จู่ๆมีการแทรกภาพจระเข้ หญิงสาวเปลือยกาย ชายทาครีมกันแดดสีดำ หลากหลายสิ่งอัปลักษณ์ปรากฎแวบขึ้นมา เพื่อจะสื่อว่าเปลือกภายนอกที่ดูวิจิตรงดงาม อาจซุกซ่อนเร้นสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง
สำรวจวิถีชนชั้นล่างในกรุง Paris ด้วยแนวคิด ‘city symphony’ แพรวพราวเทคนิคภาพยนตร์ แต่ตอนจบอาจดูมึนๆงงๆ ผู้กำกับ Alberto Cavalcanti คงต้องการสื่อถึงทุกสถานที่บนโลกใบนี้ ล้วนไม่มีความแตกต่างกัน
การเริงระบำของจักรกล คือภาพยนตร์แนวทดลอง (Experimental) ด้วยอิทธิพลของ Dadaism เปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับเครื่องยนต์กลไก ทั้งภาพและเสียงต่างมีความตื่นหู ตื่นตา แปลกใหม่ เปิดประสบการณ์ไม่ซ้ำแบบใคร
พื้นหลัง Vichy France ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Monsieur Klein (รับบทโดย Alain Delon) ถูกตำรวจเข้าใจผิดครุ่นคิดว่าเป็นอีก Monsieur Klein พยายามพิสูจน์ตนเอง ออกค้นหารากเหง้า ฉันไม่ใช่ชาวยิว แต่จนแล้วจนรอดปลายทางของเขาก็ยังคือ Auschwitz
ใครมีโอกาสพบเห็นแสงสีเขียว (Green Ray หรือ Green Flash) หรืออีกชื่อว่า แสงแห่งโชค (Lucky Light) จะช่วยปัดเป่าสิ่งเลวร้าย พรุ่งนี้จักได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ และประสบแต่ความโชคดี, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
The Marquise of O… สูญเสียสามีไปหลายปี จู่ๆตั้งครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ แม้พยายามอ้างความบริสุทธิ์ใจ แต่ถูกครอบครัวขับไล่ ผลักไส ไม่สามารถยินยอมรับพฤติกรรมสำส่อน ก่อนค้นพบว่าบุคคลข่มขืนเธอนั้นคือ … มนุษย์ทุกคนล้วนมีดี-ชั่วในตัวเอง, คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ‘Six Moral Tales’ ชักชวนผู้ชมตั้งคำถาม จุดไหนถือเป็นการคบชู้นอกใจ? ตั้งแต่ครุ่นคิดเพ้อฝัน เริ่มสานสัมพันธ์หญิงอื่น หรือถึงขั้นร่วมรักหลับนอน ต่อให้อ้างว่าฉันบริสุทธิ์ใจ ยึดถือมั่นในศีลธรรม แต่คนพรรค์นี้มีความน่าเชื่อถือตรงไหนกัน?
La Collectionneuse (แปลว่า The Collector) คือคำเรียกหญิงสาวที่ชื่นชอบสะสมแฟนหนุ่ม เก็บแต้มผู้ชายไม่เลือกหน้า แต่แท้จริงแล้วเธอเป็นเช่นนั้นหรือไหม? คว้ารางวัล Silver Bear: Extraordinary Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ค่ำคืนวันคริสต์มาสกับ Maud (รับบทโดยสุดสวย Françoise Fabian) ที่แม้มีเพียงการพูดคุยสนทนา (All-Talk) กลับทำให้ Jean-Louis Trintignant ผู้เคร่งศาสนา ยึดถือมั่นในอุดมการณ์ กล้าลุกขึ้นมากระทำสิ่งบางสิ่งอย่างตอบสนองความต้องการของหัวใจ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หนังสั้นเรื่องแรกของ ‘Six Moral Tales’ ที่จะสร้างความฉงนสงสัย เรื่องราวดังกล่าวแฝงข้อคิด คติสอนใจ ศีลธรรมอันดีงามประการใด? แต่ผกก. Rohmer เคยกล่าวไว้ว่า ขอแค่ผู้ชมได้ขบครุ่นคิด โต้ถกเถียงถึงหนทางเลือกตัวละคร นั่นแหละคือ ‘Moral’ ของศิลปะภาพยนตร์
จุดเริ่มต้นของคำว่า Cinéma Vérité (แปลว่า Cinema Truth) ทำการทดลองบันทึกบทสัมภาษณ์ผู้คนเดินไปมาตามท้องถนน เพียงตั้งคำถามถึงความสุข แต่พัฒนาสู่ความเป็นไปได้ไม่รู้จบของชีวิต สภาพสังคม สงคราม การเมืองฝรั่งเศสทศวรรษ 60s, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”