Jeanne Moreau รับบทนางแมวสาว Catherine ชอบเคล้าคลอเคลีย Jules and Jim อาศัยอยู่เคียงชิดใกล้ แต่ตัวเธอเองกลับไม่ยินยอมถูกครอบครอง ตกเป็นเจ้าของบุคคลใด ต้องการใช้ชีวิตอย่างอิสรภาพ ไร้พันธนาการเหนี่ยวรั้ง นั่นคือทัศนคติ/ค่านิยมหญิงสาวยุคสมัยใหม่ กลายเป็น ‘Iconic’ ยิ่งใหญ่เหนือกาลเวลา
หมวดหมู่: french
french film, france
Les Amants de Montparnasse (1958)
Les Amants de Montparnasse (1958) French : Jacques Becker & Max Ophüls ♥♥♥◊
The Lovers of Montparnasse เป็นหนังโคตรอาถรรพ์ ผู้กำกับ Max Ophüls เสียชีวิตก่อนเริ่มถ่ายหนัง, นักแสดงนำ Gérard Philipe เสียชีวิตหลังหนังฉายได้ 1 ปี, เรื่องราวเกี่ยวกับปีสุดท้ายก่อนเสียชีวิตของ Amedeo Modigliani จิตรกรชื่อดังสัญชาติอิตาลี ที่ทั้งชีวิตไม่ได้รับการยอมรับ แต่พอเสียชีวิตแล้ว ภาพ Nu Couché ถือเป็นภาพเปลือย (Nude) ราคาสูงที่สุดในโลก $170.4 ล้านดอลลาร์ (แพงกว่าภาพที่แพงที่สุดของ Van Gogh เสียอีก)
Séraphine (2008)
Séraphine (2008) French : Martin Provost ♥♥♥◊
ผมเรียกหนังเรื่องนี้ว่า ‘ซินเดอเรลล่าแห่งวงการศิลปะ’ กระนั้นมันก็ไม่มีรองเท้าแก้ว รถม้าฟักทองหรือนางฟ้าแม่ทูนหัว แถมตอนจบนางซินยังต้องผิดหวังเพราะเจ้าชาย แถมสติแตกเข้าโรงพยาบาลบ้า (มันเหมือนยังไงกัน!) Séraphine กวาด 7 รางวัล César Awards (เทียบเท่ากับ Oscar ของฝรั่งเศส) รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี นี่น่าจะเป็นหนังเกี่ยวกับ Painter & Artist ที่กวาดรางวัลมากที่สุด
Van Gogh (1991)
เป็นศิลปินต้องอดรนทนต่อเสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่ คำวิจารณ์เสียๆหายๆของใครต่อใคร ความพ่ายแพ้ของ Vincent van Gogh คือบทเรียนสอนผู้กำกับ Maurice Pialat ยิ่งถูกด่ายิ่งต้องเข้มแข็งแกร่ง บังเกิดภูมิต้านทานให้เอาชีพรอดในสังคมที่เหี้ยมโหดร้าย
Un dimanche à la campagne (1984)
Un dimanche à la campagne (1984) French : Bertrand Tavernier ♥♥♥◊
A Sunday in the Country ณ ชนบทใกล้กรุงปารีส, ฝรั่งเศส เช้าวันอาทิตย์ ฉากเปิดเรื่องเป็น long-shot เริ่มถ่ายจากชั้น 2 ของบ้าน ชายแก่ตื่นขึ้น ฮัมเพลง กำลังเดินลงบันได ตัดมาชั้นล่าง แม่บ้านเดินออกจากห้องครัว ฮัมเพลง เดินผ่านหน้ากล้องไป เพลงที่ทั้งสองร้องไม่ได้มีทำนองคำร้องประสานกัน แต่อารมณ์ที่ฮัมเพลงขึ้นมานั้น ด้วยเหตุผลเดียวกัน
La Belle Noiseuse (1991)
ศิลปินสูงวัย อยากรังสรรค์ผลงานมาสเตอร์พีซชิ้นสุดท้าย! นำเสนอความสัมพันธ์อันรุนแรงระหว่างจิตรกรกับนางแบบสาว ที่จักต้องเปลือยกาย บิดซ้ายบิดขวา ทั้งปวดเมื่อย ทั้งอับอาย เพื่อเปิดเผยสิ่งที่อยู่ภายในเนื้อหนังออกมา, คว้ารางวัล Grand Prize (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Le Salaire de la peur (1953)
Le Salaire de la peur (1953) : Henri-Georges Clouzot ♥♥♥♥♡
สิ่งน่าหวาดสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิตของผู้กำกับ Henri-Georges Clouzot คือการสร้างภาพยนตร์ภายใต้ Continental Films (สตูดิโอของ Nazi, Germany) ช่วงเวลานั้นเป็นสิ่งมิอาจหลบหลีกเลี่ยง เพื่อให้ตนเองสามารถเอาตัวรอดผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง สี่ตัวละครขับรถบรรทุกไนโตรกลีเซอรีนของ The Wages of Fear ก็เฉกเช่นกัน!, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
La Belle et la Bête (1946)
La Belle et la Bête (1946) : Jean Cocteau ♥♥♥♥
เทพนิยายแฟนตาซี Beauty and the Beast ฉบับที่ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ครั้งแรก โดยผู้กำกับชาวฝรั่งเศส Jean Cocteau ผสมผสาน Gothic, Surrealist ออกมาได้สวยงามราวกับบทกวีที่เรียงร้อยปรุงแต่งและมีสัมผัสอันงดงามลงตัว
The River (1951)
The River (1951) : Jean Renoir ♥♥♥♥
คงคา คือสายน้ำแห่งชีวิต และเป็นจิตวิญญาณของชาวอินเดีย ได้รับการค้นพบโดย Jean Renoir ทำการวาดภาพระบายสีด้วย Technicolor งดงามวิจิตรราวกับภาพวาด Impressionism
Le Mépris (1963)
จดหมายขอโทษของผู้กำกับ Jean-Luc Godard ถึงภรรยา Anna Karina (แต่นำแสดงโดย Brigitte Bardot) พยายามสำแดงความรู้สำนึกผิด วิพากย์วิจารณ์ตนเอง ทำไมถึงไม่สามารถรับรู้เข้าใจ ปล่อยละเลยจนเธอไปสานสัมพันธ์ชายอื่น แล้วทอดทิ้งให้ฉันอยู่ตัวคนเดียวอย่างขมขื่น
Pickpocket (1959)
ผมไม่ชอบสไตล์การกำกับของ Robert Bresson เสียเท่าไหร่ แต่ต้องยอมรับว่า Pickpocket เป็นหนังที่ ต้องเทคนิคของ Robert Bresson เท่านั้นที่ใช่เลย ทำออกมาได้ยอดเยี่ยม สวยงามและสมจริงที่สุด การันตีด้วยอันดับ 67 จากการจัดอันดับนิตยสาร Sight & Sound ถ้าคุณอยากเป็นโจรล้วงกระเป๋าต้องดูหนังเรื่องนี้ และถ้าคุณอยากปลอดภัยจากโจรล้วงกระเป๋าต้องดูหนังเรื่องนี้
Au Hasard Balthazar (1966) : Robert Bresson ♥♥♥
ดำเนินเรื่องในมุมมองโลกทัศน์ของเจ้าลาน้อย Balthazar ผ่านเจ้านายทั้ง 7 ที่มีทั้งดี-ชั่ว ทะนุถนอมเอ็นดู-ใช้ความเกรี้ยวกราดรุนแรง เพราะมิอาจพูดคุยโต้ตอบสื่อสาร ก็ทำได้แต่วางตัวเพิกเฉยเป็นกลาง ราวกับนักบุญ เรียกว่าตัวแทนของพระเยซูคริสต์คงไม่ผิดอะไร
L’Atalante (1934)
L’Atalante (1934) : Jean Vigo ♥♥♥♥♡
(19/12/2017) ชีวิตคือการเดินทาง ขึ้นเรือ L’Atalante มุ่งสู่ Paris พบเจอเรื่องราวต่างๆ สุขทุกข์ หึงหวง พลัดพราก คร่ำครวญหา งดงามด้วยสไตล์ Poetic Realism ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ Sunrise (1927), “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
La Grande Illusion (1937)
La Grande Illusion (1937) : Jean Renoir ♥♥♥♥♡
เชื้อชาติพันธุ์ ขอบเขตแดน ภาษาพูด-เขียน ฐานะรวย-จน ชนชั้นสูง-ต่ำ เหล่านี้คือ ‘ภาพลวงตา’ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแบ่งแยกจัดหมวดหมู่ ทั้งๆที่ในสากลจักรวาลไม่มีอะไรขีดเส้นไว้ทั้งนั้น ถ้าพวกเราสามารถเข้าใจจุดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง สงครามความขัดแย้งก็จักไม่มีวันบังเกิดขึ้น, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
À bout de souffle (1960)
คลื่นลูกใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ เริ่มต้นที่ Breathless (1960) จากความเป็นนักเลง(หนัง)ของผู้กำกับ Jean-Luc Godard โปรดิวเซอร์บอกความยาวมากเกินไป แต่แทนที่จะตัดทิ้งบางฉาก กลับพัฒนาเทคนิค Jump-Cut หั่นตรงโน้นนิด เล็มตรงนี้หน่อย เอาออกทีละน้อยๆ จนกลายเป็นอมตะแล้วหมดสิ้นลมหายใจ
The 400 Blows (1959)
Les Quatre Cents Coups (1959) : François Truffaut ♥♥♥♥
(9/1/2019) มากกว่าแค่กึ่งอัตชีวประวัติผู้กำกับ François Truffaut หรือสถานะประเทศฝรั่งเศสขณะนั้น แต่ยังคือมุมมองโลกทัศนคติต่อวงการภาพยนตร์ เต็มไปด้วยผู้ใหญ่หัวโบราณ พยายามชี้ชักนำ ครอบงำความคิด ยึดติดรูปแบบเดิมๆ เด็กรุ่นใหม่พบเห็นเช่นนั้น แปลกอะไรจะแสดงความหัวขบถก้าวร้าวออกมา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Passion of Joan of Arc (1928)
The Passion of Joan of Arc (1928) : Carl Theodor Dreyer ♠♠♠♠♠
(13/12/2016) อย่าริเรียกตัวเองว่าคนรักหนัง หากยังไม่เคยรับชม La Passion de Jeanne d’Arc โคตรหนังเงียบได้รับการยกย่องว่ามีความงดงาม เลอค่าทางศิลปะที่สุดในโลก ด้วยการแสดงอันสมจริงทรงพลังของ Renée Jeanne Falconetti สัมผัสความทุกข์ทรมานเอ่อล้นจากภายใน และแนวทางการกำกับของ Carl Theodor Dreyer เป็นภาษาภาพยนตร์โดดเด่นแตกต่างไม่เหมือนใคร
The Rules of the Game (1939)
La Règle du Jeu (1939) : Jean Renoir ♠♠♠♠♠
(9/2/2018) คำว่า Game ในวงการอาหารมักคือกระต่าย หรือสัตวปีกที่ได้จากการล่า ซึ่งชื่อหนัง The Rules of the Game อาจแปลได้ว่ากฎแห่งการเล่นเกม/ล่าสัตว์ แต่ใจความของภาพยนตร์เรื่องนี้จริงๆแล้ว คือการสะท้อนตีแผ่เสียดสี จำลองวิถีโลกทั้งใบ ความไร้สาระของสังคมชั้นสูง และความบอบบางของผู้คนชนชั้นล่าง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”