
ชายชาวอเมริกันถูกเข่นฆาตกรรม (Political Assassination) หน่วยงานรัฐประกาศจัดงานศพสุดยิ่งใหญ่ แต่เขาคนนั้นคือใคร? มีความสำคัญใดต่อประเทศแถบละตินอเมริกัน? ซึ่งเมื่อความจริงได้รับการเปิดเผยนั้น สามารถสั่นสะเทือนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
italian, italy film
ชายชาวอเมริกันถูกเข่นฆาตกรรม (Political Assassination) หน่วยงานรัฐประกาศจัดงานศพสุดยิ่งใหญ่ แต่เขาคนนั้นคือใคร? มีความสำคัญใดต่อประเทศแถบละตินอเมริกัน? ซึ่งเมื่อความจริงได้รับการเปิดเผยนั้น สามารถสั่นสะเทือนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
คำสอนแปลกๆของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Saint Francis of Assisi) ได้ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้หอมหวน ตลบอบอวล ด้วยกลิ่นดอกไม้งาม ทั้งผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini และ François Truffaut ต่างยกให้ ‘the most beautiful film in the world’
ตระกูลต้องคำสาปที่ใกล้ถึงวันล่มสลาย ภายในเต็มไปด้วยความขัดแย้ง เกมการเมือง แก่งแย่งชิงให้ได้มาซึ่งอำนาจ ทรยศหักหลังญาติพี่น้อง พร้อมกระทำสิ่งโฉดชั่วนานัปการ (หนังได้รับการจัด X-Rated) สะท้อนการขึ้นมาเรืองอำนาจของ Nazi Germany ได้อย่างลุ่มลึก ทรงพลัง!
ผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky ขณะนั้นมีภรรยามาแล้ว 4 คน ทุกครั้งที่เลิกร้างรา ราวกับว่าเขาได้เข่นฆ่าพวกเธอให้ตายจากไป(ในความรู้สึกนึกคิดและจิตใจ) กลายมาเป็นเรื่องราวฆาตกรต่อเนื่อง 30 ศพ ฝังหญิงสาวคนรักไว้ในสวนหลังบ้าน หลอกหลอน สั่นสยอง สะท้านถึงขั้วหัวใจ Masterpiece เรต NC-17, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
E la nave va (1983) : Federico Fellini ♥♥♥♡
And the Ship Sails On คือจินตนาการของผู้กำกับ Federico Fellini เมื่อตนเองลาลับจากโลกใบนี้ไปแล้ว ใครๆจะหวนระลึกครุ่นคิดถึงเขาเช่นไร ซึ่งก็ได้ทำการสร้างเรือสำราญทั้งลำขึ้นในโรงถ่ายสตูดิโอ Cinecittà เรียกว่าจำลองโลกทั้งใบ ใส่ผู้คนทุกระดับชนชั้น และแรดที่ไม่รู้เกี่ยวเนี่องอะไรกัน
Roma (1972) : Federico Fellini ♥♥♥♥
Fellini’s Roma มีลักษณะของ ‘City Symphony’ ร้อยเรียงภาพกรุงโรม นำเสนอคู่ขนานระหว่างปี 1939 (ที่ Fellini เดินทางมาเมืองหลวงครั้งแรก) และปัจจุบันนั้นทศวรรษ 70s พบเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ราวกับความเพ้อฝัน เก็บฝังไว้ใน Time Capsule ชั่วนิรันดร์
Giulietta degli spiriti (1965) : Federico Fellini ♥♥♥♥
ราวกับภาคต่อของ 8½ (1963) โดยสลับจากอวตารผู้กำกับ Federico Fellini กลายมาเป็นศรีภรรยา Giulietta Masina รับบท Juliet ผู้สามารถมองเห็นวิญญาณ ผสมผสานระหว่างความจริง-เพ้อฝัน อดีต-ปัจจุบัน และเมื่อผีบอกว่าชายคนรักลักลอบมีชู้ ชีวิตคู่ของพวกเขาจะลงเอยเฉกเช่นไร
Il bidone (1955) : Federico Fellini ♥♥♥♡
ผลงานที่ถูกหลงลืมของ Federico Fellini เพราะโดนขนาบข้างโดย La Strada (1954) และ Le notti di Cabiria (1957), เรื่องราวของสามโจรกระจอก เก่งแต่หลอกปล้นคนจน มันช่างบดขยี้หัวจิตหัวใจผู้ชม แช่งช่างเมื่อไหร่กรรมจะสนองพวกแม้งสักที!
Lo Sceicco Bianco (1952) : Federico Fellini ♥♥♥
The White Sheik คือภาพยนตร์ฉายเดี่ยวเรื่องแรกของว่าที่ปรมาจารย์ผู้กำกับ Federico Fellini แม้ยังไม่โดดเด่นชัดสไตล์ Felliniesque แต่ตัวละครก็ราวกับหลุดเข้าไปในโลกแห่งความเพ้อฝัน พานพบเจอบทเรียนแห่งความผิดพลาดนั้น ตื่นเช้ามาสามารถเริ่มต้นเข้าใจอะไรใหม่ๆด้วยตนเอง
Little Buddha (1993) : Bernardo Bertolucci ♥♡
ความพยายามของ Bernardo Bertolucci ในการให้ชาวตะวันตกเรียนรู้จักพุทธศาสนาเบื้องต้น มีลักษณะไม่ต่างจากนิทานก่อนนอน เต็มไปด้วยความเพ้อฝันแฟนตาซี ไร้แก่นสาสน์สาระจิตวิญญาณ ถ้าตัดเนื้อเรื่องราวปัจจุบันออก หลงเหลือเพียงชีวประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ แค่นั้นก็เพียงพอแล้วกระมัง
The Dreamers (2003) : Bernardo Bertolucci ♥♥♥♡
สำหรับผู้กำกับ Bernardo Bertolucci ช่วงเวลาที่เขาเพ้อใฝ่ฝันถึงมากสุด คงหนีไม่พ้น Mai 68 เหตุการณ์ปฏิวัติทางอุดมคติครั้งสำคัญของฝรั่งเศส แม้ไม่ประสบความสำเร็จในการล้มล้างรัฐบาล แต่ได้ปรับเปลี่ยนขนบวิถี จารีตประเพณีทางสังคม และค่านิยมทางเพศไปโดยสิ้นเชิง
Filibus (1915) : Mario Roncoroni ♥♥♥
Filibus คือชื่อจอมโจรสาว จ้าวแห่งการปลอมตัว และมีเรือเหาะเป็นยานพาหนะ … หนังเงียบที่คือจินตนาการอนาคตของประเทศอิตาลี เพราะยุคสมัยนั้นอิสตรียังมิได้รับสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมใดๆ เมื่อแต่งงานไปต้องก้มหัวให้ผู้ชาย ไม่มีสิทธิ์เสียงขอหย่า หรือแค่เพียงสมัครสมาชิกนิตยสาร/หนังสือพิมพ์ใดๆ
Nostalghia (1983) : Andrei Tarkovsky ♥♥♥
เพราะไม่สามารถอดรนทนต่อความเผด็จการของสหภาพโซเวียต ปรมาจารย์ผู้กำกับ Andrei Tarkovsky เลยอพยพหลบหนีภัยมาอยู่ประเทศอิตาลี แต่ก็ยังคร่ำครวญหวนระลึกถึง’ภาพ’ผืนแผ่นดินบ้านเกิด ถ่ายทอดออกมาสู่ Nostalghia ด้วยความรวดร้าวระทมใจ
Il Sorpasso (1962) : Dino Risi ♥♥♥♥
แม้ชื่อหนังภาษาอังกฤษจะคือ The Easy Life แต่ความหมายตรงๆของ Il Sorpasso แปลว่า Overtaking การติดตามทัน แซงหน้า มักใช้ในบริบทของการขับรถช้า-เร็วกว่า ซึ่งสามารถเหมารวมถึงสถานะทางสังคมสูง-ต่ำ คุณธรรมศีลธรรมดี-ชั่ว รสนิยมทางเพศ หรือแม้แต่เศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งสะท้อนเข้ากับประเทศอิตาลียุคสมัยนั้น กำลังถูกแซงหรือโดนตัดหน้าไปไกลแล้วก็ไม่รู้!
Shoeshine (1946) : Vittorio De Sica ♥♥♥♥
ถัดจาก Rome, Open City (1945) ก็คือ Shoeshine (1946) ภาพยนตร์แนว Neorealist ที่เจิดจรัสฉาย ประสบความสำเร็จทั่วโลกยกเว้นประเทศอิตาลี! เรื่องราวของเด็กขัดรองเท้าสองคน จากมิตรภาพสหายรัก ค่อยๆแปรพักตร์กลายเป็นศัตรู เพราะสภาพสังคมที่พวกเขาอยู่ บ่มเพาะเสี้ยมสั่งสอนอุ้มชูให้เกิดการปรับเปลี่ยนแปลง
Germania anno zero (1948) : Roberto Rossellini ♥♥♥
เรื่องสุดท้ายปิดไตรภาค Neorealist Trilogy ของผู้กำกับ Roberto Rossellini ช่างมีความทรงพลังระดับล้างผลาญ เพราะถ่ายทำกรุงเบอร์ลิน ไม่กี่ปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ยังคงรายล้อมด้วยเศษซากปรักหักพัง นำเสนอผ่านมุมมองเด็กชายวัย 12 ปี จะสามารถมีชีวิตเอาตัวรอดไปได้เช่นไร
1900 (1976) : Bernardo Bertolucci ♥♥♥
ประสบชะตากรรมเดียวกับ Ryan’s Daughter (1970) ของผู้กำกับ David Lean นำเสนอประเด็นใหญ่ๆด้วยการเปรียบเปรยกับสิ่งเล็กๆ แล้วพยายามขยายงานสร้างให้มีความเว่อวังอลังการ แบบนี้ผลลัพท์ภาพที่ได้ย่อมแตกละเอียดหยาบกร้าน จนแทบมองอะไรไม่เห็น หมดสิ้นคุณค่าความหมายใดๆ
Tenebre (1982) : Dario Argento ♥♥♥♥
Tenebre ภาษาละติน แปลว่า Shadow, Darkness, เงา ความมืดมิด เป็นภาพยนตร์ที่การนำเสนอความตายในรูปแบบงานศิลปะชั้นสูง งดงามเสียจนมีครั้งหนึ่งที่ผู้กำกับ Quentin Tarantino ยกให้คือการตายฉากโปรดตลอดกาล
Deep Red (1975) : Dario Argento ♥♥♥♥
สังคมยุคสมัยก่อนที่ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า บางครั้งปกครองอย่างกดขี่ข่มเหง กักเธอไว้ในกรงขัง ใช้ความรุนแรงจนฝ่ายหญิงสะสมความโกรธเกลียดชัง อัดแน่นคลุ้มคลั่งอยู่ภายใน เมื่อถึงวันทนไม่ได้ปะทุระเบิดออกมา ลามระบาดไม่ใช่แค่ครอบครัวรอบข้าง แต่ยังทุกผู้คนที่สามารถสัมผัสล่วงรู้ได้
Don’t Torture a Duckling (1972) : Lucio Fulci ♥♥♥♥♡
การหยอกล้อ กลั่นแกล้งบุคคลผู้ไม่มีทางสู้ ครุ่นคิดว่าเขาคงไม่สามารถทำอะไรเราได้ แต่โดยไม่รู้ตัวสักวันหนึ่งอาจถูกหวนกลับมาล้างแค้น ไล่ล่าเข่นฆ่า หัวเราะทีหลังดังกว่า, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”