
ได้รับการเปรียบเทียบถึงยอดเขาเอเวอร์เรส สำหรับคนชอบครุ่นคิด ปีนป่าย ท้าทายความเข้าใจ ไปให้ถึงจุดสูงสุดของภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อพบเจอกระจกบานหนึ่ง ส่องสะท้อนภาพของตัวเราเอง
european film, british, french, italian, german, russian, swedish, etc.
ได้รับการเปรียบเทียบถึงยอดเขาเอเวอร์เรส สำหรับคนชอบครุ่นคิด ปีนป่าย ท้าทายความเข้าใจ ไปให้ถึงจุดสูงสุดของภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อพบเจอกระจกบานหนึ่ง ส่องสะท้อนภาพของตัวเราเอง
La Grande Illusion (1937) : Jean Renoir ♥♥♥♥♡
เชื้อชาติพันธุ์ ขอบเขตแดน ภาษาพูด-เขียน ฐานะรวย-จน ชนชั้นสูง-ต่ำ เหล่านี้คือ ‘ภาพลวงตา’ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแบ่งแยกจัดหมวดหมู่ ทั้งๆที่ในสากลจักรวาลไม่มีอะไรขีดเส้นไว้ทั้งนั้น ถ้าพวกเราสามารถเข้าใจจุดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง สงครามความขัดแย้งก็จักไม่มีวันบังเกิดขึ้น, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
La Dolce Vita (1960) : Federico Fellini ♠♠♠♠♠
(31/1/2018) La Dolce Vita แปลว่า The Sweet Life, เรื่องราวเหมือนความเพ้อฝันของหนังเรื่องนี้จะทำให้คุณรับรู้ว่า ถึงชีวิตภายนอกจะหอมหวานเลิศหรูหราเพียงใด แต่ภายในจิตใจใช่ว่าจะพบเจอความสุขจริงแท้, ผลงาน Masterpiece ที่คว้ารางวัล Palme d’Or ของปรมาจารย์ผู้กำกับสัญชาติอิตาเลี่ยน Federico Fellini ถึงดูไม่รู้เรื่องก็ทนไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งคุณอาจเข้าใจเหตุผลที่ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
คลื่นลูกใหม่แห่งวงการภาพยนตร์ เริ่มต้นที่ Breathless (1960) จากความเป็นนักเลง(หนัง)ของผู้กำกับ Jean-Luc Godard โปรดิวเซอร์บอกความยาวมากเกินไป แต่แทนที่จะตัดทิ้งบางฉาก กลับพัฒนาเทคนิค Jump-Cut หั่นตรงโน้นนิด เล็มตรงนี้หน่อย เอาออกทีละน้อยๆ จนกลายเป็นอมตะแล้วหมดสิ้นลมหายใจ
The Seventh Seal (1957) : Ingmar Bergman ♥♥♥♥
(7/7/2017) ทั้งๆที่รู้ว่า ‘เกิด’แล้วก็ต้อง’ตาย’ แต่มนุษย์ทั้งหลายพยายามจะยืดยื้อ ต่อรองร้องขอชีวิตกับความตาย ทั้งๆที่ก็รู้เช่นกันว่า ไม่มีทางจะเอาชนะได้ แต่ถ้าระหว่างนั้นสามารถกระทำอะไรเสร็จสำเร็จสักอย่าง ก็ถือว่าคุ้มค่าเพียงพอแล้ว … หรือเปล่า?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
8 1/2 (1963) : Federico Fellini ♠♠♠♠♠
(20/2/2018) ผู้กำกับชื่อดังตกอยู่ในสภาวะ ‘Director’s Block’ ครุ่นคิดไม่ออกว่าภาพยนตร์เรื่องถัดไปจะสร้างอะไรดี ติดอยู่ในรถ กึ่งกลางระหว่างความจริง-เพ้อฝัน อดีต-ปัจจุบัน ภรรยา-ชู้สาว ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยเชือกไม่ให้หลุดลอยไปไกล สร้างสถานีอวกาศเอาไว้หนีออกนอกโลก แต่เสร็จแค่โครงเหล็กครึ่งทาง เหมือนชื่อหนังเรื่องที่ 8 ติ่งด้วย ½
Les Quatre Cents Coups (1959) : François Truffaut ♥♥♥♥
(9/1/2019) มากกว่าแค่กึ่งอัตชีวประวัติผู้กำกับ François Truffaut หรือสถานะประเทศฝรั่งเศสขณะนั้น แต่ยังคือมุมมองโลกทัศนคติต่อวงการภาพยนตร์ เต็มไปด้วยผู้ใหญ่หัวโบราณ พยายามชี้ชักนำ ครอบงำความคิด ยึดติดรูปแบบเดิมๆ เด็กรุ่นใหม่พบเห็นเช่นนั้น แปลกอะไรจะแสดงความหัวขบถก้าวร้าวออกมา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Passion of Joan of Arc (1928) : Carl Theodor Dreyer ♠♠♠♠♠
(13/12/2016) อย่าริเรียกตัวเองว่าคนรักหนัง หากยังไม่เคยรับชม La Passion de Jeanne d’Arc โคตรหนังเงียบได้รับการยกย่องว่ามีความงดงาม เลอค่าทางศิลปะที่สุดในโลก ด้วยการแสดงอันสมจริงทรงพลังของ Renée Jeanne Falconetti สัมผัสความทุกข์ทรมานเอ่อล้นจากภายใน และแนวทางการกำกับของ Carl Theodor Dreyer เป็นภาษาภาพยนตร์โดดเด่นแตกต่างไม่เหมือนใคร
La Règle du Jeu (1939) : Jean Renoir ♠♠♠♠♠
(9/2/2018) คำว่า Game ในวงการอาหารมักคือกระต่าย หรือสัตวปีกที่ได้จากการล่า ซึ่งชื่อหนัง The Rules of the Game อาจแปลได้ว่ากฎแห่งการเล่นเกม/ล่าสัตว์ แต่ใจความของภาพยนตร์เรื่องนี้จริงๆแล้ว คือการสะท้อนตีแผ่เสียดสี จำลองวิถีโลกทั้งใบ ความไร้สาระของสังคมชั้นสูง และความบอบบางของผู้คนชนชั้นล่าง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Bicycle Thieves (1948) Italian : Vittorio De Sica ♥♥♥♥♡
Bicycle Thieves ของ Vittorio De Sica ได้ขโมย 2 อย่าง จักรยาน และหัวใจของผู้ชม