ผู้กำกับ Lars von Trier ล้มป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) ระหว่างเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีการ ‘Exposure Therapy’ พัฒนาบทหนัง Antichrist เพื่อเผชิญหน้าความกลัวของตนเอง ท้าทายให้ผู้ชมเอาตัวรอดจากสวนอีเดนของซาตาน
หมวดหมู่: polish
polish film, Poland
Sanatorium pod klepsydrą (1973)
ในสถานพยาบาลแห่งนี้ เวลามีการผันแปรเปลี่ยนเหมือนนาฬิกาทราย อดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน พลิกกลับไปกลับมาอย่างน่าฉงนสงสัย แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนดูเสื่อมโทรม ปรักหักพัง สะท้อนเข้ากับสภาพประเทศโปแลนด์ยุคสมัยนั้น, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Rękopis znaleziony w Saragossie (1965)
จากเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง สู่เรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าของอีกเรื่องเล่าหนึ่ง ซ้อนซับซ้อนสู่ความไม่รู้จบของเรื่องราว เพื่อสื่อถึงวังวนไร้หนทางออก ไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น ‘บ่วงรัดคอ’ ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์
Pożegnania (1958)
พร่ำเพ้อรำพันถึงเธอ โปแลนด์ในอดีต (ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) เพราะปัจจุบันนั้นไม่มีวันที่เราสองจักหวนกลับมาครอบครองคู่รักกันอีกครั้ง, กลิ่นอาย Casablanca (1942) แต่มีความเหนือจริงอยู่เล็กๆ
Pętla (1958)
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ Wojciech Has นำเสนอ 24 ชั่วโมงของคนอยากเลิกเหล้า แต่กาลเวลากลับเคลื่อนพานผ่านไปอย่างเชื่องชักช้า จนเกิดความตระหนักว่าไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น ‘บ่วงรัดคอ’ ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์
Possession (1981)
ผู้กำกับ Andrzej Żuławski ตกอยู่ในอาการคลุ้มบ้าคลั่งเมื่อถูกภรรยาเลิกราหย่าร้าง สรรค์สร้าง Possession (1981) ด้วยการทำให้ฝ่ายหญิงดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ ขยะแขยงที่สุด ไม่ต่างจากถูกปีศาจร้ายเข้าสิง แต่ใครกันแน่ที่สูญสิ้นความเป็นมนุษย์
บิดาของผู้กำกับ Andrzej Żuławski ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยินยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อครอบครัว เข้าร่วมวิจัยโรคไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) ด้วยการให้เห็บ/หมัด ดื่มเลือดเป็นอาหาร (lice-feeding) … แค่คิดแม้งก็สยองแล้ว
Matka Joanna od Aniołów (1961)
ไม่ว่าแม่อธิการ Joan of the Angels จะถูกซาตานเข้าสิงหรือไม่? ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามท้าทายความเชื่อศรัทธาชาวคริสต์ เมื่อต้องเผชิญหน้าสิ่งชั่วร้ายรุกรานเข้ามาในจิตใจ เราควรจะโอบกอดยินยอมรับ หรือขับไล่ผลักไสออกห่างไกล
Three Colours: Red (1994)
แม้คนเราชอบแสดงออกอย่างเป็นมิตรกับคนที่ไม่รู้จัก แต่จิตใจมักเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ครุ่นคิดว่าเขาจะมาร้าย จนกว่าจะได้พูดคุย สานสัมพันธ์ ทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน ภารดรภาพที่แท้จริงถึงบังเกิดขึ้น
ความเสมอภาคในโลกทัศน์ของ Krzysztof Kieślowski ถ้าเคยถูกใครกระทำอะไรมา ก็ต้องล้างแค้นเอาคืนอย่างสาสม ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน แต่โดยไม่สนวิธีการถูก-ผิด ดี-ชั่ว พร้อมจะกลับกลอก หลอกลวง คิดคดทรยศหักหลังแม้กระทั่งหญิงสาวคนรัก!
Three Colours: Blue (1993)
หลังโศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้นกับครอบครัว Juliette Binoche พยายามละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘เสรีภาพ’ แต่หลังจากใช้ชีวิตเพียงลำพังอยู่สักพักก็ตระหนักว่า ไม่มีทางที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ตัวคนเดียว ต้องแสวงหาใครสักคนแม้ต้องอดรนทนต่อความขื่นขม เพื่อแลกกับอุดมคติชาวตะวันตกที่เรียกว่าความรัก
The Double Life of Veronique (1991)
ชัยชนะการเลือกตั้งของสหภาพแรงงาน Solidarity เมื่อปี 1989 คือจุดล่มสลายของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในประเทศ Poland เปรียบได้กับชีวิตถือกำเนิดใหม่ อาจไม่ใช่ร่างกาย-จิตวิญญาณดั้งเดิม แต่บางสิ่งอย่างได้ถูกส่งต่อจาก Weronika มาเป็น Véronique
Bez końca (1985)
ความตายของสามีทำให้ภรรยาแทบมิอาจอดรนทน พยายามหาหนทางปล่อยปละละวาง แต่สถานการณ์การเมืองของประเทศ Poland ช่วงประกาศกฎอัยการศึก (1981-83) ทำให้ทุกสิ่งอย่างถึงคราอับจน หมดสิ้นหนทางหวัง ท้ายที่สุดแล้วเลยหลงเหลือเพียงโศกนาฎกรรม
ชีวิตก็เหมือนทอยลูกเต๋า มีความเป็นไปได้เกิดขึ้นไม่รู้จบ! ผู้กำกับ Krzysztof Kieślowski ทดลองนำเสนอสามสถานการณ์แห่งโชคชะตา เมื่อตัวละครสามารถวิ่งขึ้นรถไฟ, พุ่งชนเจ้าหน้าที่สถานี และหยุดยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ไม่ว่าจะไทม์ไลน์ไหน ล้วนประสบผลลัพท์ไม่น่าอภิรมณ์ทั้งนั้น
ผลงานแจ้งเกิดระดับนานาชาติของปรมาจารย์ผู้กำกับ Krzysztof Kieślowski ตั้งคำถามจริยธรรมเกี่ยวกับการสรรค์สร้างภาพยนตร์ ระหว่างปล่อยปละละเลยถ่ายทำมันทุกสิ่งอย่าง (เชื่อในอิสรภาพทางความคิดสร้างสรรค์) หรือเราควรต้องย้อนกลับมองดูตนเอง มีอะไรถูกต้องเหมาะสมควรหรือไม่ควร ภายใต้กฎกรอบข้อบังคับทางสังคม
Ida (2013)
Ida (2013) : Paweł Pawlikowski ♥♥♥♥♡
แม่ชีฝึกหัด Ida ก่อนจะปฏิญาณตนเป็นแม่ชีตลอดชีวิต ถูกขอให้ไปเยี่ยมน้า ญาติคนสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ รับรู้ความจริงเกี่ยวกับตนเองว่ามีเชื้อสายยิว ออกเดินทางค้นหาพ่อ-แม่ ที่ถูกเข่นฆ่าตายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อพบเจอแล้วเธอจะยังสามารถเลือกเส้นทางแห่งความสุขสงบนี้ได้หรือไม่, หนังมีภาพขาว-ดำ สวยงามระดับ Masterpiece คว้า Oscar: Best Foreign Language Film และ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Pianist (2002)
The Pianist (2002) : Roman Polanski ♥♥♥♡
เด็กชาย Roman Polanski ตอนอายุ 6 ขวบ ถูกพ่อผลักออกจากรั้วลวดหนามค่ายกักกันนาซี ประเทศ Poland เร่ร่อน หิวกระหาย ดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยตนเองใน Krakow และ Warsaw ได้รับความอนุเคราะห์ช่วยเหลือจากผู้คนแปลกหน้าหลายตา จนสามารถผ่านช่วงเวลาแห่งสงครามไปได้ เติบใหญ่ขึ้นกลายเป็นผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ คว้ารางวัล Palme d’Or กับผลงานชีวประวัติของ Władysław Szpilman (รับบทโดย Adrien Brody) นักเปียโนเชื้อสายยิว ที่เรื่องราวแทบไม่ต่างอะไรกับตัวเขาเอง
The Orchestra Conductor (1980) : Andrzej Wajda ♥♥♥
รับชมการตีความ Beethoven: Symphony No. 5 ในรูปแบบภาษาภาพยนตร์ โดยปรมาจารย์ผู้กำกับ Andrzej Wajda การันตีด้วยรางวัล Silver Bear: Best Actor จากเทศกาลหนังเมือง Berlin ของ Andrzej Sewery สมทบด้วย Krystyna Janda และท่านเซอร์ John Gielgud
Man of Iron (1981) Polish : Andrzej Wajda ♥♥♥♡
หนังรางวัล Palme d’Or และเข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film ปิดท้ายทวิภาค ‘Solidarity Movement’ ของผู้กำกับ Andrzej Wajda ด้วยวิธีการนำเสนอที่เรียกได้ว่า ‘เป็น Citizen Kane ของชนชั้นแรงงาน’ เล่าต่อกับเรื่องราวของลูกชาย (ที่พ่อเป็นพระเอกใน Man of Marble) ได้ปลุกระดมพล และนัดหยุดงานที่ท่าเรือ (Gdańsk Shipyard Strike) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลรับข้อเสนอของกลุ่มกรรมกรแรงงาน และนี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาเป็นผู้ชนะ
Man of Marble (1976) Polish : Andrzej Wajda ♥♥♥♡
เรื่องแรกในทวิภาค ‘Solidarity Movement’ ของผู้กำกับ Andrzej Wajda ด้วยวิธีการนำเสนอที่เรียกได้ว่า ‘เป็น Citizen Kane ของคนชั้นแรงงาน’ เรื่องราวของชายคนหนึ่ง ที่เริ่มต้นเพียงก่ออิฐสร้างบ้าน แล้วได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของคนชั้นแรงงานในประเทศโปแลนด์