ไม่ต้องไปสนหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่าดาวเคราะห์พเนจร Melancholia จะพุ่งชนโลกได้อย่างไร? เมื่อวันโลกาวินาศคืบคลานเข้ามา ไม่สามารถหาหนทางหลบหนี คนส่วนใหญ่คงตกอยู่ในสภาพหดหู่ ซึมเศร้า หมดสิ้นหวังอาลัย แต่สำหรับผู้กำกับ Lars von Trier คงนั่งเหม่อมองท้องฟ้า อดไม่ได้จะยิ้มเริงร่า
หมวดหมู่: scandinavian
scandinavian film, Sweden, Finland, Norway, Denmark, Iceland
ANTICHRIS♀ (2009)
ผู้กำกับ Lars von Trier ล้มป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) ระหว่างเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีการ ‘Exposure Therapy’ พัฒนาบทหนัง Antichrist เพื่อเผชิญหน้าความกลัวของตนเอง ท้าทายให้ผู้ชมเอาตัวรอดจากสวนอีเดนของซาตาน
Dogville (2003)
เลือนลางระหว่างภาพยนตร์-ละคอนเวที มีเพียงเส้นชอล์กขีดแบ่งบ้านแต่ละหลัง ทุกสิ่งอย่างล้วนเปิดกว้าง แต่ทุกคนกลับสร้างบางอย่างขึ้นมากีดขวางกั้น เรียกร้องโน่นนี่นั่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม นี่นะหรือวิถีอเมริกัน? ดินแดนแห่งโอกาส สำหรับเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่เมื่ออาศัยอยู่นานวัน สันดานธาตุแท้ผู้คนจักค่อยๆเปิดเผยออกมา
Dancer in the Dark (2000)
ไม่ใช่แค่สายตาตัวละครที่กำลังค่อยๆมืดบอด ถูกทรยศหักหลัง ตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง แต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมในกองถ่ายที่ Björk อ้างว่าถูกแตะอั๋ง ลวนลาม คุกคามทางเพศโดยผกก. Lars von Trier, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Festen (1998)
งานเลี้ยงแซยิด (วันเกิดครบรอบ 60 ปี) ของบิดา รายล้อมด้วยลูกๆหลานๆ ญาติพี่น้อง ผองเพื่อน แต่ด้วยความที่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกจากกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 มันจึงความบ้าคลั่ง เสียสติแตก ความจริงบางอย่างกำลังได้รับการเปิดเผยอย่างช้าๆ, คว้ารางวัล Jury Prize (ที่สาม) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Gösta Berlings saga (1924)
ชีวิตของ Gösta Berling (รับบทโดย Lars Hanson) เต็มไปด้วยความอัปยศมากมาย เป็นบาทหลวงแต่ชื่นชอบดื่มเหล้ามีนเมามาย หญิงสาวเข้ามาพัวพันล้วนมีอันเป็นไป กระทั่งได้พานพบเจอ Greta Garbo เข้าตาโปรดิวเซอร์ Louis B. Mayer จับเซ็นสัญญาสตูดิโอ M-G-M ลากพาตัวมายัง Hollywood และกลายเป็นตำนานยิ่งใหญ่
Herr Arnes pengar (1919)
Sir Arne’s Treasure นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ‘โลภะ โทสะ โมหะ’ ถ้าไม่ได้รับการควบคุมด้วยสติ มักถูกแสดงออกด้วยความวิปลาส เข่นฆ่าแก่งแย่งชิงทรัพย์สิน โต้ตอบกลับด้วยความรุนแรง พร้อมฉกแย่งชิงเธอมาครอบครองเป็นเจ้าของ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Berg-Ejvind och hans Hustru (1918)
The Outlaw and His Wife นำเสนอเรื่องราวความรักพานผ่านฤดูกาลต่างๆ แรกพบเจอใบไม้ผลิ แย้มบานรุ่มร่ามร้อนรน ครองคู่อยู่ร่วมจนร่วงโรยรา ก่อนความตายจะนำพาพวกเขาสู่ความหนาวเหน็บ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Terje Vigen (1917)
ครั้งแรกๆที่มีการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ vs. ธรรมชาติ บุรุษผู้อัดแน่นด้วยความเจ็บแค้นเกรี้ยวกราด เหม่อมองออกไปยังท้องทะเลกำลังคลุ้มคลั่งลมพายุ กลายเป็นผลงานสร้างชื่อระดับนานาชาติให้ Victor Sjöström และเปิดประตูสู่ยุคทองแห่งวงการภาพยนต์สวีเดน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Ingeborg Holm (1913)
ภาพยนตร์ถือเป็นเสาหลักไมล์แรกที่แท้จริงของ ‘Narrative Film’ ต้นแบบการเล่าเรื่องสไตล์ Classical Hollyood สร้างขี้นโดยผู้กำกับได้รับฉายา ‘D. W. Griffith แห่ง Sweden’ ยอดเยี่ยมถีงขนาด Ingmar Bergman ยังต้องเอ่ยปากชื่นชม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Prästänkan (1920) : Carl Theodor Dreyer ♥♥♥♡
เรื่องราวชวนหัวของชายหนุ่มผู้ต้องการเป็นนักเทศน์ แต่ขนบธรรมเนียมของที่นี่คือต้องแต่งงานกับภรรยาหม้าย(ของบาทหลวงคนก่อนหน้า) ทั้งๆตัวเขามีคู่หมั้นอยู่แล้ว แช่งให้ตายโดยไว แต่ยายแกมียาวิเศษจะอยู่ให้ครบร้อยปี!
Offret (1986)
Offret (1986) : Andrei Tarkovsky ♥♥♥♥
แนวคิดของชาวคริสเตียนและปรมาจารย์ผู้กำกับ Andrei Tarkovsky สิ่งทรงคุณค่าสูงสุดที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐแตกต่างจากเดรัจฉาน คือเรียนรู้จักการเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น แม้บางครั้งอาจต้องแลกมาด้วยชีวิต ทรัพย์สิน และทุกคนรอบข้าง
Häxan (1922)
โคตรหนังเงียบที่ราวกับบทเรียนประวัติศาสตร์แม่มด เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อครั้นพระเจ้าสร้างโลก วิวัฒนาการความเชื่อศรัทธา อคติต่อบุคคลครุ่นคิดเห็น/แสดงพฤติกรรมแตกต่าง มาจนถึงปัจจุบัน(ยุคสมัยนั้น)เมื่อวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ความจริงหลายๆอย่าง
Autumn Sonata (1978)
Autumn Sonata (1978) : Ingmar Bergman ♥♥♥♥♡
เป็นความต้องการของ Ingrid Bergman มาแสนนาน ที่จะร่วมงานกับผู้กำกับ Ingmar Bergman แต่นี่คือครั้งแรก ครั้งเดียว ภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย, รับบทแม่ที่ทอดทิ้งลูกสาวไปถึง 7 ปี (รับบทโดย Liv Ullmann) กลับมาพบกันครั้งนี้เพื่อสานความสัมพันธ์ และค้นหาเหตุผลว่าทำไมพวกเธอถึงอยู่ด้วยกันไม่ได้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Viskningar och rop (1966)
บทกวีรำพรรณาความเศร้าโศกต่อการจากไปอย่างทุกข์ทรมานของมารดา ซึ่งผู้กำกับ Ingmar Bergman ก็สาแก่ใจเมื่อล้มป่วยโรคปอดบวม ซมซานสภาพปางตาย ค่อยๆตระหนักได้ถึงมุมมองชีวิต ต่อให้ญาติมิตรสหายเลวร้ายสักเพียงใด ก็อยู่ที่ใจเราจะจินตนาการความสุขเช่นไร
Hour of the Wolf (1968) : Ingmar Bergman ♥♥♡
หนังแนว Gothic Horror ที่เป็นกึ่งอัตชีวประวัติของผู้กำกับ Ingmar Bergman โดยมี Max von Sydow เป็นตัวตายตัวแทน และชู้สาวที่รักมากขณะนั้น Liv Ullmann เป็นภรรยา, นี่แปลว่าจิตใจของผู้กำกับขณะนั้น มีความหวาดหวั่นกลัว อกสั่นขวัญผวาต่อบางสิ่งบางอย่าง แต่จะคืออะไรละ?
The Silence (1963)
The Silence (1963) : Ingmar Bergman ♥♥♥♥
ในโลกสมมติที่พระเจ้าไม่มีตัวตน (พ่อเสียชีวิตไปแล้ว) หญิงสาวสองพี่น้องและเด็กชายกำลังเดินทางกลับบ้านโดยรถไฟ แต่ต้องหยุดพักที่เมืองสมมติ Timoka ส่วนไหนของยุโรปก็ไม่รู้ พูดคุยสื่อสารกับใครก็ไม่เข้าใจ แต่ในความเงียบสงัดนั้น ตัวตน ความต้องการ และความสัมพันธ์ของทั้งสามกำลังได้รับการเปิดเผย
Smiles of a Summer Night (1955)
Smiles of a Summer Night (1955) : Ingmar Bergman ♥♥♥♥
ถึงจะเป็นคนที่เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา เคร่งครัดศาสนา แต่ปรมาจารย์ผู้กำกับ Ingmar Bergman กลับเป็นเด็กเก็บกด มีความวุ่นวายกับผู้หญิงค่อนข้างมาก แต่งงานถึง 5 ครั้ง นี่ไม่รวมการเกี้ยวพาราสี เป็นชู้กับนักแสดงขาประจำทั้งหลายของเขาอีก, หนังเรื่องนี้มองได้คือกึ่งอัตชีวประวัติของผู้กำกับ แนวตลกชู้ (Adultery Comedy) และเป็นครั้งแรกที่ชื่อของ Bergman ได้กลายเป็นที่รู้จักทั่วโลก
Raven's End (1963)
Raven’s End (1963) : Bo Widerberg ♥♥♥♥
จับจ้องมองเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านชนบทเล็กๆห่างไกล ศึกษาพฤติกรรม การกระทำ วิถีชีวิต ความคิดและสิ่งที่อยู่ข้างในจิตใจ … รับชมหนังเรื่องนี้ ผมรู้สึกเหมือนกำลังนั่งเรียนวิชาสังคมศาสตร์ (Social Science) เขียนบทความนี้ก็ราวกับศึกษาทำการบ้านอยู่
Körkarlen (1921)
ภาพยนตร์เรื่องโปรดของผู้กำกับ Ingmar Bergman เป็นแรงบันดาลใจในการสรรค์สร้าง The Seventh Seal (1957) และ Wild Strawberries (1957), ปรัมปราเล่าว่า มนุษย์คนสุดท้ายที่เสียชีวิตวันสิ้นปี จะต้องรับหน้าที่เป็นสารถี/ยมทูต ขับราชรถรับส่งคนตายสู่ยมโลกตลอดปีถัดไป