
สนุกสนานไปกับกิจกรรมเต้นรำ ไม่ว่าไซส์ไหน สีผิวอะไร ชัยชนะของ Tracy Turnblad (รับบทโดย Ricki Lake) จุดประกายการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม เฉลิมฉลองการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration)
hollywood, america film, united states
สนุกสนานไปกับกิจกรรมเต้นรำ ไม่ว่าไซส์ไหน สีผิวอะไร ชัยชนะของ Tracy Turnblad (รับบทโดย Ricki Lake) จุดประกายการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม เฉลิมฉลองการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration)
มีคำเรียก Odorama เมื่อซื้อตั๋วหนังจะได้รับแผ่นกระดาษ (Scratch-and-Sniff Card) ที่มีหมายเลข 1-10 ระหว่างรับชมพบเห็นตัวเลขอะไร ก็ให้เอาเหรียญขูดๆ สูดดมกลิ่น สดชื่นบ้าง เหม็นหึ่งบ้าง สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในการรับชมภาพยนตร์
Female Trouble (1974) ไม่ใช่ปัญหาของหม่อมแม่ Divine แต่ขึ้นอยู่กับผู้ชมจะมองเห็นความอัปลักษณ์หรืองดงาม? ผลงานมาสเตอร์พีซของ John Waters อาจไม่มีฉากตราตรึงเท่า Pink Flamingo (1972) แต่แฝงแนวคิดสะท้อนปัญหาสังคมได้ทรงพลังกว่ามากๆ
Pink Flamingos (1972) ไม่จำเป็นต้องไปแข่งขัน ประชันใคร นั่นเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสกปรก โสมม อาจม น่ารังเกียจขยะแขยง “Filthiest Film of All Time” แต่ถ้าคุณสามารถมองข้ามรสนิยมต่ำตมเหล่านั้น อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ศักดิ์สิทธิ์ของหม่อมแม่ Divine
ระหว่างเหตุการณ์รัฐประหาร 1973 Chilean Coup d’État ชายชาวอเมริกันคนหนึ่งสูญหายตัวไปอย่างลึกลับ ทำให้บิดา (รับบทโดย Jack Lemmon) และภรรยา (รับบทโดย Sissy Spacek) พยายามออกติดตามหา ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ แต่จะพบเจอหรือไม่ หรือกลายเป็นศพไปแล้ว, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
นอกจากชายนิรนามในไตรภาค Dollars Trilogy ยังมีอีกบทบาทที่กลายเป็น ‘Iconic’ ของ Clint Eastwood นั่นคือนักสืบ Harry Callahan เจ้าของฉายา Dirty Harry ชอบใช้ความรุนแรง ดิบเถื่อน ไม่แคร์อะไรใคร และเมื่อกฎหมายไม่สามารถจัดการอาชญากร เขาจึงจำต้องแปดเปื้อนเลือดด้วยตนเอง
Steve McQueen มีงานอดิเรกเป็นนักแข่งรถ ต้องการสร้างภาพยนตร์ที่มีฉากไล่ล่า (Car Chase) ท้าทายขีดจำกัดยุคสมัยนั้น กลายมาเป็น Bullitt (1968) ได้รับคำสรรเสริญถึงฉากแอ๊คชั่นสุดมันส์ แต่อะไรอย่างอื่นเรียกได้ว่า Bullshit!
สัญชาติญาณล้วนๆของคู่หูนักสืบ Gene Hackman และ Roy Scheider ทำให้การไล่ล่าเครือข่ายลักลอบขนส่งเฮโรอีนข้ามชาติ (French Connection) มีความรุนแรง ดิบเถื่อน ฉากไล่ล่าสุดมันส์ คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
เปรียบได้กับ Lost in Translation (2003) ฉบับ Stop-Motion Animation แต่นำเสนอเพียงค่ำคืนของชายวัยกลางคน (Midlife Crisis) มีความโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว อาศัยอยู่ในโรงแรมหรูตัวคนเดียว พบเจอหญิงสาวแปลกหน้า เกี้ยวพาราสีจนได้ร่วมรักหลับนอน (One Night Stand)
การกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของ Charlie Kaufman ได้รับมอบหมายจากสตูดิโอให้สรรค์สร้างหนังสยองขวัญ สั่นประสาท (Horror) แต่สิ่งที่เขาครุ่นคิด น่าหวาดสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิต คือการต้องเผชิญหน้า ‘ความตาย’ ไม่มีมนุษย์คนไหนสามารถหลบหนีพ้น
Jim Carrey ต้องการลบความทรงจำที่มีต่อ Kate Winslet แต่พอหลายสิ่งเริ่มเลือนหาย ค่อยตระหนักได้ว่าไม่อยากสูญเสียเธอไป พยายามทำทุกสิ่งอย่างให้ยังหวนรำลึก สุดท้ายแล้วโชคชะตาก็นำพาให้พวกเขากลับมาครองคู่รักกัน
Charlie Kaufman เคยพยายามดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief แต่เพราะมันแทบไม่มีเนื้อเรื่องราว จุดหักเห รวมถึงไคลน์แม็กซ์ จึงไม่สามารถขบครุ่นคิด หาวิธีพัฒนาบทหนัง ตกอยู่ในสภาวะสมองตัน (Writer’s Block) เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็ช่างหัวแม้ง ทำออกมาคล้ายๆแบบ 8½ (1963) ระบายทุกสิ่งอย่างอัดอั้นภายในออกมา
นักเชิดหุ่น จับพลัดจับพลูมุดลงรูโพรงกระต่าย สวมวิญญาณ อวตาร เข้าไปในร่าง John Malkovich, เทพนิยายผู้ใหญ่ที่มีความเหนือจริง ตั้งคำถามชวนสัปดนเกี่ยวกับความรู้อยากเห็น อยากเป็นบุคคลอื่น จนสูญเสียความเป็นตัวของตนเอง
ปิดไตรภาค ‘Lost Trilogy’ ของ Sofia Coppola ด้วยการสังเกตบิดา (Francis Ford Coppola) รวมถึงบรรดานักแสดง Hollywood เมื่อประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน แต่ชีวิตกลับเหมือนกำลังขับรถเวียนวน ไม่รู้แห่งหน ราวกับไร้ตัวตน เพียงหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น, คว้ารางวัล Golden Lion อย่างเป็นเอกฉันท์จากเทศกาลหนัง Venice
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ Marie Antoinette ได้รับฉายา Madame Déficit (มาดามหนี้ท่วมหัว) ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789-99 เลยถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน! แต่ผู้กำกับ Sofia Coppola พยายามนำเสนอมุมมองส่วนตัวของ Kirsten Dunst ก็แค่เด็กหญิงสาวรักอิสระคนหนึ่งเท่านั้น
ทำไมเด็กหญิงอายุ 13 ปี ถึงตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม? ผลงานกำกับเรื่องแรกของ Sofia Coppola ร่วมงานครั้งแรกกับ Kirsten Dunst ชักชวนผู้ชมให้สังเกต จับจ้องมอง ครุ่นคิดหาเหตุผล คล้ายๆแบบ Elephant (2003) สุดท้ายก็ไม่รู้ว่ามันเกิดห่าเหวอะไรขึ้น
โรงแรมสุดหรูที่ Wes Anderson เพ้อรำพัน ฝันจินตนาการ ช่วงเวลาที่เขาเองไม่เคยพานผ่าน แต่ครุ่นคิดอยากเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์, คว้ารางวัล Silver Berlin Bear: Grand Jury Prize (ที่สอง) และอีก 4 รางวัล Oscar
ครั้งแรกๆของภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมหรูหรา Grand Hotel ณ กรุง Berlin แต่ทั้งหมดถ่ายทำยังสตูดิโอ MGM สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture ด้วยการเข้าชิงเพียงสาขาเดียว
ร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ ‘city symphony’ สิ่งก่อสร้าง ตึกระฟ้าสูงใหญ่บนเกาะ Manhattan แห่งมหานคร New York ดินแดนที่ถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม ความเจริญอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และหนังสั้นเรื่องนี้ยังได้รับการตีตรา “First American Avant-Garde Film”
ชำเลืองมองเศษเสี้ยวความทรงจำของ Jonas Mekas ในภาพยนตร์แนวทดลอง ‘Diary Films’ ความยาวเกือบๆห้าชั่วโมง แปะติดปะต่อฟุตเทจถ่ายทำไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 70s ไม่ได้มีเนื้อเรื่องราวอะไร แต่มีความงดงามจับใจ