
หนึ่งในอนิเมชั่นงดงามที่สุดในโลก! วาดภาพสีน้ำมันด้วยมือ ทีละเฟรม ลงบนกระจก ด้วยสัมผัส Romantic Realism ดัดแปลงจากโคตรวรรณกรรมของ Ernest Hemingway คว้ารางวัล Oscar: Best Animated Short Film, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
russian film, russia, soviet, USSR, Union of Soviet , Armenia, Azerbaijan, Belarus, Estonia, Georgia, Kazakhstan, Kyrgyzstan, Latvia, Lithuania, Moldova, Tajikistan, Turkmenistan, Ukraine, Uzbekistan
หนึ่งในอนิเมชั่นงดงามที่สุดในโลก! วาดภาพสีน้ำมันด้วยมือ ทีละเฟรม ลงบนกระจก ด้วยสัมผัส Romantic Realism ดัดแปลงจากโคตรวรรณกรรมของ Ernest Hemingway คว้ารางวัล Oscar: Best Animated Short Film, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
อาชญากรลักทรัพย์หลังจากหมดโทษทัณฑ์ อยากที่เริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ใช่ว่าสังคมจะให้การยินยอมรับ ต้องอดรนทนต่อเสียงซุบซิบ ติฉินนินทา เมื่อไหร่กันหนามนุษย์จะเรียนรู้จักการยกโทษให้อภัย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
‘ทำไมวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่สุดของรัสเซีย ถึงถูกดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ War and Peace (1956) โดยสหรัฐอเมริกา?’ ณ จุดสูงสุดของสงครามเย็น สหภาพโซเวียตพร้อมเผชิญหน้าศัตรูจากทุกสารทิศ ทางฝั่งศิลปะวัฒนธรรมก็เฉกเช่นเดียวกัน จึงกลายมาเป็นอภิมหาโปรเจคทะเยอทะยาน ยิ่งใหญ่ สมจริง อลังการงานสร้างที่สุดแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Potomok Chingiskhana (1928) : Vsevolod Pudovkin ♥♥♡
เจงกีสข่าน แม้จะล่วงลับไปหลายศตวรรษ แต่แค่ชื่อก็ยังทรงอิทธิพลต่อชาวมองโกล เป็นเหตุให้ผู้นำกองทัพแห่งสหราชอาณาจักร นำชายผู้หนึ่งซึ่งเกิดความเข้าใจ(ผิดๆ)ว่าสืบเชื้อสาย ทายาทรุ่นปัจจุบัน มาปลุกปั้น ขยับเขยื้อน กลายเป็นหุ่นเชิดชัก เพื่อหวังครอบครองผืนแผ่นดินอันเวิ้งว้างว่างเปล่านี้
Konets Sankt-Peterburga (1927) : Vsevolod Pudovkin, Mikhail Doller ♥♥♥
เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบสิบปีการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ (Central Committee of the Communist Party) มอบหมายสองผู้กำกับให้สร้างภาพยนตร์สองเรื่อง กลายมาเป็น The End of St. Petersburg (1927) ของ Vsevolod Pudovkin และ October (1928) ของ Sergei Eisenstein
Shestaya Chast Mira (1926) : Dziga Vertov ♥♥♡
ถึงภาพจากทั่วทุกสารทิศของสหภาพโซเวียตจะมีความตื่นตระการตา แต่ใจความชักชวนเชื่อว่า ‘คุณ’ คือผู้สามารถเปลี่ยนแปลงโลก เน้นย้ำเสียจนสร้างความรำคาญโดยง่าย
Kino-glaz (1924) : Dziga Vertov ♥♥♥♡
แม้มิได้ตื่นตระการตาเท่า Man with a Movie Camera (1929) แต่ Kino-Eye น่าจะคือผลงานยอดเยี่ยมที่สุดรองลงมาของ Dziga Vertov โดยมีโคตรไฮไลท์คือการทดลอง Reverse Motion ไล่ย้อนถอยหลังกลับไป ณ จุดเริ่มต้นของ…
Kino-Pravda (1922) : Dziga Vertov ♥♥♡
Kino-Pravda แปลว่า Film Truth คือซีรีย์ Newsreels จำนวน 23 ตอน สร้างโดยผู้กำกับ Dziga Vertov เพื่อบันทึกภาพ ‘ความจริง’ นำเสนอสิ่งไม่พบเห็นด้วยมุมมองปกติ แต่สามารถปรากฎบนฟีล์มภาพยนตร์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นทฤษฎี Kino-Eye ก่อนพัฒนาการมาเป็น Man with a Movie Camera (1929) ที่โด่งดัง
Stalker (1979) : Andrei Tarkovsky ♥♥♥♥
Stalker ในบริบทของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือผู้นำทางนักวิทยาศาสตร์ และนักเขียนนวนิยาย (ค้นหาความจริง vs. จินตนาการเพ้อฝัน) มุ่งสู่ Zone ดินแดนอันตรายที่บุคคลทั่วไปไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวข้องแว้ง โดยมีเป้าหมายคือ Room ห้องเล็กๆที่สามารถดลบันดาลได้ทุกสิ่งอย่าง
Alexander Nevsky (1938) : Sergei Eisenstein, Dmitri Vasilyev ♥♥♥♥
ถึงเป็นหนังสงครามที่ขาดความสมจริง ผู้ชมสมัยนี้คงผิดหวังกับความก๊องแก๊งจัดฉาก แต่ทั้งหมดถูกแทนที่ด้วยความงดงามทางศิลปะ ทิวทัศน์ท้องทุ่งชนบทรัสเซียกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ทรงคุณค่าอิทธิพลมากยิ่งต่อวงการภาพยนตร์
October (1928) : Sergei Eisenstein, Grigori Aleksandrov ♥♥♥
ถึงจะเป็นภาพยนตร์บันทึกประวัติศาสตร์ 26 ตุลาคม 1917 วันที่กองทัพแดง Bolshevik ปฏิวัติรัสเซีย โค่นล้มทำลายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ Tsar Nicholas II ลงได้สำเร็จ แต่หนังเงียบเรื่องนี้เต็มไปด้วยสิ่งสัญลักษณ์มากมายจนมีความเป็น Avant-Garde มากกว่า Historical เสียอีก
Strike (1925) : Sergei Eisenstein ♥♥♥♥
หนังเงียบขนาดยาวเรื่องแรกของ Sergei Eisenstein ทดลองทฤษฎี Montage ด้วยการตัดต่อเปรียบเทียบความรุนแรงที่นายจ้างโต้ตอบกรรมกรประท้วงหยุดงาน ดั่งภาพการเชือดวัวตายสดๆ ตายังใสๆจับจ้องมองมา เห็นแล้วราวกับถูกฟ้าผ่า ‘Strike’ ลงกลางใจ
The House on Trubnaya (1928) : Boris Barnet ♥♥♥♥
ว่ากันว่าคือ Slapstick Comedy ตลกที่สุดในยุคหนังเงียบของสหภาพโซเวียต, หญิงสาวบ้านนอกเข้ากรุง อาศัยอยู่ในบ้านเช่า Trubnaya ที่เต็มไปด้วยคนเห็นแก่ตัว ทำงานกับช่างตัดผมยังโดนกดขี่ข่มเหงอย่างหนัก วันหนึ่งได้รับการชักชวนเชื่อเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เปิดโลกทัศน์ความเสมอภาคเท่าเทียม จัดระเบียบชีวิตและบ้านเช่าหลังนี้เสียใหม่ จะได้ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากนายจ้างลักษณะนี้อีกต่อไป
Letter Never Sent (1960) : Mikhail Kalatozov ♥♥♥♥
หนึ่งในภาพยนตร์ขาว-ดำ มีความสวยงามที่สุดในโลก, เรื่องราวของนักธรณีวิทยา 4 คน ออกสำรวจค้นหาสายแร่เพชรในดินแดนแถบไซบีเรีย แต่เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันประจบกับฤดูหนาวกำลังย่างกรายเข้ามา พวกเขาจึงต้องพยายามหาทางดิ้นรนเอาตัวรอด
Desyat Negrityat (1987) : Stanislav Govorukhin ♥♥♡
ดัดแปลงจาก Ten Little Niggers ชื่อไทย ฆาตกรรมยกเกาะ นิยาย Best-Selling ยอดขายเกิน 100 ล้านเล่มของ Agatha Christie ฉบับภาษารัสเซีย ที่มีความซื่อตรงต่อต้นฉบับที่สุดแล้ว แม้ความสวยงามจะมิเทียบเท่า And Then There Were None (1945) แต่ตอนจบไม่ได้หักหลังคนดูถือว่าน่าพึงพอใจแล้ว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Bratya Karamazovy (1969) : Kirill Lavrov, Ivan Pyryev, Mikhail Ulyanov ♥♥♥♥
สามพี่น้อง Karamazov ต้องอดทนกับพ่อผู้ปากร้าย จิตใจเลวทราม วันๆหมกมุ่นสุรานารี ไม่รู้เมื่อไหร่จะตายๆไปเสียสักที กองมรดกจะได้ตกถึงลูกหลาน แต่แค่การคิดแบบนี้ ไม่นานเวรกรรมก็ตามสนองพวกเขาแล้ว, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Arsenal (1929) : Alexander Dovzhenko ♥♥♥
หนังเงียบชวนเชื่อเรื่องนี้จริงๆก็ไม่ได้ดูยากอะไร เป็น Expressionist ที่ตรงไปตรงมาเหมือนภาพวาด The Scream ของ Edvard Munch เพียงแต่ผู้ชมสมัยใหม่ที่ไม่ได้เกิดในยูเครนหรือรัสเซีย ไม่รู้อดีตประวัติศาสตร์ของชาตินี้ก็คงส่ายหัวดูไม่เข้าใจแน่นอน
Zvenigora (1928) Ukrainian : Alexander Dovzhenko ♥♥♥♡
‘ทรัพย์ในดินคือสินสมบัติล้ำค่าที่สุด’ แต่คงไม่ใช่สำหรับสหภาพโซเวียต เพราะหนังเรื่องนี้พยายามชักชวนเชื่อให้ผู้คนสมัยนั้นเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความคิด จากประเทศเกษตรกรรม กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม, เรื่องแรกของไตรภาค Ukraine Trilogy อีกสองเรื่องคือ Arsenal (1929) และ Earth (1930)
The Turning Point (1945) USSR : Fridrikh Ermler ♥♥♥
(mini Review) หนังรางวัล Grand Prix (Palme d’Or) ของสหภาพโซเวียตเรื่องนี้ ส่วนใหญ่เป็นบทสนทนาพูดคุยวางแผนของนายทหารระดับสูง ในการตัดสินใจปกป้องรักษาเมืองหนึ่งที่หลงเหลือเพียงแค่เศษซาก ได้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้โซเวียตไม่พ่ายแพ้เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2
Volga – Volga (1938) USSR : Grigori Aleksandrov ♥♥♥♡
นี่เป็นภาพยนตร์เรื่องโปรดของผู้นำเผด็จการแห่งสหภาพโซเวียต Joseph Stalin ที่ถึงขนาดส่งฟีล์มหนังไปให้ ปธน. สหรัฐ Franklin D. Roosevelt รับชมช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2, ส่วนชื่อหนังก็มาจากการร้องเล่นๆบทเพลงพื้นบ้านรัสเซียของ Charlie Chaplin ขณะล่องเรือด้วยกันกับผู้กำกับ Grigori Aleksandrov ในอ่าว San Francisco, นำแสดงโดยดาราค้างฟ้าคนแรกของรัสเซีย Lyubov Orlova