บทกวีรำพันเรื่องราวทหารรัสเซียนายหนึ่ง ได้รับอนุญาตให้ลากลับบ้าน แต่ระหว่างทางพบเจอเรื่องวุ่นๆวายๆ ที่จักทำให้ผู้ชมอมยิ้ม ตกหลุมรัก ก่อนหัวใจแตกสลาย, สามารถเข้าชิง Oscar: Best Original Screenplay
หมวดหมู่: russian
Russian film, Russia
Skazka skazok (1979)
ขูดๆขีดๆเรื่องเล่าความทรงจำ นำเสนอผ่านมุมมองเจ้าหมาป่าน้อย (Grey Wolf) พบเห็นความวุ่นๆวายๆของมนุษย์ชาวรัสเซีย ในช่วงคาบเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่สอง ตัดสลับระหว่างโลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Mirror (1975)
Yózhik v tumáne (1975)
เม่นแคระ (Hedgehog) พลัดหลงทางเข้าไปในละอองหมอก มันช่างเป็นสถานที่ที่มีความลึกลับ หวาดสะพรึง ต้องเผชิญหน้ากับ(ความกลัวของ)ตนเอง ถึงสามารถค้นหาหนทางออก พบเจอเป้าหมายชีวิต, มาสเตอร์พีซแห่งวงการอนิเมชั่น และเป็นที่โปรดปรานของ Hayao Miyazaki
Vinni-Pukh (1969)
ลบภาพจำ Winnie the Pooh ฉบับของ Walt Disney ทิ้งไปได้เลย! เพราะหมีเกรียนฉบับสหภาพโซเวียต มีความเฉียบคมคาย แฝงปรัชญาลุ่มลึกล้ำ สร้างเสียงหัวเราะขบขัน ออกแบบตัวละครน่ารักน่าชัง แม้เพียงสามตอนสั้นๆ แต่ทำให้เกิดความประทับใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่รู้ลืมเลือน
Snezhnaya Koroleva (1957)
ครั้งแรกของการดัดแปลงเทพนิยาย The Snow Queen (1844) ประพันธ์โดย Hans Christian Andersen สู่ภาพยนตร์อนิเมชั่น (Traditional Animation) ผลงานที่จักกลายเป็นแรงบันดาลใจ Hayao Miyazaki บังเกิดความมุ่งมั่น อยากสรรค์สร้างอนิเมะอย่างจริงจัง!
U samogo sinego morya (1936)
โดยปกติแล้วภาพยนตร์จากสหภาพโซเวียตในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (Pre-War) มักมีลักษณะสะท้อนสภาพเป็นจริง ชักชวนเชื่อระบอบสังคมนิยม (Socialist Realism) แต่ไม่ใช่สำหรับ By the Bluest of Seas (1936) นำเสนอเรื่องราวรักๆใคร่ๆ กุ๊กกิ๊ก โรแมนติก-คอมเมดี้ (Rom-Coms) ถึงขนาดสร้างความไม่พึงพอใจต่อ Joseph Stalin
Vozvrashcheniye (2003)
วันหนึ่งบิดาผู้ทอดทิ้งครอบครัวไปกว่า 12 ปี ได้หวนกลับมาที่บ้าน เพราะอะไร? ทำไม? สร้างความฉงนสงสัยให้บุตรชายทั้งสอง ชักชวนร่วมออกเดินทาง รื้อฟื้นความสัมพันธ์ แต่มันสามารถทำได้จริงๆนะหรือ? คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Voskhozhdeniye (1977)
ภาพยนตร์สู่ความเป็นนิรันดร์ของผู้กำกับ Larisa Shepitko ตั้งคำถามถึงการมีชีวิตบนโลกแห่งความสิ้นหวัง เราควรยึดถือมั่น ตายเพื่ออุดมการณ์ หรือเป็นอย่าง Judas ทรยศหักหลัง Jesus Christ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Krylya (1966)
ด้วยวัยเพียง 27-28 ปี เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากสถาบัน VGIK แต่ทว่า Larisa Shepitko กลับมีความเข้าใจในวิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis) เพราะการเป็นผู้กำกับหญิง ยังไม่ใช่สิ่งที่สังคมสมัยนั้นให้การยินยอมรับ ต้องเผชิญหน้าอคติ ความขัดแย้ง ครุ่นคิดเห็นแตกต่าง ไม่ใช่เรื่องง่ายจะกางปีกโบยบิน ได้รับอิสรภาพในการสรรค์สร้างผลงาน
Utomlyonnye solntsem (1994)
Joseph Stalin ในช่วงปี ค.ศ. 1936-38 ได้ริเริ่มการกวาดล้างครั้งใหญ่ (Great Purge หรือ Great Terror) เป้าหมายคือกลุ่มแกนนำกองทัพแดง (Red Army) ที่เคยร่วมปฏิวัติรัสเซียด้วยกันมา เพราะความหวาดระแวง กลัวถูกโค่นล้มอำนาจ เลยตั้งข้อกล่าวหาสมคบคิด เพื่อควบรวมอำนาจในพรรคคอมมิวนิสต์ นั่นคือพื้นหลังของ Burnt by the Sun (1994) คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film
Urga – territoriya lyobvi (1991)
ถ่ายทำยังท้องทุ่งกว้าง พื้นที่ราบในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (Inner Mongolia) ช่างมีความงดงาม ราวกับสรวงสวรรค์ (Close to Eden) ดินแดนแห่งอิสรภาพที่กำลังเลือนลาง ถูกคุกคามโดยสังคมเมืองใหญ่, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
Dersu Uzala (1975)
ผู้สูงวัยอย่าง Dersu Uzala (และผู้กำกับ Akira Kurosawa) แม้มีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า ไม่สามารถปรับตัวเข้าโลกสมัยใหม่ แต่บุคคลสูงวัยล้วนมีประสบการณ์ พานผ่านอะไรๆมามาก เคยอาบน้ำร้อนมาก่อน เราจึงควรรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่เฉดหัวทิ้งไว้เบื้องหลัง, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film และ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Russkij kovcheg (2002)
เตรียมงานสร้างสี่ปี สำหรับถ่ายทำเพียงหนึ่งวัน ผิดพลาดได้สี่ครั้ง เพื่อภาพยนตร์เทคเดียว ‘Single Take’ ความยาว 87 นาที! นำเสนอผ่านมุมมองวิญญาณล่องลอย เดินทางข้ามกาลเวลา ประวัติศาสตร์รัสเซียยาวนานกว่า 300+ ปี สำหรับประชาสัมพันธ์ Hermitage Museum ตั้งอยู่ St. Petersburg
Turksib (1930)
สารคดีบันทึกภาพการสร้างทางรถไฟ Turkestan-Siberia ข้ามผ่านทะเลทราย Kyzylkum Desert ตามแผนพัฒนาประเทศห้าปี (1928-32) ของ Vladimir Lenin แล้วเสร็จสิ้น ค.ศ. 1930 ต้องชื่นชมเลยว่ามีความงดงามดั่งบทกวี มอบสัมผัส Impressionist บังเกิดความน่าประทับใจอย่างคาดไม่ถึง
ภาพยนตร์ชวนเชื่อเพื่อให้ผู้ชมยึดถือมั่น ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง นั่นรวมถึงการทดลองตามทฤษฎีตัดต่อของ Lev Kuleshov โดยใช้เพียง 5 ตัวละคร 1 สถานที่ มีคำเรียก ‘Chamber Film’ แต่มันใช่สิ่งถูกต้อง/จำเป็นจริงๆนะหรือ?
Oblomok imperii (1929)
ทหารนายหนึ่ง (รับบทโดยโคตรนักแสดง Fyodor Nikitin) สูญเสียความทรงจำ ‘Shell Shock’ ระหว่างสงครามกลางเมือง Russian Civil War (1917-23) หลังจากสามารถรื้อฟื้น หวนระลึกสิ่งต่างๆ พบเห็นพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอันน่าอึ่งทึ่ง ชวนเชื่อความยิ่งใหญ่ภายใต้ลัทธิ Leninism
The Old Man and the Sea (1999)
หนึ่งในอนิเมชั่นงดงามที่สุดในโลก! วาดภาพสีน้ำมันด้วยมือ ทีละเฟรม ลงบนกระจก ด้วยสัมผัส Romantic Realism ดัดแปลงจากโคตรวรรณกรรมของ Ernest Hemingway คว้ารางวัล Oscar: Best Animated Short Film, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
The Red Snowball Tree (1974)
อาชญากรลักทรัพย์หลังจากหมดโทษทัณฑ์ อยากที่เริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ใช่ว่าสังคมจะให้การยินยอมรับ ต้องอดรนทนต่อเสียงซุบซิบ ติฉินนินทา เมื่อไหร่กันหนามนุษย์จะเรียนรู้จักการยกโทษให้อภัย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
War and Peace (1965)
‘ทำไมวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่สุดของรัสเซีย ถึงถูกดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ War and Peace (1956) โดยสหรัฐอเมริกา?’ ณ จุดสูงสุดของสงครามเย็น สหภาพโซเวียตพร้อมเผชิญหน้าศัตรูจากทุกสารทิศ ทางฝั่งศิลปะวัฒนธรรมก็เฉกเช่นเดียวกัน จึงกลายมาเป็นอภิมหาโปรเจคทะเยอทะยาน ยิ่งใหญ่ สมจริง อลังการงานสร้างที่สุดแห่งวงการภาพยนตร์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Potomok Chingiskhana (1928)
Potomok Chingiskhana (1928) : Vsevolod Pudovkin ♥♥♡
เจงกีสข่าน แม้จะล่วงลับไปหลายศตวรรษ แต่แค่ชื่อก็ยังทรงอิทธิพลต่อชาวมองโกล เป็นเหตุให้ผู้นำกองทัพแห่งสหราชอาณาจักร นำชายผู้หนึ่งซึ่งเกิดความเข้าใจ(ผิดๆ)ว่าสืบเชื้อสาย ทายาทรุ่นปัจจุบัน มาปลุกปั้น ขยับเขยื้อน กลายเป็นหุ่นเชิดชัก เพื่อหวังครอบครองผืนแผ่นดินอันเวิ้งว้างว่างเปล่านี้