แสงจันทรายามค่ำคืน ตกกระทบพื้นผิวน้ำ มันช่างสงบงามและเศร้าสร้อย จิตวิญญาณล่องลอย โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย, Claude Debussy ใช้เวลาประพันธ์ Suite bergamasque ยาวนานกว่า 15+ ปี กลายเป็นบทเพลงอมตะ คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Impressionist
หมวดหมู่: classic
Arabesque คือลวดลายสไตล์อาหรับ ที่มีลักษณะเรขาคณิตหรืออักษรวิจิตร ทำซ้ำ-เรียงซ้อน-ติดต่อเนื่องกันไป แต่บทเพลง Arabesques (1888 & 1891) ของคีตกวี Claude Debussy (1862-1918) มอบสัมผัส Impressionist กลิ่นอาย Late-Romantic (1800-1910) ทำให้ผู้ฟังเคลิบเคลิ้ม ล่องลอย ระริกระรี้อยู่บนสรวงสวรรค์
Vivaldi: The Four Seasons
ความมหัศจรรย์ของ The Four Seasons (1725) สี่บทเพลง Violin Concerto ของคีตกวีเอกสัญชาติอิตาเลี่ยน Antonio Vivaldi (1678 – 1741) แห่งยุคสมัย Baroque คือผู้ฟังสามารถหลับตา จินตนาการถึงฤดูกาล สัมผัสได้ถึงกลิ่นอายสายลม แสงแดด ใบไม้ร่วง และหิมะหนาวเหน็บ
Liszt: Un Sospiro
ทอดถอนลมหายใจเมื่อเหม่อล่องลอยออกไป พบเห็นดวงดาวดาราระยิบระยับสาดส่องทอประกายแสง รู้สึกอิจฉาริษยาความเจิดจรัสจร้า อยากได้รับการจดจำเช่นนั้นบ้าง แต่นั่งนิ่งอยู่เฉยๆมันจะมีประโยชน์อะไร ต้องเรียนรู้ที่จะลุกขึ้นก้าวเดิน ความสำเร็จเริ่มต้นที่การเอาชนะใจตนเอง, บทเพลงมีความไพเราะเพราะพริ้งที่สุดของ Franz Liszt และคือบทเรียนด่านสุดท้ายของผู้ใฝ่ฝันอยากเป็นนักเปียโน
The Last Rose of Summer
จากบทกวีประพันธ์โดย Thomas Moore สัญชาติไอริช เมื่อปี ค.ศ. 1805 กลายเป็นแรงบันดาลนับไม่ถ้วนให้กับบทเพลงไพเราะมากมาย เริ่มต้นจาก John Andrew Stevenson แม้แต่ Beethoven, Mendelssohn ยังเคยเรียบเรียงใส่ผลงานของตนเอง
Holst: The Planets
เทียบกับวงการภาพยนตร์ คงต้องเรียกความยิ่งใหญ่ของบทเพลง The Planets, Op. 32 ประพันธ์โดยคีตกวีสัญชาติอังกฤษ Gustav Holst ว่าระดับ ‘Symphonic Blockbuster’ เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ปี 1918 ประกอบด้วย 7 Movement พรรณาถึง 7 ดาวเคราะห์ของระบบสุริยะขณะนั้น
Mozart: Requiem
ผลงานชิ้นสุดท้ายของ Wolfgang Amadeus Mozart ทว่าตัวเขาพลันด่วนเสียชีวิตลงก่อนด้วยโรคไตและไข้รากสาดใหญ่ ต่อมาเป็น Franz Xaver Süssmayr หนึ่งในลูกศิษย์ที่ภรรยาหม้าย Constanze ร้องขอให้ช่วยแต่งต่อครึ่งหลังให้เสร็จ เพื่อมิให้ Count Franz von Walsegg ผู้ว่าจ้าง Mozart ประพันธ์บทเพลงนี้ ฉกฉวยนำไปเป็นผลงานของตนเอง
Sarasate: Zigeunerweisen
คีตกวีสัญชาติสเปน Pablo de Sarasate ประพันธ์ Zigeunerweisen (Gypsy Airs), Op. 20 ขึ้นเมื่อปี 1847 บันทึกลงแผ่นครั่งปี 1904 ประมาณนาทีที่ 3 กว่าๆ เผลอพูดให้คำแนะนำนักดนตรี ติดลงในแผ่นเสียง ผู้ฟังที่กำลังเคลิบเคลิ้มสมัยนั้น พอได้ยินต่างสะดุ้งตกใจนึกว่าเสียงผี กลายเป็นตำนานอมตะของบทเพลงนี้โดยพลัน, ขณะที่ในเมืองไทยก็ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี นำมาประพันธ์เป็นบทกลอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (ค.ศ. 1934) ตั้งชื่อว่า คิดถึง (จันทร์กระจ่างฟ้า)
George Gershwin: Rhapsody in Blue
บทเพลงพรรณาความงดงามของป่าคอนกรีตแห่งมหานคร New York แจ้งเกิดให้กับคีตกวีอายุสั้น George Gershwin ด้วยการทดลองผสมผสานดนตรีคลาสสิก เข้ากับ Jazz (เรียกว่า Orchestral-Jazz) แม้ตอนแสดงรอบปฐมทัศน์จะได้รับเสียงค่อนข้างแตก แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป Rhapsody in Blue ได้กลายเป็นอีกหนึ่งในบทเพลงอมตะ สัญลักษณ์แทนประเทศอเมริกา
Beethoven: Symphony No. 5
แท้น แท้น แท้น แทน, โน๊ตสี่ตัวแรกบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์ (Symphony No. 5 in C Minor) ของ Ludwig van Beethoven คือเรื่องบังเอิญหรือเปล่าที่ตรงกับรหัสมอร์ส (สั้น สั้น สั้น ยาว) ตัวอักษร V ซึ่งบทเพลงนี้มักถูกเรียกว่า ‘Victory Symphony’ ซิมโฟนีแห่งชัยชนะ
Carl Orff: O Fortuna
บทเพลงคลาสสิกที่ BBC ได้ทำการสำรวจจัดอันดับ ‘most listened to classical piece’ ได้ยินบ่อยครั้งสุดในรอบ 75 ปี คือ O Fortuna บทกวีภาษาละตินที่ใส่ Orchestra โดย Carl Orff คีตกวีชาวเยอรมัน เพื่อเปิดและปิดการแสดง Cantata ชื่อ Carmina Burana, การันตีว่าคุณต้องเคยได้ยินเพลงนี้แน่นอน
Beethoven: Symphony No. 7
Symphony No. 7 in A major, Op. 92 คือบทประพันธ์ที่ Ludwig van Beethoven บอกว่าเป็นผลงานดีที่สุดของตนเอง, โดยเฉพาะ Movement II Allegretto (A minor) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ได้รับการเปรียบเปรยว่าเป็นเหมือนการประกาศชัยชนะของ Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington ที่มีต่อ Joseph-Napoléon Bonaparte (พี่ชายของนโปเลียน)
Johann Pachelbel: Canon in D
หนึ่งในเพลงคลาสสิกที่มีความมหัศจรรย์ ทั้งจากตัวโน้ต ท่วงทำนอง วิธีการเล่น แนวคิดและอิทธิพล ที่แม้จะถูกแต่งขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ปัจจุบัน (ศตวรรษที่ 21) ก็ยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย
Rachmaninoff: Rhapsody on a Theme of Paganini
หนึ่งในบทเพลง Classic ที่มีความไพเราะที่สุดในโลก Rhapsody on a Theme of Paganini In A Minor, Op. 43 – Variation #18 เมื่อนำไปบรรเลงควบคู่กับสิ่งต่างๆบนโลก จะทำให้สิ่งนั้นมีความสวยงามที่หาคำมาบรรยายไม่ได้
Edward Elgar: Salut d’Amour Op.12
หนึ่งในเพลง Duo ระหว่าง Piano และ Violin ที่มีความหวานแหวว โหยหาย คิดคำนึง อยากได้พบเจอที่สุด ประพันธ์โดย Sir Edward Elgar คีตกวีชาวอังกฤษผู้เป็น Conductors ประจำให้กับ London Symphony Orchestra Principal และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Master of the King’s Music ในปี 1924
Edvard Grieg: In the Hall of the Mountain King & Morning Mood
คีตกวีและนักเปียโนชาวนอร์เวย์ (Norwegian) Edvard Grieg เขาเป็นผู้นำเพลงคลาสสิคในยุคโรแมนติก (Romantic Era) เพลงที่ดังที่สุดของเขา แต่งขึ้นใช้ประกอบละครเวทีเรื่อง Peer Gynt ของ Henrik Ibsen มีทั้งหมด 4 ท่อน แต่ 2 ท่อนที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดคือ Morning Mood และ In the Hall of the Mountain King
Richard Wagner: Ride of the Valkyries
“The Ride Of The Valkyries” เป็นเพลง prelude ใน Act 3 ของโอเปร่า Die Walküre ประพันธ์โดยคีตกวีชาวเยอรมัน Richard Wagner หรือที่คนมักจะเรียกเพลงนี้ติดปากว่า Wagner Theme ผมได้ยินเพลงนี้ประกอบในหนังมาก็หลายเรื่อง ล่าสุดงานประกาศรางวัล Oscar ครั้งที่ 88 ก็ยังได้ยิน เลยเอามาแนะนำให้รู้จักเสียหน่อย ผมคิดว่าคนอเมริกาส่วนมากน่าจะรู้จักเพลงนี้ คนไทยเองอาจเคยได้ยินบ้าง แต่ไม่รู้ว่าคือเพลงอะไร มีประวัติความเป็นมา และทำไมถึงฮิตกัน วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
Johann Strauss II: The Blue Danube Op. 314
“The Waltz King” หรือที่ผู้คนรู้จักเขาในนาม Johann Strauss, Jr., the Younger, the Son หรือ Johann Baptist Strauss ย่อๆก็คือ Johann Strauss คีตกวีชาวออสเตรียชื่อดังในช่วงศตวรรษที่ 18 ฉายา Waltz King ก็มาจากผลงานที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของคีตกวีคนนี้ โดยเฉพาะเพลง Waltz ซึ่งเพลงที่ดังที่สุดก็คือเพลงนี้ The Blue Danube
Sergei Rachmaninoff ประพันธ์ผลงานชิ้นเอกระหว่างกำลังรักษาอาการซึมเศร้า เริ่มจากเปียโนเล่นเสียงเหมือนระฆัง ให้ดังกึกก้องกังวาล ปลุกตื่นขึ้นจากฝันร้าย แล้วค่อยๆไต่ไล่ระดับ ฟันฝ่าอุปสรรคคลื่นลมพายุ พุ่งทะยานสู่จุดสูงสุด เพื่อจิตวิญญาณจักได้รับการปลดปล่อยสู่เสรีภาพ