ระหว่างเหตุการณ์รัฐประหาร 1973 Chilean Coup d’État ชายชาวอเมริกันคนหนึ่งสูญหายตัวไปอย่างลึกลับ ทำให้บิดา (รับบทโดย Jack Lemmon) และภรรยา (รับบทโดย Sissy Spacek) พยายามออกติดตามหา ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ แต่จะพบเจอหรือไม่ หรือกลายเป็นศพไปแล้ว, คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
หมวดหมู่: my score
État de siège (1972)
ชายชาวอเมริกันถูกเข่นฆาตกรรม (Political Assassination) หน่วยงานรัฐประกาศจัดงานศพสุดยิ่งใหญ่ แต่เขาคนนั้นคือใคร? มีความสำคัญใดต่อประเทศแถบละตินอเมริกัน? ซึ่งเมื่อความจริงได้รับการเปิดเผยนั้น สามารถสั่นสะเทือนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สมาชิกระดับสูงผู้จงรักภักดีของพรรคคอมมิวนิสต์ (รับบทโดย Yves Montand) วันหนึ่งถูกจับกุม คุมขัง โดนทัณฑ์ทรมาน บีบบังคับให้สารภาพความจริง แต่เขาไม่เคยกระทำอะไรผิด กลับต้องก้มหน้าก้มตา เดินวนไปวนมา ยินยอมรับโชคชะตา ทุกข์ทรมานทั้งร่างกาย-จิตใจ
นอกจากชายนิรนามในไตรภาค Dollars Trilogy ยังมีอีกบทบาทที่กลายเป็น ‘Iconic’ ของ Clint Eastwood นั่นคือนักสืบ Harry Callahan เจ้าของฉายา Dirty Harry ชอบใช้ความรุนแรง ดิบเถื่อน ไม่แคร์อะไรใคร และเมื่อกฎหมายไม่สามารถจัดการอาชญากร เขาจึงจำต้องแปดเปื้อนเลือดด้วยตนเอง
Steve McQueen มีงานอดิเรกเป็นนักแข่งรถ ต้องการสร้างภาพยนตร์ที่มีฉากไล่ล่า (Car Chase) ท้าทายขีดจำกัดยุคสมัยนั้น กลายมาเป็น Bullitt (1968) ได้รับคำสรรเสริญถึงฉากแอ๊คชั่นสุดมันส์ แต่อะไรอย่างอื่นเรียกได้ว่า Bullshit!
สัญชาติญาณล้วนๆของคู่หูนักสืบ Gene Hackman และ Roy Scheider ทำให้การไล่ล่าเครือข่ายลักลอบขนส่งเฮโรอีนข้ามชาติ (French Connection) มีความรุนแรง ดิบเถื่อน ฉากไล่ล่าสุดมันส์ คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
เปรียบได้กับ Lost in Translation (2003) ฉบับ Stop-Motion Animation แต่นำเสนอเพียงค่ำคืนของชายวัยกลางคน (Midlife Crisis) มีความโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว อาศัยอยู่ในโรงแรมหรูตัวคนเดียว พบเจอหญิงสาวแปลกหน้า เกี้ยวพาราสีจนได้ร่วมรักหลับนอน (One Night Stand)
การกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของ Charlie Kaufman ได้รับมอบหมายจากสตูดิโอให้สรรค์สร้างหนังสยองขวัญ สั่นประสาท (Horror) แต่สิ่งที่เขาครุ่นคิด น่าหวาดสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิต คือการต้องเผชิญหน้า ‘ความตาย’ ไม่มีมนุษย์คนไหนสามารถหลบหนีพ้น
Eternal Sunshine of the Spotless Mind (2004)
Jim Carrey ต้องการลบความทรงจำที่มีต่อ Kate Winslet แต่พอหลายสิ่งเริ่มเลือนหาย ค่อยตระหนักได้ว่าไม่อยากสูญเสียเธอไป พยายามทำทุกสิ่งอย่างให้ยังหวนรำลึก สุดท้ายแล้วโชคชะตาก็นำพาให้พวกเขากลับมาครองคู่รักกัน
Adaptation (2002)
Charlie Kaufman เคยพยายามดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief แต่เพราะมันแทบไม่มีเนื้อเรื่องราว จุดหักเห รวมถึงไคลน์แม็กซ์ จึงไม่สามารถขบครุ่นคิด หาวิธีพัฒนาบทหนัง ตกอยู่ในสภาวะสมองตัน (Writer’s Block) เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็ช่างหัวแม้ง ทำออกมาคล้ายๆแบบ 8½ (1963) ระบายทุกสิ่งอย่างอัดอั้นภายในออกมา
นักเชิดหุ่น จับพลัดจับพลูมุดลงรูโพรงกระต่าย สวมวิญญาณ อวตาร เข้าไปในร่าง John Malkovich, เทพนิยายผู้ใหญ่ที่มีความเหนือจริง ตั้งคำถามชวนสัปดนเกี่ยวกับความรู้อยากเห็น อยากเป็นบุคคลอื่น จนสูญเสียความเป็นตัวของตนเอง
ปิดไตรภาค ‘Lost Trilogy’ ของ Sofia Coppola ด้วยการสังเกตบิดา (Francis Ford Coppola) รวมถึงบรรดานักแสดง Hollywood เมื่อประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน แต่ชีวิตกลับเหมือนกำลังขับรถเวียนวน ไม่รู้แห่งหน ราวกับไร้ตัวตน เพียงหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น, คว้ารางวัล Golden Lion อย่างเป็นเอกฉันท์จากเทศกาลหนัง Venice
Marie Antoinette (2006)
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ Marie Antoinette ได้รับฉายา Madame Déficit (มาดามหนี้ท่วมหัว) ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789-99 เลยถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน! แต่ผู้กำกับ Sofia Coppola พยายามนำเสนอมุมมองส่วนตัวของ Kirsten Dunst ก็แค่เด็กหญิงสาวรักอิสระคนหนึ่งเท่านั้น
The Virgin Suicides (1999)
ทำไมเด็กหญิงอายุ 13 ปี ถึงตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม? ผลงานกำกับเรื่องแรกของ Sofia Coppola ร่วมงานครั้งแรกกับ Kirsten Dunst ชักชวนผู้ชมให้สังเกต จับจ้องมอง ครุ่นคิดหาเหตุผล คล้ายๆแบบ Elephant (2003) สุดท้ายก็ไม่รู้ว่ามันเกิดห่าเหวอะไรขึ้น
The Grand Budapest Hotel (2014)
โรงแรมสุดหรูที่ Wes Anderson เพ้อรำพัน ฝันจินตนาการ ช่วงเวลาที่เขาเองไม่เคยพานผ่าน แต่ครุ่นคิดอยากเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์, คว้ารางวัล Silver Berlin Bear: Grand Jury Prize (ที่สอง) และอีก 4 รางวัล Oscar
ครั้งแรกๆของภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมหรูหรา Grand Hotel ณ กรุง Berlin แต่ทั้งหมดถ่ายทำยังสตูดิโอ MGM สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture ด้วยการเข้าชิงเพียงสาขาเดียว
À Nous la Liberté (1931)
ผลงานมาสเตอร์พีซของ René Clair ที่ยังคงสะท้อนอคติต่อหนังเสียง (Sound Film) และการมาถึงของยุคสมัยอุตสาหกรรม สร้างแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Modern Times (1936) แต่กลับทำให้ Charlie Chaplin ถูกฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาล จำต้องไกล่เกลี่ยด้วยการยินยอมความ
Le Million (1931)
ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Under the Roofs of Paris (1930) ทำให้ผู้กำกับ René Clair ราวกับถูกหวย กำลังจะร่ำรวย แต่ลอตเตอรี่ใบนั้นเก็บไว้แห่งหนไหน? เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาลอตเตอรี่ถูกรางวัล เต็มไปด้วยความขบขัน ฉิบหายวายป่วนระดับโกลาหล
แม้ว่า René Clair จะไม่ค่อยเห็นด้วยต่อการมาถึงของหนังพูด (Talkie) แต่ก็ได้ทดลองผิดลองถูกกับ Under the Roofs of Paris (1930) ใช้ประโยชน์จากเสียงและความเงียบได้อย่างโคตรๆสร้างสรรค์ น่าเสียดายคุณภาพถดถอยตามกาลเวลา
เรื่องวุ่นๆของเจ้าหมวกฟางอิตาเลี่ยน สร้างความสับสน โกลาหล วุ่นวายสุดๆในวันงานแต่งงานของ Albert Préjean แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้กำกับ René Clair ด้วยอิทธิพลของ Georges Méliès