พิเคราะห์ภาวะเป็นอยู่ของผู้กำกับ Kim Ki-duk หันกล้องถ่ายสารคดีเกี่ยวกับตนเอง (Self-Portrait) พยายามอธิบายเหตุผล ระบายอารมณ์อัดอั้น ก่อนหน้านี้เคยสร้างภาพยนตร์ปีละเรื่องสองเรื่อง ทำไมปัจจุบันถึงเงียบหายไปนานสองสามปี, คว้ารางวัล Prix un certain regard จากสายการประกวดรอง Un Certain Regard เทศกาลหนังเมือง Cannes
หมวดหมู่: LIKE
Like, 3/5
สองสาววัยรุ่นยังไม่บรรลุนิติภาวะ เลือกจะขายบริการทางเพศเพื่อนำเงินไปท่องเที่ยวยุโรป วันหนึ่งบิดาบังเอิญพบเห็น แทนที่จะพูดคุยสอบถาม ปรับความเข้าใจ กลับระบายอารมณ์เกี้ยวกราดใส่บรรดาลูกค้าเหล่านั้น, คว้ารางวัล Silver Bear: Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
Address Unknown (2001)
ร้อยเรียงประสบการณ์วัยเด็กของผู้กำกับ Kim Ki-duk มักโดนเพื่อนๆกลั่นแกล้ง (Bully) ดูถูกเหยียดหยาม (Racist) พบเห็นสารพัดเหตุการณ์ความรุนแรง ทั้งยังบิดาชอบทารุณกรรม (Child Abuse) ชีวิตเต็มไปด้วยความอึดอัดอั้น เก็บกด อดกลั้น แทบอยากจะคลุ้มบ้าคลั่ง
แพกลางน้ำ รีสอร์ทตกปลา เริ่มต้นคือสถานที่หนีคดี/หลบซ่อนตัวของ Hyun-shik (รับบทโดย Kim Yu-seok) แต่ไปๆมาๆกลับกลายเป็นเหยื่อของหญิง(แสร้งว่า)ใบ้ Hee-jin (รับบทโดย Suh Jung) เกี่ยวเบ็ด ตกขึ้นมา พยายามดิ้นรน กระเสือกกระสน (เหมือนปลาติดเบ็ด) ก่อนยินยอมศิโรราบ ตกเป็นทาสบำเรอกาม
ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Kim Ki-duk ทำการเปรียบเทียบมนุษย์ = จระเข้, คนไร้บ้านอาศัยอยู่ใต้สะพานข้ามแม่น้ำ Han River ใช้ชีวิตด้วยสันชาติญาณ ตอบสนองตัณหาอารมณ์ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกยุคสมัยใหม่ แต่พวกเขาเหล่านี้ใช่ขยะสังคมจริงๆนะหรือ?
Oasis (2002)
เรื่องราวความรักชายขอบ ระหว่างชายบกพร่องทางสติปัญญา (รับบทโดย Sol Kyung-gu) กับหญิงสมองพิการ ร่างกายขยับเคลื่อนไหวลำบาก (รับบทโดย Moon So-ri) โอเอซิสแห่งนี้คือสรวงสวรรค์ของคนสอง แต่คือขุมนรกของคนชม
ความทรงจำไม่ใช่สัจนิรันดร์ คือสิ่งสามารถบิดเบือน ลบเลือน ผันแปรเปลี่ยน อย่างผู้ป่วยภาวะสูญเสียความจำส่วนอนาคต (Anterograde Amnesia) เพราะไม่สามารถสร้างความทรงจำใหม่ จึงถูกคนรอบข้างฉกฉวยโอกาส เดี๋ยวมาดี เดี๋ยวมาร้าย ปลอมตัวเป็นใครก็ได้ จนท้ายที่สุดแม้แต่ตัวตนเองยังพยายามล่อหลอกตัวตนเอง
ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Lee Chang-dong และนักแสดงนำ Han Suk-kyu เดินทางกลับบ้านหลังเสร็จภารกิจฝึกทหาร พบเห็นความเปลี่ยนแปลงของเมือง Ilsan เพียงไม่กี่ปีเต็มไปด้วยตึกระฟ้าสูงใหญ่ โชคชะตาจับพลัดจับพลูให้กลายเป็นสมาชิกแก๊งมาเฟีย ดูสิว่าจะไต่เต้าได้ไกลแค่ไหน?
La Cérémonie (1995)
ในฝรั่งเศสมีพิธีกรรมชื่อว่า La Cérémonie (The Ceremony) สำหรับเตรียมตัวนักโทษก่อนถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน แต่แม้ภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่มีใครถูกตัดหัว เรื่องราวทั้งหมดคือการเตรียมความพร้อมก่อนครอบครัวถูกสังหารหมู่!
Une affaire de femmes (1988)
เรื่องจริงของ Marie-Louise Giraud (รับบทโดย Isabelle Huppert คว้ารางวัล Volpi Cup for Best Actress) ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตินในช่วง Vichy France เนื่องจากรับทำแท้งเถื่อนหญิงสาว 27 คน มันอาจดูเป็นเรื่องผิดศีลธรรม แต่ลองรับฟังเหตุผลของเธอก่อน แล้วค่อยตัดสินถูก-ผิด ดี-ชั่ว สมควรได้รับความสงสารเห็นใจหรือไม่
Violette Nozière ถูกจับกุมข้อหาวางยาพิษฆ่าบิดา ก่อนให้การว่าตนเองถูกข่มขืน (Incest) มาตั้งแต่เด็ก ถึงอย่างนั้นกลับยังถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยกิโยติน, สุดยอดการแสดงของ Isabelle Huppert (คว้ารางวัล Cannes: Best Actress) และ Stéphane Audran (คว้ารางวัล César Awards: Best Supporting Actress)
La Rupture (1970)
เริ่มต้นเช้าวันหนึ่ง สามีตรงเข้ามาทำร้ายร่างกายภรรยาและบุตร ฝ่ายหญิงจึงโต้ตอบด้วยการใช้กระทะทุบศีรษะ! ความรุนแรงบังเกิดขึ้นนี้คงทำให้ใครต่อใครตีตราว่าร้าย รับไม่ได้กับความรุนแรง ต้องเลิกราหย่าร้างเท่านั้น แต่เบื้องหลังความจริงเป็นไร เราคนนอกอย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจ
Le Boucher (1970)
หนังพยายามนำเสนอร่องรอย หลักฐาน บ่งชี้ชัดว่าคนขายเนื้อ (The Butcher) คือฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) แต่ความสนใจของผู้กำกับ Claude Chabrol ไม่ได้ต้องการไล่ล่าจับกุมตัวคนร้าย ชักชวนผู้ชมร่วมค้นหาเบื้องหลัง สาเหตุผล สำรวจจิตใจคน บังเกิดแรงผลักดันอะไรถึงไม่สามารถควบคุมตนเอง?
คำว่า Biche ภาษาฝรั่งเศสแปลว่ากวางตัวเมีย (Doe), ขณะเดียวกันยังเป็นศัพท์แสลงของเพศหญิง (Girl, Young Woman) แต่ถ้าเขียนติดกัน Lesbiche หรือ Lesbisch จะหมายถึงเลสเบี้ยน (Lesbian), นำเสนอเรื่องราวรักสามเส้าระหว่างสองสาวและชู้รักหนุ่ม ก่อนกาลมาถึงของ Mai ’68
Out 1 (1971)
ด้วยความยาว 773 นาที (12 ชั่วโมง 53 นาที) คือหนึ่งในภาพยนตร์ ‘Cinematic films’ เยิ่นยาวนานที่สุด! ถือเป็นประสบการณ์หลุดโลก ‘Out of this World’ ด้วยโครงสร้างดำเนินเรื่องที่ราวกับเขาวงกต ท้าทายทั้งร่างกาย สติปัญญา และความมุ่งมั่นตั้งใจในการรับชม
La Religieuse (1966)
Anna Karina ไม่ได้มีความเต็มใจอยากเป็นแม่ชี (The Nun) แต่ถูกครอบครัวบีบบังคับ ขายให้กับอารามชีลับ จึงพยายามแสดงอารยะขัดขืน หาหนทางออกไปจากคุกคุมขังสตรี แต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เรื่องพรรค์นี้มันทำได้เสียทีไหนกัน!
หญิงสาวคนหนึ่งบังเกิดความฉงนสงสัย ลุ่มหลงใหล จนกลายเป็นหมกมุ่นกับองค์กรลึกลับ ทั้งๆก็ไม่รู้ว่าคืออะไร? มีอยู่จริงหรือไม่? แต่ทฤษฎีสมคบคิดของคนรอบข้าง สร้างความหวาดระแวง วิตกจริต เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าต้องมีอยู่จริง! … สะท้อนบรรยากาศสงครามเย็น (Cold War) ได้อย่างหนาวเหน็บ
Les Bonnes Femmes (1960)
วันๆของสี่สาว เช้าไปทำงานอย่างเอื่อยเฉื่อย คอยจับจ้องมองนาฬิกา เลิกงานเมื่อไหร่ราวกับพึ่งปลุกตื่น เต็มไปด้วยความระริกระรี้ เฮฮาปาร์ตี้ ร่วมกิจกรรมสนุกๆยามค่ำคืนมากมาย, รับชมปัจจุบันอาจไม่ค่อยรู้สึกอะไร แต่ชาวฝรั่งเศสสมัยนั้นต่างสำแดงอารมณ์เกรี้ยวกราด รับไม่ได้กับอิสรภาพหญิงสาว
Les Cousins (1959)
ญาติห่างๆของ Le Beau Serge (1958) เดินทางเข้าเมืองหลวง ลุ่มหลงระเริงไปกับแสงสีเสียง (แต่หนังถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ) เต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้ายวน พยายามต่อต้านขัดขืน กลับจบลงด้วยความขมขื่น, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
French New Wave เริ่มต้นที่ Le Beau Serge (1958) นำเสนอการหวนกลับหารากเหง้าของผู้กำกับ Claude Chabrol เติบโตขึ้นยังหมู่บ้านชนบท Sardent, France พบเจอเพื่อนเก่ามีสภาพไม่เอาถ่าน บังเกิดความมุ่งมั่น จิตวิญญาณแรงกล้า ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อให้เขาสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่