ในเกมหมากรุก Fool’s Mate หรือ Scholar’s Mate คือการล่อหลอกผู้เล่นใหม่ให้ถูกรุกฆาตเพียงไม่กี่ตา นั่นคือความพยายามของภรรยาล่อหลอกสามีเพื่อที่จะ … แต่กลับกลายเป็นว่า …
หมวดหมู่: LIKE
Like, 3/5
The Man with the Golden Arm (1955)
ผู้กำกับ Otto Preminger ต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด (Drug Addict) แต่มันกลับขัดต่อกฎระเบียบ ประเด็นต้องห้ามของ Motion Picture Production Code หรือที่รู้จักในชื่อ Hays Code เลยตัดสินใจช่างแม้ง ก็ไม่ต้องขออนุญาต ผลลัพท์ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ครั้งแรกครั้งเดียวที่ผู้กำกับ Alfred Hitchcock สร้างภาพยนตร์จากเหตุการณ์จริง ตำรวจจับผู้ร้ายผิดคน! พยายามเก็บรายละเอียด ถ่ายทำยังสถานที่จริง รวมถึงตัวประกอบ/พยานในที่เกิดเหตุ ทำออกมาในสไตล์กึ่งสารคดี (Docu-Drama)
ผู้ชมต่างจดจำ The Country Girl (1954) อันเนื่องจาก Grace Kelly ปล้นรางวัล Oscar: Best Actress มาจาก Judy Garland ภาพยนตร์ A Star is Born (1954) แต่มันเป็นการแสดงยอดเยี่ยมขนาดนั้นเชียวหรือ??
ภาพยนตร์สามมิติ (3D) เรื่องแรกเรื่องเดียวของผู้กำกับ Alfred Hitchcock, ชายวัยกลางคน Ray Milland ครุ่นคิดวางแผนฆาตกรรมภรรยาสุดสวย Grace Kelly เพราะแอบคบชู้นอกใจกับหนุ่มอเมริกันสุดหล่อ Robert Cummings ด้วยการหยิบยืมมือเพื่อนเก่า Anthony Dawson แต่แผนการที่(เกือบ)สมบูรณ์แบบ มักเกิดเหตุการณ์คาดไม่ถึงเสมอๆ
Strangers on a Train (1951)
ชายแปลกหน้าสองคนบังเอิญพบเจอกันบนขบวนรถไฟ คุยไปคุยมา ชักชวนแลกเปลี่ยนแผนการฆาตกรรม ฉันฆ่าเมียนาย นายฆ่าพ่อฉัน เราสองไม่รู้จักกัน มันช่างเป็น ‘Perfect Murder’ นำเสนอด้วยสไตล์ Hitchcockian เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ระทึกขวัญ รถไฟชนกัน
Rope (1948)
ผู้กำกับ Alfred Hitchcock ทำการทดลองใช้เชือกผูกมัดคอตนเอง สร้างข้อจำกัดถ่ายทำภาพยนตร์เพียงในอพาร์ทเม้นท์ (Limited Setting หรือ Single Location) ด้วยวิธีการ ‘Long Take’ ตัดต่อให้น้อยครั้งที่สุด ในระยะเวลา 80 นาที
Gaslight (1944)
จุดเริ่มต้นของศัพท์แสลง ‘Gaslighting’ นำเสนอเรื่องราวของ Ingrid Bergman ถูกสามี Charles Boyer ควบคุมครอบงำ ทำการด้อยค่า หลอกปั่นหัว ให้ครุ่นคิดว่าตัวเองเป็นคนบ้า แต่แท้จริงแล้วมีจุดประสงค์อะไรซ่อนเร้น?
โปรดิวเซอร์ David O. Selznick แม้เพิ่งคว้า Oscar ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมสองปีติดๆจาก Gone With The Wind (1940) และ Rebecca (1941) แต่ทว่ากลับตกอยู่สภาวะหดหู่ ล้มป่วยซึมเศร้า (Depression) จนต้องเข้ารับการบำบัดในสถาบันจิตเวชศาสตร์ พอหายดีกลับมาเกิดความกระตือรือร้น ต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ครั้งแรกของผู้กำกับ Alfred Hitchcock นำเสนอเรื่องราวในพื้นที่จำกัด (Limited Setting) ถ่ายทำบนเรือชูชีพ หลังถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำ Nazi U-boat แต่เมื่อมีทหารเยอรมันคนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือ พวกเขาจะทำอะไรยังไงกับชายคนนี้ดี?
หลังการแต่งงาน Joan Fontaine เต็มไปด้วยความเคลือบแคลง ฉงนสงสัย ชายคนรัก Cary Grant มีพฤติกรรมลับๆล่อๆ เต็มไปด้วยข้อกังขา ‘Suspicion’ ก่อนรับรู้ว่าหมอนี่เป็นคนไม่เอาถ่าน การงานไม่เคยทำ วันๆเอาแต่เล่นพนันหมดตัว แล้วเอาเงินที่ไหนมาจับจ่ายใช้สอย กินหรูอยู่สบาย จู่ๆคนรอบข้างสูญหาย ล้มตาย หรือว่า …
The Lady Vanishes (1938)
ด้วยสัมผัส Hitchcockian ทำให้การหายตัวไปของหญิงชราบนขบวนรถไฟ เต็มไปด้วยความลึกลับ ซับซ้อน คาดไม่ถึง เธอมีตัวตนจริงหรือไม่? หรือใครบางคนจัดฉาก เล่นละคอนตบตา แต่จะทำไปเพื่ออะไรกัน?
กลุ่มผู้ก่อการร้ายวางแผนก่อวินาศกรรม (Sabotage) ตั้งใจจะระเบิดกรุง London แม้ไม่รู้ด้วยเหตุผลอันใด แต่ด้วยลีลาการนำเสนอสไตล์ Hitchcockian สร้างความตื่นเต้น ระทึกขวัญ สั่นสะท้านทรวงใน
มาสเตอร์พีซเรื่องแรกของ Alfred Hitchcock, ชายคนหนึ่งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ เลยถูกไล่ล่าติดตาม ต้องออกเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ ผจญภัยไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อขบไขปริศนา The 39 Steps มันคืออิหยังหว่ะ?
เริ่มต้นตั้งใจให้เป็นหนังเงียบ แต่พอเทคโนโลยีเสียงเดินทางมาถึงเกาะอังกฤษ ผู้กำกับ Alfred Hitchcock จึงเลือกถ่ายทำหลายๆฉากขึ้นใหม่ ครั้งแรกของการพากย์เสียงทับ (Dubbing) และกลายเป็นภาพยนตร์พูดทั้งเรื่อง (All-Talkie) ครั้งแรกของสหราชอาณาจักร
ANTICHRIS♀ (2009)
ผู้กำกับ Lars von Trier ล้มป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) ระหว่างเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีการ ‘Exposure Therapy’ พัฒนาบทหนัง Antichrist เพื่อเผชิญหน้าความกลัวของตนเอง ท้าทายให้ผู้ชมเอาตัวรอดจากสวนอีเดนของซาตาน
Dogville (2003)
เลือนลางระหว่างภาพยนตร์-ละคอนเวที มีเพียงเส้นชอล์กขีดแบ่งบ้านแต่ละหลัง ทุกสิ่งอย่างล้วนเปิดกว้าง แต่ทุกคนกลับสร้างบางอย่างขึ้นมากีดขวางกั้น เรียกร้องโน่นนี่นั่น เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม นี่นะหรือวิถีอเมริกัน? ดินแดนแห่งโอกาส สำหรับเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่เมื่ออาศัยอยู่นานวัน สันดานธาตุแท้ผู้คนจักค่อยๆเปิดเผยออกมา
ภาพยนตร์ลำดับที่สองของกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 เต็มไปด้วยความอื้อฉาว บ้าบอคอแตก เมื่อคนปกติแสร้งทำเป็นคนบ้า แล้วไปกลั่นแกล้ง หลอกลวงผู้อื่น เหมือนจะก้าวล้ำเส้นความเหมาะสม แต่ก็ท้าทายผู้ชมให้ตระหนักถึงอิสรภาพชีวิต
Festen (1998)
งานเลี้ยงแซยิด (วันเกิดครบรอบ 60 ปี) ของบิดา รายล้อมด้วยลูกๆหลานๆ ญาติพี่น้อง ผองเพื่อน แต่ด้วยความที่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกจากกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 มันจึงความบ้าคลั่ง เสียสติแตก ความจริงบางอย่างกำลังได้รับการเปิดเผยอย่างช้าๆ, คว้ารางวัล Jury Prize (ที่สาม) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Breaking the Waves (1996)
หลังก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว Dogme 95 เพื่อทำลายกฎกรอบภาพยนตร์ ให้หลงเหลือเพียงความบริสุทธิ์ของเรื่องราวและการแสดง แต่ทว่าผู้กำกับ Lars von Trier กลับแหกคำปฏิญาณเหล่านั้นเสียเองในการสรรค์สร้าง Breaking the Waves (1996), คว้ารางวัล Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes