
เริ่มต้นจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศคลุ้มคลั่ง โหยหาประสบการณ์เฉียดเป็นเสี่ยงตาย จนได้มีเพศสัมพันธ์ทั้งชาย-หญิง ประตูหน้า-หลัง และกับรถยนต์ กลายเป็นแรงบันดาลใจ Julia Ducournau สร้างผลงาน Titane (2021)
Waste, 1/5
เริ่มต้นจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศคลุ้มคลั่ง โหยหาประสบการณ์เฉียดเป็นเสี่ยงตาย จนได้มีเพศสัมพันธ์ทั้งชาย-หญิง ประตูหน้า-หลัง และกับรถยนต์ กลายเป็นแรงบันดาลใจ Julia Ducournau สร้างผลงาน Titane (2021)
ผู้กำกับ Andrzej Żuławski ตกอยู่ในอาการคลุ้มบ้าคลั่งเมื่อถูกภรรยาเลิกราหย่าร้าง สรรค์สร้าง Possession (1981) ด้วยการทำให้ฝ่ายหญิงดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ ขยะแขยงที่สุด ไม่ต่างจากถูกปีศาจร้ายเข้าสิง แต่ใครกันแน่ที่สูญสิ้นความเป็นมนุษย์
เมื่อประธานกรรมการเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีนั้น Yves Montand ประกาศรางวัล Palme d’Or อย่างเป็นเอกฉันท์! ทำให้เกิดทั้งเสียงปรบมือและโห่ขับไล่ ผู้กำกับ Maurice Pialat ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์บอกว่า ‘ถ้าคุณไม่ชอบผลงานผม ผมก็ไม่ชอบขี้หน้าพวกคุณเหมือนกัน’
หลังเสร็จจาก To Live (1994) ผู้กำกับจางอี้โหมวจงใจเลือกผลงานถัดไปเกี่ยวกับกลุ่มอาชญากร เจ้าพ่อมาเฟีย (ที่สามารถสื่อถึงชนชั้นผู้นำประเทศจีน) พอดิบพอดีใกล้จะเลิกราแฟนสาวกงลี่ นี่คือการร่วมงานครั้งสุดท้าย (ขณะนั้น) จึงแทรกใส่เรื่องราวของคนทรยศหักหลัง … เป็นหนังที่สวยแต่รูป จูบไม่หอมสักเท่าไหร่
หนี่งในหนังโปรดของผู้กำกับ Orson Welles ที่สะท้อนผลกระทบยุคสมัย Great Depression แม้ทำให้ชีวิตประสบความทุกข์ยากลำบาก แต่ขอเพียงทุกคนร่วมลงแรงแข็งขัน กระทำสิ่งสามารถตนเองให้ดีที่สุด เงินทองไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญ แค่ท้องอิ่มสุขกายสบายใจ ก็เพียงพอแล้วสำหรับชีวิต
Land Without Bread แม้จะเป็นสารคดีที่ทรงพลัง แต่แทบทั้งหมดคือ ‘Fake News’ เกิดจากการปรุงปั้นแต่งของ Luis Buñuel ให้ดูเกินเลยความจริง จนสามารถเรียกว่า ‘Surrealist Documentaray’ ได้รับการถกเถียงความถูกต้องเหมาะสมจนถึงปัจจุบัน
The Mission (1986) : Roland Joffé ♥♥
เรื่องราวของ Missionary คณะ Jesuit เดินทางเข้าไปเผยแพร่ศาสนายังทวีปอเมริกาใต้ ให้กับชนเผ่าพื้นเมืองแห่ง Amazon แต่พอศรัทธาเริ่มบังเกิด กลับถูกสั่งให้ล้มเลิกภารกิจ นี่นะหรือลัทธิอาณานิคม, น่าจะเป็นภาพยนตร์รางวัล Palme d’Or ยอดแย่ที่สุด
Little Buddha (1993) : Bernardo Bertolucci ♥♡
ความพยายามของ Bernardo Bertolucci ในการให้ชาวตะวันตกเรียนรู้จักพุทธศาสนาเบื้องต้น มีลักษณะไม่ต่างจากนิทานก่อนนอน เต็มไปด้วยความเพ้อฝันแฟนตาซี ไร้แก่นสาสน์สาระจิตวิญญาณ ถ้าตัดเนื้อเรื่องราวปัจจุบันออก หลงเหลือเพียงชีวประวัติเจ้าชายสิทธัตถะ แค่นั้นก็เพียงพอแล้วกระมัง
South Park: Bigger, Longer & Uncut (1999) : Trey Parker ♥♥♡
Guinness World Records เมื่อปี 2001 ได้จดบันทึกไว้ว่า South Park: Bigger, Longer & Uncut เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นใช้คำหยาบคายมากที่สุด 399 ครั้ง เป็น f-word ถึง 146 แค่บทเพลง Uncle Fucka ก็ฟักไป 31 ครั้งแล้ว!
Pink Floyd – The Wall (1982) : Alan Parker ♥♥♡
มนุษย์สร้างบ้าน รั้วลวดหนาม ผนังกำแพง สำหรับปกป้องตนเองจากภยันตรายภายนอก แต่ขณะเดียวกันนั่นคือการแบ่งแยก กีดกัน กักขังตนเองอยู่ภายใน ค่อยๆก่อรากความเห็นแก่ตัว มองไม่เห็นสิ่งทรงคุณค่าทางจิตใจของผู้อื่นอีกต่อไป, ภาพยนตร์แนว Rock Opera เรต NC-17 นำเสนอรูปแบบ Surrealist รับชมปัจจุบันยังพบเห็นข้อเท็จจริงเหนือกาลเวลา
Potomok Chingiskhana (1928) : Vsevolod Pudovkin ♥♥♡
เจงกีสข่าน แม้จะล่วงลับไปหลายศตวรรษ แต่แค่ชื่อก็ยังทรงอิทธิพลต่อชาวมองโกล เป็นเหตุให้ผู้นำกองทัพแห่งสหราชอาณาจักร นำชายผู้หนึ่งซึ่งเกิดความเข้าใจ(ผิดๆ)ว่าสืบเชื้อสาย ทายาทรุ่นปัจจุบัน มาปลุกปั้น ขยับเขยื้อน กลายเป็นหุ่นเชิดชัก เพื่อหวังครอบครองผืนแผ่นดินอันเวิ้งว้างว่างเปล่านี้
Rosetta (1999) : Dardenne brothers ♥♥♡
วัยรุ่นสาว Rosetta (บทบาทแรกแจ้งเกิด Émilie Dequenne) แค่ต้องการงานทำ มีชีวิตแบบปกติทั่วไป และขอเพื่อนสนิทสักคน แต่โชคชะตานำพาให้เธอได้มาแล้วสูญเสีย ตกบ่อน้ำซ้ำแล้วซ้ำอีก เมื่อไหร่กันฉันจะมีโอกาสนั้น, คว้ารางวัล Palme d’Or อย่างเอกฉันท์จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
Funny Games (1997) : Michael Haneke ♥♥♡
ผู้กำกับ Michael Haneke เขียนบทความ ‘Violence and the Media’ เพื่ออธิบายจุดประสงค์การสร้าง Funny Games ฉบับ 1997 และรีเมค 2007 โคลนมาเหมือนเปะเปลี่ยนแค่ภาษาและนักแสดง เพราะต้องการให้ผู้ชมตระหนักถึงอิทธิพลของสื่อ ที่ได้ปลูกฝังหยั่งรากลึกความรุนแรงเข้ามาในชีวิตประจำวันเรียบร้อยแล้ว
Husbands (1970) : John Cassavetes ♥♥♡
เมื่อเพื่อนรักพลันด่วนเสียชีวิตจากไป อีกสามคนที่เหลือ Ben Gazzara, Peter Falk และ John Cassavetes จึงต้องพยายามทำบางสิ่งอย่างเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ทางความรู้สึก ‘Midlife crisis’ แต่มันเป็นเรื่องตลกที่ไม่ขบขันเอาเสียเลย!
Day of Wrath (1943) : Carl Theodor Dreyer ♥♥♥
ระหว่างบุคคลที่ตนรัก กับศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ภาพยนตร์เรื่องนี้ชักชวนให้ผู้ชมเลือกข้าง แล้วนำเสนอผลกระทบเกิดขึ้นตามมา ซึ่งต่างลงเอยด้วยความเกรี้ยวกราดโกรธเกลียดตัวเอง ไหนละฝั่งฝ่ายที่ถูกต้อง มันช่างมืดหมองทุกทิศทางตัดสินใจ!
A Woman Under the Influence (1974) : John Cassavetes ♥♥♥♥♡
หญิงสาวตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ… เป็นภาพยนตร์ที่จะทำให้ผู้ชมตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้าหดหู่ ภายใต้อิทธิพลคลุ้มคลั่งเสียสติแตกของตัวละคร เต็มไปด้วยความอึดอั้นอั้นทุกข์ทรมาน คือผลงาน Masterpiece ที่ผมโคตรเกลียด!
Gigi (1958) : Vincente Minnelli ♥♥
กวาดเรียบ 9 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี สูงเป็นสถิติแต่ตกต่ำสุดด้านศีลธรรมมโนธรรม, Leslie Caron รับบทลูกสาวโสเภณี ได้รับการเสี้ยมสั่งสอนวิธีเกาะกินผู้ชาย ทีแรกพยายามดิ้นรนขัดขืนแต่สุดท้ายข้ออ้างเพราะรัก อยากจะทำอะไรกับฉันก็ยินยอม
L’Histoire d’Adèle H. (1975) : François Truffaut ♥♥
เรื่องราวของ Adéle Hugo บุตรสาวคนที่สองของนักเขียนชื่อก้องโลก Victor Hugo เพราะพ่อโด่งดังคับฟ้าขนาดนั้น คงเลี้ยงดูลูกแบบเอาอกตามใจ เธอชื่นชอบพอชายคนหนึ่ง พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ จมปลักอยู่กับความรักอันมืดบอด มากเกินจนค่อยๆคลุ้มคลั่งสูญเสียจิตวิญญาณ
ข้างหลังภาพ (พ.ศ. ๒๕๔๔) : เชิด ทรงศรี ♥♡
ผลงานเรื่องสุดท้ายของ เชิด ทรงศรี ทำการตีความ ข้างหลังภาพ ของศรีบูรพา ในมุมมองร่วมสมัยใหม่ แต่กลับประดิษฐ์ประดอยจนกระด้างกระเดื่อง เทียบคุณค่าไม่ได้เลยกับฉบับของ เปี๊ยก โปสเตอร์ นอกเสียจากบทเพลงกีรติ ขับร้องโดย สุนิตา ลีติกุล
Salò, or the 120 Days of Sodom (1975) : Pier Paolo Pasolini ♥♥♡
ผลงาน Swan Song ของผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini ดัดแปลงจากวรรณกรรมชิ้นเอกของ Marquis de Sade ผู้ให้กำเนิดคำว่า Sadism ทำการสะท้อนเสียดสี ตีแผ่ความสุดโต่ง คอรัปชั่นคดโกงกินของชนชั้นปกครอง ต่อประชาชนคนทั่วไปผู้มิอาจโต้ตอบต่อกรทำอะไรได้ ช่างเป็นทรมานบันเทิงที่หาความเริงรมณ์ไม่ได้สักนิด