
การเดินทางเพื่อค้นหาตัวตนเองของผู้กำกับ Djibril Diop Mambéty ในสไตล์ Bonnie and Clyde ปล้น-ฆ่า(วัว) ก่ออาชญากรรม เป้าหมายปลายทางคือฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน ‘The Wizard of Oz’ แต่แท้จริงแล้วปารี่ ปารีส ไม่ต่างอะไรจากปาหี่
การเดินทางเพื่อค้นหาตัวตนเองของผู้กำกับ Djibril Diop Mambéty ในสไตล์ Bonnie and Clyde ปล้น-ฆ่า(วัว) ก่ออาชญากรรม เป้าหมายปลายทางคือฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน ‘The Wizard of Oz’ แต่แท้จริงแล้วปารี่ ปารีส ไม่ต่างอะไรจากปาหี่
West Indies ชื่อเรียกหมู่เกาะในเขตทะเล Caribbean ดินแดนที่ Christopher Columbus ค้นพบทวีปอเมริกา ต่อมากลายเป็นอาณานิคมยุโรป นำเข้าทาสผิวสีแอฟริกัน มาใช้แรงงานปลูกอ้อย แปรรูปน้ำตาล ทำออกมาในสไตล์หนังเพลง (Musical) ผสมผสานการละคอน+ภาพยนตร์ คลุกเคล้าอดีต+ปัจจุบัน เล่าประวัติศาสตร์ทาสเป็นไทได้อย่างมหัศจรรย์
กลุ่มชายฉกรรจ์ชาว Mauritania หลังเข้าร่วมพิธีศีลจุ่ม อพยพเดินทางสู่ฝรั่งเศสเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่พอมาถึงกลับไม่สามารถหาทำงาน ถูกปฏิเสธต่อต้าน ขับไล่ ผลักไส หวาดกลัวการรุกรานของ ‘Black Invasion’ นำเสนอด้วยวิธีการที่หลากหลาย ท้าทาย คล้ายศิลปะภาพแปะติด (Collage)
Mandabi ภาษา Wolof แปลว่าธนาณัติ (Money Order) ส่งมาจากหลานชายทำงานอยู่ฝรั่งเศส แต่การจะขอขึ้นเงินกลับเต็มไปด้วยเรื่องวุ่นๆวายๆ ต้องทำบัตรประชาชน ต้องถ่ายรูป ต้องมีสูติบัตร (ใบเกิด) แถมชาวบ้านละแวกนั้นเมื่อได้ยินเรื่องเงินก็หูผึ่ง มาขอหยิบยืม ทวงหนี้ อ้างโน่นนี่นั่น เต็มไปด้วยความฉ้อฉล จนตกอยู่ในความสิ้นหวัง
หญิงสาวผิวดำชาว Senegalese ออกเดินทางสู่ฝรั่งเศส วาดฝันดินแดน ‘The Wizard of Oz’ แต่กลับถูกเจ้านายชี้นิ้วออกคำสั่ง กลายเป็นขี้ข้ารับใช้ เต็มไปด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด เพื่อต่อต้านลัทธิอาณานิคม (Anti-Colonialism)
ถือเป็นโปรดักชั่นภาพยนตร์(ขนาดสั้น)เรื่องแรกๆของชาวแอฟริกัน สร้างโดยชาวแอฟริกัน เพื่อชาวแอฟริกัน ภายหลังสิ้นสุดยุคสมัยอาณานิคม (Post-Colonialism) พยายามสะท้อนปัญหาสังคมที่เกิดจากการมาถึงของโลกยุคสมัยใหม่ คนรุ่นเก่า ขับเกวียนรับจ้าง จะสามารถปรับตัวอย่างไร?
หลังจากหลายๆประเทศในแอฟริกาได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคม ผู้กำกับ Jean Rouch ทำการทดลองให้กลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน พวกเขาจะสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ยินยอมรับกันและกันได้หรือไม่?
แม้เต็มไปด้วยข้อจำกัดยุคสมัย แต่ผู้กำกับ Jean Rouch ยังสามารถรังสรรค์สร้างสารคดีบันทึกวิถีชีวิตผู้อพยพชาว Nigerien เดินทางมาปักหลักใช้แรงงานอยู่ยัง Treichville, Abidjan เมืองหลวงประเทศ Côte d’Ivoire (Ivory Coast) ท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ใกล้จะได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศส
ณ ประเทศสมมติในทวีปแอฟริกา กำลังเกิดสงครามกลางเมือง (Civil Wars) กองทัพฝรั่งเศสตัดสินใจล่าถอย แต่เจ้าของไร่กาแฟรับบทโดย Isabelle Huppert กลับปฏิเสธจะทอดทิ้งสิ่งที่เป็นของตนเอง หมกมุ่นยึดติดกับ “White Material”
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับ Claire Denis เดินทางกลับบ้านเกิดยัง West Africa แม้จากมาหลายปี แต่หลายๆความทรงจำดีๆ ยังคงติดตราฝังใจ ทำออกมาในลักษณะบันทึกความทรงจำ (memoir) อาจดูเรื่อยๆเปื่อยๆ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับคนใช้ผิวสี ช่างมีความตึงเครียด(ทางเพศ)ยิ่งนัก!
ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ (ความยาว 216 นาที) ที่ทำการถกเถียงปรัชญาการเมือง + เรื่องส่วนบุคคล, พวกนักปฏิวัติพยายามเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม แต่พอเป็นเรื่องส่วนตัว เสรีในรัก (Free Love & Free Sex) รวมถึงการปลดแอกทางเพศ (Sexual Liberation) กลับถูกปฏิเสธต่อต้านด้วยความรุนแรง อาฆาตแค้น ลอบสังหาร
ผลงานจากหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague (หรือ Japanese New Wave) ที่แพรวพราวไปด้วย ‘Mise-en-scène’ แต่ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับเด็กหลอดแก้วคือลูกของใคร? มันช่างเฉิ่มเฉย ตกยุคสมัย
ผลงานสวอนซองของผู้กำกับ Sadao Yamanaka นำเสนอความเปราะบางชีวิต มุมมืดจักรวรรดิญี่ปุ่น พยากรณ์หายนะกำลังจะบังเกิดขึ้น หรือก็คือการมาถึงของ Second Sino-Japanese War (1937-45) และ World War II (1939-45)
น้องชายแอบลักขโมยมีดสั้นซามูไร อาจทำให้พี่สาว (รับบทโดย Setsuko Hara) ต้องรับเคราะห์กรรมด้วยการขายตัวหาเงินมาชดใช้หนี้, Priest of Darkness (1936) นำเสนอมุมมืด โลกใต้ดินของญี่ปุ่นยุคก่อน (Edo period) ที่สามารถสะท้อนเข้ากับสมัยปัจจุบันนั้น ก่อนสงครามโลกครั้งสองได้อย่างน่าหวาดสะพรึง
ไหเงินล้านบรรพบุรุษ ถูกส่งมอบเป็นของขวัญแต่งงานน้องชาย ไม่เห็นคุณค่าสักเท่าไหร่เลยขายต่อคนรับซื้อของเก่า มอบให้บุตรชายใช้เลี้ยงปลาทอง, เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาไหเงินล้าน มีความโคตรๆบันเทิง ชิบหายวายป่วนสไตล์ Sadao Yamanaka, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
บทกวีรำพันเรื่องราวทหารรัสเซียนายหนึ่ง ได้รับอนุญาตให้ลากลับบ้าน แต่ระหว่างทางพบเจอเรื่องวุ่นๆวายๆ ที่จักทำให้ผู้ชมอมยิ้ม ตกหลุมรัก ก่อนหัวใจแตกสลาย, สามารถเข้าชิง Oscar: Best Original Screenplay
งานเลี้ยงฉลองสุดหรูหราด้วยฝีมือเชฟจากภัตตาคารฝรั่งเศสชื่อดัง ปรุงให้กับชาวบ้านผู้เคร่งครัดศาสนา (Pietistic Lutheranism) แต่พวกเขากลับเชื่อว่าอาหารมื้อนี้จักทำให้ตกนรกหมกไหม้, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film
Sonata (คำนาม) ดนตรีที่เรียบเรียงสำหรับเครื่องดนตรีหนึ่งหรือสองชิ้น, Tokyo Sonata นำเสนอเรื่องราวครอบครัวธรรมดาๆ บิดา-มารดา และบุตรชายทั้งสอง ต่างสนเพียงบรรเลงบทเพลงชีวิตของตนเอง โดยไม่ใคร่ให้ความใจสมาชิกคนอื่น สุดท้ายแล้วออร์เคสตราที่เรียกว่าครอบครัว เลยดำเนินมาใกล้ถึงจุดแตกแยก, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
แสงจันทรายามค่ำคืน ตกกระทบพื้นผิวน้ำ มันช่างสงบงามและเศร้าสร้อย จิตวิญญาณล่องลอย โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย, Claude Debussy ใช้เวลาประพันธ์ Suite bergamasque ยาวนานกว่า 15+ ปี กลายเป็นบทเพลงอมตะ คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Impressionist
ถูกโจมตีจากแฟนคลับของ Haruki Murakami ว่าฉบับดัดแปลงภาพยนตร์เพียงบทสรุปเนื้อหา ตัดทอนรายละเอียด ลดบทบาทตัวละครสำคัญ แต่ความงดงามของ Norwegian Wood (2010) คือสัมผัสกวีภาพยนตร์ ทำให้ผู้ชมมอดไหม้ไปกับการสูญเสียรักครั้งแรก