
ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเล่นยาเรื่องแรกๆที่นำเสนอผ่านมุมมองของผู้เสพ (จะหายาเสพติดก็ต้องปล้น ร้านขายยา!) ตอนออกฉายได้รับเสียงฮือฮา ‘Universal Acclaim’ แต่กาลเวลาทำให้แปรสภาพสู่ ‘อเมริกันคลาสสิก’ ถึงอย่างนั้นก็ยังสมควรค่า “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Superb, Great, 4/5
ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเล่นยาเรื่องแรกๆที่นำเสนอผ่านมุมมองของผู้เสพ (จะหายาเสพติดก็ต้องปล้น ร้านขายยา!) ตอนออกฉายได้รับเสียงฮือฮา ‘Universal Acclaim’ แต่กาลเวลาทำให้แปรสภาพสู่ ‘อเมริกันคลาสสิก’ ถึงอย่างนั้นก็ยังสมควรค่า “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ดัดแปลงจากนวนิยายของ E. M. Forster (Howards End, A Passage to India) นำเสนอวิวทิวทัศน์แห่งความรัก ชักชวนเชื่อให้ตอบกลับความรู้สึกของหัวใจ แม้ขัดแย้งขนบสังคมประเทศอังกฤษก็ช่างหัวมันประไร แจ้งเกิดนักแสดงยังสาวสวย Helena Bonham Carter แถมด้วยบทบ้าๆบอๆของ Maggie Smith และ Daniel Day-Lewis
ความอร่ามของพระราชวัง(ดอก)ทอง เป็นการแสดงให้เห็นถึงคติรวมหมู่ (Collectivism) เมื่อผู้คนสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกระทำสิ่งต่างๆเพื่อเป้าหมายส่วนรวม จักสามารถสร้างความยิ่งใหญ่ให้ประเทศชาติ, นี่คือภาพยนตร์ที่ทำให้รัฐบาลจีนเลือกจางอี้โหมว มาเป็นผู้กำกับพิธีเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน Beijing 2008
ท่ามกลางแมกไม้นานาพันธุ์ เรื่องราวความรักสามเส้าระหว่างหลิวเต๋อหัว และทาเคชิ คาเนชิโร่ ใครจะได้ครอบครองดอกไม้งาม ‘นางล่มเมือง’ จางจื่ออี๋ ต่างฝ่ายต่างเหมือนถูกคมมีดบินทิ่มแทงกลางใจ ถ้ามิได้ใช้ชีวิตกับหญิงคนรัก ฆ่ากันให้ตายเสียยังดีกว่า!
นี่คือ The Wizard of Oz (1939) ที่ทำการหวนระลึกถึงช่วงเวลาแห่งสีสัน อดีตอันทรงคุณค่า ประเทศจีนเคยเต็มเปี่ยมด้วยชีวิตชีวา ปัจจุบันหลงเหลือเพียงความหนาวเหน็บ เยือกเย็นชา แต่อนาคตเมื่อทั้งสองช่วงเวลาเวียนมาบรรจบ กลับสร้างความอบอุ่นขึ้นภายใน, คว้ารางวัล Silver Bear: Jury Grand Prix (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
เพราะได้รับทุนสร้างจากรัฐบาลจีน ผู้กำกับจางอี้โหมวเลยยืนกรานว่าหนังไร้ซึ่งนัยยะทางการเมือง แต่เพียงเพื่อโบนัสไม่กี่สิบหยวน ครูสาววัยสิบสามกลับยินยอมทำทุกสิ่งอย่าง จนหลงลืมหน้าที่รับผิดชอบแท้จริงของตนเอง, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
ชายวัยกลางคนชนชั้นกลาง (bourgeoisie) ในชีวิตไม่เคยกระทำสิ่งชั่วร้าย ขัดต่อศีลธรรมจรรยา จนกระทั่งมาพบเจอ ตกหลุมรัก Lola (รับบทโดย Barbara Sukowa) นักร้อง-เล่น-เต้น โสเภณี ค่อยๆสูญเสียตนเอง และถูกความคอรัปชั่นกลืนกิน, ภาคสองของ BRD Trilogy สะท้อนสภาพสังคมประเทศเยอรมัน (West German) ได้อย่างเกรี้ยวกราด ตรงไปตรงมาที่สุด
สามีและหญิงชู้ จับพลัดจับพลูพบเจอ ภรรยาและชายชู้ โดยบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว คือบุตรสาวพิการของทั้งคู่ เพราะเธอสูญเสียความรักจากบิดา-มารดา เลยไม่ยินยอมให้พวกเขาแอบไปมีความสุขขณะที่ตนเองต้องทนทุกข์ทรมาน
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับชีเปลือย หรือหญิงสาวเปลื้องผ้า แต่คือการเปิดโปงธาตุแท้ของสงคราม ว่าเป็นเพียงกลเกม ความทะเยอทะยานของใครบางคน ต้องการไปให้ถึงจุดสูงสุดบนยอดเขา เข้าครอบครองตำแหน่งสำคัญทางยุทธศาสตร์ โดยไม่สนว่าต้องแลกมาด้วยชีวิต หรือความตายของผู้อื่นใด
ถนนสาย Flamingo Road สร้างขึ้นเพื่อ Joan Crawford กรุยทางสู่ความสำเร็จ แต่ก่อนจะก้าวถึงเป้าหมายย่อมเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม สิ่งชั่วร้าย คอรัปชั่นนานัปการพยายามฉุดเหนี่ยวรั้งเธอเอาไว้ สุดท้ายแล้วผลลัพท์จะลงเอยเช่นไร
ทั้งตัวละครของ Marlene Dietrich และผู้กำกับ Josef von Sternberg ต่างถูกตีตราว่ามีความโฉดชั่ว อันตราย ไม่ต่างจากปีศาจร้าย เพียงเพราะต้องการใช้ชีวิตอย่างอิสรภาพ สรรค์สร้างภาพยนตร์ด้วยวิสัยทัศน์ส่วนตน แต่ทัศนคติของผู้คนสมัยนั้น และสตูดิโอใน Hollywood มิอาจยินยอมรับความเป็นปัจเจกบุคคลของพวกเขา
ไม่ใช่ความตั้งใจของผู้กำกับ Josef von Sternberg ที่จะตีตราสายลับว่าเป็นอาชีพไร้เกียรติ ‘Dishonored’ แต่มันคือมุมมองคนยุคสมัยนั้น (รวมถึงสตูดิโอภาพยนตร์) ยินยอมรับไม่ได้ต่อพฤติกรรมบุคคลสองหน้า ใช้มารยาลวงล่อหลอก ล้วงความลับผู้อื่น ไร้ซึ่งศีลธรรมจรรยา ทั้งๆพวกเขาและเธอต่างทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติบ้านเมือง
Lola Montez (1821–61) คือหญิงสาวที่ถูกสังคมยุคสมัยนั้นตีตรา ตำหนิต่อว่าแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพียงเพราะต้องการเป็นตัวของตนเอง ใช้ชีวิตอย่างอิสรภาพ ครุ่นคิดอยากทำอะไรก็ทำ รวมถึงการเปลี่ยนคนรักไม่ซ้ำหน้า หนึ่งในนั้นคือ King Ludwig I of Bavaria เลยก่อให้เกิดเหตุประท้วงขับไล่ จำต้องอพยพลี้ภัยสู่สหรัฐอเมริกา แล้วนำเรื่องอื้อฉาวทั้งหมดมาขายผ้าเอาหน้ารอด
ผลงานที่การันตีความสำเร็จใน Hollywood ของ Douglas Sirk ด้วยความพยายาม ‘ชวนเชื่อ’ ให้ผู้ชมลดละทิฐิ ความเห็นแก่ตัว รู้จักทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ แต่พฤติกรรมหมกมุ่นมากเกินพอดี ไม่เห็นมันจะมีความ ‘Magnificent’ ตรงไหนกัน?
พระราชาให้คำมั่นสัญญาต่อราชินีผู้ล่วงลับ จะอภิเสกสมรสใหม่เฉพาะกับหญิงสาวเลิศเลอโฉมกว่า แต่ทั่วหล้ากลับมีเพียงพระธิดาของพระองค์เอง เจ้าหญิงจึงต้องปรึกษานางฟ้าแม่ทูนหัว แนะนำให้ปลอมตัวสวมหนังลา (Donkey Skin) แล้วหาหนทางหลบหนีออกจากพระราชวัง
จะว่าไป แทบไม่มีนักแสดงผิวสีชาวฝรั่งเศสที่โด่งดังระดับตำนาน นั่นเพราะผู้คนในประเทศนี้ยังเต็มไปด้วยอคติทางเชื้อชาติพันธุ์ แถมยังไม่มีใครลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ เสมอภาคเท่าเทียม บรรดานักแสดงและเรื่องราวในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน เป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกหลงลืม มองข้าม ทำเหมือนไม่เคยมีตัวตนอีกต่างหาก
การตื่นรู้เรื่องทางเพศ ‘Sexual Awakening’ ในภาพยนตร์เรื่องแรกของ Céline Sciamma แม้เต็มเปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ ทะลุปรุโปร่งถึงสิ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใน แต่ยังเป็นการทดลองผิดลองถูก ขาดประสบการณ์นำเสนอที่น่าสนใจ ผลลัพท์เลยได้แค่บัวลอยปริมๆ รอคอยวันงอกงาม เบ่งบานสะพรั่ง
ดัดแปลงจากนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของ Philip K. Dick นำประสบการณ์หลังหย่าร้างภรรยา (คนที่สี่) เสพติดยาจนเริ่มเห็นภาพหลอน ยังดีที่เข้ารักษาตัวในสถานบำบัดได้ทัน แต่เพื่อนของเขาหลายคนอาจไม่โชคดีเช่นนั้น, หนังมีความเป็น ‘สไตล์ Linklater’ มากไปนิด แต่ก็มืดหม่นและเจ็บจี๊ดถึงทรวงใน
ไม่ใช่แค่ภาพยนตร์ของคน Gen X ที่มาก่อนกาล แต่ยังคือจุดเริ่มต้นการเดิน-คุย ‘สไตล์ Linklater’ ร้อยเรียงทฤษฎีสมคมคิด จริงบ้าง-เท็จบ้าง ด้วยเทคนิคส่งไม้ผลัดแบบ The Phantom of Liberty (1974) กลายเป็นตำนานคงอยู่ใน Time Capsule