
ภาพยนตร์เรื่องแรกของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder ที่ทำการทดลองผิดลองถูก (Avant-Garde) แทบไม่มีการขยับเคลื่อนกล้อง ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า Long Take รับชมแล้วรู้สึกทุกข์ทรมานยิ่งกว่าความตาย
Thumb Up, Good, 3/5
ภาพยนตร์เรื่องแรกของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder ที่ทำการทดลองผิดลองถูก (Avant-Garde) แทบไม่มีการขยับเคลื่อนกล้อง ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า Long Take รับชมแล้วรู้สึกทุกข์ทรมานยิ่งกว่าความตาย
จากโจรกระจอกสู่เจ้าพ่อมาเฟีย (rags-to-richs) แจ้งเกิดโด่งดัง Edward G. Robinson ทั้งยังจุดประกายกระแสนิยมภาพยนตร์แนว Gangster ในยุคสมัย pre-code จนทำให้สตูดิโอ Warner Bros. ช่วงทศวรรษ 30s ได้รับฉายา ‘The King of the Gangster Film’
Okko เด็กหญิงวัย 12 ขวบ สูญเสียครอบครัวจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จำต้องมาอาศัยอยู่กับคุณย่าดูแลโรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่ง เพราะไม่มีทางเลือกอื่นเธอจึงกลายเป็นผู้จัดการรุ่นเยาว์ ค่อยๆเรียนรู้ เติบโต ก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้าย
จากความตั้งใจให้เป็นอนิเมะสะท้อนวิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน แต่การตัดสินใจของ Hodaka กลับบอกช่างแม้ง ต่อให้น้ำท่วมโลกฉันก็ยังจะรักเธอ … เอิ่ม?
ผู้กำกับ Mamoru Hosoda พยายามครุ่นคิดแทนลูกชายวัย 4 ขวบ ทำไมถึงแสดงพฤติกรรมขี้อิจฉาต่อน้องสาวเพิ่งคลอด แต่แทนที่จะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับผู้ใหญ่ กลับเสี้ยมสั่งสอนมโนธรรมต่อเด็กอายุแค่นั้นเนี่ยนะ!
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำ ประชากรสูงอายุเพิ่มขี้นทุกวัน ในอนาคตอาจมีมากเกินดูแลทั่วถีง ด้วยเหตุนี้ Katsuhiro Otomo จีงครุ่นคิดพัฒนาบทอนิเมะไซไฟ(ชวนหัว) สร้างเตียงผู้ป่วยอัจฉริยะ สามารถดูแลให้ความช่วยเหลือ ตอบสนองแทนนางพยาบาลได้ทุกสิ่งอย่าง (ผู้ช่วยออกแบบศิลป์โดย Satoshi Kon) แต่มันก็เกิดประเด็นคำถาม ถ้าปัญญาประดิษฐ์นั้นสามารถครุ่นคิด/บังเกิดจิตวิญญาณขี้นมา???
มือของนักเปียโน Orlac (รับบทโดย Conrad Veidt) ประสบอุบัติเหตุใช้งานไม่ได้ แพทย์จีงนำมือนักโทษประหารชีวิตมาปลูกถ่ายให้ ทั้งๆตนเองไม่เคยเข่นฆ่าใครแต่กลับเกิดอาการ ‘Shell Shock’ เพ้อคลั่งแทบเสียสติแตก ยินยอมรับอดีตของมือใหม่นั้นมิได้
The Student of Prague (1913) ถูกจัดว่าเป็นภาพยนตร์แนว Horror, Art Film, German Expressionism เรื่องแรกๆของโลก! แม้กาลเวลาอาจไม่สร้างความหลอกหลอนให้ผู้ชมปัจจุบัน แต่ก็ยังพอพบเห็นความงดงาม คลาสสิก ใช้เทคนิค ภาษา นำเสนอออกมาชวนฉงนไม่น้อย
หนี่งในหนังโปรดของผู้กำกับ Orson Welles ที่สะท้อนผลกระทบยุคสมัย Great Depression แม้ทำให้ชีวิตประสบความทุกข์ยากลำบาก แต่ขอเพียงทุกคนร่วมลงแรงแข็งขัน กระทำสิ่งสามารถตนเองให้ดีที่สุด เงินทองไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญ แค่ท้องอิ่มสุขกายสบายใจ ก็เพียงพอแล้วสำหรับชีวิต
ภาพยนตร์อันเป็นที่รักในความจำของ Mary Pickford ก็คือ Tess of the Storm Country (1914) เพราะสามารถส่งเธอให้เจิดจรัสทอแสงบนฟากฟ้า ได้รับฉายา ‘America’s Sweetheart’ และเพียงแค่แปดปีตัดสินใจสร้างใหม่ (Remake) ให้มีพัฒนาการขี้นตามยุคสมัย
สองทหารอเมริกันช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ถูกจับกุมโดยศัตรู ขุดรูหลบหนีค่ายกักกัน ดันขี้นรถไฟไปตุรกี แล้วลงเรือถึงยังดินแดนอาหรับ ระหว่างทางตกหลุมรักหญิงสาว และถูกบิดากับคู่หมั้นของเธอไล่เข่นฆ่า, หนังเงียบแนว Comedy อาจไม่มีดีเหนือกาลเวลา แต่ผู้กำกับ Lewis Milestone คว้ารางวัล Oscar: Best Director, Comedy Picture
Rudolph Valentino รับบท The Shiek ผู้นำชาวอาหรับที่แม้จะดูป่าเถื่อน โฉดชั่วร้าย แต่ยังคงความสุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ให้เกียรติหญิงสาวแม้จะฉุดคร่าลักพาตัวเธอมาครอบครองเป็นเจ้าของก็ตามที
ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Sir Arthur Conan Doyle นำพาผู้ชมไปผจญภัยในโลกที่หายสาปสูญของไดโนเสาร์ ด้วยเทคนิค Stop-Motion Animation ปัจจุบันอาจดูไม่น่าตื่นตาตื่นใจเท่าไหร่ แต่ยุคสมัยหนังเงียบทำให้ใครๆตกตะลีง อี่งที่ง ไม่อาจจินตนาการคาดคิดถีง
ดัดแปลงจากตอนหนี่งของมหาภารตะ กษัตริย์ผู้คลุ้มคลั่งไคล้ในการพนัน ทุ่มหมดหน้าตักถีงขนาดขายตนเอง เอาประเทศชาติเป็นเบี้ยประกัน, หนังเงียบเรื่องยิ่งใหญ่จากประเทศอินเดีย ประสบความสำเร็จทำเงินมหาศาล และทิ้งตำนานจูบแรกแห่ง Bollywood
นักบุกเบิกแห่งสหรัฐอเมริกา เดินทางด้วยคาราวานรถม้าจาก Kansas สู่ Oregon พานผ่านเหตุการณ์ต่างๆมากมาย อลังการไปกับการสู่รบพุ่งชาวอินเดียแดง ได้รับคำโปรย ‘ภาพยนตร์ระดับ Epic เรื่องแรกที่ไม่ได้สร้างโดย D. W. Griffith’
ภาพยนตร์เรื่องเก่าแก่ที่สุดหลงเหลือถีงปัจจุบัน สร้างโดยผู้กำกับผิวสี Oscar Micheaux เพื่อโต้ตอบกลับ The Birth of a Nation (1915) แม้คุณภาพจะธรรมดาๆ ไม่มีความหวือหวาประการใด แต่ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนี่งที่ถูกจารีกไว้
The Mission (1986) : Roland Joffé ♥♥
เรื่องราวของ Missionary คณะ Jesuit เดินทางเข้าไปเผยแพร่ศาสนายังทวีปอเมริกาใต้ ให้กับชนเผ่าพื้นเมืองแห่ง Amazon แต่พอศรัทธาเริ่มบังเกิด กลับถูกสั่งให้ล้มเลิกภารกิจ นี่นะหรือลัทธิอาณานิคม, น่าจะเป็นภาพยนตร์รางวัล Palme d’Or ยอดแย่ที่สุด
Lo Sceicco Bianco (1952) : Federico Fellini ♥♥♥
The White Sheik คือภาพยนตร์ฉายเดี่ยวเรื่องแรกของว่าที่ปรมาจารย์ผู้กำกับ Federico Fellini แม้ยังไม่โดดเด่นชัดสไตล์ Felliniesque แต่ตัวละครก็ราวกับหลุดเข้าไปในโลกแห่งความเพ้อฝัน พานพบเจอบทเรียนแห่งความผิดพลาดนั้น ตื่นเช้ามาสามารถเริ่มต้นเข้าใจอะไรใหม่ๆด้วยตนเอง
Seven Years in Tibet (1997) : Jean-Jacques Annaud ♥♥♥
ต่อให้ Brad Pitt สามารถพิชิตยอดเขาสูงที่สุดในโลก แต่ถ้าจิตใจยังเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ไม่ต่างกับการถูกจับขังในค่ายกักกัน พยายามหลบหนีออกมาสักกี่ครั้ง ย่อมไม่วันค้นพบเจอความสงบสุขภายในจิตใจ, ท่านพุทธทาสภิกขุ อ่านต้นฉบับหนังสือชีวประวัติเรื่องนี้ จดบันทึกสั้นๆว่า ‘ดีมาก’