ในเกมหมากรุก Fool’s Mate หรือ Scholar’s Mate คือการล่อหลอกผู้เล่นใหม่ให้ถูกรุกฆาตเพียงไม่กี่ตา นั่นคือความพยายามของภรรยาล่อหลอกสามีเพื่อที่จะ … แต่กลับกลายเป็นว่า …
หมวดหมู่: G-Rated
General, Rated General, G, เรตทั่วไป เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี
ณ หมู่บ้านเล็กๆในประเทศ Burkina Faso แทบทุกคนเรียกหญิงชราคนหนึ่งว่า ‘แม่มด’ ไร้ญาติขาดมิตร ชอบทำตัวแปลกแยกจากผู้อื่น แต่ไม่ใช่สำหรับเด็กชายวัยสิบขวบเรียกเธอว่า Yaaba แปลว่า Grandmother เมื่อน้องสาวล้มป่วยได้ย่าคนนี้ช่วยชีวิตไว้, นำเสนอด้วยวิธีการอันเรียบง่าย บริสุทธิ์ แต่มีความงดงามจับใจ
ถือเป็นโปรดักชั่นภาพยนตร์(ขนาดสั้น)เรื่องแรกๆของชาวแอฟริกัน สร้างโดยชาวแอฟริกัน เพื่อชาวแอฟริกัน ภายหลังสิ้นสุดยุคสมัยอาณานิคม (Post-Colonialism) พยายามสะท้อนปัญหาสังคมที่เกิดจากการมาถึงของโลกยุคสมัยใหม่ คนรุ่นเก่า ขับเกวียนรับจ้าง จะสามารถปรับตัวอย่างไร?
แม้เต็มไปด้วยข้อจำกัดยุคสมัย แต่ผู้กำกับ Jean Rouch ยังสามารถรังสรรค์สร้างสารคดีบันทึกวิถีชีวิตผู้อพยพชาว Nigerien เดินทางมาปักหลักใช้แรงงานอยู่ยัง Treichville, Abidjan เมืองหลวงประเทศ Côte d’Ivoire (Ivory Coast) ท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ใกล้จะได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศส
Tange Sazen Yowa: Hyakuman Ryô no Tsubo (1935)
ไหเงินล้านบรรพบุรุษ ถูกส่งมอบเป็นของขวัญแต่งงานน้องชาย ไม่เห็นคุณค่าสักเท่าไหร่เลยขายต่อคนรับซื้อของเก่า มอบให้บุตรชายใช้เลี้ยงปลาทอง, เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาไหเงินล้าน มีความโคตรๆบันเทิง ชิบหายวายป่วนสไตล์ Sadao Yamanaka, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ภาพยนตร์อนิเมชั่นฟีล์มสีเรื่องแรกของญี่ปุ่น และเรื่องแรกของ Toei Animation แต่กลับดัดแปลงตำนานนางพญางูขาว นิทานพื้นบ้านชาวจีน นั่นสะท้อนยุคสมัยหลังสงคราม (Post-War) ความพ่ายแพ้ทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียจิตวิญญาณ ความเชื่อมั่น เป็นตัวตนเอง จำต้องพึ่งพามหาอำนาจในการเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ
Silly Symphony (1929-39)
75 การ์ตูนสั้นไร้สาระจากสตูดิโอ Walt Disney จุดประสงค์เพื่อฝึกฝนนักอนิเมเตอร์ ทำการทดลองเทคโนโลยี ลูกเล่นอนิเมชั่นใหม่ๆ ในลักษณะ Musical Comedy หลายๆเรื่องมีความงดงาม ทรงคุณค่า แฝงสาระข้อคิด และมีถึง 7 เรื่องสามารถคว้ารางวัล Oscar: Short Subject, Cartoons
อาจไม่ใช่การ์ตูนใส่เสียง (Synchronized Sound) เรื่องแรกของโลก! แต่ทว่า Steamboat Willie (1928) คือเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จโด่งดัง กลายเป็นรากฐานวงการอนิเมชั่น จุดกำเนิด Mickey Mouse และ Walt Disney
Vinni-Pukh (1969)
ลบภาพจำ Winnie the Pooh ฉบับของ Walt Disney ทิ้งไปได้เลย! เพราะหมีเกรียนฉบับสหภาพโซเวียต มีความเฉียบคมคาย แฝงปรัชญาลุ่มลึกล้ำ สร้างเสียงหัวเราะขบขัน ออกแบบตัวละครน่ารักน่าชัง แม้เพียงสามตอนสั้นๆ แต่ทำให้เกิดความประทับใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่รู้ลืมเลือน
Snezhnaya Koroleva (1957)
ครั้งแรกของการดัดแปลงเทพนิยาย The Snow Queen (1844) ประพันธ์โดย Hans Christian Andersen สู่ภาพยนตร์อนิเมชั่น (Traditional Animation) ผลงานที่จักกลายเป็นแรงบันดาลใจ Hayao Miyazaki บังเกิดความมุ่งมั่น อยากสรรค์สร้างอนิเมะอย่างจริงจัง!
U samogo sinego morya (1936)
โดยปกติแล้วภาพยนตร์จากสหภาพโซเวียตในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (Pre-War) มักมีลักษณะสะท้อนสภาพเป็นจริง ชักชวนเชื่อระบอบสังคมนิยม (Socialist Realism) แต่ไม่ใช่สำหรับ By the Bluest of Seas (1936) นำเสนอเรื่องราวรักๆใคร่ๆ กุ๊กกิ๊ก โรแมนติก-คอมเมดี้ (Rom-Coms) ถึงขนาดสร้างความไม่พึงพอใจต่อ Joseph Stalin
Dersu Uzala (1975)
ผู้สูงวัยอย่าง Dersu Uzala (และผู้กำกับ Akira Kurosawa) แม้มีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า ไม่สามารถปรับตัวเข้าโลกสมัยใหม่ แต่บุคคลสูงวัยล้วนมีประสบการณ์ พานผ่านอะไรๆมามาก เคยอาบน้ำร้อนมาก่อน เราจึงควรรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่เฉดหัวทิ้งไว้เบื้องหลัง, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film และ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Baron Prášil (1962)
การผจญภัยของ Baron Munchausen ช่างมีความมหัศจรรย์ พิลึกพิลั่นยิ่งนัก เริ่มต้นขึ้นเรือเหาะกลับจากดวงจันทร์, ลักพาตัวเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดิ Ottoman, หลบหนีลงเรือถูกกลืนกินอยู่ในท้องปลายักษ์, ควบขี่ม้าเดินทางใต้ท้องทะเลลึก ฯ ทำออกมาในสไตล์ภาพแกะสลักไม้ (Wood Engraving) ได้รับอิทธิพลจาก Gustave Doré
Russkij kovcheg (2002)
เตรียมงานสร้างสี่ปี สำหรับถ่ายทำเพียงหนึ่งวัน ผิดพลาดได้สี่ครั้ง เพื่อภาพยนตร์เทคเดียว ‘Single Take’ ความยาว 87 นาที! นำเสนอผ่านมุมมองวิญญาณล่องลอย เดินทางข้ามกาลเวลา ประวัติศาสตร์รัสเซียยาวนานกว่า 300+ ปี สำหรับประชาสัมพันธ์ Hermitage Museum ตั้งอยู่ St. Petersburg
India Song (1975)
บทกวีรำพันหายนะแห่งรัก ต่อให้ Anne-Marie Stretter (รับบทโดย Delphine Seyrig) พยายามเสาะแสวงหา ขวนขวายไขว่คว้า เปลี่ยนคนรักไม่ซ้ำหน้า แต่กลับไม่มีใครสามารถรักษาโรคเรื้อนในหัวใจ หลงเหลือไว้เพียงความเวิ้งว้าง เศษซากปรักหักพังของสถานทูตฝรั่งเศสประจำอินเดีย ภายหลังการประกาศอิสรภาพ
Le Million (1931)
ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Under the Roofs of Paris (1930) ทำให้ผู้กำกับ René Clair ราวกับถูกหวย กำลังจะร่ำรวย แต่ลอตเตอรี่ใบนั้นเก็บไว้แห่งหนไหน? เรื่องวุ่นๆของการติดตามหาลอตเตอรี่ถูกรางวัล เต็มไปด้วยความขบขัน ฉิบหายวายป่วนระดับโกลาหล
เรื่องวุ่นๆของเจ้าหมวกฟางอิตาเลี่ยน สร้างความสับสน โกลาหล วุ่นวายสุดๆในวันงานแต่งงานของ Albert Préjean แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้กำกับ René Clair ด้วยอิทธิพลของ Georges Méliès
À propos de Nice (1930)
ระหว่างกำลังร้อยเรียงภาพเมือง Nice, France รวมถึงเทศกาล Nice Carnival (Carnaval de Nice) จู่ๆมีการแทรกภาพจระเข้ หญิงสาวเปลือยกาย ชายทาครีมกันแดดสีดำ หลากหลายสิ่งอัปลักษณ์ปรากฎแวบขึ้นมา เพื่อจะสื่อว่าเปลือกภายนอกที่ดูวิจิตรงดงาม อาจซุกซ่อนเร้นสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง
Regen (1929)
ร้อยเรียงภาพความงดงามของหยาดฝน พรำลงบน Amsterdam, Netherlands สร้างความเปียกปอน ชุ่มฉ่ำ เบิกบานหฤทัย (Cinéma Pur) ได้รับการยกย่อง “Masterpiece of Dutch Avant-Garde Cinema”