
ผู้กำกับ Andrzej Żuławski ตกอยู่ในอาการคลุ้มบ้าคลั่งเมื่อถูกภรรยาเลิกราหย่าร้าง สรรค์สร้าง Possession (1981) ด้วยการทำให้ฝ่ายหญิงดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ ขยะแขยงที่สุด ไม่ต่างจากถูกปีศาจร้ายเข้าสิง แต่ใครกันแน่ที่สูญสิ้นความเป็นมนุษย์
NC-17, Rated NC-13, No Children Under 17, ไม่แนะนำกับคนอายุต่ำกว่า 17
ผู้กำกับ Andrzej Żuławski ตกอยู่ในอาการคลุ้มบ้าคลั่งเมื่อถูกภรรยาเลิกราหย่าร้าง สรรค์สร้าง Possession (1981) ด้วยการทำให้ฝ่ายหญิงดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ ขยะแขยงที่สุด ไม่ต่างจากถูกปีศาจร้ายเข้าสิง แต่ใครกันแน่ที่สูญสิ้นความเป็นมนุษย์
ภาพยนตร์เรต X ถูกแบนในหลายๆประเทศ เพราะความสุดโต่งเหนือจริงของการล่าแม่มด พฤติกรรมเก็บกดทางเพศของแม่ชี หรือแม้แต่กษัตริย์ King Louis XIII ยังถูกตีความว่าเป็น Queer แต่ถ้าเราสามารถมองผ่านสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายเหล่านั้น ก็อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ที่แท้จริง
ตระกูลต้องคำสาปที่ใกล้ถึงวันล่มสลาย ภายในเต็มไปด้วยความขัดแย้ง เกมการเมือง แก่งแย่งชิงให้ได้มาซึ่งอำนาจ ทรยศหักหลังญาติพี่น้อง พร้อมกระทำสิ่งโฉดชั่วนานัปการ (หนังได้รับการจัด X-Rated) สะท้อนการขึ้นมาเรืองอำนาจของ Nazi Germany ได้อย่างลุ่มลึก ทรงพลัง!
Palme d’Or ที่ได้รับเสียงโห่มากกว่าปรบมือ สะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ใครๆต่างเพ้อใฝ่ฝัน ต้องการไปให้ถึงสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง The Wizard of Oz แต่โลกความจริงกลับมีสภาพต่ำตม นรกบนดิน ผู้ชมก็แทบดับดิ้นถ้าอยากจะเข้าใจภาพยนตร์ NC-17 เรื่องนี้
ผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky ขณะนั้นมีภรรยามาแล้ว 4 คน ทุกครั้งที่เลิกร้างรา ราวกับว่าเขาได้เข่นฆ่าพวกเธอให้ตายจากไป(ในความรู้สึกนึกคิดและจิตใจ) กลายมาเป็นเรื่องราวฆาตกรต่อเนื่อง 30 ศพ ฝังหญิงสาวคนรักไว้ในสวนหลังบ้าน หลอกหลอน สั่นสยอง สะท้านถึงขั้วหัวใจ Masterpiece เรต NC-17, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ชายชุดดำควบขี่ม้าอยู่กลางทะเลทราย ด้านหลังมีเด็กชายเปลือยเปล่าไม่สวมใส่เสื้อผ้า พอมาถึงเสาไม้แห่งหนึ่งสั่งให้ขุดกลบฝังตุ๊กตาหมีและรูปถ่ายมารดา, ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจนัยยะเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ ค่อยลองหาโคตรหนัง Surrealist เรต NC-17 เรื่องนี้มารับชมนะครับ
Trainspotting (1996) : Danny Boyle ♥♥♥♥
Train-Spotting กิจกรรมจับจ้องรถไฟเคลื่อนผ่านไปมา ในมุมคนทั่วไปคงมองว่าเป็นงานอดิเรกที่โคตรไร้สาระ แต่สำหรับบุคคลกำลังมึนเมาเสพยา นั่นคือช่วงเวลาอันสุดมหัศจรรย์เหนือจินตนาการ (ผมก็อธิบายไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร) ก็เหมือนภาพยนตร์เรื่องนี้อาจทำให้คุณรู้สึกโคตรเสียเวลารับชม แต่สะท้อนวัฒนธรรม ค่านิยม และจิตวิญญาณชนชาวอังกฤษยุคสมัยนั้นออกมาได้อย่างตราตรึง
Pink Floyd – The Wall (1982) : Alan Parker ♥♥♡
มนุษย์สร้างบ้าน รั้วลวดหนาม ผนังกำแพง สำหรับปกป้องตนเองจากภยันตรายภายนอก แต่ขณะเดียวกันนั่นคือการแบ่งแยก กีดกัน กักขังตนเองอยู่ภายใน ค่อยๆก่อรากความเห็นแก่ตัว มองไม่เห็นสิ่งทรงคุณค่าทางจิตใจของผู้อื่นอีกต่อไป, ภาพยนตร์แนว Rock Opera เรต NC-17 นำเสนอรูปแบบ Surrealist รับชมปัจจุบันยังพบเห็นข้อเท็จจริงเหนือกาลเวลา
Funny Games (1997) : Michael Haneke ♥♥♡
ผู้กำกับ Michael Haneke เขียนบทความ ‘Violence and the Media’ เพื่ออธิบายจุดประสงค์การสร้าง Funny Games ฉบับ 1997 และรีเมค 2007 โคลนมาเหมือนเปะเปลี่ยนแค่ภาษาและนักแสดง เพราะต้องการให้ผู้ชมตระหนักถึงอิทธิพลของสื่อ ที่ได้ปลูกฝังหยั่งรากลึกความรุนแรงเข้ามาในชีวิตประจำวันเรียบร้อยแล้ว
A Woman Under the Influence (1974) : John Cassavetes ♥♥♥♥♡
หญิงสาวตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ… เป็นภาพยนตร์ที่จะทำให้ผู้ชมตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้าหดหู่ ภายใต้อิทธิพลคลุ้มคลั่งเสียสติแตกของตัวละคร เต็มไปด้วยความอึดอั้นอั้นทุกข์ทรมาน คือผลงาน Masterpiece ที่ผมโคตรเกลียด!
Performance (1970) : Donald Cammell & Nicolas Roeg ♥♥♥♡
โคตรหนัง Cult พยายามนำเสนอว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมีภายนอก-ใน ที่สามารถ’แสดง’ออกมาได้ แต่มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นคือตัวตนแท้จริง!, การันตีความดูไม่รู้เรื่อง ด้วยการตัดต่อระดับ Masterpiece ถ่ายทอดยุคสมัย 60′ Swinging London และมึนเมาไปกับวัฒนธรรม Bohemian/Hippie
Suspiria (2018) : Luca Guadagnino ♥♥♥♥
Suspiria ภาษาอิตาลี แปลว่า เสียงคราง, ทอดถอนหายใจ คงเป็นอาการของใครหลายๆคนเมื่อรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ชอบไม่ชอบอยู่ที่สามารถเข้าถึงนามธรรมซ่อนเร้นมากน้อยแค่ไหน เพราะทุกสิ่งอย่างคือกระจกสะท้อนกันได้ เกิด-ตาย ชาย-หญิง อดีต-ปัจจุบัน ความจริง-ความฝัน ภาพหลอน-เวทย์มนต์ เยอรมันตะวันออก-ตะวันตก เคลื่อนไหวทางการเมือง-พิธีกรรมแม่มด สุดท้ายอยู่ที่เราจะเรียนรู้การอยู่ร่วมกันได้อย่างไร
Salò, or the 120 Days of Sodom (1975) : Pier Paolo Pasolini ♥♥♡
ผลงาน Swan Song ของผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini ดัดแปลงจากวรรณกรรมชิ้นเอกของ Marquis de Sade ผู้ให้กำเนิดคำว่า Sadism ทำการสะท้อนเสียดสี ตีแผ่ความสุดโต่ง คอรัปชั่นคดโกงกินของชนชั้นปกครอง ต่อประชาชนคนทั่วไปผู้มิอาจโต้ตอบต่อกรทำอะไรได้ ช่างเป็นทรมานบันเทิงที่หาความเริงรมณ์ไม่ได้สักนิด
Funeral Parade of Roses (1969) : Toshio Matsumoto ♥♥♥♥
หลายๆไดเรคชั่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับ Stanley Kubrick สร้าง A Clockwork Orange (1971) ต่างเพียงความรุนแรงที่สะสมในตัวเด็กชาย ได้แปรสภาพให้เขาเติบโตขึ้นกลายเป็นเกย์ ดำเนินเรื่องแบบไม่เรียงตามลำดับเวลา (Non-Chronological Order) ความจริง-ความฝัน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ซ้อนทับกันอย่างเบลอๆ ดูยากยิ่งกว่า 8½ (1963) แต่คือ Masterpiece ของแนว LGBT ที่สั่นสะเทือนวงการภาพยนตร์ใต้ดินญี่ปุ่น
Anatomy of Hell (2004) : Catherine Breillat ♥♥♡
(mini Review) กายวิภาคเรือนร่างของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทั้งสวยงามและน่าขยะแขยง ขึ้นอยู่กับมุมมอง โลกทัศนคติ และรสนิยมส่วนบุคคล, ในชีวิตจริงคงไม่มีใครคิดทำอะไรโรคจิตวิปริตเหมือนหนังเรื่องนี้ แต่เมื่อมันถูกสร้างขึ้นมาเป็นเรื่องแต่ง ก็ชวนให้ตั้งคำถามว่า เพื่ออะไร?
Tetsuo: The Iron Man (1989) : Shinya Tsukamoto ♥♥♥♡
โคตรหนัง Cult เรต NC-17 เรื่องนี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘Japanese Eraserhead’ อัปลักษณ์ พิศดาร น่าขยะแขยง แต่มีความลึกล้ำระดับ Masterpiece, ชายคนหนึ่งติดโรคประหลาด ค่อยๆกลายร่างเป็นเหล็กก๊องแก๊ง เริ่มจากไอ้จ้อนควงสว่าน เลือดเนื้อหนังกลายเป็นสนิมเหล็กเน่าเกรอะกรัง แขนขาหน้าผม … โอ้ ไม่อยากสาธยาย ฯ นี่มีนัยยะสะท้อนถึงสังคมยุคใหม่ ผู้คนเสพติดเทคโนโลยี/วัตถุนิยม จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ลองมองไปรอบๆตัว มีอะไรที่ไม่ได้สร้างด้วย ‘เหล็ก’ หลงเหลืออยู่บ้างหรือเปล่า
mother! (2017) : Darren Aronofsky ♥♥♥♥
เหมือนว่า Darren Aronofsky ผู้มีจิตศรัทธาแรงกล้า หลังจาก PI (1997), The Fountain (2006), Noah (2014) สร้างหนังอิงศาสนาอีกเรื่อง ครานี้วิพากย์การกระทำแสดงออกของมนุษย์ ต่อพระเจ้าและผืนแผ่นดินแม่ (Mother Earth), กระนั้นบทความนี้ ผมจะนำเสนออีกมุมมองหนึ่งของหนังด้วย ในประเด็น ‘แม่’ ที่ถูกรุกรานโดยการมีตัวตนของ ‘ลูก’ และพ่อผู้ไม่ยี่หร่าต่ออะไรทั้งนั้น
Cannibal Holocaust (1980) : Ruggero Deodato ♥♥♥♡
คิดว่าทนไม่ได้ก็อย่าฝืน แต่ถ้าไหวก็พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาสาระด้วยนะครับ ใจความของหนังเรื่องนี้สะท้อนเสียดสีพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างเจ็บแสบ “กรรมใดใครก่อ กรรมนั่นย่อมคืนสนอง” ในระดับตาต่อตา ฟันต่อฟัน ตั้งคำถามว่า ใครกันแน่ที่เป็น Cannibal?
The King and I (1956) hollywood : Walter Lang ♥♥♡
ผมพยายามมองหนังเรื่องนี้ให้เป็นประเทศสารขัณฑ์ แล้วตัดอคติอะไรๆหลายอย่างออกไป แต่ก็ทำไม่ได้เท่าไหร่ ถึงหนังจะยอดเยี่ยมในแง่การสร้าง เข้าชิง Oscar 9 สาขา ได้มา 5 รางวัล แต่ถ้าคุณเป็นคนไทยดูหนังเรื่องนี้แล้วไม่แสดงความรังเกียจออกมา แปลว่าคุณอาจไม่มีใจรักชาติบ้านเกิดแม้แต่น้อย
Fritz the Cat (1972) hollywood : Ralph Bakshi ♥♥♡
หวังว่าคงไม่มีใครเห็นโปสเตอร์ หรือชื่อหนังแมว แล้วคิดว่าจะเป็นอนิเมชั่นน้องเหมียวสุดน่ารักนะครับ, ดัดแปลงจากการ์ตูนใต้ดินของ Robert Crumb อนิเมชั่นของอเมริกาเรื่องแรกที่ได้เรต X และประสบความสำเร็จที่สุดในโลก, ถ้าคุณเป็นพวกคิดว่าโลกนี้ไม่มีอะไรดีสักอย่าง หรือชอบแนว Satire เxยๆแบบ The Simpsons อนิเมะเรื่องนี้อาจเป็นสวรรค์เปียกของคุณ