จิ้งจกเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสัญญะของความโดดเดี่ยว ลองนึกภาพจิ้งจกเกาะอยู่ตามเพดาน ตามผนัง มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่คนไม่เคยเลี้ยง แต่ก็ไม่เคยไล่ ต่างคนต่างอยู่ บนเพดานกว้างจิ้งจกตัวหนึ่งจะดูโดดเด่นเป็นปื้นสีหม่นท่ามกลางสีขาว ชีวิตสองสปีชีย์อยู่ห่างกันไม่กี่เมตร แต่โลกของเรากับจิ้งจกเหมือนไกลกันหลายปีแสง – ปราบดา หยุ่น
หมวดหมู่: PG-15
PG-15, Rated PG-15, Parental Guidance age 15+, เรต 15+, แนะนำกับคนอายุ 15 ปีขึ้นไป ต่ำกว่านี้ควรมีผู้ปกครองให้คำแนะนำ
เรื่องตลก 69 (1999)
ด้วยความที่ ฝัน บ้า คาราโอเกะ (พ.ศ. ๒๕๔๐) สร้างความอับอายให้เป็นเอก รัตนเรือง เวลาไปฉายตามเทศกาลหนัง “มันดูโชว์ออฟ มันดูหวือหวา ดูแบบเหมือนคนแต่งตัวจัด แต่ไม่ค่อยมีอะไรในสมองเท่าไหร่” ทว่ายี่สิบนาทีสุดท้ายของหนังที่ดำเนินเรื่องในหนึ่งวันมันเวิร์คแฮะ เลยอยากทำเรื่องถัดไปที่มีแค่หนึ่งวัน หนึ่งสถานที่ เรื่องตลก 69
Akarui Mirai (2003)
แมงกะพรุน ถูกจับมาเลี้ยงในตู้ปลา มันคงโหยหา คร่ำครวญ อยากหวนกลับสู่มหาสมุทร เปรียบเทียบดั่งหนุ่ม-สาว คนรุ่นใหม่ ต่างถูกบริบททางสังคมกดทับ พยายามปรับตัวเข้าหา กลับสร้างความขัดแย้ง แล้วเมื่อไหร่จะพบเจออนาคตสดใส, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หนังผีญี่ปุ่นทุนต่ำ ทำออกมาในสไตล์กึ่งๆละคอนเวที (Kabuki Play) ละม้ายคล้าย The Ballad of Narayama (1958) แพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์ ‘Trick Film’ สำหรับสร้างความหลอกหลอน บรรยากาศสยองขวัญคลาสสิก
Tanín no Kao (1966)
วิศวกรเคมี Mr. Okuyama (รับบทโดย Tatsuya Nakadai) เสียโฉมจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน โชคดีว่าเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ สามารถสร้างหน้ากากมนุษย์ขึ้นมาทดแทน แต่เมื่อสวมใส่กลับทำให้ตัวตน(เก่า)ค่อยๆเลือนหาย อันเนื่องจากรูปลักษณ์ใหม่ทำให้ทุกสิ่งอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไป
คำว่า Biche ภาษาฝรั่งเศสแปลว่ากวางตัวเมีย (Doe), ขณะเดียวกันยังเป็นศัพท์แสลงของเพศหญิง (Girl, Young Woman) แต่ถ้าเขียนติดกัน Lesbiche หรือ Lesbisch จะหมายถึงเลสเบี้ยน (Lesbian), นำเสนอเรื่องราวรักสามเส้าระหว่างสองสาวและชู้รักหนุ่ม ก่อนกาลมาถึงของ Mai ’68
La Religieuse (1966)
Anna Karina ไม่ได้มีความเต็มใจอยากเป็นแม่ชี (The Nun) แต่ถูกครอบครัวบีบบังคับ ขายให้กับอารามชีลับ จึงพยายามแสดงอารยะขัดขืน หาหนทางออกไปจากคุกคุมขังสตรี แต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เรื่องพรรค์นี้มันทำได้เสียทีไหนกัน!
Les Cousins (1959)
ญาติห่างๆของ Le Beau Serge (1958) เดินทางเข้าเมืองหลวง ลุ่มหลงระเริงไปกับแสงสีเสียง (แต่หนังถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ) เต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้ายวน พยายามต่อต้านขัดขืน กลับจบลงด้วยความขมขื่น, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
ปมบางอย่างในวัยเด็กของ Tippi Hedren ทำให้มีความรังเกียจผู้ชาย ปลอมตัวเข้าทำงานเลขานุการ รอคอยจังหวะไขตู้เซฟ ลักขโมยเงินนายจ้าง ก่อนถูกจับได้โดย Sean Connery บีบบังคับให้แต่งงาน แล้วทำการข่มขืนกระทำชำเรา
ครั้งแรกครั้งเดียวที่ผู้กำกับ Alfred Hitchcock สร้างภาพยนตร์จากเหตุการณ์จริง ตำรวจจับผู้ร้ายผิดคน! พยายามเก็บรายละเอียด ถ่ายทำยังสถานที่จริง รวมถึงตัวประกอบ/พยานในที่เกิดเหตุ ทำออกมาในสไตล์กึ่งสารคดี (Docu-Drama)
ผู้ชมต่างจดจำ The Country Girl (1954) อันเนื่องจาก Grace Kelly ปล้นรางวัล Oscar: Best Actress มาจาก Judy Garland ภาพยนตร์ A Star is Born (1954) แต่มันเป็นการแสดงยอดเยี่ยมขนาดนั้นเชียวหรือ??
The Silences of the Palace (1994)
หญิงสาวแวะเวียนกลับมาเยี่ยมเยียนสถานที่บ้านเกิด ณ พระราชวัง Bey’s Palace มารดาเคยทำงานสาวใช้ และชู้รักเจ้านาย, ใจจริงไม่อยากหวนกลับมาสักเท่าไหร่ เพราะทำให้ความทรงจำเลวร้ายวัยเด็กที่เก็บกดไว้ ค่อยๆตื่นขึ้นอย่างช้าๆ โดยเฉพาะบิดาแท้ๆ(ที่คาดเดาไม่ยากว่าคือใคร)ต้องการที่จะ !@#$%
The Land (1970)
ทางการออกคำสั่งลดจำนวนวันจ่ายน้ำสู่ไร่นา ฟาร์มฝ้าย สร้างความไม่พึงพอใจให้กับชาวบ้าน พยายามหาหนทางเรียกร้อง ต่อรอง แต่กลับถูกเพิกเฉยจากพวกผู้มีอำนาจ แถมยังส่งตำรวจเข้ามาควบคุม คุกคาม หวังจะยึดครองผืนแผ่นดินมาแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน, ภาพยนตร์ที่แพรวพราวด้วยลูกเล่น ผลงานชิ้นเอกของผู้กำกับ Youssef Chahine
The Blazing Sun (1954)
ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Omar Sharif รับบทเกษตรกรหนุ่มจบใหม่ เข้ามาพัฒนาผลผลิตไร่อ้อยให้ได้มาตรฐาน กลายเป็นที่ต้องการของตลาด แต่กลับสร้างความอิจฉาริษยาให้พวกนายทุน ครุ่นคิดแผนการชั่วร้าย ทำลายพืชผลการเกษตร ฆาตกรรมอำพราง โยนความผิดให้ผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิต สุดท้ายแล้วความจริงจะได้รับการเปิดเผยหรือไม่?
Sambizanga (1972)
นักปฏิวัติถูกจับกุม คุมขังยังเรือนจำ ณ Sambizanga, Portuguese Angola แล้วโดนทัณฑ์ทรมานจนเสียชีวิต นั่นคือจุดเริ่มต้น Angolan War of Independence (1961-74) นำเสนอผ่านมุมมองผู้กำกับหญิง เรียบง่าย ทรงพลัง แม้ต้องถ่ายทำยังประเทศเพื่อนบ้าน Congo
Soleil Ô (1970)
กลุ่มชายฉกรรจ์ชาว Mauritania หลังเข้าร่วมพิธีศีลจุ่ม อพยพเดินทางสู่ฝรั่งเศสเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่พอมาถึงกลับไม่สามารถหาทำงาน ถูกปฏิเสธต่อต้าน ขับไล่ ผลักไส หวาดกลัวการรุกรานของ ‘Black Invasion’ นำเสนอด้วยวิธีการที่หลากหลาย ท้าทาย คล้ายศิลปะภาพแปะติด (Collage)
น้องชายแอบลักขโมยมีดสั้นซามูไร อาจทำให้พี่สาว (รับบทโดย Setsuko Hara) ต้องรับเคราะห์กรรมด้วยการขายตัวหาเงินมาชดใช้หนี้, Priest of Darkness (1936) นำเสนอมุมมืด โลกใต้ดินของญี่ปุ่นยุคก่อน (Edo period) ที่สามารถสะท้อนเข้ากับสมัยปัจจุบันนั้น ก่อนสงครามโลกครั้งสองได้อย่างน่าหวาดสะพรึง
Tokyo Sonata (2008)
Sonata (คำนาม) ดนตรีที่เรียบเรียงสำหรับเครื่องดนตรีหนึ่งหรือสองชิ้น, Tokyo Sonata นำเสนอเรื่องราวครอบครัวธรรมดาๆ บิดา-มารดา และบุตรชายทั้งสอง ต่างสนเพียงบรรเลงบทเพลงชีวิตของตนเอง โดยไม่ใคร่ให้ความใจสมาชิกคนอื่น สุดท้ายแล้วออร์เคสตราที่เรียกว่าครอบครัว เลยดำเนินมาใกล้ถึงจุดแตกแยก, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
In the Heat of the Night (1967)
“They call me Mister Tibbs!” และการตบหน้าคนขาวของ Sidney Poitier ถือเป็นหมุดไมล์ของชาวผิวสี (African-American) ในยุคสมัยการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง Civil Rights Movement (1954-68), สามารถคว้า 5 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี
Skazka skazok (1979)
ขูดๆขีดๆเรื่องเล่าความทรงจำ นำเสนอผ่านมุมมองเจ้าหมาป่าน้อย (Grey Wolf) พบเห็นความวุ่นๆวายๆของมนุษย์ชาวรัสเซีย ในช่วงคาบเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่สอง ตัดสลับระหว่างโลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Mirror (1975)